การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
16052
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/12/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1895 รหัสสำเนา 28159
หมวดหมู่ ปรัชญาอิสลาม
คำถามอย่างย่อ
ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
คำถาม
มีความแตกต่างอย่างไร ระหว่างกิจกรรมต่างๆ ของจิตวิญญาณ ขณะนอนหลับและสลบ แล้วทำไมความฝันขณะนอนหลับจึงอยู่ในความทรงจำ แต่ขณะสลบมิได้เป็นเข่นนั้น?
คำตอบโดยสังเขป

รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย

วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่

คำตอบเชิงรายละเอียด

ภารกิจของจิตวิญญาณเป็นหนึ่งในปัญหาที่สลับซับซ้อนที่สุด ซึ่งจนถึงปัจจุบันความรู้ของมนุษย์ยังไร้ความสามารถในการรับรู้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้นักวิชาการมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ในลักษณะที่ว่า นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า มีทัศนะเกี่ยวกับจิตวิญญาณมากเกินพันทัศนะ และยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้อง[1]

อัลกุรอาน ได้เน้นถึงความไร้สามารถของมนุษย์ในการรู้จักวิญญาณ โดยกล่าวว่า »พวกเขาจะถามเจ้า เกี่ยวกับวิญญาณจงกล่าวเถิดว่า รื่องวิญญาณนั้นเป็นไปตามพระบัญชาของพระผู้อภิบาลของฉัน พวกท่านจะไม่ได้รับความรู้ใดๆ เว้นแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น”[2]

จากโองการและรายงาน เข้าใจได้ว่า วิญญาณ เป็นการมีอยู่ที่ต่างไปจากสังขาร เป็นอรูปห่างไกลจากวัตถุและสสาร กล่าวคือ มิได้จำกัดอยู่ในเวลาและสถานที่ ทำนองเดียวกันเป็นที่ชัดเจนว่าปฏิสัมพันธ์ของวิญญาณที่มีต่อร่างกายนั้น ทั้งในตอนตื่นและหลับ การแยกออกของวิญญาณจากร่างกาย กับความตายนั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อัลกุรอาน กล่าวว่า “อัลลอฮฺ จะทรงปลิดชีวิตเมื่อถึงความตายและผู้ที่ยังไม่ตายโดยสมบูรณ์ขณะนอนหลับ ดังนั้น พระองค์จะปลิดชีวิตผู้ที่พระองค์กำหนดความตายแก่เขาแล้ว และจะทรงยืดชีวิตหนึ่งไปถึงวาระที่กำหนดไว้ แน่นอน ในการนี้ย่อมเป็นสัญญาสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ”[3]

อัลกุรอาน กล่าวถึงความตายโดยใช้คำว่า “ตะวัฟฟา” หมายถึงการได้รับหลังจากนั้นได้เอาไป อีกนัยหนึ่ง วิญญาณที่อัลลอฮฺ ทรงมอบแก่มนุษย์พระองค์ได้นำกลับคืนไปอีกครั้ง ซึ่งการปลิดดวงวิญญาณนั้นแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกันกล่าวคือ 1.ขั้นตอนที่อ่อนแอคือขณะนอนหลับ 2. ขั้นตอนที่แข็งแรงขณะเสียชีวิต

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามทั้งสองขั้นตอนนั้นต้องใคร่ครวญเป็นพิเศษ วิญญาณที่ได้แยกออกจากร่างขณะนอนหลับ เป็นวิญญาณเช่นไร และร่องรอยของวิญญาณนั้นเป็นอย่างไร? ช่วงเวลาที่ดวงวิญญาณถูกปลิด มีสัญลักษณ์อย่างไรบ้าง เนื่องจากขณะนอนหลับนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลไม่มากเท่าใด เพียงแค่ต่อมที่รับรู้และร่างกายของเขาจะอ่อนแอลงเท่านั้น[4]

