การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8820
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/11
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างภูตผีปีศาจ ขณะเดียวกันก็ทรงตรัสว่าภูตผีเหล่านี้จะทำอันตรายได้ก็ต่อเมื่อทรงอนุมัติเท่านั้น?
คำถาม
โองการที่101 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์กล่าวว่า “และเหล่าภูตผีปีศาจได้สอนสิ่งที่สร้างความร้าวฉานระหว่างสามีภรรยา ซึ่งไม่สามารถทำอันตรายใดๆได้เว้นแต่ทรงประสงค์ สิ่งที่สอนสั่งนั้นล้วนแล้วแต่ให้โทษโดยปราศจากคุณประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น” เหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างภูตเหล่านี้ ขณะเดียวกันก็ทรงตรัสว่าภูตผีเหล่านี้จะทำอันตรายได้ก็ต่อเมื่อทรงอนุมัติเท่านั้น พระเจ้าประสาอะไรปล่อยให้ภูตปีศาจทำอันตรายผู้อื่น?
คำตอบโดยสังเขป

ญิน คือสิ่งมีชีวิตที่กุรอานกล่าวว่า “และเราได้สร้างญินจากไฟอันร้อนระอุก่อนการสรรสร้าง(อาดัม)” ญินจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ซึ่งต้องได้รับการชี้นำโดยบรรดาศาสดาเช่นกัน อีกทั้งมีหน้าที่ต้องบูชาพระองค์เสมือนมนุษย์ ญินจำแนกออกเป็นกลุ่มกาฟิรและกลุ่มมุสลิมตามระดับการเชื่อฟังพระบัญชาของอัลลอฮ์ ซึ่งอิบลีสที่ไม่ยอมศิโรราบแก่นบีอาดัมในยุคแรกก็เป็นญินตนหนึ่ง
การทำอันตรายโดยการอนุมัติของพระองค์ในที่นี้ หมายถึงข้อเท็จจริงที่ว่าทุกๆพลังอำนาจที่มีอยู่ในโลกล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น แม้แต่อานุภาพความร้อนและคมมีดก็ไม่อาจทำอะไรได้หากพระองค์มิทรงยินยอม เป็นความคิดที่ผิดมหันต์หากจะเชื่อว่าจอมขมังเวทย์ทั้งหลายสามารถจะคานอำนาจของพระองค์ เนื่องจากไม่มีสิ่งใดจะสามารถกำหนดขอบเขตอำนาจของพระองค์ได้ กฏเกณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติและผลลัพท์ที่ทรงกำหนดแก่ทุกสรรพสิ่ง โดยมนุษย์บางคนใช้ประโยชน์ในทางที่ดี แต่ก็มีบางคนใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสีย

คำตอบเชิงรายละเอียด

ภูตผีมีจริงหรือเพียงแค่ภาพหลอน?!
ในคติของคนทั่วไป ภูตผีปีศาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะ อันมีความเกี่ยวโยงกับซาตาน แต่ถ้าหากกล่าวในเชิงนามเฉพาะก็จะหมายถึงอิบลีสนั่นเอง[1] ที่คุณเอ่ยคำว่าภูตปีศาจในคำถามนั้น ในคติของกุรอานเรียกว่า“ญิน” ความหมายทั่วไปของคำว่าญินก็คือ “สิ่งที่ซ่อนเร้น”[2] กุรอานกล่าวถึงการสร้างญินว่า “และเราได้สร้างญินจากเพลิงอันร้อนระอุก่อนสิ่งนั้น(การสร้างนบีอาดัม)[3] ญินจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ที่ต้องได้รับการนำทางโดยบรรดาศาสดาเช่นกัน[4] อีกทั้งมีหน้าที่ต้องบูชาพระองค์เสมือนมนุษย์[5] โดยจำแนกออกเป็นกลุ่มกาฟิรและกลุ่มมุสลิมตามระดับการเชื่อฟังพระบัญชาของอัลลอฮ์[6] อิบลีสที่ไม่ยอมศิโรราบแก่นบีอาดัมในยุคแรกก็เป็นญินตนหนึ่ง[7]

อย่างไรก็ดี บางครั้งบุคคลทั่วไปมักจะเรียกภาพเลือนลางในจินตนาการของตนว่า“ผี” แต่หากพิจารณาถึงโองการและฮะดีษของบรรดาอิมามที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะทราบว่าญินคือสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่จริง

