การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10798
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/29
คำถามอย่างย่อ
อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
คำถาม
เพราะเหตุใด บนโลกนี้จึงมีอิมามโคมัยนีเพียงคนเดียว ซัดดำ จอร์ชบูช และอะฮฺมัดดี เนฌอดเพียงคนเดียว? เหล่านี้มิใช่การงานอันพึงประสงค์ของอัลลอฮฺดอกหรือ? และภารกิจเหล่านี้ มิได้บ่งบอกให้ว่าอัลลอฮฺ ทรงอธรรมดอกหรือ? ท่านจะตอบอย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน

1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น

2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ มีหลายประเด็นต้องกล่าวถึง :

ก. การอธรรมคือความเลวทราม ขณะที่อัลลอฮฺ ทรงปรีชาญาณยิ่ง พระองค์จะไม่กระทำสิ่งเลวทรามต่ำช้า เนื่องจากการอธรรมนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ปัจจัยและตัวการสำคัญของการอธรรม

1.ความต้องการ บุคคลที่อธรรม ก็เพื่อต้องการจะก้าวไปให้ถึงยังเป้าหมาย หรือภารกิจของตน ซึ่งต้องอธรรมเท่านั้นจึงจะไปถึงเป้าหมาย

2.ความโง่เขลา บุคคลที่อธรรม เนื่องจากไม่รู้ถึงความเลวทรามต่ำช้าของการอธรรม

3.ความประพฤตไม่ดี บุคคลที่อธรรมเนื่องจากภายในจิตใจของเขามี อคติ ความชิงชัง ความอิจฉา การเป็นศัตรู ความเห็นแก่ตัว และอำนาจฝ่ายต่ำ

4.ความไร้สามารถ บุคคลที่อธรรม เนื่องจากต้องการกำจัดอันตราย และตัวเขาไร้ความสามารถที่จะกระทำ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่มีหนทางอื่นใด นอกจากการอธรรม

ทุกการอธรรมที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เป็นผลมาจากหนึ่งในปัจจัยสำคัญตามที่กล่าวมา ถ้าหากไม่มีปัจจัยนี้ก็จะไม่มีการอธรรมเกิดขึ้นบนโลกนี้ ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ขณะที่ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด ไม่อาจเกิดขึ้นกับอัลลอฮฺได้เด็ดขาด เนื่องจาก

ก. พระองค์ทรงมั่งคั่ง และทรงปราศจากความต้องการโดยสมบูรณ์

ข. การงานของพระองค์ไม่มีความจำกัด และไม่มีที่สิ้นสุด

ค.พระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติสมบูรณ์ และทรงบริสุทธิ์จากสิ่งบกพร่อง และความโสโครกทั้งปวง

ง.พระองค์ทรงเดชานุภาพ ทรงอำนาจอย่างล้นเหลือ ไม่มีขอบเขตจำกัดสำหรับพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงยุติธรรม การอธรรมไม่อาจเกิดขึ้นกับพระองค์ได้ ซึ่งมิใช่ว่าการอธรรมเป็นสิ่งเลวทราม พระองค์จึงไม่ปฏิบัติ ทว่าเนื่องจากปัจจัยของการอธรรมและรากที่มาของมัน ไม่มีอยู่ในพระองค์

อีกด้านหนึ่ง พระผู้อภิบาลทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน พระองค์ทรงเมตตาต่อมนุษย์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงประทานความโปรดปรานต่างๆ ชนิดไม่จำกัดแก่พวกเขา เช่น พระองค์ประทานเราะซูล และบรรดาศาสดาผู้มีจิตเมตตาแก่มนุษย์ พร้อมด้วยหลักฐานอันแจ้งชัดและคัมภีร์ อีกทั้งทรงกำหนดแนวทางแห่งการชี้นำทางสำหรับพวกเขา ทรงให้การเลือกสรรโดยสมบูรณ์ไว้ในอำนาจของมนุษย์ เพื่อว่ามนุษย์จะได้ยืนหยัดขึ้นเพื่อความยุติธรรม[1] แต่ในระหว่างนั้นมีบางกลุ่มชนได้เลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม ด้วยเหตุผลนานัปการ และมีบางกลุ่มได้ต่อสู้กับรากที่มาของการกดขี่ ยึดมั่นอยู่บนหนทางแห่งการชี้นำ ความยุติธรรม และประพฤติแต่สิ่งดีงาม

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ อัลลอฮฺทรงพิพากษากิจการงานทั้งดีและไม่ดีของมนุษย์ บนพื้นฐานของความยุติธรรมของพระองค์ และทรงตอบแทนผลรางวัล หรือการลงโทษไปตามที่พวกเขาได้กระทำ ดังที่กุรอานกล่าวว่า “เราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใด และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน”[2]

ตามความเป็นจริงแล้วรางวัลตอบแทนของแต่ละคน คือผลที่มาจากการงานของเขา หรือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้ด้วยการงานของตนเอง ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่กล่าวมา แม้ว่าอัลอฮฺทรงรอบรู้ถึงการงานทั้งหมดของมนุษย์ แต่ทว่าความประสงค์ของพระองค์จะไม่ครอบคลุมเหนือการอธรรมและการประพฤติผิดของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนต้องรับผิดชอบสิ่งที่ตนได้กระทำไว้

ข.แต่อีกประเด็นหนึ่งคือ ในทัศนะของอิสลาม ระบบที่มีอยู่นี้เป็นระบบที่ดี สวยงามยิ่งกว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นไปไม่ได้[3] เนื่องจากสิ่งจำเป็นสำหรับความสมบูรณ์แท้จริงของมนุษย์ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่ที่ขั้นตอน ความต้องการ และการเลือกสรรของมนุษย์เอง และสิ่งจำเป็นสำหรับการเลือกสรรของมนุษย์ทั้งหมดคือ การที่เขาจะไม่เลือกทุกสิ่งที่เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าหากอัลลอฮฺ ทรงบังคับให้มนุษย์เลือกสิ่งที่ดีทั้งหมด สิ่งที่ตามมาคือ ระบบที่ดีก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป

อีกมุมมองหนึ่ง หนึ่งในความจำเป็นของระบบที่ดีคือ ด้านหนึ่งต้องดึงดูดและโน้มน้าวไปสู่สิ่งไม่ดี และความเลวทรามทั้งหลาย ตลอดจนความไม่ยุติธรรม อีกด้านหนึ่งความยากลำบาก อุปสรรคปัญหา และการเรียกร้องไปสู่สัจธรรมความจริง และความยุติธรรม ความสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อว่าจะได้เป็นทั้งพลังผลักไส และพลังดึงดูดความจริงและความยุติธรรม เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนสำหรับผู้ที่กล่าวอ้างความโกหก ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จะแยกแยะได้มากเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้คนที่เป็นคนดีและคนเลว

อย่างไรก็ตาม ระบบที่ดีงามนั้น การกดขี่ข่มเหงต่างๆ การไร้ซึ่งความยุติธรรม และความทุกข์โศก อีกด้านหนึ่ง เช่น การคาดโทษทัณฑ์สำหรับผู้อธรรมในโลกนี้และโลกหน้า และผลบุญของผู้ที่ประกอบกรรมดี ทั้งหมดจะได้รับการตอบแทนทั้งสิ้น

แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาของคำถามคือ การพิจารณาที่พรหมลิขิต ที่มีต่อมนุษย์ ขณะที่เหตุผลเรื่องพรหมลิขิตนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ[4]เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน[5]

 


[1] บทฮะดีด,25.

[2] บทอันบิยาอฺ 47.

[3] อัดล์ อิลาฮี,ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย, หน้า 141, 142

[4] คำถามที่ 528, (ไซต์ 576)

[5] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำถามที่ 58, (ไซต์ 294)

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    6553 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]
  • นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
    14432 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    นมาซ,คือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้ขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งเขาจะได้สัมผัสและสนทนากับพระเจ้าของตนโดยปราศจากสื่อกลางในการพูดอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : จงนมาซเถิด เพื่อจะได้ฟื้นฟูการรำลึกถึงฉัน และฉันจะรำลึกถึงพวกท่านโดยผ่านนมาซ ถ้าหากการรำลึกถึงอัลลอฮฺจะปรากฏออกมาโดยผ่านนมาซแล้วละก็, จะทำให้หัวใจของมนุษย์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าจะทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่น, ผู้นมาซทุกท่านเท่ากับได้ทำลายสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานของตน และฟื้นฟูธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองให้มีชีวิตชีวา,คุณลักษณะพิเศษของนมาซ, คือการฟื้นฟูธรรมชาติแห่งตัวตน,ผู้นมาซทุกคนที่ได้รับความมั่นใจ และความสงบอันเกิดจากนมาซ จะไม่แสดงความอ่อนไหวต่อสภาพชีวิตการเป็นอยู่ จะไม่แสดงความอ่อนแอแม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีความลำบากยิ่ง ถ้าหากมีความดีงามมาถึงยังพวกเขา, พวกเขาจะไม่กีดกันและจะไม่หวงห้ามสำหรับคนอื่นนมาซคือ เกาซัร (สระน้ำ) ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5891 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม
  • สามารถอธิบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชน ระหว่างแพทย์กับคนไข้ตามบทบัญญัติของอิสลามได้หรือไม่?
    6080 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    ด้านหนึ่ง บทบัญญัติของพระเจ้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้, ก) บทบัญญัติอิมฎออีย์, ข) บทบัญญัติตะอฺซีซียฺ อะฮฺกามอิมฎออียฺ หมายถึง บทบัญญัติซึ่งมีมาก่อนอิสลาม, แต่อิสลามได้ปรับปรุงและรับรองกฎนั้น เช่น การค้าขายประเภทต่างๆ มากมาย, อะฮฺกามตะอฺซีซียฺ หมายถึง บทบัญญัติที่ไม่เคยมีมาก่อน ทว่าอิสลามได้กำหนดกฎเกณฑ์เหล่านั้นขึ้นมา เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺทั้งหลาย สิทธิซึ่งกันและกัน ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมิได้มีเฉพาะแต่ในอิสลามเท่านั้น, ทว่าระหว่างศาสนาต่างๆ ของพระเจ้า, หรือแม้แต่ศาสนาที่มิได้นับถือพระเจ้าก็กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เช่นเดียวกัน ด้วยทัศนะที่ว่า มนุษย์มีภาคประชาสังคม และการตามโดยธรรมชาติ, ดังนั้น เพื่อรักษาระเบียบของสังคม จำเป็นต้องวางกฎเกณฑ์ และกำหนดสิทธิขึ้นสำหรับประชาคมทั้งหลาย ซึ่งพลเมืองทั้งหมดต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและต้องรักษากฎระเบียบเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า สิทธิของบุคคล เกี่ยวกับสิทธิซึ่งกันและกัน ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6226 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17316 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    18320 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • หนังสือดุอามีความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่?
    5897 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/09
    มีสามประเด็นที่ควรพิจารณา1. ตำราที่ยกมาทั้งหมดล้วนเป็นที่ไว้วางใจของผู้ประพันธ์ทั้งสิ้นดังจะทราบได้จากอารัมภบทของหนังสือ"มะซ้ารกะบี้ร"และ"บะละดุ้ลอะมีน"อัลลามะฮ์มัจลิซีเองก็ให้การยอมรับตำราเหล่านี้และกล่าวถึงผู้ประพันธ์อย่างให้เกียรติ2. แนวปฏิบัติของบรรดาฟุก่อฮาอ์(ปราชญ์ทางนิติศาสตร์อิสลาม)คือการพิสูจน์ความถูกต้องของสายรายงานฮะดีษเสียก่อน
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7135 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8151 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59438 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56886 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41703 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38461 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38451 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33484 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27563 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27278 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27178 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25252 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...