ดังที่นักวิทยาศาสตร์และนักสรีระวิทยา ขณะที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการนอนหลับและความฝัน ก็ได้พบว่ามนุษย์ขณะนอนหลับนั้นใกล้เคียงกับความตายมากที่สุด ซึ่งการวิจัยของพวกเขาเป็นเพียงด้านร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเท่านั้น มิใช่มิติของวิญญาณ พวกเขาได้แบ่งการนอนหลับออกเป็น 2 ช่วง ภายใต้หัวข้อว่า การนอนหลับไม่สมบูรณ์ (REM (กับการนอนหลับธรรมดา (Non REM)

ก) การนอนหลับสบาย เรียกว่า “คลื่นสั้น” (Non REM) ในช่วงนี้ สมองของคนเราจะได้รับการผักผ่อน คลื่นสมอง จะสงบและผ่อนคลาย ความเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้าจากการทำงานในตอนกลางจะค่อยๆ หายไปจากร่างกาย การนอนหลับสบายนี้เริ่มต้นตั้งแต่เราได้เข้าไปสู่ที่นอนแบบยาวนาน แต่ค่อยๆ เปลี่ยนไปซึ่ง 90 นาทีต่อมาความนานนั้นจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ

ข) การนอนหลับไม่สมบูรณ์หลับไม่สนิท หรือ(REM (การนอนหลับประเภทนี้จะเกิดการต่อต้านกันในร่างกาย เนื่องสมองคลื่นสมองจะเต้นเร็วเหมือนทำงานอยู่เสมอ มีความกังวลคล้ายคนตื่นนอน ดวงตาทั้งสองปิดอยู่ใต้เปลือกตา เมื่อตื่นขึ้นจะกรอกสายตาไปทางซ้ายและขวาขึ้นบนและลงล่าง แต่ร่างกายไม่ขยับเขยื้อนแต่อย่างใด ซึ่งในความเป็นจริงอวัยวะและกล้ามเนื้อร่างกายเหมือนเป็นอัมพาต เมื่อเราฝันไป ขณะนอนหลับไม่สนิทในช่วงที่สองในระยะ 90 นาที

การนอนหลับธรรมดาหรือหลับสนิทนั้นมีสี่ระดับด้วยกัน ในช่วงนั้นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว สายตาจะมองไม่เห็น ซึ่งถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้วการนอนหลับของคนเราแบ่งออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ซึ่งแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งคลื่นสมองในแต่ระดับเหล่านี้ ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ในสองระดับนี้จะไม่มีความสม่ำเสมอในช่วงนอนหลับ[5]

ส่วนการนอนหลับแบบ REM เหมือนคนเป็นอัมพาต เซลล์ประสาทจะเคลื่อนไหว สมองและไขสันหลังจะถูกยับยั้ง ในช่วงเวลานั้นเองสมองของเขาจะทำงานหนัก เลือดและออกซิเจนจะถูกสูบฉีดใช้มาก[6]

ทำนองเดียวกัน บุคคลที่นอนหลับอยู่ในระดับของ การนอนหลับไม่สนิทหรือไม่สมบูรณ์ อวัยวะภายในส่วนมาก เช่น หัวใจ และระบบทางเดินหายใจ การสูบฉีดเลือด การสร้าง การหลั่ง จะมีเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย ฮอร์โมนในร่างการก็จะมีการสูบฉีดมากด้วย (มีความเป็นไปได้ที่จะมีปัญหากับหัวใจ) กระเพาะอาหาร และลำไส้ จะทำงานมากขึ้นด้วย[7]

การนอนหลับไม่สนิทหรือ REM นั้นจะได้เห็นสภาพแปลกๆ เช่น หัวใจจะเต้นไม่เป็นระบบในช่วงนี้ และอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ อาจเป็นไปได้ที่ว่าการก่อให้เกิดการโจมตีที่หัวใจ เกณฑ์ความตายในเวลากลางคืน ขณะนอนหลับนั้นมีความเป็นไปได้สูงกว่าตอนกลางวัน[8]

เป็นเพราะเหตุใดที่บางคนมีความทรงจำกับความฝัน

ผลจากการวิจัยพบว่าการทดลองต่างๆ หลังจากตื่นนอน ในระดับของการนอนหลับไม่สนิท เขาจะมีความทรงจำเรื่องความฝัน แต่ในระดับของการนอนหลับสนิทจะไม่มีความทรงจำด้านนี้เลย[9]