โองการที่ 102 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์เล่าว่าชาวยิวได้เรียนรู้เวทมนตร์คาถาจากสองสำนัก
หนึ่ง. สำนักชัยฏอน ที่พยายามสอนคนทั่วไปให้เก่งกล้าคาถาอาคม เพื่อยุแหย่ให้กระทำบาปมากขึ้น
สอง. สำนักมะลาอิกะฮ์ มลาอิกะฮ์สององค์ลงมาสอนวิธีแก้คุณไสยแก่ประชาชน[8]

โองการดังกล่าวเล่าว่า อัลลอฮ์ได้ส่งมะลาอิกะฮ์สององค์[9]นามฮารู้ตและมารู้ตลงมา(ไม่ไช่ภูตปีศาจอย่างที่คุณเข้าใจ) ทั้งนี้ก็เพื่อสอนผู้คนให้แก้คาถาอาคมได้ด้วยตนเอง ทว่าผู้คนกลับเรียนเฉพาะสิ่งที่ทำให้เกิดความร้าวฉานระหว่างสามีภรรยา

ฉะนั้น ประเด็นแรกคือ ผู้คนมิได้เรียนคาถาอาคมจากภูตผีปีศาจอย่างที่คุณกล่าวมา แต่มีมลาอิกะฮ์สององค์ได้รับบัญชาให้สอนประชาชน ประเด็นที่สอง กุรอานไม่ได้กล่าวว่ามลาอิกะฮ์สององค์นี้สอนคาถาอาคมที่ทำให้ครอบครัวร้าวฉาน แต่กล่าวเพียงว่าผู้คนเลือกที่จะเรียนรู้คาถาดังกล่าวเอง[10]

เป็นที่ทราบกันดีว่าสองสำนวนข้างต้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บางครั้งอาจารย์ท่านหนึ่งให้ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อจะได้เจริญก้าวหน้าทางวิชาการ แต่นักศึกษากลับใช้ความรู้ดังกล่าวในทางเสื่อมเสีย บางครั้งเรียนรู้ทักษะบางประการที่เป็นดาบสองคม แต่นักศึกษาเลือกที่จะใช้ในด้านลบเพียงด้านเดียว วิทยาการที่ใช้สร้างระเบิดทำลายล้างชนิดต่างๆในยุคบุกเบิกก็มีลักษณะเช่นนี้เนื่องจากมนุษย์บางกลุ่มใช้ความก้าวหน้าทางวิชาการในแง่ลบ

อย่างไรก็ดี หากศึกษาเหตุของการประทานโองการข้างต้นก็จะทำให้เข้าใจประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เรื่องราวก็คือ มลาอิกะฮ์สององค์นี้รับบัญชาให้ลงมาสอนวิธีแก้ไสยศาสตร์และคาถาอาคมแก่ประชาชน โดยได้เน้นย้ำชัดเจนว่าเราสององค์เป็นการทดสอบของพระองค์ ฉะนั้นจึงอย่ากลายเป็นผู้ปฏิเสธ (และจงใช้วิชาตามจุดประสงค์ที่ถูกต้อง)[11]

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาเหตุแห่งการประทานโองการนี้ พร้อมกับเรื่องราวของฮารู้ตและมารู้ตได้จากคำถามที่ 4970 (ลำดับในเว็บไซต์ 5247)

ไขข้อข้องใจที่ว่าอัลลอฮ์ทรงปล่อยให้มีการทำรายผู้คนกระนั้นหรือ?”
หากพิจารณากันให้ดีถึงเนื้อหาของโองการดังกล่าวก็จะทราบว่า โองการนี้ต้องการชี้แจงข้อสงสัยข้างต้น โดยหลังจากที่พระองค์ทรงตรัสว่าผู้คนเลือกที่จะเรียนคาถาอาคมที่ทำให้ครอบครัวร้าวฉาน จุดนี้อาจเกิดข้อสงสัยที่ว่า หากเป็นเช่นนั้นจริงก็แสดงว่ามนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างของโลกและทำทุกอย่างตามอำเภอใจโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจของพระเจ้าได้กระนั้นหรือ? พระองค์ทรงชี้แจงว่า แม้จะใช้วิชาอาคมทำร้ายผู้อื่นได้ แต่ก็ยังอยู่ในระบบที่พระองค์ทรงวางไว้อยู่ดี...[12]

คำอธิบายเพิ่มเติม
โองการดังกล่าวต้องการจะตีแผ่แกนหลักที่สำคัญของเตาฮี้ดที่ว่า ทุกอำนาจที่มีในสากลโลกล้วนถ่ายทอดมาจากเดชานุภาพของพระองค์ทั้งสิ้น แม้แต่ความร้อนและคมหอกคมดาบก็ไม่มีอานุภาพใดๆหากพระองค์มิทรงยินยอม เป็นความคิดที่ผิดมหันต์หากจะเชื่อว่าจอมขมังเวทย์ทั้งหลายสามารถจะต้านทานอำนาจของพระองค์ได้ เนื่องจากไม่มีสิ่งใดจะสามารถกำหนดขอบเขตอำนาจของพระองค์ได้เลย กฏเกณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติและผลลัพท์ที่ทรงกำหนดแก่ทุกสรรพสิ่ง โดยบางคนใช้ประโยชน์ในทางดี แต่ก็มีบางคนใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสีย ทั้งนี้ อิสระและเสรีภาพที่พระองค์มอบให้มนุษย์นั้น ถือเป็นสิ่งทดสอบสำหรับพัฒนาตนเอง[13]

แม้เราจะทราบดีว่าอานุภาพของทุกสิ่งล้วนขึ้นตรงต่อพระองค์ แต่ก็มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงประสงค์จะให้มนุษย์ได้รับอันตรายจากคาถาอาคม ทั้งนี้ ที่คาถาอาคมมีอานุภาพได้ก็เพราะเป็นอีกระบบหนึ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้นั่นเอง ดังกรณีที่มีดสามารถเฉือนวัตถุเนื้ออ่อนได้ โดยมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากกฏเกณฑ์ดังกล่าวมาโดยตลอด แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ผู้บริสุทธิ์ถูกแทงด้วยมีดจนเสียชีวิต ในมุมหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นจากกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติอันเป็นพระประสงค์พื้นฐานของพระองค์ แต่ย่อมมิได้หมายความว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้อาชญากรใช้มีดแทงผู้บริสุทธิ์เป็นการเฉพาะ เนื่องจากพระองค์ทรงห้ามปรามไว้ในหลายโองการมิให้สังหารหรือลิดรอนสิทธิผู้บริสุทธิ์ โดยทรงสัญญาว่าจะลงโทษผู้อธรรมอย่างสาสม[14]

ระเบียนที่เกี่ยวข้อง
หนึ่ง. คำถามที่ 4960 (ลำดับในเว็บไซต์ 5247) ฮารู้ตและมารู้ต
สอง. คำถามที่ 2992 (ลำดับในเว็บไซต์ 3237) ความชั่วร้ายสืบเนื่องถึงพระองค์อย่างไร
 

 


[1] มุอีน,มุฮัมมัด,พจนานุกรมมุอีน,หน้า 457,สำนักพิมพ์เบะฮ์ซ้อด,เตหราน,ปี1386

[2] รอฆิบ อิศฟะฮานี,อัลมุฟเราะด้าต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน,เล่ม 1,หน้า 203

[3] อัลฮิจร์,27

[4] อัลอันอาม,130 (จะมีสุรเสียงจากพระองค์ในวันกิยามะฮ์ว่า) โอ้กลุ่มญินและมนุษย์เอ๋ย ไม่มีศาสนทูตจากสูเจ้ามาดอกหรือ เพื่อนำเสนอโองการของเราแก่สูเจ้า และเตือนสูเจ้าเกี่ยวกับการพบปะในวันนี้? พวกเขาตอบว่า เราขอสารภาพผิด(มีศาสนทูตมาเตือนแล้ว) ทว่าชีวิตในดุนยาได้หลอกลวงเรา (ด้วยเหตุนี้)จึงสารภาพมัดตัวตนเองว่าเคยเป็นผู้ปฏิเสธ”

[5] อัซซาริยาต,57

[6] อัลอะห์ก้อฟ,29 โองการนี้กล่าวถึงการรับอิสลามของญินกลุ่มหนึ่ง โดยโองการอื่นๆมีการกล่าวถึงกลุ่มญินผู้ปฏิเสธ ดู: ฟุศศิลัต,29  อะอ์ร้อฟ,38  อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 295

