การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8335
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1086 รหัสสำเนา 17846
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
คำถาม
เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืม องค์พระผู้อภิบาล ซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเจ้า การใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์ สามารถฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺในใจตัวเองให้มีชีวิตชีวาได้

การรำลึกถึงอัลลอฮฺมีมรรคผลมากมาย อาทิเช่น : 1-เท่ากับเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติอัลลอฮฺ, 2-เป็นการนอบน้อมถ่อมตน, 3- เป็นการแสดงความรักในการอิบาดะฮฺ,4- สร้างความสงบและความมั่นใจ, 5- เป็นการทำให้อัลลอฮฺสนใจปวงบ่าว, 6- เป็นการแสดงความรักของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าว และ ...

คำตอบเชิงรายละเอียด

โองการอัลกุรอานบ่งชี้ให้เห็นว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา, ผู้กระทำความผิด,ผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงอัลลอฮฺ, คือผู้ที่หลงลืมการสร้างและวันฟื้นคืนชีพ ซึ่งจริงๆ แล้วคือผู้หลงลืมอัลลอฮฺ (ซบ.)

อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : สูเจ้าจงอย่าเป็นเฉกเช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮ (ซึ่งอัลลอฮฺก็จะลืมเขาโดยไม่ให้เขาได้รับความเมตตาจากพระองค์) เพราะอัลลอฮจะทรงให้พวกเขาลืมตัวเอง ชนเหล่านั้นคือผู้ฝ่าฝืน[1]

เช่นเดียวกันโองการอื่นได้กล่าวคำพูดของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่กล่าวว่า : "จะไม่มีชีวิตอื่นใดอีกดอก นอกจากการมีชีวิตของเราในโลกนี้ เราจะตายไปและเราจะมีชีวิตอยู่ และไม่มีสิ่งใดจะมาทำลายเราให้พินาศได้ นอกจากกาลเวลาเท่านั้น พวกเขาไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดอก พวกเขาเพึยงแค่เดาเอาเอง[2]บุคคลเหล่านี้เขาได้ลืมอัลลอฮฺและมะอาดไปจนหมดสิ้น

อัลกุรอาน โองการอื่นกล่าวว่า : “(และจงกล่าวกับพวกเขาว่า) ดังนั้น พวกเจ้า (ชาวนรก) จงลิ้มรสเถิด เนื่องด้วยพวกเจ้าได้ลืมการชุมนุมกันในวันนี้ของพวกเจ้า, แท้จริง เราก็ลืมพวกเจ้าด้วย และพวกเจ้าจงลิ้มรสการลงโทษอย่างตลอดกาลตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เถิด[3]

อัลกุรอานอีกโองการหนึ่งกล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาว่า : “. และจะมีการกล่าวขึ้นว่า "วันนี้เราจะลืมพวกเจ้า เช่นที่พวกเจ้าได้ลืมการพบกันในวันนี้ของพวกเจ้า และนรกคือที่พำนักของพวกเจ้า และพวกเจ้าจะไร้ผู้ช่วยเหลือ"[4]

ประเด็นที่ได้รับจากโองการเหล่านี้คือ :

1- เมื่อพิจารณาคำว่า นิสยาน เข้าใจได้ว่า การรู้จักอัลลอฮฺคือธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ที่มีมาแต่ก่อนเก่า บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และผู้กระทำความผิดได้ลืมธรรมชาติดั้งเดิมของตนเอง เนื่องจากผลของความสกปรกโสมมจากการทำความผิด. อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงใช้คำว่า นิสยาน (หลงลืม) กับผู้ศรัทธาหรือชาวคัมภีร์แม้แต่ครั้งเดียว. แต่สำหรับผู้ที่ลืมอัลลอฮฺ และวันฟื้นคืนชีพ, พระองค์จะใช้คำว่า นิสยาน กับพวกเขา พระองค์ตรัสว่า :เนื่องจากพวกเจาลืมอัลลอฮฺ และวันฟื้นคืนชีพ.

