การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8309
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11567 รหัสสำเนา 19928
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
คำถาม
ถูกต้องหรือไม่ทีว่ามุคตารเป็นษะกะฟีย์ มีความรักให้ท่นอบูกบักร์และอุมัรเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงตกจากสะพานซิรอต, และท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ช่วยเหลือไว้? ในช่วงเวลาการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เขาอยู่ที่ไหนจึงไม่ได้ปกป้องท่านอิมาม?
คำตอบโดยสังเขป

รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา และบางกลุ่มก็กล่าวประณามเขา นักวิชาการฝ่ายฮะดีซและริญาลเมื่อกล่าวถึง มุคตาร ส่วนใหญ่จะเลือกฮะดีซที่กล่าวสรรเสริญมากกว่า ส่วนรายงานตรงกันข้ามนั้นจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงมากเท่าใดนัก

อัลลามะฮฺมัจญฺลิซซียฺ ได้นำเอารายงาน (การช่วยเหลือมุคตาร) มารวมเข้ากับรายงานที่กล่าวประณาม ซึ่งในแง่ของความเชื่อศรัทธาเบื้องต้นเขาเป็นชาวนรก แต่ในบั้นปลายเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) เขาจึงรอดพ้นจากการลงโทษของพระเจ้า, ส่วนท่านอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ กล่าวว่า สายรายงานของฮะดีซบทนี้อ่อนแอ

มุคตาร ษะกะฟียฺ, ก่อนขบวนการอาชูรอและการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในกัรบะลา, เขาได้ให้การสนับสนุนมุสลิม บิน อะกีล ผู้เป็นทูตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในกูฟะฮฺ, มุคตารถูกจำคุกอยู่โดยคำสั่งของ อิบนุซิยาด จนกระทั่งการยืนหยัดต่อสู้ในกัรบะลาอฺได้สิ้นสุดลง

คำตอบเชิงรายละเอียด

มุคตาร บิน อบี อุบัยดะฮฺ มาจากเผ่าษะกีฟ, มีฉายนามว่า อบูอิสฮาก, และมีสมญานามว่า กีซาน, คำว่ากีซานหมายถึง ความฉลาด ความหลักแหลม.[1] ตามรายงานที่กล่าวไว้, อัศบัฆ บิน นะบาตะฮฺ, สหายคนหนึ่งของท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : [2]ฉายานามว่า กีส ท่านอิมามอะลี (.) ได้ตั้งให้แก่มุคตาร

มุคตารได้เรียนรู้มารยาทและความประเสริฐด้านศีลธรรมจาก สำนักคิดอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) เมื่อย่างเข้าวัยหนุ่ม, เขาได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับบิดาและอาของเขาไปยังอีรัก เพื่อเข้าร่วมสงครามสู้รบกับกองทัพอิหร่าน มุคตารได้อยู่เคียงข้างท่านอิมามอะลี (.) และหลังจากท่านอิมามได้ชะฮาดัต, เขาได้เดินทางบัศเราะฮฺและอาศัยอยู่ที่นั่น[3]

อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา) บันทึกว่า : มุคตารได้อธิบายความประเสริฐของอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) นอกจากนั้นเขายังสาธยาย และเผยแพร่คุณลักษณะอันงดงามของท่านอมีรุลมุอฺมีน ท่านอิมามฮะซัน และท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) แก่ประชาชน เขามีความเชื่อเสมอว่าครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อล ) มีความเหมาะสมกับตำแหน่งการเป็นผู้นำ และผู้ปกครองภายหลังจากท่านศาสดา ยิ่งกว่าผู้ใดทั้งหมด เขาแสดงความเสียใจและโมโหโกรธาตลอดเวลา เมื่อเห็นความยากลำบากและความทุกข์ยากต่างๆ ได้กร่ำกรายมาสู่ครอบครัวของท่านศาสดา[4]

บุคลิกภาพของมุคตารในริวายะฮฺ

รายงานที่กล่าวถึงมุคตาร ซึ่งมีบันทึกอยู่ในตำราฮะดีซแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มหนึ่งกล่าวสรรเสริญมุคตาร ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวประณาม

) ฮะดีซที่กล่าวสรรเสริญมุคตาร

ตำราฮะดีซได้บันทึกฮะดีซ ที่กล่าวสรรเสริญมุคตารไว้นั้นมีจำนวนมากมาย, แต่เพื่อความเหมาะสมในที่นี้จะขอนำเสนอเป็นตัวอย่างสัก 3 ฮะดีซ ประกอบด้วย

