การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8379
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/14
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1614 รหัสสำเนา 26993
คำถามอย่างย่อ
การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
คำถาม
บนพื้นฐานของรายงานฮะดีซและแหล่งอ้างอิงทางศาสนา เมื่อนำเอาความผิดมาเปรียบเทียบกันแล้ว ในแง่ของการลงโทษจะมีจำนวนที่แน่นอนหรือไม่ เช่น การทำซินาความผิดจะเท่ากัน หรือมากกว่าการฟังดนตรีจำนวน 34 ครั้ง หรือ ...?
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง

ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลลอฮฺ ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาก็เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความสุขของมนุษย์ ถ้าหากบุคคลใดปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านี้ เขาก็จะได้รับความเจริญผาสุกทั้งทางโลกนี้และปรโลก แต่ในกรณีที่ฝ่าฝืนนอกจากได้รับโทษแล้ว เขายังกีดกันตัวเองให้ออกห่างจากความเจริญผาสุกที่แท้จริงอีกด้วย

ความผิดและบาปนั้นหมายถึง การฝ่าฝืนและการไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้า[1] บาปกรรมต่างๆ เมื่อพิจารณาจากผลทางโลกนี้และโลกหน้าแล้ว ในแง่ของการลงโทษ มีความแตกต่างกัน

การแบ่งระดับของความผิดในอัลกุรอาน

อัลกุรอาน ถือว่า ชิริก คือความผิดใหญ่และเป็นการอธรรมสูงสุด กล่าวว่า     «إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيم.» “แท้จริงการตั้งภาคีคือความผิดมหันต์”[2] อีกโองการหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงจัดความผิดตางๆ ว่าเป็นการภาคี และเบากว่าการตั้งภาคี เช่น “แท้จริง อัลลอฮฺไม่ทรงอภัยโทษ  [บาปนี้]  การตั้งภาคีต่อพระองค์  แต่ [บาป] ที่เล็กกว่านั้น   พระองค์จะทรงอภัยแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์  ผู้ใดตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ  แน่นอน  เขาก็ได้หลงทางไปไกลโพ้น”[3] โองการอื่นกล่าวว่า “บรรดาผู้หลีกเลี่ยงห่างจากการทำบาปใหญ่ และทำสิ่งลามกทั้งหลาย เว้นแต่ความผิดพลาดเล็กน้อย (ซึ่งบางครั้งได้ล่วงละเมิด) แท้จริง พระผู้อภิบาลของเจ้า ทรงเป็นผู้กว้างขวางในการอภัย[4] อีกนัยหนึ่ง อัลลอฮฺ ตรัสว่า ถ้าหากเจ้าละเว้นการทำบาปใหญ่ (ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่เจ้าได้ล่วงละเมิดกระทำลงไป) พระองค์จะทรงอภัยโทษแก่เจ้า แน่นอน สิ่งนี้หมายถึงว่าเจ้าจะต้องไม่ทำความผิดเล็กๆ น้อยๆ ซ้ำซาก[5]

การแบ่งระดับของความผิดในฮะดีซ

รายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้แบ่งความผิด (บาป) ออกเป็นบาปใหญ่และบาปเล็ก ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้นำอัลกุรอานพิสูจน์ความผิดต่อไปนี้ว่า เป็นบาปใหญ่[6] : สิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ (ยูซุฟ, 78) พวกเขาจะปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ (อะอฺรอฟ 99) ทำดีต่อบิดามารดา (มัรยัม, 32) สังหารมวลผู้ศรัทธา (นิซาอฺ, 93) ใส่ร้ายสตรีผู้ศรัทธาที่มีความบริสุทธิ์ (นูร, 23) กินทรัพย์สินของเด็กกำพร้า (นิซาอฺ, 10) หนีสงครามศาสนา (อันฟาล, 16) กินดอกเบี้ย (บะเกาะเราะ, 277) ผิดประเวณี (ซินา) (ฟุรกอน, 68-69) ก่ออาชกรรมความเสียหาย (อาลิอิมรอน, 161) ไม่บริจาคซะกาตวาญิบ (เตาบะฮฺ, 35) มายากล (บะเกาะเราะฮฺ, 102) สาบานโกหกเพื่อความผิด (อาลิอิมรอน, 77) บิดพลิ้วสัญญา (บะเกาะเราะฮฺ, 27)[7]