2- การหลงลืมอัลลอฮฺเท่ากับพวกเขาได้ลืมตัวเอง”,เหตุผลของประเด็นนี้ก็ชัดเจน, เนื่องจากด้านหนึ่งการลืมอัลลอฮฺเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องตกอยู่ในความต่ำทราม มีความเพลิดเพลินกับความสุขแห่งวัตถุ กิเลสตัณหาเยี่ยงเดรัจฉาน, และหลงลืมเป้าหมายการสร้างตนเอง และในที่สุดแล้วเท่ากับตนหลงลืมการสั่งเสบียงไว้สำหรับวันฟื้นคืนชีพ

อีกด้านหนึ่งการลืมอัลลอฮฺ เท่ากับได้ลืมคุณลักษณะที่ดีและสะอาดของพระองค์จนหมดสิ้น ซึ่งการมีอยู่ของพระองค์นั้นสัมบูรณ์ ทรงปรีชาญาณยิ่ง ทรงร่ำรวย และทรงเป็นองค์สุดท้าย ดังนั้นทุกสิ่งที่นอกเหนือไปจากพระองค์ต้องพึ่งพิงพระองค์ และขึ้นอยู่กับอาตมันสะอาดบริสุทธิ์ของพระองค์, ดังนั้น สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์คิดว่าตนเป็นเอกเทศ มีความร่ำรวยและไม่ต้องการพึ่งพิงพระองค์, ฉะนั้น ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ได้ลืมชะตาชีวิตของตนเอง มิใช่ลืมอัลลอฮฺ[5]

3- โองการเหล่านี้ได้ยืนยันให้เห็นว่า การหลงลืมอัลลอฮฺมิใช่เพียงแค่มีความเป็นไปได้เท่านั้น แต่น่าเสียดายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญของบททดลองมนุษย์ทั้งหมด มิหนำซ้ำมุสลิมบางกลุ่มชนก็ทำตนเยี่ยงนั้นด้วยเช่นกัน กล่าวคืออยู่ในเงื่อนไขของการลืมเลือนอัลลอฮฺ. เพียงแต่ว่าบางครั้งการลืมเลือนนี้จะมีตลอดไป ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษในไฟนรกในปรโลก. ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า :อัลลอฮฺได้ทรงปิดผนึกหัวใจของพวกเขาและหูของพวกเขา และบนดวงตาของพวกเขานั้นก็มีเยื่อปกปิดอยู่ และพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันมหันต์[6] แต่บางครั้งการหลงลืมก็เป็นไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งพอจะมีความหวังได้ว่าสักวันเขาคงกลับไปสู่สภาพเดิมของตัวเอง และฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺให้ตื่นในใจตัวเอง. อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : แท้จริงบรรดาผู้ที่ยำเกรงนั้นเมื่อมีการยุยงใด  จากชัยฏอนประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็รำลึกได้ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ ผลตอบแทน และการลงโทษ และในการรำลึกถึงพระองค์ทำให้เขาพบทางสว่าง) แล้วทันใดพวกเขาก็มองเห็น[7]

สาเหตุของการลืมเลือนอัลลอฮฺ :

1- ชัยฏอนคือตัวการสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้มนุษย์ลืมเลือนอัลลอฮฺ. เกี่ยวกับประเด็นนี้อัลกุรอานกล่าวว่า : “ชัยฏอนได้เข้าไปครอบงำพวกเขาเสียแล้ว มันจึงทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพรรคพวกของชัยฏอนนั้น พวกเขาเป็นผู้สูญเสีย[8]

ความพยายามทั้งหมดของชัยฏอนคือ การพยายามถอดถอนทุนของอัลลอฮฺออกไปจากมนุษย์ และบุคคลใดก็ตามที่ปล่อยทุนของอัลลอฮฺ ให้หลุดลอยมือไปเท่ากับเขาได้ลืมตัวเอง