บางคนกล่าวว่า มนุษย์บางคนไม่เคยนอนหลับฝันเลย แน่นอนคำพูดเหลานี้ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ได้เกิดขึ้นคอ ส่วนมากแล้วจะลืมความฝันของตนเอง ถ้าหากบุคคลหนึ่งขณะนอนหลับ หรือไม่ได้ตื่นหลังจากนั้นโดยพลัน เขาจะไม่นอนหลับฝัน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่คิดว่านานหลายปีแล้วที่เขาไม่เคยนอนหลับฝันเลย เมื่อเขาไม่เคยนอนหลับไม่สนิท REM และตื่นขึ้นในช่วงนั้น จะพบว่าเรื่องราวจากความฝันต่างๆ เหมือนเป็นความจริงและสร้างความตื่นเต้นแก่เขาเป็นอย่างยิ่ง[10]

เราจะได้ประสบและรู้ถึงสาระของการนอนฝัน ขณะนอนหลับ (หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย) เขาได้ตื่นขึ้น ถ้าเขารู้สึกตัวในช่วงนั้น และพยายามทบทวนความฝันของตนเขาก็จะสามารถจดจำความฝันได้บางส่วน และมันจะหายไปอย่างรวดเร็ว เป็นไปได้ที่ว่าเราได้นอนหลับฝันไป แต่เราไม่อาจจดจำสาระของความฝันไว้ได้นั่นเอง[11]

อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วสามารถกล่าวได้ว่า “การนอนหลับคือ การเบี่ยงเบนวิญญาณไปจากร่างกาย ซึ่งการเบี่ยงเบนนี้บางครั้งหนักหน่วง บางครั้งก็แผ่วเบา และบางครั้งก็นาน และบางครั้งก็สั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาสลบคือ ช่วงเวลาที่วิญญาณเบี่ยงเบนไปจากร่างกาย แม้ว่าช่วงเวลานั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของยาสลบ และการผ่าตัดซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือยาสลบซึ่งมีผลอย่างรุนแรงกับร่างกาย ทำให้ปฏิสัมพันธ์ของจิตวิญญาณแยกออกจากร่างกาย แม้ว่าจะมีปฏิสัมพันธ์อยู่บ้างแต่ก็น้อยและอ่อนแอมาก ซึ่งทำให้ร่างกายมีการดำเนินกิจกรรมอ่อนแอ ประหนึ่งว่าจิตวิญญาณปราศจากอุปกรณ์และร่างกาย ด้วยเหตุนี้ จนถึงช่วงเวลาหนึ่งร่างกายไร้ความสามารถอย่างสมบูรณ์ ในการเป็นเครื่องของจิตวิญญาณ ในทางตรงกันข้ามจิตวิญญาณเองก็มีปฏิสัมพันธ์กับร่างกายแบบอ่อนแอที่สุด บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ เหตุผลของการเบี่ยงเบนจิตวิญญาณไปจากร่างกาย หรือการมีปฏิสัมพันธ์อ่อนแอระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกาย ในขณะสลบ แม้แต่ได้มีการดำเนินการหนัก เช่น ผ่าตัดร่างกาย แต่เนื่องจากจิตวิญญาณยังมิได้ควบคุมร่างกาย ทำให้เขาไม่ต่นจากสลบ[12]

ผลจากที่กล่าวมา :

1.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับร่างกาย มิได้มีเพียงช่วงนอนหลับ ทว่าในช่วงตื่นก็ไม่เป็นที่ชัดเจนสำหรับเรา

2.มนุษย์สามารถจดจำความฝันในช่วงการนอนหลับไม่สนิทเท่านั้น เนื่องจากการนอนหลับสนิทจะมีความทรงจำน้อยมาก ดังนั้น การจดจำความฝันในช่วงที่นอนหลับไม่สนิท และตื่นขึ้นโดยฉับพลับหลังจากฝัน

