การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5848
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7330 รหัสสำเนา 20878
หมวดหมู่ ริญาลุลฮะดีซ
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
คำถาม
ตำราฮะดีษมักจะมีหลายส่วนที่ขัดแย้งกัน เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่เขียนตำราฮะดีษเสียเอง? ทำไมไม่เขียนตัฟซี้รกุรอานเสียเอง? เหตุใดคนอื่นๆจึงมีผลงานประพันธ์ฝากไว้ แต่อิมามเองกลับไม่มีเช่นนั้นบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใด จึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้ เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจน เนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอาน และเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่ม อาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่าน ส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้น นอกจากท่านอิมามอลี(.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)แล้ว อิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเรา ทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคม หรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลม หรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสองประเด็น
1.
กรณีท่านนบี(..): ท่านนบี(..)มีชีวิตที่ต่างจากผู้อื่น ซึ่งจากลิขิตของอัลลอฮ์ทำให้ท่านมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใด ทำให้ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจน เนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอาน และเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่ม อาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่าน ด้วยเหตุนี้กุรอานจึงกล่าวว่าและเจ้าไม่เคยอ่านหนังสือและเขียนหนังสือก่อนจะมีคัมภีร์กุรอาน มิเช่นนั้นเหล่าผู้นิยมสิ่งโมฆะย่อมจะสงสัยในตัวเจ้า[1]

ฉะนั้น แม้ว่าสำหรับคนทั่วไป การอ่านออกเขียนได้จะเป็นเรื่องจำเป็น แต่สำหรับบางคน การที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้กลับเป็นสิ่งจำเป็น ดังที่เกิดขึ้นในกรณีของท่านนบี(..) ทั้งนี้หากนักวิชาการผู้คงแก่เรียนจะอ้างว่าตนเป็นศาสนทูต และนำเสนอคัมภีร์จากฟากฟ้าสักเล่มหนึ่ง ย่อมมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าศาสนาหรือคัมภีร์ดังกล่าวเกิดจากความคิดของเขาหรือไม่? คงจะด้วยเหตุผลที่ไม่ต้องการให้ศัตรูใช้เป็นข้ออ้างได้ ท่านนบี(..)จึงไม่เขียนข้อความใดๆแม้หลังจากที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนบีแล้ว[2] ทว่ารับความรู้จากวิวรณ์จากพระองค์เท่านั้น[3] ดังที่นักกวีนามฮาฟิซกล่าวว่า

ศาสดาของฉันไม่เคยมีอาจารย์สอนอ่านเขียน
แต่ชั่วพริบตากลายเป็นผู้เล่าเรียนร้อยครูบา[4]

2. กรณีของบรรดาอิมาม(.)
คำกล่าวในคำถามข้างต้นอาจจะไม่ถูกนัก เนื่องจากท่านอิมามอลี(.)ที่ได้รับฉายานามว่าบิดาแห่งอิมาม(.)เคยประพันธ์หนังสือไว้เล่มหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักในหมู่ทายาทของท่านในนามกิตาบ อลี[5] ซึ่งมิได้นำเสนอสู่สายตาคนทั่วไป ส่วนท่านอิมามซัยนุลอาบิดีนก็มีหนังสือเศาะฮีฟะฮ์ ซัจญาดียะฮ์ที่มีอยู่กระทั่งปัจจุบัน ส่วนตำราตัฟซี้รกุรอานนั้น ท่านอิมามอลี(.)คือบุคคลแรกที่รวบรวมกุรอานและบันทึกเหตุในการประทานพร้อมคำอธิบาย แต่เคาะลีฟะฮ์และผู้คนในสมัยนั้นกลับมีท่าทีไม่สนใจ[6]

นอกจากตำราเหล่านี้แล้ว เราก็ไม่พบว่าบรรดาอิมามประพันธ์ตำราเล่มอื่นๆอีก ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้:
2.1. ภาระหน้าที่การชี้นำทางสังคม
เมื่อเทียบกับภาระหน้าที่ที่หนักอึ้งของบรรดาอิมามในแต่ละยุคแล้ว การประพันธ์หนังสือจะกลายเป็นเรื่องเล็กในทันที อิมามมิไช่นักเขียน อิมามคือผู้นำทั้งกายและใจสำหรับประชาชน มีหน้าที่ต้องอบรมผู้คนให้มีจิตผ่องแผ้ว ท่านเป็นนักต่อสู้ที่พร้อมพลีชีพเพื่ออิสลาม มีหน้าที่ดูแลประชาชนทั้งทางโลกและทางธรรม และแม้ว่าการเขียนหนังสือจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ผู้เป็นอิมาม(.)ย่อมเลือกกระทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอ ท่านอาจจะเขียนตำราหากมีโอกาส แต่กล่าวได้ว่ามีเพียงอิมามอลี(.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)เท่านั้นที่มีโอกาสเช่นนั้น