1.ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า : เหล่าสตรีของบนีฮาชิมไม่เคยหวีผม และแต่งหน้าจนกระทั่งมุคตาร ได้ส่งศีรษะเหล่าทรชนที่ร่วมกันสังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) มายังครอบครัวของเรา[5] ซัยยิดคูอียฺ (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา) ยอมรับว่าฮะดีซบทนี้ถูกต้องเชื่อถือได้[6] รายงานบทสนับสนุนให้เห็นถึงการกระทำดีของมุคตาร

2.จงอย่ากล่าวสิ่งไม่ดีกับมุคตาร, เนื่องจากเขาได้สังหารหมู่ชนที่สังหารพวกเรา และเขาได้ลงโทษอาชญากรเหล่านั้น,เมื่อยามประสบความทุกข์ยากเขาได้แบ่งทรัพย์สินแก่พวกเรา ช่วยดูแลเหล่าสตรีที่เป็นหม้ายของเรา[7]

3.บางรายงานได้กล่าวว่า ท่านอิมามซัจญาด (.) เมื่อได้เห็นศีรษะของอุบัยดิลลาฮฺ บิน ซิยาด และอุมะริบ สะอัด ถูกส่งมาให้ท่าน, ท่านได้ลงซัจญฺดะฮฺและกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ พร้อมกับกล่าวว่า : "جَزىَ اللهُ المُختارَ خَیرا ขออัลลอฮฺ โปรดประทานรางวัลความดีงามแก่มุคตาร[8]

) รายงานที่กล่าวประณามมุคตาร

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงฮะดีซสัก 3 ฮะดีซเพื่อเป็นตัวอย่าง

1. ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า :มุคตารได้กล่าวมุสาพาดพิงถึงท่านอิมามซัจญาด (.)”[9]

2.มีรายงานกล่าวว่า มุคตารได้ส่งเงินให้ท่านอิมามซัจญาด (.) จำนวน 20,000 ดีนาร, ท่านอิมามได้รับเงินนั้นไว้เพื่อซ่อมแซมรอยผุพังของบ้านท่าน, หลังจากนั้นมุคตารได้ส่งเงินให้ท่านอิมามอีกเป็นจำนวนเงินถึง 40,000 ดีนาร ซึ่งท่านอิมามก็ได้รับเงินนั้นไว้อีก[10] อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า "فَإِنِّی لَا أَقْبَلُ هَدَایا الْکَذَّابِین‏" ดังนั้น ฉันจะไม่ยอมรับของกำนัลที่มุสาหลอกลวง[11]

3.คำใส่ร้ายอีกประการหนึ่งท่มีต่อมุคตาร คือ เขาชื่อการเป็นอิมามะฮฺของมุฮัมม ฮะนะฟียะฮฺ และได้เชิญชวนประชาชนไปสู่เขา ด้วยเหตุนี้เอง สำนักคิด กีซานียะฮฺ จึงได้เกิดขึ้นมา[12]

มุคตารในทัศนะของนักปราชญ์

นักวิชาการและนักปราชญ์สายฮะดีซและอิลมริญาล ส่วนใหญ่จะเลือกฮะดีซที่กล่าวสรรเสริญและชื่นชมมุคตาร ซึ่งจะไม่มีผู้ใดเลือกรายงานที่ตรงกันข้ามมาอรรถาธิบาย

) รายงานที่กล่าวประณามมคตาร, ถ้าหากพิจารณาจากสายรายงานแล้วถือว่า อ่อนแอมาก[13] กะชี กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : ฉันคิดว่าฮะดีซเหล่านี้เป็นฮะดีซอุปโลกน์ทั้งสิ้นที่มาจากฝ่ายซุนนียฺ[14]

) อาจเป็นไปได้ว่าฮะดีซเหล่านี้ อาจเกิดจากการตะกียะฮฺ และเพื่อความปลอดภัยของท่านอิมามและบนีฮาชิม จากน้ำมือของผู้ปกครองที่กดขี่ จึงได้ออกมาจากเขา[15]