3.สาเหตุที่มนุษย์ ไม่มีความทรงจำความฝันในช่วงของการนอนหลับสนิทได้ เนื่องจากจิตวิญญาณไปเบี่ยงเบนไปจากร่างกายมากกว่าการนอนหลับไม่สนิท ด้วยเหตุนี้เอง ขณะสลบหรือหมดสติ จิตวิญญาณจะเบี่ยงเบนไปจากร่างกายมาก และเมื่อช่วงเวลาผ่านไปนานพอสมควร จิตวิญญาณจะค่อยๆ กลับมาสู่ร่างอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่อาจจดจำความฝันได้

 


[1] มาะการิมชีรอซียฺ, บทเรียนหลักศรัทธาสำหรับเยาวชน หน้า 5

[2] บทอัสรออฺ 85, «وَ يَسْئَلُونَكَ عَنِ الرُّوحِ قُلِ الرُّوحُ مِنْ أَمْرِ رَبِّي وَ ما أُوتيتُمْ مِنَ الْعِلْمِ إِلاَّ قَليلا»

[3] บทซุมัร 42

[4] มิซบาฮฺ ยัซดี มุฮัมมัดตะกี พีชเนยอซฮอเยะ มุดีรียัต อิสลามี หน้า 71, 72

[5] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 242.

[6] คาร์ลสันนีล จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 401.

[7] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 247

[8] โรเบิร์ต จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 325

[9] โคดา พะนอฮียฺ มุฮัมมัด กะรีม จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 253

[10] คาร์ลสันนีล จิตวิทยาทางสรีระวิทยา หน้า 403

[11] ริต้าแอล และกลุ่มนักเขียน จิตวิทยาฮายล์การ์ด หน้า 372

[12] ซีดี วิชาการพะรีชอน

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20531 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6563 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    17029 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • หลักวิชามนุษย์ศาสตร์และจิตวิทยา ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นตัวเอง ส่วนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม จริยธรรม และวิชารหัสยลัทธิ, จะกล่าวถึงการไว้วางใจและมอบหมายแด่พระเจ้า แล้วคุณคิดว่าทั้งสองมีความขัดแย้งกันไหม?
    12353 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/12/22
    การที่จะรู้ถึงความแตกต่างและความไม่แตกต่างระหว่างความเชื่อมั่นตัวเองกับการไว้วางใจหรือมอบหมายขึ้นอยู่กับการได้รับความเข้าใจของทั้งสองคำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นตนเอง, สามารถอธิบายได้ 2 ความหมายกล่าวคือ :1. การรู้จักศักยภาพความสามารถการพึ่งพาและการได้รับเพื่อที่จะเข้าถึงตัวตนของความปรารถนาและสติปัญญาที่แท้จริงการเก็บเกี่ยวจะไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมของความไว้วางใจเลยแม้แต่น้อย
  • เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
    8482 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการทั้งนี้อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการเอ่ยนามท่านนักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจงเพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยบางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่าเราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดาตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น ...
  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    6747 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7123 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6192 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • ศาสดาอาดัม (อ.) และฮะวามีบุตรกี่คน?
    12889 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    เกี่ยวกับจำนวนบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และท่านหญิงฮะวามีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นหมายถึงไม่มีทัศนะที่จำกัดที่ตายตัวแน่นอนว่าต้องเป็นเช่นนั้นเพียงประการเดียวเนื่องจากตำราที่เชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์มีความขัดแย้งกันในเรื่องชื่อและจำนวนบุตรของท่านศาสดาการที่เป็นที่เช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ยาวนานของพวกเขากับช่วงเวลาการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นเพราะชื่อไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขาก็เป็นได้และฯลฯกอฎีนาซิรุดดีนบัยฏอวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านเกี่ยวกับจำนวนบุตรของท่านศาสดาอาดัม (อ.) กับท่านหญิงฮะวากล่าวว่า:ทุกครั้งที่ท่านหญิงฮะวาตั้งครรภ์จะได้ลูกเป็นแฝดหญิงชายเสมอเขาได้เขียนไว้ว่าท่านหญิงฮะวาได้ตั้งครรภ์ถึง 120
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7135 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59442 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56904 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41708 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38463 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38455 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33486 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27564 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27281 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27179 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25255 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...