การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6539
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/29
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ขัดวาง การห้ามมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม?
คำถาม
เพราะเหตุใด เมื่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องการเขียนบางสิ่งแก่บรรดาสหายก่อนที่ท่านจะจากไป ซึ่งจะไม่ทำให้พวกเขาหลงทางตลอดไป, แต่ท่านอะลีมิได้กล่าวสิ่งใดเลย, ทั้งที่ท่านเป็นผู้มีความกล้าหาญ ไม่เคยกลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ และท่านก็ทราบดีว่าบุคคลใดไม่พูดความจริง เขาคือปีศาจมุสา?
คำตอบโดยสังเขป

การขัดขวางหรือห้ามมิให้นำปากกาและกระดาษมาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) (เพื่อที่จะเขียนพินัยกรรมบางอย่างก่อนที่ท่านจะจากไป) เป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, การนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว มิได้เป็นเหตุผลที่มายืนยันหรือปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ท่านอิมามมีเหตุผลอะไรถึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านอิมามขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่?

เมื่อศึกษาเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสืออื่นๆ ทำให้ได้บทสรุปว่า

1.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถูกกล่าวร้ายว่า เป็นคนพูดจาเพ้อเจ้อ ศาสดาผู้ซึ่งอัลกุรอานได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านว่า: »ท่านจะไม่พูดจากด้วยอารมณ์ ทว่าจะพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นวะฮฺยูที่ได้ประทานลงมายังท่านเท่านั้น« ขณะที่เรื่องพินัยกรรม ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กับการประกาศสาส์นของท่าน

2.การเริ่มต้นความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกัน ต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประกอบกับท่านป่วยอยู่ด้วยในขณะนั้น แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้อง และไม่ใช่เรื่องดีแต่อย่างใด ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกันมากเท่าใด การวิวาทของพวกเขาก็ยิ่งทำให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทุกข์ยิ่งขึ้นเท่านั้น

3.มีบุคคลหลายคนในที่ประชุมนั้น พยายามขัดขวางมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การโต้เถียงกันขยายวงกว้างออกไป เขาและพรรคพวกของเขาต่างไม่ยอมรับการเขียนพินัยกรรมในเวลานั้น จนกระทั่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทนไม่ได้จึงไล่ทุกคนออกไปให้พ้นหน้าท่าน ซึ่งบางรายงานตามบันทึกของซุนนียฺกล่าวว่า บุคคลที่เป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้คือ ท่านอุมัรบินเคาะฏ็อบ[i]

4.วิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และสิทธิอันชอบธรรมของท่าน เป็นที่ชัดเจน ซึ่งไม่มีบุคคลใดสงสัยในการเป็นตัวแทนของท่านแต่อย่างใด ซึ่งแน่นอนว่าการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็เพื่อรักษากาลเทศะบางอย่าง อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์สะกีฟะฮฺแล้ว ท่านอิมาม (อ.) ได้ทักท้วงเรื่องการปฏิเสธสิทธิของท่าน แต่เพื่อรักษาความสงบสันติแก่อิสลาม และมุสลิมท่านจึงนิ่งเงียบอยู่หลายปี นอกจากนั้นท่านยังให้คำปรึกษากับผู้ปกครองอิสลามในสมัยนั้น ก็เพื่อการปกปักรักษาอิสลามให้ดำเนินต่อไป

 


[i] บุคอรียฺ, กิตาบอิลมฺ, บาบกิตาบุลอิลมฺ, 1/22-23.

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

การห้ามและขัดขวางมิให้เจตนารมณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สมจริง บนคำสั่งที่ให้นำเอาปากกาและกระดาษมาให้ท่าน  เพื่อจะบันทึกบางอย่างในฐานะพินัยกรรมก่อนที่ท่านจะจากไป เป็นเหตุการณ์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทางหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ว่าเป็นมุตะวาติร ดังปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซของฝ่ายซุนนียฺมากมาย และการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มิได้เป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงการปฏิเสธความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทว่าประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ท่านมีเหตุผลอะไรจึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่ หรือสิ่งที่ท่านกระทำลงไปนั้นเป็นการรักษาความสงบในสังคมอิสลาม ความสงบสันติซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมอิสลามอย่างยิ่งในตอนนั้น เป็นสาเหตุทำให้ท่านต้องเปลี่ยนใจไม่ทำตามความต้องการของตน แน่นอน สิ่งนี้มิได้ขัดแย้งกับความกล้าหาญชาญชัยของท่านแต่อย่างใด

ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้อันดับแรกจะกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งรู้จักกันดีในนามของเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« หรือ »วันพฤหัสทมิฬ« หรือ »วันพฤหัสอัปยศ« :

อิมามบุคอรียฺ เป็นหนึ่งนักรายงานฮะดีซผู้อาวุโสของฝ่ายซุนนียฺ และเป็นเจ้าของหนังสือเซาะฮียฺบุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซว่า : ใกล้เวลาที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะอำลาจากโลกไป มีสหายกลุ่มหนึ่ง เช่น อุมัร บิน เคาะฎ็อบได้รวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ท่านได้สั่งพวกเขาว่า : จงนำเอาปากกาและกระดาษมาให้ฉัน เพื่อฉันจะได้บันทึกบางสิ่งแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป, อุมัร บิน เคาะฏ็อบกล่าวว่า : อาป่วยได้ครอบงำท่านศาสดาเสียแล้ว, พวกเรามีอัลกุรอานคัมภีร์แห่งพระเจ้าเล่มเดียวก็เพียงพอแล้ว สำหรับพวกเรา คำพูดของเขาทำให้อะฮฺลุลบัยตฺและผู้ที่อยู่ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ขัดแย้งกัน,มีบางกลุ่มที่ยอมรับทัศนะของอุมัร และอีกบางกลุ่มไม่เห็นด้วยและแสดงความเห็นขัดแย้งออกมา เมื่อความขัดแย้งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า : จงออกไปให้พ้นหน้าฉันทั้งหมด ไม่สมควรอย่างยิ่งที่พวกท่านจะมาถกเถียงและวิวาทกันต่อหน้าฉัน[1]

บุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซ ในอีกรายงานหนึ่งว่า อิบนุอับบาซกล่าวว่า : ปัญหาและความเลวร้ายต่างๆ ได้เริ่มต้นตั้งแต่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา จนกระทั่งท่านไม่ได้เขียนพินัยกรรมฉบับสุดท้าย[2]

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงกับวันพฤหัสบดี กล่าวคือ 4 วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สิ่งที่สมควรพิจารณาตรงนี้คือ ท่านศาสดาต้องการป้องกันมิให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น กับวิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี ท่านจึงมีคำสั่งให้สหายกลุ่มหนึ่ง เช่น ท่านอบูบักรฺ,อุมัร, อุสมาน, อบูอุบัยดะฮฺ ญัรรอฮฺ, ฏ็อลฮะฮฺ, ซุบัยรฺ, อับดุรเราะฮฺมาน บิน เอาฟฺ และสะอฺดฺ บิน วะกอซ[3] ร่วมออกศึกไปยังจุดที่ห่างไกลที่สุดของชายแดน ติดกับโรม ภายใต้การนำทัพของอุษามะฮฺ ทั้งที่การปล่อยให้เมืองหลวงว่างเปล่าจากทหาร ในช่วงของการกำลังจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นไปได้ที่ผู้เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่, เพื่อนบ้านซึ่งเป็นชนต่างเผ่าพันธุ์ที่อยู่รายล้อมรอบมะดีนะฮฺ อาจจะลุกฮือและก่อกบฏได้ แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นการตัดสินใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพียงคนเดียว เพื่อต้องการให้ผู้ที่จะคิดต่อต้านวิลายะฮฺของท่านอะลี (อ.) ออกไปจากมะดีนะฮฺ, การจัดทัพดังกล่าวได้เกิดขั้นเพียงไม่กี่วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และเป็นคำสั่งของท่าน ซึ่งท่านกล่าวว่า : ขออัลลอฮฺ ทรงสาปแช่งบุคคลที่ทรยศขัดขืนการนำทัพของอุษามะฮฺ และไม่ร่วมทัพไปพร้อมกับเขา[4] ในทางตรงกันข้ามเหล่าสหาย และผู้เห็นด้วยกับการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) เช่น ท่านอัมมาร มิกดาร และซัลมาล ได้รับการยกเว้นไม่ต้องร่วมทัพไปกับอุษามะฮฺ ขณะเดียวกันก็ไม่มีชื่อของท่านอิมามอะลี (อ.) อยู่ในกองทัพด้วย[5]