) ฮะดีซกล่าวว่ามุคตารได้ส่งของกำนัลให้ท่านอิมามซัจญาด (.) และครอบครัว ถึงสองครั้ง ซึ่งครั้งที่สองท่านอิมามไม่ยอมรับ เนื่องจากเป็นของกำนัลที่ผูกพันอยู่บนความมุสาของมุคตาร สิ่งนี้ห่างไกลจากความจริง, เนื่องจากถ้าหากท่านอิมามไม่ยอมรับของขวัญเพราะการมุสาของมุคตารแล้วละก็ สาเหตุนี้ก็มีอยู่ในการมอบของขวัญครั้งแรกเหมือนกัน[16]

) รายงานต่างๆ ที่พาดพิง สำนักคิดกีซานียะฮฺ ว่ามีความผูกพันกับมุคตาร ประหนึ่งว่าเป็นการพูดโกหกใส่มุคตาร, และตามความเชื่อของนักปราชญ์ฝ่ายอิลมุริญาล กล่าวว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องโกหกจากฝ่ายซุนนีย์ที่มีต่อมุคตาร, เนื่องจากมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮฺ ไม่เคยกล่าวอ้างการเป็นอิมามะฮฺเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพื่อว่ามุคตารจะได้เชิญชวนไปสู่เขา, ทว่าสำนักคิด กีซานียะฮฺ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังจากมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ได้เสียชีวิตไปแล้ว[17]

ความเชื้อของมุคตาร

นักวิชาการบางคน,ไม่เชื่อว่ามุคตารมีความเชื่อหรือความศรัทธาที่ดีและถูกต้อง ซึ่งประเด็นนี้มี 2 รายงานกล่าวพาดพิงไว้ กล่าวคือ :

1. عَنْ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ (ع) قَالَ لِی: "یجُوزُ النَّبِی(ص) الصِّرَاطَ یتْلُوهُ عَلِی وَ یتْلُو عَلِیاً الْحَسَنُ وَ یتْلُو الْحَسَنَ الْحُسَینُ فَإِذَا تَوَسَّطُوهُ نَادَى الْمُخْتَارُ الْحُسَینَ(ع) :یا أَبَا عَبْدِ اللَّهِ(ع) إِنِّی طَلَبْتُ بِثَارِکَ فَیقُولُ النَّبِی(ص) لِلْحُسَینِ(ع) :أَجِبْهُ؛ فَینْقَضُّ الْحُسَینُ(ع) فِی النَّارِ کَأَنَّهُ عُقَابٌ کَاسِرٌ فَیخْرِجُ الْمُخْتَارَ حُمَمَةً وَ لَوْ شُقَّ عَنْ قَلْبِهِ لَوُجِدَ حُبُّهُمَا فِی قَلْبِهِ"؛

1.ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า : ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้เดินผ่านสะพานซิรอตไปแล้ว ขณะนั้นมีท่านอิมามอะลี (.) และมีท่านอิมามฮะซัน (.) เดินตามหลัง หลังจากนั้นเป็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) เมื่อเดินไปถึงกลางสะพาน มุคตาร (ซึ่งถูกลงโทษในนรก) ได้ส่งเสียงเรียกวา : โอ้ ยาอะบาอับดิลลาฮฺ ฉันคือผู้ทวงหนี้เลือดให้แก่ท่าน, ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : โอ้ ฮุซัยนฺ จงตอบเขาไปซิ, หลังจากนั้นท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ได้โฉบเฉี่ยวมุคตารให้พ้นจากนรกเหมือนพญาอินทรีย์ แต่กระนั้น ถ้าหากหัวใจของมุคตารแตกสลายออกมา, ความรักที่เขามีต่อเคาะลิฟะฮฺทั้งสองก็จะเปิดเผยออกมาทันที[18]

