ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
ด้านหนึ่งสตรีคือมิตรร่วมทุกข์สุข, ภรรยา, คู่ครอง, ผู้ให้ความสัมพันธ์ลึกซึ้งด้านการมีเพศมสัมพันธ์
อีกด้านหนึ่ง สตรีคือผู้ดูแลบ้าน ความสะอาดเรียบร้อย จัดระบบงานในบ้าน และวิถีการดำเนินชีวิตภายในบ้าน
อีกด้านหนึ่ง สตรีคือมารดาผู้ให้การอมบรมเลี้ยงดู สั่งสอน และปกป้องบุตร
อีกด้านหนึ่ง สตรีคือผู้เติมเต็มความสุขสมบูรณ์ด้านกามรมย์ และเป็นที่สงบมั่นของบุรุษ และเพื่อให้บรรลุความรื่นรมย์ ความรัก และความสุขสันต์ สตรีคือผู้ช่วยเหลือและมีบทบาทสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นยังช่วยกำจัดความพร่องต่างๆ ให้หมดไปจากชีวิต และ ... ดังนั้น ถ้าหากจะให้ความหมายของคำว่า “حرث” ว่าหมายถึง ไร่นา ส่วนคำว่า “أنّى” หมายถึง สถานที่ และคำว่า “إتيان” หมายถึง ความใกล้ชิดและการมีเพศสัมพันธ์ ถือว่าขัดแย้งกับสิ่งที่โองการต้องการจะกล่าวถึง[3]
[1] อัลมีซาน, ฉบับแปลฟาร์ซียฺ ,เล่ม 2, หน้า 317
[2] ตฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 141.
[3] มุซเฏาะฟะวียฺ, ฮะซัน ตัฟซีร โรชั่น, เล่ม 3, หน้า 156, มัรกัซ นัชรฺ กิตาบ