2- การหลงโลกเป็นอีกตัวการหนึ่งที่สำคัญยิ่งในการทำให้มนุษย์ลืมอัลลอฮฺ, เนื่องจากความดึงดูดใจของโลก ปัจจัย และความซิวิไลซ์เป็นเหตุทำให้จิตใจของมนุษย์มืดบอด ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามอะลี (.) จึงกล่าวว่าไม่อาจไปถึงยังความใกล้ชิดอัลลอฮฺได้ เว้นเสียแต่ว่าได้ตัดขาดจากโลก[9]

3- ความผิดและการฝ่าฝืนคำสั่งขององค์พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร เป็นเฉกเช่นม่านที่กั้นระหว่างอัลลอฮฺกับมนุษย์ และกลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ได้หลงลืมอัลลอฮฺ การสร้างตนเองไปจนหมดสิ้น ดังเช่นที่ได้กล่าวถึงคำกล่าวของท่านอิมามริฎอ (.) ที่ตอบคำถามของชายคนหนึ่งที่ถามว่า เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงอยู่ในม่านกั้น? กล่าวว่า เป็นเพราะว่ามนุษย์ได้กระทำความผิดจำนวนมากมายนั่นเอง[10]

ในทางตรงกันข้ามเราต่างมีหน้าที่สำคัญคือ การรำลึกถึงอัลลอฮฺในจิตใจตนเสมอ เพราะเป็นการรักษาพลเมืองในสังคมให้มีชีวิตชีวาตลอดเวลา. ดังเช่นที่อัลลอฮฺตรัสว่า :บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง[11] การฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ให้มีชีวิตชีวาเสมอนั้นให้กระทำเท่าที่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องมีรูปแบบอันเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด, และด้วยการมีอยู่ตามคำสอนของศาสนา สำหรับการทำให้การรำลึกถึงอัลลอฮฺมีชีวิตชีวา จึงได้นำเสนอรูปแบบอันเฉพาะเอาไว้ เฉกเช่น :

1- นมาซ, ดังที่ อัลกุรอานกล่าวว่า :จงดํารงไว้ซึ่งการนมาซ เพื่อรำลึกถึงฉัน[12]

2- สร้างสัมพันธ์กับอัลกุรอาน, อัลลอฮฺ ตรัสว่า :สิ่งนั้นเราอ่านมันให้เจ้าฟัง อันได้แก่สัญลักษณ์ต่าง  (ที่บ่งบอกถึงความจริงของเจ้า) และเป็นคําเตือนรำลึกที่รัดกุมชัดเจน[13]

4-การใคร่ครวญในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน (สัญลักษณ์ของพระเจ้า) อัลกุรอานกล่าวว่า :พวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน (และกล่าวว่า) พระผู้อภิบาลของพวกข้าฯ พระองค์ไม่ได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ พระพิสุทธิคุณแห่งพระองค์ โปรดคุ้มครองพวกข้าฯให้พ้นจากการลงโทษแห่งเพลิงนรกด้วยเถิด"[14]

4-การใส่ใจในพระลักษณะของพระเจ้า, อัลลอฮฺตรัสว่า :บูรพาทิศและประจิมทิศเป็นของอัลลอฮฺ หนทางใดที่สูเจ้าผินหน้าของสูเจ้าไปอัลลอฮฺก็ทรงอยู่ที่นั่น แท้จริงอัลลอฮฺคือพระผู้ทรงกว้างขวาง พระผู้ทรงรอบรู้[15] เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมีอยู่ทุกที่, ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะผินหน้าไปทางไหนก็ตาม, ก็จะเห็นพระองค์ทรงอยู่  ที่นั่น. ผลลัพธ์ก็คือเราต้องระมัดระวังตนเองเพื่อจะได้ไม่เผลอกระทำความผิด

การรำลึกถึงอัลลอฮฺ มีผลบุญและผลานิสงส์อันมากมาย อาทิเช่น :

1- เท่ากับเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ

2- เท่ากับเป็นการนอบน้อมถ่อมตนในการยอมรับความจริง เพราะโดยแก่นแล้วมนุษย์คือบ่าวผู้อ่อนแอ

3- แสดงให้เห็นถึงความรักที่มีต่อการอิบาดะฮฺ

4- สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ

5- ดึงดูดความรักและความเอาใจใส่ของอัลลอฮฺมายังตน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนคงจะได้รับประโยชน์จากความจำเริญในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ



[1] อัลกุรอาน บทฮัชรฺ โองการที่ 19 กล่าวว่า : "وَ لا تَکُونُوا کَالَّذینَ نَسُوا اللَّهَ فَأَنْساهُمْ أَنْفُسَهُمْ أُولئِکَ هُمُ الْفاسِقُونَ" และบทเตาบะฮฺ โองการ 67, บทยาซีน โองการ 78

[2] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ โองการที่ 24 กล่าวว่า :

 "وَ قالُوا ما هِیَ إِلاَّ حَیاتُنَا الدُّنْیا نَمُوتُ وَ نَحْیا وَ ما یُهْلِکُنا إِلاَّ الدَّهْرُ وَ ما لَهُمْ بِذلِکَ مِنْ عِلْمٍ إِنْ هُمْ إِلاَّ یَظُنُّونَ

[3] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ โองการที่ 14,

[4] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ โองการที่ 34.

[5] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 23, หน้า 541.

[6] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 7, กล่าวว่า : "خَتَمَ اللَّهُ عَلى‏ قُلُوبِهِمْ وَ عَلى‏ سَمْعِهِمْ وَ عَلى‏ أَبْصارِهِمْ غِشاوَةٌ وَ لَهُمْ عَذابٌ عَظیمٌ"

[7] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ โองการที่ 201, และบทอาลิอิมรอน, โองการ 135 กล่าวว่า : 

" الَّذینَ اتَّقَوْا إِذا مَسَّهُمْ طائِفٌ مِنَ الشَّیْطانِ تَذَکَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُونَ".

[8] อัลกุรอาน บทมุญาดะละฮฺ โองการที่ 19 กล่าวว่า :

"اسْتَحْوَذَ عَلَیْهِمُ الشَّیْطانُ فَأَنْساهُمْ ذِکْرَ اللَّهِ أُولئِکَ حِزْبُ الشَّیْطانِ أَلا إِنَّ حِزْبَ الشَّیْطانِ هُمُ الْخاسِرُون".

[9] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 193, " وَ لَا یُنَالُ مَا عِنْدَهُ إِلَّا بِتَرْکِهَا".

[10] เชคซะดูก, อัตเตาฮีด, พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ ญามิอฺมุดัรริซีน กุม, ปี .. 1398, (1357) หน้า 252, จากท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวว่า :

قال الرجل فلم احتجب فقال أبو الحسن ع إن الاحتجاب عن الخلق لکثرة ذنوبهم.

[11] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 191 กล่าวว่า : "الَّذینَ یَذْکُرُونَ اللَّهَ قِیاماً وَ قُعُوداً وَ عَلى‏ جُنُوبِهِمْ"

[12] อัลกุรอาน บทฏอฮา โองการที่ 14 กล่าวว่า : "أَقِمِ الصَّلاةَ لِذِکْری".  

[13] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 581 กล่าวว่า : "ذلِکَ نَتْلُوهُ عَلَیْکَ مِنَ الْآیاتِ وَ الذِّکْرِ الْحَکیمِ"

[14] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 191 กล่าวว่า : "یَتَفَکَّرُونَ فی‏ خَلْقِ السَّماواتِ وَ الْأَرْضِ رَبَّنا ما خَلَقْتَ هذا باطِلاً سُبْحانَکَ فَقِنا عَذابَ النَّارِ".

[15] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 115 กล่าวว่า : "وَ لِلَّهِ الْمَشْرِقُ وَ الْمَغْرِبُ فَأَیْنَما تُوَلُّوا فَثَمَّ وَجْهُ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ واسِعٌ عَلیمٌ".

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อัลกุรอานและรายงานกล่าวถึงหรือนำเสนอเรื่องราวของเคฎ (อ.) ไว้บ้างหรือเปล่า?
    9081 تاريخ بزرگان 2555/09/29
    อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงนามของ ท่านเคฎ ไว้อย่างตรงไปตรงมา แต่กล่าวในฐานะของ "عَبْداً مِنْ عِبادِنا آتَيْناهُ رَحْمَةً مِنْ عِنْدِنا وَ عَلَّمْناهُ مِنْ لَدُنَّا عِلْماً" “แล้วทั้งสองได้พบบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้จากเราให้แก่เขา”[i] โองการสาธยายถึงฐานะภาพความเป็นบ่าว และความรู้อันเฉพาะของเขา,และอยู่ในฐานะของครูของมูซา บิน อิมรอน ซึ่งรายงานจำนวนมากมายกล่าวแนะนำถึงชายผู้มีความรู้นี้คือ เคฎ นั่นเอง เขาเป็นหนึ่งในผู้มีความรู้ และได้รับความโปรดโปรานอันเฉพาะจากพระผู้อภิบาล นอกจากนั้นท่านยังล่วงรู้ในระบบกฎเกณฑ์การสร้างสรรค์โลก ความเร้นลับบางประการ และในด้านหนึ่งเป็นครูของศาสดามูซา บิน อิมรอน แม้ว่ามูซาจะมีความรู้เหนือพวกเขาอยู่หลายด้านก็ตาม บางส่วนของรายงาน และคำอรรถาธิบายโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่าเขามีฐานะเป็นนะบี และเป็นหนึ่งในศาสดาที่ถูกส่งมา ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเพื่อประชาชาติของเขา เพื่อเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว การเป็นศาสดา ...
  • ฮะดีษที่ระบุว่า ในยุคของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะมีผู้คนบางกลุ่มสูญเสียศรัทธา ส่วนกาฟิรบางกลุ่มรับอิสลามนั้น หมายถึงบุคคลกลุ่มใดบ้าง?
    7832 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/04/02
    ฮะดีษที่คุณอ้างอิงจากหนังสือมีซานุลฮิกมะฮ์นี้ รายงานมาจากหนังสือ“อัลฆ็อยบะฮ์”ของท่านนุอ์มานี ซึ่งต้นฉบับดังกล่าวระบุถึงสถานภาพของเหล่าสาวกในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ว่า “รายงานจากอิบรอฮีมเล่าว่า มีผู้รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)แก่ฉันว่า เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ กลุ่มผู้ที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสหายของท่านจะออกจากภารกิจนี้(การเชื่อฟังอิมาม) ส่วนกลุ่มที่คล้ายผู้บูชาสุริยันและจันทราจะเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อท่านแทน”[1] แม้ว่าสายรายงานของฮะดีษนี้จะน่าเชื่อถือ แต่ยังถือว่าเป็นสายรายงานที่“มุรซั้ล”(ขาดตอน) เนื่องจากผู้รายงาน (อิบรอฮีม บิน อับดิลฮะมี้ดซึ่งเป็นสหายของอิมามกาซิม(อ.))นั้น กล่าวว่ารายงานจากบุคคลผู้หนึ่งที่ได้ยินจากอิมามศอดิก(อ.) โดยผู้รายงานมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ฮะดีษข้างต้นจึงถือว่าขาดตอนในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหานั้น ฮะดีษข้างต้นมีใจความว่า ในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกายนั้น เหล่าสหายที่คิดว่าตนเองเป็นพรรคพวกของท่านจะบิดพริ้วไม่เชื่อฟังท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลบางกลุ่มที่มิไช่ผู้ศรัทธา(ซึ่งฮะดีษใช้สำนวนว่า “เปรียบดังผู้บูชาสุริยันจันทรา”) กลับเลื่อมใสและเข้าสวามิภักดิ์ต่อท่าน และกลายเป็นสาวกแท้จริงที่ช่วยเหลือภารกิจต่างๆของท่าน กล่าวได้ว่าฮะดีษข้างต้นต้องการจะตำหนิกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าศรัทธาและภักดีต่อท่าน แต่แล้วเมื่อประสบกับการทดสอบในภาคปฏิบัติ ก็ไม่อาจจะทนอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของท่านได้อีกต่อไป บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆจากการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) แต่กลับต้องประสบกับความวิบัติอีกด้วย ซึ่งอาจจะหนักข้อถึงขั้นลุกขึ้นต่อต้านท่านอิมาม ทว่าในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เคยมีความศรัทธาบกพร่อง (กาฟิรและมุชริกีนบางกลุ่ม) อาจจะเอือมระอาต่อการอยู่ใต้อาณัติของผู้กดขี่ เมื่อได้เห็นรัฐบาลที่เที่ยงธรรมของอิมามก็อาจจะเข้ารับอิสลามและสวามิภักดิ์ต่อท่านก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษนี้ตามสายรายงานเดียวกันนี้ ทว่ามีข้อแตกต่างในเนื้อหาเล็กน้อยว่า: “เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นต่อสู้ บุคคลบางกลุ่มที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสาวกของท่านจะออกจากแนวทางของท่าน และแปรสภาพประดุจเหล่าผู้บูชาสุริยันและจันทรา”[2] กล่าวคือผู้ที่มีศรัทธาสั่นคลอนนั้น ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10171 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7736 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17315 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
    9573 تاريخ کلام 2554/12/21
    ในช่วงระยะเวลาการปกครองอันสั้นของยะซีดเขาได้ก่ออาชญากรรมอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการกล่าวคือประการแรกเขาได้สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), สองเขาได้ก่อกรรมชั่วอิสระ
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    5844 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • เหตุใดบรรดาอิมาม(อ.)จึงไม่สามารถปกป้องฮะร็อมของตนเองให้พ้นจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้?
    5707 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/13
    นอกจากอัลลอฮ์จะทรงมอบอำนาจแห่งตัชรี้อ์(อำนาจบังคับใช้กฎชะรีอัต)แก่นบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)แล้วพระองค์ยังได้มอบอำนาจแห่งตั้กวีนีอีกด้วยเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้สามารถจะแสดงอิทธิฤทธิ์ต่อสรรพสิ่งในโลกได้อำนาจดังกล่าวยังมีอยู่แม้บุคคลเหล่านี้สิ้นลมไปแล้วทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวแม้อยู่ในอาลัมบัรซัค(มิติหลังมรณะ) อย่างไรก็ดีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้อำนาจดังกล่าวอย่างพร่ำเพรื่อแต่จะใช้อำนาจนี้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของศาสนาของอัลลอฮ์หรือกรณีที่จำเป็นต่อการนำทางมนุษย์เท่านั้นซึ่งต้องไม่ขัดต่อจารีตวิถี(ซุนนะฮ์)ของพระองค์ด้วยอีกด้านหนึ่งการให้เกียรติสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)นับเป็นหนทางที่เที่ยงตรงส่วนการประทุษร้ายต่อสถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นหนทางที่หลงผิดแน่นอนว่าจารีตวิถีหนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ในอันที่จะเลือกระหว่างหนทางที่เที่ยงตรงและหลงผิดด้วยเหตุนี้เองที่บรรดาอิมาม(อ.)ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจพิเศษโดยไม่คำนึงความเหมาะสมยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์เองซึ่งแม้จะทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งแต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจทุกกรณีเห็นได้จากการที่มีผู้สร้างความเสียหายแก่อาคารกะอ์บะฮ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์แต่พระองค์ทรงใช้พลังพิเศษกับกองทัพของอับเราะฮะฮ์เท่านั้นเนื่องจากเขายาตราทัพเพื่อหวังจะบดขยี้กะอ์บะฮ์โดยเฉพาะ ...
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    5974 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22732 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59437 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56869 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41699 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38460 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38451 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33483 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27562 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27276 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27178 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25250 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...