แอลกอฮอล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก หนึ่งคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี และประเภทที่สองคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากการกลั่นระเหยของเหล้า และเนื่องจากเอทานอลเป็นหนึ่งในแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ดังนั้นเราจึงต้องมาวิเคราะห์ประเด็นแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมเสียก่อน
จริงๆแล้ว หากคำนึงถึงโครงสร้างทางเคมีจะพบว่า แอลกอฮอล์อุตสาหกรรมไม่มีความแตกต่างจากแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากการกลั่นแต่อย่างใด และทั้งสองอย่างนี้.... แต่ทว่ามีความแตกต่างกันตรงที่แอลกอฮอล์อุตสาหกรรมนั้น เราไม่สามารถเรียกว่าเป็นสิ่งมึนเมาได้เสมอไป ในขณะที่แอลกอฮอล์ที่ได้มาจากการกลั่นและการระเหยของสิ่งมึนเมา จึงมีความเป็นได้สูงที่จะยังคงสภาพสิ่งมึนเมาอยู่เช่นเดิม
บรรดาฟุกะฮาที่มีชื่อเสียงเชื่อว่าทุกของเหลวที่ทำให้เกิดความมึนเมาถือว่าเป็นนะญิส ดังนั้นแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมก็จะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มของของเหลวที่ทำให้เกิดความมึนเมาหรือไม่?
บรรดาฟุกะฮาที่มีชื่อเสียงต่างลงความเห็นว่า ไม่สามารถระบุได้ว่าแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมนับเป็นสิ่งมึนเมา ถึงแม้ว่าจะเป็นสาเหตุหลักและส่งผลโดยตรงในโครงสร้างของเหลวที่ทำให้เกิดความมึนเมาก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มส่วนผสมบางชนิดเช่นเมทานอล ซึ่งเป็นสารมีพิษและมีกลิ่นเหม็นลงไปในแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นเนื่องจากความข้นของแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมมีมากจนถึงขั้นที่แม้จะไม่เพิ่มสารอื่นๆลงไป ไม่ว่าจะดื่มในปริมาณน้อยเพียงใดก็จะเป็นพิษต่อร่างกายได้ ดังนั้นโดยทั่วไปจึงไม่ถือว่าสารดังกล่าวว่าเป็นสิ่งมึนเมา[1]
ทัศนะต่อไปนี้ของมัรญะอ์ตักลีดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวล้วนชี้ให้เห็นถึงผลลัพท์ที่เราได้นำเสนอไป
อิมามโคมัยนี “แอลกอฮอล์อุตสาหกรรมที่ใช้ในการทาสีประตูหรือโต๊ะหรือเก้าอี้นั้น[2] หากเราไม่รู้ว่าทำมาจากสิ่ง
[3] มึนเมาและเป็นของเหลวหรือไม่ ถือว่าไม่นะญิส[4]”
อ. ซันญอนี “หากไม่รู้ว่าเป็นสิ่งมึนเมาหรือไม่ ถือว่าไม่นะญิส”
อ.ฟาฎิล “ปัญหา: แอลกอฮอล์อนามัย ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ล้วนๆ ที่ใช้ในทางการแพทย์นั้นถือว่าไม่นะญิส นอกจากจะผลิตจากเหล้าหรือเบียร์ ซึ่งจะถือว่าเป็นนะญิส และสารทำความไม่นะญิสอื่น ๆ ที่ถือว่าได้มาจากแอลกอฮอล์และใช้ในสถานพยาบาลต่างๆ ก็ถือว่าไม่นะญิสด้วยเช่นกัน
แอลกอฮอล์อุตสาหกรรมซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ขาวที่เพิ่มส่วนผสมที่เป็นสารพิษบางอย่างเข้าไปเพื่อประโยชน์เชิงอุตสาหกรรมนั้น ถือว่าไม่นะญิสเช่นกัน น้ำหอมและสารอื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งได้มาจากแอลกอฮอล์ก็ถือว่าไม่นะญิส”
อ. ซีซตานี “แอลกอฮอล์ ไม่ว่าอยู่ในประเภทของอุตสาหกรรมหรือการแพทย์ ล้วนถือว่าไม่นะญิส”
อ. มะการิม “แอลกอฮอล์อุตสาหกรรมและที่ใช้ในการแพทย์ที่เราไม่รู้ว่าได้มาจากสิ่งมึนเมาที่เป็นของเหลวหรือไม่นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่นะญิส อีกทั้งน้ำหอมและยาต่าง ๆ ที่มีสวนผสมของแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมและแอลกอฮอล์ทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน[5] และแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถดื่มได้ หรือเป็นสารมีพิษนั้นไม่ถือว่าเป็นนะญิสแต่อย่างใด แต่หากทำให้เจือจางลงกลายเป็นเหล้าและเป็นสิ่งมึนเมา จะถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ฮะรอม และอิฮ์ติยาฎจะต้องถือว่าเป็นนะญิส[6]
สรุปว่า แอลกอฮอล์เช่น เอทานอลและเมทานอล ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้วเป็นสิ่งที่มีพิษและไม่สามารถดื่มได้ ถือว่าไม่นะญิสและหากไม่ได้ทำให้เจือจางและกลายเป็นเครื่องดื่มที่มึนเมาแล้ว การดื่มแอลกอฮอล์ประเภทนี้ไม่ถือว่าเป็นฮะรอมแต่อย่างใด
[1] เว็บไซตเฮาซะฮ์, หน้าห้องสมุดเอลกอฮอลและสวนผสมของมัน
[2] คูอี “สะอาดทุกประเภท (ท้ายปัญหา)
[3] บะฮ์ญัต “...โดยตัวของมันเอง”
[4] ซอฟี โฆลพอยฆอนี,“หากเราไม่รู้ว่าเป็นสิ่งมึนเมา หรือไม่รู้ว่าทำมาจากสิ่งที่มึนเมาที่เป็นของเหลว ให้ถือว่าสะอาด, ประมวลปัญหาศาสนาของบรรดามัรญะอ์, เล่มที่ 1, หน้า 80
[5] ประมวลปัญหาศาสนาของบรรดามัรญะอ์, หน้าที่ 80-81
[6] ประมวลปัญหาศาสนาของบรรดามัรญะอ์, หน้าที่ 81, ประมวลปัญหาศาสนาของท่านมะการิม, ปัญหาที่ 125