Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
6004
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
รหัสในเว็บไซต์ fa1844 รหัสสำเนา 18990
หมวดหมู่ สิทธิและกฎหมาย
คำถามอย่างย่อ
สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
คำถาม
ที่ดินในชนบทแห่งหนึ่งนามว่า ยีลอกี อยู่ในครอบครองของเรา ซึ่งพื้นดินส่วนหนึ่งได้อุทิศบริจาคให้แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มะอฺซูมมะฮฺ (อ.) แต่ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้ไม่อาจทำประโยชนอันใดได้ และไม่อาจเพราะปลูกพืชผลได้ด้วย ดังนั้น เราสามารถเข้าครอบครองพื้นดินแปลงนี้ได้หรือไม่? หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบนพื้นดินดังกล่าวได้หรือไม่? เราสามารถแบ่งเงินส่วนหนึ่งให้เท่ากับผลผลิตที่จะได้จากพื้นดินแปลงนี้แล้วบริจาคออกไปได้หรือไม่? พื้นดินแปลงนี้สามารถนำไปขายได้หรือไม่? ในกรณีนี้มีความแตกต่างกันไหมระหว่างการอุทิศผลผลิต กับการอุทิศพื้นดิน โดยนำเอาผลผลิตบางส่วนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อมะอฺซูม? แต่กรณีที่มีความแตกต่างกัน ถ้าปัจจุบันนี้ยังไม่มีผลผลิตๆ ดังนั้น เราสามารถเข้าครอบครองพื้นดินได้หรือไม่? อย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว

ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺ ทรงปกป้องท่าน)

ถ้าหากการวะกัฟ (อุทิศ) พื้นดินเป็นที่แน่ชัด และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้,ไม่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ไปในทางที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต แต่ถ้าไม่มีผลผลิตใดๆ ผู้มีอำนาจดูแลตามหลักชัรอียฺ สามารถให้เช่าพื้นดินเพื่อก่อสร้างอาคารได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ขายพื้นดินแปลงนั้น

ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิมชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺ ทรงปกป้องท่าน)

ถ้ามั่นใจว่าพื้นดินแปลงนั้นเป็นที่วะกัฟ และตามสมมุติฐานของคำถามต้องให้เช่าพื้นดินแปลงดังกล่าวนั้น เพื่อสร้างบ้านหรืออาคารตามราคาปัจจุบัน และทุกๆ 3 ปี ต้องเปลี่ยนสัญญาเช่าใหม่ (เช่นเดียวกันกับที่ได้ทำสัญญาที่ดินวะกัฟของท่านหญิงมะอฺซูมมะฮฺในเมืองกุม) เพื่อนำรายได้ไปใช้จ่ายในหนทางดังกล่าว ดังระบุไว้ในสัญญาวะกัฟ

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด