การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11553
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/20
คำถามอย่างย่อ
กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
คำถาม
สลามุอะลัยกุม การสาปแช่ง และการปฏิเสธคนอื่น ถ้าหากไม่ถูกต้องจะมีสะท้อนอย่างไรกับมนุษย์ และกฎเกณฑ์ทางชัรอียฺว่าอย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นของคำถามสามารถพิจารณาได้หลายกรณีดังนี้

1.การสาปแช่ง,การปฏิเสธ,การประณาม, อย่างไม่ถูกต้องเหมาะแก่คนอื่น ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สมควรได้รับความสาปแช่งแม้แต่น้อย แน่นอน เป็นเรื่องธรรมดาที่การกระทำเหล่านี้ ตามคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า และตามหลักการของศาสนาอิสลาม ย่อมได้รับการห้ามปราม และมีบทลงโทษสำหรับปรโลกไว้ด้วย ปัญหาดังกล่าวนี้มิใช่เพียงแค่คำสอน และหลักการของศาสนาจะห้ามไว้เท่านั้น ทว่ายังไม่เป็นที่ยอมรับของวิทยปัญญา ซึ่งกฎทั่วไปของสังคมมนุษย์ ที่มิได้มาจากพระเจ้าก็ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น โดยไม่อนุญาตให้มนุษย์ล่วงละเมิดสิทธิของปัจเจกชน หรือล่วงละเมิดสิทธิทางสังคม แน่นอน ผู้ฝ่าฝืนกระทำเช่นนั้น จะต้องได้รับการลงโทษด้านกฎหมาย

2. หลักคำสอนของศาสนาอิสลามสอนเราว่า มนุษย์ที่มีศรัทธาทั้งหลาย, เขาจะไม่พูดจากไร้สาระ หรือพูดตามใจปากอันก่อให้เกิดความผิด และบาปกรรม และเขาจะไม่ทำลายสิทธิของผู้อื่น หรือแม้แต่คำพูด หรือคำปราศรัยที่นอกจากจะไม่เป็นบาป หรือไม่มีผลเสียในเชิงลบ หรือที่กล่าวด้วยสำนวนว่าคำพูดไร้สาระ เขาก็จะไม่พูด อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : แน่นอน ผู้ศรัทธาที่แท้จริง เขาจะไม่กระทำสิ่งไร้สาระเด็ดขาด[1]โองการนี้สาธยายว่า, ตามความเป็นจริงแล้วมุอฺมิน ได้ถูกฟูมฟักขึ้นมาในลักษณะที่ว่า นอกจากจะไม่คิดสิ่งที่เป็นโมฆะ ไม่พูดสิ่งไร้สาระ ไม่กระทำงานที่ไม่มีประโยชน์แล้ว, ทว่าตามนิยามของอัลกุรอาน เขาจะออกห่างจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด, แล้วจะนับประสาอะไรกับการที่เขาจะสาปแช่งคนอื่นอย่างไม่ถูกต้อง หรือปฏิเสธ หรือประณามคนอื่น

3. ตามคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามการกระทำต่างๆ เหล่านี้แล้ว, ยังมีรายงานจากบรรดาอิมามผู้นำอีกด้วย โดยกล่าวว่า : ถ้าหากผู้ใดได้สาปแช่งคนอื่น ทั้งที่ผู้นั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่ง คำสาปแช่งนั้นจะกลับไปหาตนเอง :

"وَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ لَعَنَ رَجُلٌ الرِّيحَ عِنْدَ رَسُولِ اللَّهِ (ص) فَقَالَ لَا تَلْعَنِ الرِّيحَ فَإِنَّهَا مَأْمُورَةٌ وَ إِنَّهُ مَنْ لَعَنَ شَيْئاً لَيْسَ لَهُ بِأَهْلٍ رَجَعَتِ اللَّعْنَةُ عَلَيْهِ"؛

“ชายคนหนึ่งอยู่กับเราะซูล (ซ็อล ฯ) เขาได้สาปแช่งลม, ท่านเราะซูลกล่าวว่า จงอย่าสาปแช่งลม, เนื่องจากลมนั้นได้รับมอบหมายหน้าที่มาจากอัลลอฮฺ เหมือนกับบุคคลที่ได้สาปแช่งคนอื่น ทั้งที่เขาไม่สมควรได้รับคำสาปแช่ง คำสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง”[2]

รายงานดังกล่าวพบว่า, ลมได้รับการสาปแช่งทั้งที่ไม่สมควรถูกสาปแช่ง, มิใช่ว่ามนุษย์นั้นจะมีเกียรติและได้รับการเคารพ เหมือนเกียรติยศของกะอฺบะฮฺ สิ่งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ต้องระมัดระวังความประพฤติและคำพูดของตน จงอย่ากระทำสิ่งใดโดยปราศจากเหตุผลทางชัรอียฺ หรือตัดสินผู้โดยปราศจากเหตุผลเช่นกัน

4. ประเด็นที่จำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ การสาปแช่งบุคคลที่กลั่นแกล้งบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ, ถือว่าอนุญาตและเป็นความดีงามด้วยซ้ำไป, แต่สิ่งที่กล่าวมานั้น, กับคำถามที่ได้ถามมาเกี่ยวกับบุคคลที่ได้สาปแช่งคนอื่น อย่างไม่ถูกต้อง หรือปฏิเสธคนอื่น หรือนำเอาบุคลิกภาพ หรือสิทธิส่วนตัวของบุคคลมาทำลาย, มิใช่บุคคลที่กลั่นแกล้งเราะซูล หรือหมู่มิตรของพระเจ้า ซึ่งบุคคลเหล่านั้นย่อมได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ และผู้สาปแช่งทั้งหลาย : “แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังหลักฐานอันชัดเจน และการชี้นำอันถูกต้องที่เราได้ให้ลงมา หลังจากที่เราได้ชี้แจงไว้แล้วในคัมภีร์สำหรับปวงมนุษย์ ชนเหล่านี้แหละ อัลลอฮฺ จะทรงสาปแช่งพวกเขาและผู้สาปแช่งทั้งหลายก็จะสาปแช่งพวกเขาด้วย”[3]

 

 


[1] มุอฺมิน, 3. “ตามความเป็นจริงแล้ว คำว่าไร้สาระ ดังที่นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบายว่า : ทุกคำพูด และทุกการกระทำ ที่ไม่มีประโยชน์, มะการิม,นาซิร,ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 14, หน้า 195, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 1372 (ค.ศ.1993)

[2] กุลัยนี, กาฟียฺ, เล่ม 8, หน้า 69, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 18420 (ค.ศ.th18021)

[3] บะเกาะเราะฮฺ, 159.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6367 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    11489 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • ระหว่าง ลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
    9366 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/04
    บางฮะดีษระบุว่า ยาฮุวะ หรือ ยามันลาฮุวะ อิลลาฮุวะ คืออภิมหานามของพระองค์ (อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม) แน่นอนว่าข้อแตกต่างระหว่างลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ นั้น สืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่าง “ฮุวะ” และ “อัลลอฮ์”นั่นเอง “ฮุวะ”ในที่นี้สื่อถึงคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ซึ่งอยู่พ้นนิยามและญาณวิสัย และจะเร้นลับตลอดไป ส่วนคำว่า “อัลลอฮ์” สื่อถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมของคุณลักษณะอันไพจิตรและพ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ทั้งมวล ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ แปลว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงดำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมิได้จะสื่อว่าอาตมันของพระองค์จำแนกจากคุณสมบัติทั้งมวล และเมื่อกล่าวว่า พระองค์ (ฮุวะ) คืออัลลอฮ์ (ในซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์) นั่นหมายถึงว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ...
  • มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
    12521 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2555/02/06
    ข้อสรุปที่นักวิจัยอาชูรอรุ่นหลังได้รับจากการค้นคว้าก็คือมีเศาะฮาบะฮ์นบี 5 ท่านอยู่ในกลุ่มสหายของอิมามฮุเซน(อ.) ในเหตุการณ์อาชูรอโดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้อนัสบิรฮัรซ์, ฮานีบินอุรวะฮ์, มุสลิมบินเอาสะญะฮ์, ฮะบีบบินมะซอฮิร, อับดุลลอฮ์บินยักฏิร ...
  • ถ้าหากเป็นการแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) และฝ่ายชายได้เป็นตัวแทนฝ่ายหญิง เพื่ออ่านอักด์ แต่มิได้บอกกำหนดเวลาและจำนวนมะฮฺรียะฮฺ ถือว่าอักด์ถูกต้องหรือไม่?
    9259 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำตอบจากมัรญิอฺตักลีดบางท่านกล่าวว่า ..สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺ
  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59453 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • เมื่อสามีและภรรยาหย่าขาดจากกัน ใครคือผู้มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร?
    12499 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามบิดามีหน้าที่จะต้องจ่ายนะฟาเกาะฮ์ (ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู) แก่บุตรทุกคนแต่ทว่าสิทธิในการดูแลและอบรมเลี้ยงดูบุตรนั้นแตกต่างกันไปตามอายุและเพศของลูกๆท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “มารดาถือครองสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตรชายจนถึงอายุ๒
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8369 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • หากในท้องปลาที่ตกได้ มีปลาตัวอื่นอีกด้วย จะรับประทานได้หรือไม่?
    5871 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    มีการสอบถามคำถามทำนองนี้ไปยังสำนักงานของบรรดามัรญะอ์ตักลีดบางท่านซึ่งท่านได้ให้คำตอบดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี:ปลาที่ตกได้ถือว่าฮะลาลท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี:อิห์ติยาฏวาญิบ(สถานะพึงระวัง) ถือว่าเป็นฮะรอมท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฎิลลังกะรอนี:หากปลาที่ตกมาได้เป็นปลาประเภทฮาลาลก็ถือว่าเป็นอนุมัติท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี่ยง[1]อายาตุลลอฮ์อะรอกี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี้ยงเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนที่มันออกมามีชีวิตหรือไม่ดังนั้นถือว่าไม่สะอาด[2]อายาตุลลอฮ์นูรีฮาเมดอนี:ถือว่าฮาลาล[3]ดังที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าบรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่สามารถสรุปได้โดยรวมว่าหากมีสัตว์ที่อยู่ในท้องของปลาที่จับมาได้หากสัตว์ตัวนั้นเป็นปลาหรือเป็นสัตว์น้ำชนิดที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาโดยขณะที่เราเอาผ่าออกมาเราแน่ใจว่าสัตว์น้ำดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ถือว่าฮาล้าลส่วนกรณีที่ต่างไปจากนี้อาทิเช่นเมื่อได้ผ่าท้องปลาและเห็นว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องมันตายแล้วก่อนหน้านั้นถือว่าไม่สามารถรับประทานสัตว์น้ำดังกล่าวได้ส่วนในกรณีที่สาม (ไม่รู้ว่าสัตว์น้ำในท้องปลายังมีชีวิตหรือไม่) ในกรณีนี้บรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นมุกัลลัฟแต่ละจะต้องทำตามฟัตวาของมัรญะอ์ของตน
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8347 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59453 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56911 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41719 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38460 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33494 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27570 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27288 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27185 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25263 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...