ในแง่ของการลงโทษทางโลกนี้เช่นกัน ความผิดมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การสังหารชีวิตผู้อื่นโดยเจตนา การคบชู้ และ ...โทษคือการประหารชีวิต ส่วนการลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การผิดประเวณีทั่วไป การดื่มสุรา และ ... จะได้รับการโบยต่อหน้าสาธารณชน และ ...[8] สำหรับการลงโทษบางอย่าง เช่น การไม่ถือศีลอด การบิดพลิ้วสัญญา การสาบานโกหก และ ..จะต้องเสียค่าปรับ เช่น ตั้งใจไม่ถือศีลอด ต้องจ่ายอาหารแก่คนยากจนตามกำหนดไว้[9]

ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างความผิดด้วยกัน เช่น ระหว่างการซินากับการฟังดนตรี แน่นอน การทำซินาย่อมเลวร้ายและมีบาปมากกว่าการฟังดนตรีที่ฮะรอม เนื่องจาก ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ดนตรี คือบันไดที่ก้าวไปสู่การซินา” ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “บ้านหลังใดที่มีเสียงดนตรี จะไม่มีวันบริสุทธิ์จากความชั่วอนาจารต่างๆ เด็ดขาด”[10] จากทั้งสองรายงานเข้าใจได้ได้ การเข้าสู่โลกของดนตรีคือ บทนำไปสู่การซินา แต่ไม่มีหลักฐานสำหรับประเด็นดังกล่าวที่ว่า โทษทัณฑ์ของการทำซินาจะมากกว่าการฟังดนตรีที่ฮะรอมถึง 34 เท่า

ประเด็น สุดท้ายแม้ว่าตามคำสอนของอิสลามจะแบ่งความผิด (บาป) ออกเป็นระดับต่างๆ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า ความผิด (บาป) ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก เมื่อพาดพิงไปยังอัลลอฮฺ มันคือความผิดมหันต์ทั้งสิ้น ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า “จงอย่ามองว่านั่นเป็นบาปเล็ก แต่จงคิดว่า เจ้ากล้าทำความผิดต่อหน้าใคร”[11]

 

 


[1] อิซมัต อัมบิยาอฺ วะเราะซูลลาน, อัลลามะฮฺ อัสการีย์, หน้า 78

[2] บทลุกมาน, 13.

[3] บทนิซาอฺ 116.

[4] บทนัจญฺมุ, 32.

[5] النَّهِيكِيِّ عَنْ عَمَّارِ بْنِ مَرْوَانَ الْقَنْدِيِّ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ سِنَانٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ لَا صَغِيرَةَ مَعَ الْإِصْرَارِ وَ لَا كَبِيرَةَ مَعَ الِاسْتِغْفَارِ.

[6] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 15, หน้า 319,ฮะดีซที่ 2 بَابُ تَعْيِينِ الْكَبَائِرِ الَّتِي يَجِبُ اجْتِنَابُهَا

[7] ซัด โด พันเฌาะ เมาฎูอ์ อัซกุรอานกะรีม, อักบัร เดะกอน, หน้า 210-212.

[8] มาตราที่ 83, กฎหมายอาญาอิสลาม, หนังสือ ชัรกอนูนมะญอซอต อิสลามี, มุรตะฎะวี, หน้า 51.

[9] เตาฎีฮุลมะซาอิล มะรอญิอฺตักลีด, บทอะฮฺกามการถือศีลอด.

[10] คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการฟังดนตรี, หน้า 22, อะฮฺกามดนตรี, หน้า 32.

[11] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 77, หน้า 168, ซัด โด พันเฌาะ เมาฎูอ์ อัซกุรอะฮาดีซ อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.), อักบัร เดะกอน, หน้า 247