[7] อัลกะฮ์ฟิ,50 “และ(จงรำลึกเถิด)เมื่อครั้งที่เราได้ตรัสแก่มลาอิกะฮ์ว่า จงสุญูดแก่อาดัม พลันพร้อมใจกันสุญูดยกเว้นอิบลีสซึ่งมาจาก(เผ่าพันธุ์)ญิน (เนื่องจากมลาอิกะฮ์ย่อมไม่ฝ่าฝืนพระองค์) และได้ผันตนออกจากคำสั่งของพระผู้อภิบาลของตน”

[8] เหตุผลที่สามารถเรียนรู้ไสยศาสตร์ได้ อาทิเช่น เพื่อแก้มนตร์ดำ หรือเพื่อต่อกรกับเหล่าจอมขมังเวทย์ ดู: ญะฟะรี,ยะอ์กู้บ,ตัฟซี้รเกาษัร,เล่ม,หน้า

[9] عن الرضا(ع):وَ أَمَّا هَارُوتُ وَ مَارُوتُ فَكَانَا مَلَكَيْنِ عَلَّمَا النَّاسَ السِّحْرَ لِيَحْتَرِزُوا بِهِ سِحْرَ السَّحَرَةِ وَ يُبْطِلُوا بِهِ كَيْدَهُم ดู: วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 17,หน้า 147,หมวดห้ามเรียนรู้เวทมนตร์คาถาและห้ามใช้ทำมาหากิน

[10] กรุณาสังเกตุความหมายของโองการ: “และ(ชาวยิว)ต่างคล้อยตามสิ่งที่ชัยฏอนนำมาสอนในยุคของสุลัยมาน(อ.) สุลัยมานไม่เคย(แตะต้องวิชาอาคมเหล่านี้)และมิได้เป็นกาฟิร ทว่าชัยฏอนต่างพากันปฏิเสธและสอนมนตร์ดำแก่ผู้คน และ(ชาวยิวบางส่วน)เชื่อฟังในสิ่งที่มลาอิกะฮ์สององค์นามฮารู้ตและมารู้ตได้นำมาสอน (โดยได้สอนให้รู้จักวิธีทำคุณไสยเพื่อให้ทราบวิธีแก้มนตร์ดำ) และมิได้สอนผู้ใดเว้นเสียแต่จะเตือนเสมอว่าเราเป็นเครื่องทดสอบ จงอย่าเป็นผู้ปฏิเสธ (ด้วยการนำไปใช้ในแง่ลบ) ทว่าพวกเขาเรียนรู้เฉพาะสิ่งที่จะทำให้เกิดความร้าวฉานระหว่างสามีภรรยา แต่พวกเขาไม่สามารถจะทำอันตรายผู้ใดได้เว้นแต่พระองค์ทรงอนุญาต พวกเขาเรียนรู้ในสิ่งที่มีอันตรายต่อตนเองโดยไม่อาจจะให้ประโยชน์ใดๆ และแน่นอนว่าผู้ใดก็ตามที่แสวงหาสิ่งเหล่านี้ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ใดๆในอาคิเราะฮ์ สิ่งที่พวกเขาแสวงหามานั้นช่างน่ารังเกียจเสียนี่กระไร หากพวกเขาทราบ”

[11] อัลบะเกาะเราะฮ์,102

[12] อิงเนื้อหาจากตัฟซี้รอัลมีซาน,เล่ม 1,หน้า 355

[13] มะการิม ชีอรซี,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 1,หน้า 377

[14] อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า “และจงอย่าสังหารผู้ที่พระองค์ทรงพิทักษ์โลหิตของเขาเว้นแต่จะมีสิทธิอันชอบธรรม และหากผู้ใดถูกสังหารในฐานะผู้ถูกกดขี่ เราได้กำหนดให้ผู้รับผิดชอบเขามีอำนาจชอบธรรม(ในการกิศอศ) ทว่าอย่าสุรุ่ยสุร่ายในการสังหาร แท้จริงเขาได้รับการช่วยเหลือ”,อิสรออ์,33

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17651 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11038 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8878 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6605 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9162 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9021 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7537 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6118 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59467 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56926 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41728 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38484 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33504 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27307 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25270 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...