การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8437
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1000 รหัสสำเนา 15032
คำถามอย่างย่อ
จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
คำถาม
จะเชื่อว่าพระเจ้ามีเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีสิ่งเลวร้ายพอๆกับสิ่งดีๆ อย่างเช่นมีสัตว์ที่สวยงามและสัตว์เดรัจฉาน หากมีคนเชื่อว่าโลกนี้มีพระเจ้าสององค์ พระเจ้าแห่งสิ่งดีๆและพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้าย เราจะตอบเขาว่าอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุด อีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใด ส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิต ประทานศักยภาพในการดำรงชีวิต และมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตา
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น มีเหตุผลเฉพาะที่หากเราได้รับรู้ ก็จะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มิได้ขัดกับความเมตตาของพระองค์แต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

หากจะพูดถึงความเมตตา ความห่วงใยและคุณลักษณะอื่นๆของใครสักคน จำเป็นที่จะต้องเปรียบเทียบคุณลักษณะดังกล่าวกับฐานะภาพของคนๆนั้นเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ความห่วงใยของเด็กสักคนที่มีต่อทารกแบเบาะนั้น แสดงออกได้เพียงเฝ้าระวังมิให้ทารกน้อยหยิบจับของมีคม หรืออย่างมากก็แค่ป้อนขนมให้เท่านั้น.
แต่ความห่วงใยของพ่อแม่ที่มีต่อทารกสามารถแสดงออกได้อย่างหลากหลาย ทั้งดูแลในลักษณะยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ให้นมและเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างสม่ำเสมอ เฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บ บางครั้งก็ตัดสินใจฉีดวัคซีนขนานแรงให้ลูก ทั้งที่รู้ว่าจะทำให้ทารกน้อยเจ็บปวดและป่วยไข้แรมสัปดาห์ แต่เพราะรักและรู้ว่า หากลูกน้อยไม่ทนเจ็บในวันนี้ ก็ไม่สามารถจะเผชิญกับโรคร้ายที่อาจจะคร่าชีวิตลูกในวันข้างหน้าได้ ฉะนั้น เป็นที่ทราบดีว่าความเจ็บปวดที่จะทำให้รอดพ้นจากโรคร้ายในอนาคตได้นั้น บ่งชี้ว่าพ่อแม่มีเมตตาแก่ลูกน้อย ในขณะที่หากพ่อแม่ตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนให้ลูกเพราะไม่อยากให้ลูกเจ็บ กรณีนี้พ่อแม่จะถูกประณามว่าเป็นช่างเป็นพ่อแม่ที่ใจร้ายเสียนี่กระไร

พึงทราบว่าความรักที่อัลลอฮ์มีต่อปวงบ่าวที่พระองค์มอบชีวิตให้นั้น มีมากกว่าความรักที่พ่อแม่มีต่อลูกน้อยกลอยใจ อย่างไรก็ดี หากเราจำกัดชีวิตมนุษย์ไว้เพียงแค่ชีวิตในโลกนี้ ก็คงจะพูดได้ว่าเคราะห์กรรมบางอย่างอาจจะขัดต่อความเมตตาที่พระองค์มีต่อมนุษย์ แต่หากจะมองในมุมกว้างว่าชีวิตมนุษย์มิได้จำกัดเพียงแค่โลกนี้ แต่รวมระยะเวลาก่อนถือกำเนิด ช่วงชีวิตในโลกนี้ ช่วงชีวิตหลังความตาย และช่วงชีวิตในโลกหน้าไม่ว่าในสวรรค์หรือนรก เมื่อนำช่วงเวลาทั้งหมดมาพิจารณาเปรียบเทียบกับความเมตตาของพระองค์ ก็จะทำให้ทราบว่าเหตุดีหรือเหตุร้ายทั้งหมดในชีวิตล้วนเกิดจากความเมตตาของพระองค์ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระองค์ได้ตระเตรียมปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดสำหรับสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทไว้แล้ว และสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรักความเมตตาที่พระองค์มีต่อสิ่งมีชีวิตที่พระองค์ทรงสร้าง
นอกจากนี้ ด้วยการที่พระองค์ทรงมีพลานุภาพและความรู้อันไร้ขอบเขต กอปรกับการที่ไม่มีเหตุจูงใจใดๆให้พระองค์ต้องระงับความเมตตาแก่มนุษย์ เพราะพระองค์ไม่จำเป็นต้องระแวงการสูญเสียอำนาจ อีกทั้งความรู้ของพระองค์ก็ไม่มีขอบเขตจำกัดแต่อย่างใด จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าพระองค์จะตระหนี่ถี่เหนียว และระงับความเมตตาแก่มนุษย์ที่พระองค์มอบชีวิตให้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว พระองค์ทรงสร้างโลกนี้ให้มีระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพด้วยกับความรู้และความเมตตาอันล้นเหลือของพระองค์ ระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพนี้แหล่ะที่มีแต่สิ่งดีๆ และเป็นเครื่องชี้วัดถึงความเมตตาและความหวังดีตามสถานะของพระองค์