จากบทนำที่กล่าวมาพร้อมกับข่าวลือว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เสียชีวิตแล้ว ทำให้คนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกจากกองทัพอุษามะฮฺ แล้วรีบกลับมะดีนะฮฺทันที มารวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา จึงทำให้เกิดวันพฤหัสวิปโยคขึ้นมา

ประวัติศาสตร์บันทึกว่าบุคคลหนึ่งที่ทักท้วงคำพูดของอุมัร บินเคาะฏ็อบคือ ญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ[6]

เมื่อศึกษาฮะดีซจากท่านอิบนุอับบาซ ที่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์วันนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การโต้เถียงและทะเลาะวิวาทกันในวันนั้น สร้างความรันทดและไม่เข้ากันกับสภาพของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในตอนนั้น และถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง รายงานยังกล่าวต่อไปอีกว่า สาเหตุที่พินัยกรรมมิได้ถูกบันทึกก็มาจากการทะเลาะวิวาทกันในวันนั้นนั่นเอง

ฉะนั้น ถ้าหากอุมัร บินเคาะฏ็อบ ไม่ขัดขวางเจตนารมณ์ของท่านศาสดา และไม่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) วันนั้นท่านต้องเขียนพินัยกรรมแน่นอน

และตอนนี้ประจักษ์แล้วว่า เพราะอะไรท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่เข้าไปยุ่งในการทะเลาะวิวาท, ขณะที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นผู้จิตใจมุ่งหวังแต่สร้างความสมานฉันท์ และการประสานใจให้เป็นหนึ่งเดียว[7] ไม่เป็นการเหมาะสมแต่อย่างใดที่จะเพิ่มพูนการวิวาทให้มากยิ่งกว่าเดิม นอกจากนั้นแล้วบุคคลที่ไม่ยอมรับคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยกล่าวหาว่าท่านเป็นคนพูดเพ้อเจ้อ เนื่องจากอาการไข้ได้กำเริบ แล้วเขาจะมาฟังคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) กระนั้นหรือ นอกจากนี้แล้วยังมีสหายผู้อาวุโสหลายท่าน เช่น ท่านญาบิร อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ เป็นผู้หนึ่งที่คัดค้านคำพูดของอุมัร บิน เคาะฎ็อบ แต่ทันทีที่ท่านท้วงติงก็ได้รับการคัดค้าน และแรงบีบกดดันจากกลุ่มที่เห็นพ้องกับคำพูดของอุมัรทันที ดังนั้น ในบรรยากาศเช่นนั้นไม่ว่าจะมีใครแสดงทัศนะออกมาทั้งในแง่ลบ หรือแง่ดีก็จะมีการโต้เถียงและทะเลาะกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นความผิดพลาดทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็มิใช่สิ่งที่ถูกปิดบังหรือซ่อนเร้นแต่อย่างใด เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้เน้นย้ำปัญหาดังกล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง ในลักษณะที่ว่าทุกคนต่างรับรู้ ข้อพิสูจน์และชัรอียฺสมบูรณ์แล้วสำหรับพวกเขา. ท่านซุยูฏียฺได้รวบรวมฮะดีซเหล่านี้ไว้นหน้งสือ ตารีคคุละฟาอฺ ซึ่งในฮะดีซเหล่านั้นคือบทที่กล่าวว่า « مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ »ซึ่งติรมีซียฺ ได้รายงานจากอบี ซะรีฮะฮฺ หรือจากซัยดฺ บินอัรกอม ซึ่งประโยคนี้ « اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَ عَادِ مَنْ عَادَاه‏» ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ ได้รายงานมาจาก อิบนุอุมัน, มาลิก บิน อัลเฮารีส, ญะรีร, สะอฺด์ บิน อบีวะกอฟ, อะบี สะอีด คุดรียฺ, อะนัส, อิบนุอับบาซ อีกทีหนึ่ง

ทำนองเดียวกันประโยคที่กล่าวว่า « أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّهُ لَا نَبِيَّ بَعْدِي »ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ โดยรายงานมาจากสายรายงานที่ต่างกัน[8]

ใช่ เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่แห่งเคาะดีรถคุม ยังไม่ทันเจือจาง และเป็นไปไม่ได้ที่บางคนจะลืมเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่จนหมดสิ้น ฉะนั้น ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปยุ่งกับการโต้เถียง หรือทะเลาะวิวาทกันในบ้านท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต่อหน้าท่าน เพราะการให้เกียรติท่านศาสดามีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด การนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการไม่ดูถูกตำแหน่งของท่าน แต่หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ไม่เคยปฏิเสธที่กล่าวถึงความจริงนั้น ทั้งที่อะฮฺมัด ได้บันทึกไว้ในมุสนัด (1/155) หรือฏ็อบรียฺ ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของท่าน (2/466) และบุคคลอื่น เช่น อิบนุกะษีร อิบนุฮิชาม ซึ่งได้กล่าวถึงเหตุการณ์นั้นว่า ตอนแรกพวกเขาแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องเคาะลิฟะฮฺ ทำให้บางกลุ่มได้ไปรวมตัวกันประท้วงที่บ้านท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) และบางกลุ่มก็ไปมัสญิด บังคับให้ประชาชนสาบานว่า ไม่เคยเห็นเหตุการณ์เฆาะดีรคุม และบางกลุ่มจำนวน 30 คนได้ยืนยันถึงเหตุการณ์ดังกล่าว[9] แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพของสังคม และความสามัคคีของมุสลิม อีกทั้งป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกมากไปกว่านั้น ท่านได้ยุติความพยายามในการเรียกร้องสิทธิของท่าน เพราะแน่นอน การทักท้วงของท่านอิมามย่อมนำมาซึ่งความแตกแยกภายในสังคม อิสลามซึ่งเหมือนกับวัยหนุ่มที่เพิ่งเจริญเติบโต ประกอบกับสังคมพึ่งจะสูญเสียผู้นำคือ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ไปหมาดๆ อีกด้านหนึ่งศัตรูต่างเฝ้าคอยโอกาสที่จะโจมตีอิสลามให้พังพินาศ ดั่งที่ประวัติศาสตร์กล่าวว่า การจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทำให้ชนเผ่าอาหรับจำนวนมากไม่ยอมจ่ายซะกาต และบางเผ่าชนก็ออกนอกศาสนาไป[10]

แน่นอน สิ่งที่ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นห่วงมากที่สุดคือ การสูญเปล่าในการงานของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านและครอบครัวต่างเสียสละทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพื่อปกป้องรักษาอิสลาม ให้ธำรงอยู่ต่อไปแด่อนุชนรุ่นหลัง, ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงได้เลือกการนิ่งเงียบ และให้คำปรึกษาผู้นำการปกครองภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และให้ความร่วมมือเท่าที่จำเป็น

 


[1] บุคอรียฺ, กิตาบอิลมฺ, บาบกิตาบุลอิลมฺ, 1/22-23,มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140.

[2] เซาะฮียฺบุคอรียฺ, กิตาบอัลอิอฺติซอม บิลกิตาบวะซุนนะฮฺ, บาบกะรอฮียะฮฺ อัลคิลาฟวะบาบเกาลฺ มะรีฎ}มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140. قوموا عنی از کتاب مرضی؛

[3]เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.

[4] มิลัลวะนิฮัล, ชะฮฺริซตานี, เล่ม 1, หน้า 14, เล่ามาจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กลุ่มนักเขียน, หน้า 132.

[5] เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.

[6] ฮัยซัมมีย์,มัจญฺมะอุลซะวาอิด, เล่ม 4, หน้า 390, เล่ม 8, หน้า 609, ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่และประวัติศาสตร์, หน้า 134.

[7] อัลกุรอานหลายโองการได้เชิญชวนมุสลิมไปสู่เอกภาพ และหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท เช่น โองการที่ 46 บทอันฟาล กล่าวว่า : พวกเจ้าจงอย่าวิวาท เพราะจะทำให้บังเกิดความพ่ายแพ้ และสูญเสียอำนาจ

[8] ตารีคคุละฟาอฺ, ซุยูฏียฺ, หน้า 157.

[9] มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 489.

[10] อ้างแล้ว, เล่ม 1, หน้า 165.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7964 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
    6953 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงแต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปีหนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงานโดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้วยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไมด้วยเหตุนี้ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ประวัติศาตร์เทววิทยาฯลฯได้เลย ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22730 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7364 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ในทางศาสนาแล้ว สามารถรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ได้หรือไม่?
    9432 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/27
    การขอรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์หากไม่นำสู่ธุรกรรมดอกเบี้ยและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างครบถ้วนก็ถือว่ากระทำได้ต่อไปนี้คือข้อควรระวังเกี่ยวกับสินเชื่อโดยสังเขป1. การขอรับสินเชื่อหรือขอกู้ยืมจากธนาคารหรือสหกรณ์ต้องไม่มีการระบุเงื่อนไขว่าจะต้องฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนอายะตุ้ลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า: หากการชำระเงินแก่กองทุนเป็นไปในลักษณะที่ว่าให้กองทุนกู้ไว้เพื่อกองทุนดังกล่าวจะตอบแทนด้วยการให้เขากู้ยืมเงินในภายหลังหรือกรณีที่กองทุนจะให้กู้ยืมโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขเหล่านี้ถือเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นโมฆะทว่าการกู้ยืมทั้งสองกรณีถือว่าถูกต้อง[1]อย่างไรก็ดีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกหรือจะต้องมีภูมิลำเนาใกล้เคียงหรือเงื่อนไขอื่นๆที่จำกัดสิทธิในการยื่นขอกู้เงินนั้นถือว่าถูกต้องนอกจากนี้การสัญญาว่าจะให้สิทธิในการขอรับสินเชื่อเฉพาะผู้ที่จะเปิดบัญชีถือว่ากระทำได้แต่หากตั้งเงื่อนไขว่าจะมอบสินเชื่อในอนาคตเฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีและวางเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขประเภทนี้เข้าข่ายผลประโยชน์เชิงนิติกรรมในการกู้ยืมซึ่งเป็นโมฆะ[2]2. จะต้องไม่ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในการให้/รับเงินกู้ของธนาคารหรือสหกรณ์ฮุก่มของการให้ธนาคารกู้ไม่แตกต่างจากการกู้จากธนาคารฉะนั้นหากมีการตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในสัญญาให้กู้ย่อมถือเป็นการกำหนดดอกเบี้ยอันเป็นธุรกรรมต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นการฝากประจำหรือกระแสรายวันก็ตามแต่ในกรณีที่เจ้าของเงินมิได้ฝากเงินด้วยเจตนาที่จะได้รับผลกำไรในลักษณะที่หากธนาคารไม่ให้ผลตอบแทนเขาก็ไม่ถือว่าตนมีสิทธิทวงหนี้จากธนาคารกรณีเช่นนี้สามารถฝากเงินในธนาคารได้[3]3. การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัติถือว่าถูกต้องท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า: การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัตินั้นไม่จัดอยู่ในประเภทการกู้ยืมหรือการให้ยืมและผลประกอบการที่ธนาคารได้รับก็ไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยฉะนั้นจึงสามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อซื้อเช่าหรือสร้างบ้านได้ส่วนกรณีที่เป็นการกู้ยืมและธนาคารได้ตั้งเงื่อนไขว่าต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแม้การจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งต้องห้ามก็ตามแต่ตัวของการกู้ยืมถือว่าถูกต้องแล้วสำหรับผู้กู้ยืมและสามารถใช้เงินที่กู้มาได้[4]สรุปคือสินเชื่อที่รับจากธนาคารซึ่งต้องจ่ายคืนมากกว่าเงินต้นนั้นจะถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนาก็ต่อเมื่อเข้าข่ายธุรกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งที่อิสลามอนุมัติและไม่เป็นธุรกรรมดอกเบี้ยเท่านั้น[5]อนึ่งขอกล่าวทิ้งท้ายว่าหากไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำสิ่งต้องห้าม(กู้พร้อมดอกเบี้ย) ก็ถือว่าอนุโลมท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า:
  • ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
    9957 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ...
  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6918 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14760 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
    9302 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจาก “ความถูกต้อง” นั่นเองซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียวส่วนศาสนาอื่นๆ
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6509 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59424 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41695 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38458 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38450 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33479 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27557 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27273 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27174 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25245 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...