2.2. อยู่ในสถานการณ์พิเศษ
เหตุผลนี้มองได้สองมุมด้วยกัน

หนึ่ง. ผู้คนไม่ให้ความสำคัญต่อท่าน
เนื่องด้วยลักษณะสังคมที่ผู้ปกครองที่อธรรมสร้างขึ้น ทำให้ผู้คนในยุคนั้นไม่สนใจอะฮ์ลุลบัยต์อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งก็ถือเป็นเหตุผลหลักที่บรรดาอิมาม(.)จำต้องลดบทบาทตนเองลง อย่างไรก็ดี การที่ผู้คนไม่นิยมไม่ทำให้วุฒิภาวะของท่านเหล่านั้นลดลงแต่อย่างใด ประชาชนเหล่านั้นต่างหากที่เสียประโยชน์ สรุปคือ สังคมจะต้องมีความพร้อมในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถนำเสนอข้อเขียนหรือตำราได้

สอง. สภาวะปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด
สภาวะเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะสกัดกั้นการนำเสนอข้อเขียนหรือสาส์นจากบรรดาอิมาม(.) แต่ยังรวมไปถึงข้อเขียนของสานุศิษย์ของท่านอีกด้วย สาวกของท่านอิมามญะว้าด(.)กล่าวแก่ท่านว่าครูบาของพวกเรารายงานและบันทึกฮะดีษจากอิมามบากิร(.)และอิมามศอดิก(.) แต่ด้วยบรรยากาศที่ปิดกั้นทางความคิด ทำให้ท่านเหล่านั้นเก็บซ่อนไว้ไม่เผยแพร่ เราจะทำอย่างไรกับตำราเหล่านี้ดีขอรับ? อิมามตอบว่าตำราเหล่านี้ไม่มีข้อผิดพลาดอะไร จงเผยแพร่ออกไปเถิด[7] ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า บรรยากาศดังกล่าวคือเหตุผลหลักที่ทำให้บรรดาอิมาม(.)ไม่สามารถจะเขียนข้อความใดๆแม้แต่จดหมาย (นับประสาอะไรกับตำรา) เนื่องจากผู้ปกครองราชวงศ์อุมะวีและอับบาซิดต่างก็ใช้ควบคุมและสอบสวนบรรดาอิมาม(.)อย่างเข้มงวด แม้ภาวะดังกล่าวจะหนักเบาไม่เท่ากัน แต่อิมามทุกท่านก็ต้องอำพรางความเชื่อของตน ดังที่อิมามบากิร(.)กล่าวว่า การอำพรางความคิดคือแนวทางของฉัน และแนวทางของบรรพบุรุษของฉัน[8]

 2.3. การมีสานุศิษย์นักบันทึก
สานุศิษย์บางคนที่มีชื่อเสียงในด้านรายงานฮะดีษมักจะจดบันทึกฮะดีษของอิมามไว้เสมอ พจนารถของบรรดาอิมาม(.)จึงยังคงมีอยู่จนถึงยุคของเราแม้ว่าบรรดาอิมาม(.)จะมิได้ประพันธ์ด้วยตนเอง
อาจจะคิดว่าหากบรรดาอิมาม(.)ประพันธ์หนังสือฮะดีษด้วยตนเองจะทำให้ไม่มีฮะดีษที่ขัดแย้งกัน แต่คงจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้ว่าอิมามจะบันทึกด้วยตนเอง ตำราเหล่านี้ก็อาจจะถูกผู้ไม่หวังดีบิดเบือนเสมือนตำราของสานุศิษย์ หรืออาจจะทำให้ยิ่งกระหายจะบิดเบือนมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าหากตำราเหล่านี้ถูกบิดเบือน ก็ย่อมจะอันตรายต่อผู้อ่านมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากนักรายงานฮะดีษจะไว้วางใจตำราเหล่านี้จนไม่คิดจะพิจารณาตรวจทานใดๆ ฉะนั้น การมีหนังสือที่อิมามบันทึกด้วยตนเองจึงไม่มีประโยชน์ใดๆเป็นพิเศษ

ท้ายนี้ขอชี้แจงว่า คงไม่ถูกต้องนักหากเราจะเชื่อว่าในตำราฮะดีษมีความขัดแย้งกันเองเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างฮะดีษบางบทสามารถบรรลุข้อสรุปได้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านนี้  ฮะดีษทั้งหมดของเราได้รับการสังคายนาโดยอิมาม(.)และเหล่าสหายหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งความขัดแย้งบางส่วนได้รับการเชื่อมต่อโดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญฟิกเกาะฮ์

เพื่อศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่าน คำถามที่ 1937 (ลำดับในเว็บไซต์: 2185) การกำหนดและจำแนกฮะดีษเศาะฮี้ห์



[1] อัลอังกะบู้ต,48

[2] มุเฏาะฮะรี,มุรตะฎอ,ศาสดาผู้ไม่รู้หนังสือ,หน้า 6,ศ็อดรอ,เตหราน 1378

[3] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 16,หน้า 308, ดารุลกุตุบุลอิสลามียะฮ์,เตหราน,1374

[4] บทกวีฮาฟิซ,กวีที่ 167

[5] กุลัยนี,มุฮัมมัด บินยะอ์กู้บ,เล่ม 1,หน้า 41,ดารุลกุตุบุลอิสลามียะฮ์,เตหราน,1365

[6] เพื่อศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่าน คำถามที่ 4687 (ลำดับในเว็บไซต์: 4954)

[7] อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 53

[8] เพิ่งอ้าง,เล่ม 2,หน้า 219

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ผมทำงานอยู่ในร้านค้าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเจ้าของร้านตัดสินใจไล่ผมออกจากงาน แต่ไม่ได้จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้ผม อนุญาตหรือไม่ที่จะหยิบฉวยของในร้านหรือทรัพย์สินของเขาทดแทนค่าจ้างที่เขายังไม่ได้จ่ายให้ผม ?
    5776 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
    คำถามของคุณได้ถูกส่งไปยังสำนักงานมัรญะอ์ตักลีดหลายท่านแล้วและได้คำตอบมาดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอี“การกระทำในลักษณะตอบโต้ลูกหนี้จะเป็นที่อนุมัติก็ต่อเมื่อลูกหนี้อ้างโดยมิชอบว่าตนไม่ได้เป็นหนี้หรือขัดขืนไม่ยอมจ่ายหนี้โดยไม่มีทางอื่นที่จะทวงหนี้ได้นอกจากวิธีนี้แต่หากนอกเหนือจากนี้แล้วการที่จะยึดและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติ”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาซีซตานี“หากเขาเป็นหนี้เราและไม่ยอมจ่ายหนี้ในกรณีที่เขายอมรับว่าเขาเป็นหนี้เราสามารถชดเชยสิ่งนี้ด้วยการริบทรัพย์สินของเขาที่พบเห็น”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมามะการิมชีรอซี“เราไม่ทราบถึงเรื่องส่วนตัวดังกล่าวแต่โดยทั่วไปแล้วหากผู้ใดลิดรอนสิทธิผู้อื่น
  • อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
    6401 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกันกล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมาซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมายและรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรมความสงบสุข
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10114 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6855 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    12698 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...
  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14476 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20838 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • เพราะเหตุอะไร เราจึงซัจญฺดะฮฺในซิยารัตอาชูรอ เพื่อขอบคุณพระเจ้า เนื่องจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว?
    21295 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    การขอบคุณความโปรดปราน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงรายงานของเรา ซึ่งมีสถานภาพอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ[1] มนุษย์ผู้ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อพระเจ้าก็เนื่องจากว่า เขามีการรู้จักที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า และการสร้างสรรค์ของพระองค์, และทุกสิ่งจากพระเจ้าที่ได้ตกมาถึงพวกเขา, เขาจะขอบคุณ, เนื่องจากมนุษย์เหล่านี้, เขาจะปฏิบัติหน้าที่กำหนดจากพระเจ้าร่วมไปด้วย และเมื่อประสบอุปสรรคปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแรง เขาต่างแสดงความจำนนต่อพระเจ้า และถือว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ในหนทางนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในหนทางของพระเจ้า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในตอนบ่ายของวันอาชูรอ, ท่านได้อยู่ร่วมกับสหายคนอื่น ร่วมแซ่ซ้องสดุดีต่อพระเจ้า ทั้งที่ทั้งความดีงามและความเลวร้าย ได้ประสบแด่ท่าน : ประโยคที่กล่าวว่า "احمده على السرّاء والضرّاء" โอ้ อัลลอฮฺ ไม่ว่าฉันจะอยู่ในสภาพปกติ หรืออยู่ในสภาพเศร้าหมอง,ฉันก็จะขอขอบคุณพระองค์ เพื่อว่าฉันจะได้รับความสัมฤทธิผล ด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ ได้ชะฮีดและอยู่ร่วมกับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ "الحمد للّه الذی أکرمنا ...
  • การลงโทษชาวบนีอิสรออีลข้อหาบูชาลูกวัวเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่ความผิดหรือไม่?
    7686 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/23
    นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ “1. สิ่งนี้เป็นบททดสอบ และเมื่อพวกเขาได้เตาบะฮ์และสำนึกผิดแล้ว สิ่งนี้ก็ได้ถูกยกเลิก 2. ความหมายของการฆ่าในที่นี้คือการตัดกิเลศและแรงยั่วยุของชัยตอน 3. ความหมายของการฆ่าในโองการนี้ คือการฆ่าจริง ๆ กล่าวคือจะต้องฆ่ากันเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือทั้งหมดของประเด็นต่อไปนี้ก็เป็นได้: ก. ชำระจิตใจชาวบนีอิสรออีลให้ผ่องแผ้วจากการตั้งภาคี ข. ยับยั้งไม่ให้บาปใหญ่หลวงเช่นนี้อีก ค. ต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาการหันเหจากหลักเตาฮีด และการหันไปสู่การกราบไหว้เจว็ด อย่างใดก็ตาม การรับการลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดก็ถือว่าคุ้มค่าหากแลกกับการหลุดพ้นจากไฟนรก ...
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    6189 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38462 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27293 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27189 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...