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อุมัรได้ทำทานบนหรือลงโทษอบูฮุร็อยเราะฮฺหรือไม่ ในฐานะที่อุปโลกน์ฮะดีซขึ้นมา?
    7039 ริญาลุลฮะดีซ 2555/04/07
    บุคอรียฺ,มุสลิม,ซะฮะบียฺ, อิมามอบูญะอฺฟัร อัสกาฟียฺ, มุตตะกียฺ ฮินดียฺ และคนอื่นๆ กล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺที่ 2 ได้ลงโทษเฆี่ยนตีอบูฮุร็อยเราะฮฺอย่างหนักจนสิ้นยุคการปกครองของเขา เนื่องจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ปลอมแปลงฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จำนวนมากและกล่าวพาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ฯ) สามารถกล่าวได้ว่า สาเหตุที่อุมัรคิดไม่ดีต่ออบูฮุร็อยเราะฮฺ อาจเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้ หนึ่ง เขาชอบนั่งประชุมเสวนากับ กะอฺบุลอะฮฺบาร ยะฮูดียฺคนหนึ่ง และรายงานฮะดีซจากเขา สอง เขาได้รายงานฮะดีซโดยไม่มีรากที่มา ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรงกับฮะดีซที่อุปโลกน์ขึ้นมา และในความเป็นจริงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดนอกจากการอุปโลกน์ สาม รายงานฮะดีซที่ขัดแย้งกับฮะดีซที่เล่าโดยเซาะฮาบะฮฺ สี่ เซาะฮาบะฮฺ บางคนเช่นอบูบักร์ และอิมามอะลี (อ.) จะขัดแย้งกับเขาเสมอ ...
  • หลักวิชามนุษย์ศาสตร์และจิตวิทยา ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นตัวเอง ส่วนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม จริยธรรม และวิชารหัสยลัทธิ, จะกล่าวถึงการไว้วางใจและมอบหมายแด่พระเจ้า แล้วคุณคิดว่าทั้งสองมีความขัดแย้งกันไหม?
    12343 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/12/22
    การที่จะรู้ถึงความแตกต่างและความไม่แตกต่างระหว่างความเชื่อมั่นตัวเองกับการไว้วางใจหรือมอบหมายขึ้นอยู่กับการได้รับความเข้าใจของทั้งสองคำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นตนเอง, สามารถอธิบายได้ 2 ความหมายกล่าวคือ :1. การรู้จักศักยภาพความสามารถการพึ่งพาและการได้รับเพื่อที่จะเข้าถึงตัวตนของความปรารถนาและสติปัญญาที่แท้จริงการเก็บเกี่ยวจะไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมของความไว้วางใจเลยแม้แต่น้อย
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20790 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • อัลกุรอาน บทใดขณะประทานลงมามีมลาอิกะฮฺ จำนวน 70,000 ท่าน รายล้อมอยู่?
    8479 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตามรายงานที่บันทึกไว้, สิ่งที่กล่าวมาเป็นความพิเศษเฉพาะบทอันอาม ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : บทอันอามมีประโยคคล้ายกัน ซึ่งได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน, ขณะที่มีมลาอิกะฮฺจำนวน 70,000 ท่าน ห้อมล้อมและแบกอัลกุรอาน บทนี้เอาไว้ จนกระทั่งไปนำอัลกุรอานบทนี้มาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังนั้น จงให้เกียรติและแสดงความเคารพอัลกุรอาน บทนี้ให้มากเถิด เนื่องจากในบทนี้มีพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ถูกกล่าวซ้ำถึง 70 ครั้ง และถ้าหากประชาชนทราบถึงความยิ่งใหญ่และความจริงของบทนี้ เขาจะไม่มีวันปล่อยอัลกุรอานบทนี้ไป[1] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด.
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    8538 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5989 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8130 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...
  • ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีบุคลิกภาพด้านใดบ้าง?
    11022 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/09/22
    มิติบุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในลักษณะที่จะต้องได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเท่านั้นจึงจะสามารถประจักษ์ได้ซึ่งการนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมิติด้านศีลธรรมและจิตใจความรู้และการต่อสู้ของนางทั้งในเชิงการเมืองและสังคมขอหยิบยกบุคลิกภาพอันโดดเด่นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ที่กล่าวถึงในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์)มานำเสนอโดยสังเขปดังนี้1. ท่านหญิงใช้ชีวิตเรียบง่ายและพอใจวิถีชีวิตสมถะทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด2. บริจาคของรักของตนมากมายทั้งที่ยังจำเป็นต้องใช้3. ทำอิบาอะฮ์และวิงวอนต่ออัลลอฮ์สม่ำเสมอด้วยความบริสุทธิใจ4. เป็นภาพลักษณ์แห่งจริตกุลสตรีและความเหนียมอาย5. แบบฉบับที่สมบูรณ์ด้านการสวมฮิญาบตามวิถีอิสลาม6. มีความรู้อันกว้างขวางซึ่งประจักษ์ได้จากการรับทราบเนื้อหาในตำรา"มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"7.
  • เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
    8468 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการทั้งนี้อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการเอ่ยนามท่านนักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจงเพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยบางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่าเราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดาตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น ...
  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10037 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59405 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56853 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41682 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38440 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38437 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33464 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27550 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27251 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27152 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25225 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...