การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6173
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18423 รหัสสำเนา 21628
คำถามอย่างย่อ
มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
คำถาม
มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยไม่ได้ระบุจำนวน ฮะดีษหลายบทให้ข้อยุติที่แตกต่างกัน อาทิเช่นกล่าวว่า ส่วนหนึ่งในทีนี้คือเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะอัลลอฮ์ตรัสว่า فَخُذْ أَرْبَعَةً مِّنَ الطَّیْرِ… ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 260 บางฮะดีษกล่าวว่าส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด เนื่องจากพระองค์ตรัสว่า لَهَا سَبْعَةُ أَبْوَابٍ لِّکُلِّ بَابٍ مِّنْهُمْ جُزْءٌ مَّقْسُومٌ ซูเราะฮ์อัลฮิจร์ ในเมื่อมีหลายทัศนะเช่นนี้ แล้วเราจะสรุปจำนวนของ “ส่วนหนึ่ง” ได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมาย จึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1. ในอดีต เจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆ บ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วน บ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วน ฉะนั้น จะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่
2. ทัศนะที่น่าเชื่อถือกว่าก็คือ ควรปฏิบัติตามฮะดีษกลุ่มเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะบรรทัดฐานเบื้องต้นก็คือการที่ทรัพย์สินยังคงอยู่ในครอบครองของทายาท กล่าวคือ ควรวางสมมุติฐานไว้ที่ภาวะที่ทายาทไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งการจ่ายเพิ่มในที่นี้ก็หมายถึงส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มจากเศษหนึ่งส่วนสิบในกรณีที่ทำตามฮะดีษที่ระบุถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด
3. การที่ถือว่าฮะดีษกลุ่มแรกเป็นภาคบังคับ ส่วนฮะดีษกลุ่มที่สองหมายถึงภาคมุสตะฮับ กล่าวคือส่วนหนึ่งในที่นี้ให้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอันเป็นภาคบังคับ แต่มุสตะฮับสำหรับทายาทที่จะใช้จ่ายเศษหนึ่งส่วนเจ็ดของทรัพย์สินตามพินัยกรรม เนื่องด้วยความแตกต่างทางนัยยะของฮะดีษสองกลุ่ม

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับมรดกทรัพย์สินเนื่องจากใช้คำที่คลุมเครือ อาทิเช่นพินัยกรรมที่ระบุให้แบ่งทรัพย์สินหนึ่งส่วนไปใช้ในการกุศล โดยที่ไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์สินเลยนั้น ตามหลักแล้ว ควรถือว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะเสมือนมิได้กระทำไว้ และให้พิจารณาไปตามบทบัญญัติว่าด้วยมรดก ทั้งนี้ก็เพราะพินัยกรรมประเภทดังกล่าวไม่สามารถสื่อถึงเจตจำนงของผู้พูดได้เลยในเชิงวจนะภาษา

อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีฮะดีษที่น่าเชื่อถือช่วยอธิบายความคลุมเครือข้างต้น จึงจำเป็นต้องยึดตามนั้นเป็นหลัก[1] ต่อข้อสงสัยที่ว่าหากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นจะแบ่งทรัพย์สินตามเป้าประสงค์ของผู้ตายในสัดส่วนเท่าใดนั้น ฮะดีษชุดนี้แบ่งออกเป็นสองชุดความหมายดังต่อไปนี้

ฮะดีษชุดแรกระบุว่าทรัพย์ส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบ กล่าวคือจะต้องมอบเศษหนึ่งส่วนสิบของทรัพย์สินให้แก่ผู้ที่พินัยกรรมระบุไว้
มีผู้ถามอิมามศอดิก(.)เกี่ยวกับผู้ที่ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ท่านตอบว่านั่นหมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอุละมาอ์หลายวินิจฉัยว่าวาญิบให้จ่ายเศษหนึ่งส่วนสิบในกรณีดังกล่าวโดยยึดตามฮะดีษลักษณะนี้[2]

ฮะดีษชุดที่สองระบุว่าทรัพย์สินส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด ตามเนื้อหาของฮะดีษต่อไปนี้: มุฮัมมัด บิน อลี บิน มะฮ์บู้บ รายงานจากอะฮ์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อบีนัศร์ บะซันฏี เล่าว่า ฉันถามอิมามกาซิม(.)ถึงกรณีของผู้ที่ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ท่านอิมามตอบว่า นั่นหมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด เนื่องจากอัลลอฮ์ทรงตรัสว่าขุมนรกมีประตูเจ็ดบาน และชาวนรกถูกแบ่งเป็นส่วนๆในแต่ละบาน[3] [4]ฉะนั้น ชาวนรกจึงแบ่งออกเป็นเจ็ดกลุ่ม ซึ่งตามสำนวนของโองการนี้ แต่ละกลุ่มเรียกว่าญุซอ์”(ส่วน)
บางท่านยึดตามฮะดีษประเภทนี้ จึงวินิจฉัยว่าจะต้องแบ่งเศษหนึ่งส่วนเจ็ด[5]

จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมาย เบื้องต้นจึงอาจมองได้ว่าเป็นการหักล้างกันเอง แต่อุละมาบางท่านเสนอวิธีผนวกฮะดีษสองกลุ่มดังต่อไปนี้

1. ในอดีต เจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆ บ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วน บ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วน ฉะนั้น จะต้องพิจารณาแบ่งทรัพย์สินตามที่ผู้ตายเคยแบ่งไว้ขณะมีชีวิตอยู่[6]

2. ทัศนะที่น่าเชื่อถือกว่าก็คือ ควรปฏิบัติตามฮะดีษกลุ่มเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะบรรทัดฐานเบื้องต้นก็คือการที่ทรัพย์สินยังคงอยู่ในครอบครองของทายาท กล่าวคือ ควรวางสมมุติฐานไว้ที่ภาวะที่ทายาทไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งการจ่ายเพิ่มนี้ก็คือส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีที่ทำตามฮะดีษที่ระบุถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ดที่ต้องแบ่งออกจากมรดก[7]
3. การที่ถือว่าฮะดีษกลุ่มแรกเป็นภาคบังคับ ส่วนฮะดีษกลุ่มที่สองหมายถึงภาคมุสตะฮับ กล่าวคือส่วนหนึ่งในที่นี้ให้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอันเป็นภาคบังคับ แต่มุสตะฮับสำหรับทายาทที่จะใช้จ่ายเศษหนึ่งส่วนเจ็ดของทรัพย์สินตามพินัยกรรม เนื่องด้วยความแตกต่างทางนัยยะของฮะดีษสองกลุ่ม[8]

อย่างไรก็ดี ควรคำนึงว่าในกรณีที่ผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์แก่ผู้อื่นเกินกว่าเศษหนึ่งส่วนสามของมรดก ส่วนเกินดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อทายาทเห็นด้วยเท่านั้น[9]
อนึ่ง ท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี ได้ตอบข้อสงสัยดังกล่าวไว้ดังนี้
พินัยกรรมมอบทรัพย์สินแก่ผู้อื่นจะมีผลต่อเมื่อทำไว้ไม่เกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินของมัยยิต ส่วนการแบ่งสัดส่วนตามพินัยกรรมที่คลุมเครือก็ขึ้นอยู่กับความมั่นใจ แม้ว่าควรจะแบ่งให้มากเท่าที่จะสันนิษฐานได้

 



[1] มูซะวี, บุจนูรดี, ซัยยิดฮะซัน, อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 291,สำนักพิมพ์อัลฮาดี, กุม อิหร่าน,ครั้งแรก, ..1419

[2] ชู้ชตะรี, มุฮัมมัด ตะกี, อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 230,ร้านหนังสือเศาะดู้ก,เตหราน,ครั้งแรก,..1406

[3] อัลฮิจร์,44

[4] ฏูซี,อบูญะฟัร,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม,เล่ม 9,หน้า 209, ฮะดีษที่ 828, ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน อิหร่าน,ครั้งที่สี่,..1407

[5] อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 233

[6] กุมี,เศาะดู้ก,มุฮัมมัด บิน อลี บิน บาบะวัยฮ์,มันลายะฮ์ฏุรุฮุ้ลฟะกีฮ์, แปล:ฆ็อฟฟารี,อลีอักบัร, เล่ม 6,หน้า 50,เศาะดู้ก,เตหราน,ครั้งแรก,..1409

[7] ฮิลลี, มิกด้าด บิน อับดุลลอฮ์, กันซุ้ลอิรฟาน ฟี ฟิกฮิ้ลกุรอาน, แปล: บัคชอเยชี,อับดุรเราะฮีม อะกีกี,เล่ม 2,หน้า 585,กุม อิหร่าน,ครั้งแรก และ อามิลี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ตัรฮีนี, อัซซุบดะตุลฟิกฮียะฮ์ ฟีชัรฮิร ร็อวเฎาะตุ้ลบะฮียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 38,สำนักพิมพ์ดารุลฟิกฮ์,กุม อิหร่าน,ครั้งที่สี่,..1427

[8] อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 233

[9] โคมัยนี, ซัยยิดรูฮุ้ลลอฮ์ มูซะวี,ประมวลปัญหาศาสนา (อิมามโคมัยนี),หน้า 578,ปัญหาที่ 2589,พิมพ์ครั้งแรก,..1426

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25245 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6141 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6379 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
    5770 รหัสยทฤษฎี 2555/03/12
    มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์ ...
  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5344 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    5629 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • คำอธิบายอัลกุรอาน บทอัฏฏีน จากตัฟซีรฟะรอต มีฮะดีซบทหนึ่งกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า ฏีน หมายถึงอิมามฮะซัน (อ.) และวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน คืออิมามฮุซัยนฺ (ฮ.) ถามว่าฮะดีซเหล่านี้ และฮะดีซที่คล้ายคลึงกันเชื่อถือได้หรือไม่?
    10362 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    อัลกุรอาน นอกจากจะมีความหมายภายนอกแล้ว,เป็นไปที่ว่าอาจมีความหมายภายในซ่อนเร้นอยู่อีก เช่น ความหมายภายนอกของคำว่า ฏีนและซัยตูน ซึ่งอัลลอฮฺ กล่าวไว้ในโองการที่ 1 และ 2 ของบท ฏีนว่า ขอสาบานด้วยพวกเขาว่า, สามารถกล่าวได้ว่าอาจหมายถึงผลมะกอก และมะเดื่อตามที่ประชาชนทั้งหลายเข้าใจ กล่าวคือ ผลมะกอกและมะเดื่อ ที่มาจากต้นมะกอกและต้นมะเดื่อ, แต่ขณะเดียวกันก็สามารถกล่าวถึงความหมายด้านในของโองการได้ ซึ่งสองสิ่งที่ฮะดีซพาดพิงถึงคือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นผลไม้จากต้นวิลายะฮฺ[1] ทำนองเดียวกัน สามารถกล่าวได้ว่า โองการยังมีวัตถุประสงค์อื่นอีก, ดังที่รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้, ซึ่งวัตถุประสงค์จาก ฏีน หมายถึง เมืองแห่งเราะซูล ส่วนวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน หมายถึง บัยตุลมุก็อดดิส กิบละฮฺแห่งแรกของมวลมุสลิม[2] ตัฟซีรกุมมีกล่าวว่า ...
  • การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
    17870 วิทยาการกุรอาน 2554/04/21
    การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอนและเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้วจะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน
  • จะทำอิบาดะฮ์ทั้งที่มีงานประจำล้นมือได้อย่างไร?
    7342 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/14
    เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้นควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. อิบาดะฮ์หมายถึงการจำนนต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์[i]แม้ว่านมาซจะถือเป็นอิบาดะฮ์ขั้นสูงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิบาดะฮ์จะต้องเป็นนมาซหรือดุอาเสมอไปฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ล้วนกำลังทำอิบาดะฮ์อยู่ทั้งสิ้น2. การแสวงหาริซกีฮะล้าลหมายถึงการเพียรพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างสอดคล้องกับบทบัญญัติศาสนาแน่นอนว่าไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงงานที่ใช้ทักษะความคิดเช่นงานของวิศวกรแพทย์ฯลฯด้วยซึ่งหากเป็นไปตามกฏและบทบัญญัติศาสนาก็ถือว่ากำลังแสวงหาริซกีฮะล้าลทั้งสิ้น3. หากไม่ไช่การประชดประชันถ้าเป็นอย่างที่คุณบอกว่าทำงานตั้งแต่ตีสี่ครึ่งถึงเที่ยงคืน
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6232 تاريخ بزرگان 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59425 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56865 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41695 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38458 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38450 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33479 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27558 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27273 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27174 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25245 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...