2.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27189 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • เราสามารถกล่าวคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนเวลาอะซานหรือไม่? หรือจำเป็นหรือไม่ที่จะกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์
    5892 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    คำถามของคุณไม่ชัดเจนนัก ทำให้สามารถแบ่งคำถามนี้ได้เป็น 2 คำถาม แต่คาดว่าคำถามของคุณน่าจะหมายถึงข้อที่หนึ่งดังต่อไปนี้1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกล่าวหนึ่งในสองของคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนถึงเวลาอะซาน(เวลาที่ตะวันเริ่มคล้อยลง) หรือสามารถกล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองก่อนหรือหลังอะซานก็ได้?
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    11764 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
  • ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺและแสดงการตะอฺซีมหรือไม่ ?
    6805 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/09/25
    ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าการซัจญฺดะฮฺคือรูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้นและไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่นส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกันดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใดทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺเราจึงอิบาดะฮฺ ...
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    11143 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6576 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • เหตุใดบรรดาอิมาม(อ.)จึงไม่สามารถปกป้องฮะร็อมของตนเองให้พ้นจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้?
    5718 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/13
    นอกจากอัลลอฮ์จะทรงมอบอำนาจแห่งตัชรี้อ์(อำนาจบังคับใช้กฎชะรีอัต)แก่นบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)แล้วพระองค์ยังได้มอบอำนาจแห่งตั้กวีนีอีกด้วยเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้สามารถจะแสดงอิทธิฤทธิ์ต่อสรรพสิ่งในโลกได้อำนาจดังกล่าวยังมีอยู่แม้บุคคลเหล่านี้สิ้นลมไปแล้วทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวแม้อยู่ในอาลัมบัรซัค(มิติหลังมรณะ) อย่างไรก็ดีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้อำนาจดังกล่าวอย่างพร่ำเพรื่อแต่จะใช้อำนาจนี้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของศาสนาของอัลลอฮ์หรือกรณีที่จำเป็นต่อการนำทางมนุษย์เท่านั้นซึ่งต้องไม่ขัดต่อจารีตวิถี(ซุนนะฮ์)ของพระองค์ด้วยอีกด้านหนึ่งการให้เกียรติสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)นับเป็นหนทางที่เที่ยงตรงส่วนการประทุษร้ายต่อสถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นหนทางที่หลงผิดแน่นอนว่าจารีตวิถีหนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ในอันที่จะเลือกระหว่างหนทางที่เที่ยงตรงและหลงผิดด้วยเหตุนี้เองที่บรรดาอิมาม(อ.)ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจพิเศษโดยไม่คำนึงความเหมาะสมยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์เองซึ่งแม้จะทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งแต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจทุกกรณีเห็นได้จากการที่มีผู้สร้างความเสียหายแก่อาคารกะอ์บะฮ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์แต่พระองค์ทรงใช้พลังพิเศษกับกองทัพของอับเราะฮะฮ์เท่านั้นเนื่องจากเขายาตราทัพเพื่อหวังจะบดขยี้กะอ์บะฮ์โดยเฉพาะ ...
  • คำพูดของอิมามศอดิกที่ว่า “ยี่สิบห้าอักขระแห่งวิชาการจะแพร่หลายในยุคที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกาย” หมายความว่าอย่างไร?
    7291 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/04
    ความเจริญรุดหน้าทางวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกาย วิทยาการจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ ดังที่ปรากฏในฮะดีษที่ผู้ถามอ้างอิงไว้ข้างต้น อย่างไรก็ดี ฮะดีษทำนองนี้มิได้ระบุว่ามนุษย์ในยุคดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างรวดเร็วเหมือนกันหมดทุกคน ทว่าฮะดีษของอิมามศอดิก(อ.)ข้างต้นใช้คำว่า “أخرج”[1] อันหมายถึงการที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะนำอักขระที่เหลือออกมาเผยแพร่ เพื่อให้มนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นการแผ่ขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง แต่การที่ทุกคนสามารถจะเรียนรู้ได้ครบยี่สิบเจ็ดอักขระเท่าเทียมกันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความไฝ่รู้ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่บรรลุถึงวิทยฐานะอันสูงส่ง โดยจะเป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาและประสิทธิประสาทวิชาการแก่ผู้ที่สนใจสืบไป ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า “เสมือนว่าฉันกำลังเห็นเหล่าชีอะฮ์ของฉันกางเต๊นท์ในมัสญิดกูฟะฮ์เพื่อเป็นสถานที่สอนความรู้อันบริสุทธิจากอัลกุรอานแก่ประชาชน”[2] ข้อสรุป: แม้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปิดศักราชแห่งการศึกษาวิทยาการถึงยี่สิบเจ็ดอักขระภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย อันกล่าวได้ว่าอาจเป็นโอกาสในการก้าวกระโดดทางวิชาการ แต่ก็มีบางคนในยุคนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ การจะบรรลุเป้าหมายทางวิชาการจะต้องอาศัยความพากเพียร เปรียบดั่งเป้าหมายแห่งตักวาที่ทุกคนสามารถไขว่คว้ามาได้ด้วยความบากบั่น ฉะนั้น ในเมื่อการบรรลุถึงจุดสูงสุดของตักวายังต้องอาศัยความอุตสาหะ การบรรลุถึงวิชาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระก็ต้องอาศัยความพยายามและความมุมานะเช่นกัน
  • ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
    13485 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38462 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27293 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27189 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...