แง่คิดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้ที่สามารถเนรมิตความรักความผูกพันให้เกิดขึ้นระหว่างแม่และลูก ย่อมต้องมีความเมตตาในระดับที่สมบูรณ์กว่าอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะหลักอภิปรัชญาหนึ่งสอนไว้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้มอบความดีงามแก่ผู้อื่น จะปราศจากความดีงามนั้นเสียเอง[1]
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีดนาทาเร้น อุปสรรคและความยากลำบากประเภทต่างๆ ความเจ็บป่วยและความตาย ฯลฯ จะพบว่าสิ่งเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองประเภท:
1.
เหตุร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์บางจำพวก อาทิเช่น การรีดนาทาเร้น อาชญากรรม การจารกรรม ฯลฯ
2. เหตุร้ายที่เกิดจากภัยทางธรรมชาติ อาทิเช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว โรคระบาด ฝนแล้ง ฯลฯ
เกี่ยวกับกรณีแรก ต้องคำนึงว่าในเมื่ออัลลอฮ์สร้างมนุษย์ให้มีอิสระในการเลือกระหว่างดีและชั่ว หากมนุษย์บางกลุ่มเลือกที่จะรักชั่ว ก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียในภาคสังคม แน่นอนว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ โดยความเลวร้ายกรณีดังกล่าวเกิดจากน้ำมือมนุษย์ล้วนๆ ดังที่กุรอานกล่าวว่าความเสื่อมเสียปรากฏขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำเนื่องจากความประพฤติของมนุษย์เอง[2] อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีวันแห่งการพิพากษาเพื่อชำระสะสางการกระทำของมนุษย์ แน่นอนว่าความทุกข์ยากอันเกิดจากการกดขี่เหล่านี้ย่อมจะได้รับการชดเชย

ส่วนกรณีที่เกิดจากภัยทางธรรมชาตินั้น มีข้อคิดสำคัญดังต่อไปนี้:
1.
โลกนี้เป็นสนามทดสอบเพื่อจะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติโดดเด่น โดยที่ทั้งความราบรื่นและความขมขื่น ความมั่งคั่งและความยากจน ความสนุกและความโศกเศร้า ล้วนเป็นเครื่องทดสอบเพื่อคัดแยกคนดีออกจากคนชั่วทั้งสิ้น หากจะพิจารณาถึงผลตอบแทนอันมากมายมหาศาลที่ผู้อดทนจะได้รับแล้วล่ะก็ เราจะเห็นว่าความทุกข์ยากทั้งหมดเป็นภาพสะท้อนของความเมตตาของพระองค์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากยิ่งประสบความทุกข์ยากเพียงใด ผลตอบแทนในวันกิยามะฮ์ก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวในหลายโองการด้วยกัน อาทิเช่นแน่แท้ เราจะทดสอบสูเจ้าด้วยความกลัว ความหิวกระหาย การสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตและผลผลิต และจงแจ้งข่าวดีแก่ผู้อดทน[3]
2. ความทุกข์ยากในโลกนี้จะอบรมบ่มเพาะ และปลุกจิตสำนึกบุคคลหรือสังคมให้เกิดความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น[4] ทั้งนี้ก็เพราะความทุกข์ยากและอุปสรรคต่างๆล้วนสอดคล้องกับเป้าหมายของการสร้างโลกนี้ และหาได้ขัดต่อความเมตตาของพระองค์ ที่ต้องการจะเห็นมนุษย์พัฒนาศักยภาพของตนไม่
3. อุปสรรคบางอย่างช่วยพัฒนาจิตใจของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บุคคลที่เติบโตท่ามกลางความยากจนและความลำบาก มักจะมีบทบาทในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่โลกต้องจารึกเสมอ
4. หากไม่นำความสวยงามมาเทียบกับความน่ารังเกียจแล้ว ทั้งความสวยงามและความน่ารังเกียจก็จะไม่เป็นที่ประจักษ์แก่มนุษย์ เนื่องจากหากทุกสิ่งสวยงามหมดจด ความสวยงามก็จะไร้ค่า จึงกล่าวได้ว่าแรงดึงดูดของสิ่งสวยงามมักต้องพึ่งพาแรงผลักไสของสิ่งน่ารังเกียจเสมอ[5]
5. สิ่งเลวร้ายมักจะตามมาด้วยสิ่งดีๆเสมอ เนื่องจากความสุขมักจะผุดขึ้นใจกลางความทุกข์ลำเค็ญ ดังที่อุปสรรคชีวิตก็มักจะปรากฏขึ้นท่ามกลางความสุขเสมอ และนี่ก็คือธรรมชาติของโลก[6]
เมื่อนำข้อคิดเหล่านี้มาพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่า สิ่งที่เราเคยเรียกว่าสิ่งเลวร้ายอัปมงคลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเส้นทางสู่ความสุขอันประเมินค่ามิได้ทั้งสิ้น

กรณีคำถามส่วนที่สองที่เกี่ยวกับพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้ายนั้น ต้องทราบว่าสิ่งเลวร้ายมิไช่สิ่งที่ต้องสร้างขึ้น ทว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่นความพิการ ซึ่งมิได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเอกเทศ แต่เป็นสภาวะที่เกิดจากการสูญเสียอวัยวะ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจะเชื่อเรื่องสองพระเจ้า หรือเชื่อว่าโลกนี้มีต้นกำเนิดสองขั้วได้ ทั้งนี้ก็เพราะการมีอยู่ของสิ่งต่างๆไม่อาจจะจำแนกออกเป็นสองส่วนได้ จึงไม่จำเป็นต้องมีต้นกำเนิดสองขั้ว[7] และการมีอยู่นั้น โดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งดี ส่วนความว่างเปล่าโดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งเลวร้าย แน่นอนว่าสิ่งที่มีอยู่เท่านั้นที่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง เนื่องจากความว่างเปล่าไม่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง
สรุปคือ โลกนี้มีผู้สร้างเพียงองค์เดียวเท่านั้น.



[1] บิดายะตุ้ลฮิกมะฮ์,อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี,หน้า 269. “معطی الکمال غیر فاقد

[2] ซูเราะฮ์ อัรรูม, 41ظهر الفساد فی البر و البحر بما کسبت ایدی الناس

[3] อัลบะเกาะเราะฮ์, 155. แปลโดยอ.มะการิม ชีรอซี,

 و لنبلونکم بشیء من الخوف و الجوع و نقص من الاموال و الانفس و الثمرات و بشر الصابرین

[4] ความยุติธรรมของพระเจ้า,หน้า 156.

[5] อ้างแล้ว,หน้า 143.

[6] อ้างแล้ว,หน้า 149.

[7] ดู: อ้างแล้ว,หน้า 135.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12555 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7747 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    9261 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    6876 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...
  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    5745 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    10127 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
    15246 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/21
    อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกันระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้นหมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันทีอาทิเช่นร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิสเขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภททรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษฯลฯ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนาเช่นการนมาซถือศีลอดชำระคุมุสจ่ายซะกาตประกอบพิธีฮัจย์ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัยยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรกตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูตเหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่านนอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้วการหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นคำสอนของกุรอานนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่านย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับณอัลลอฮ์นอกจากนี้จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้งเพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยายและจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุกและต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ฉะนั้นประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคนแม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลามโดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6745 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7273 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7196 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59464 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56924 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41726 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38480 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38465 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33501 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27574 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27300 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27193 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25267 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...