การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7720
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/12
 
รหัสในเว็บไซต์ fa850 รหัสสำเนา 14462
คำถามอย่างย่อ
ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
คำถาม
ในทัศนะอิสลาม กาฟิรที่เคยก่ออาชญากรรมจะได้รับอภัยโทษหลังเข้ารับอิสลามหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม อาทิเช่น หากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ เช่นไม่ทำละหมาด หรือเคยทำบาปเป็นอาจิน เขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลาม
ทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆ เว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้น ฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลาม การเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริง แต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้ เว้นแต่ฝ่ายผู้เสียหายจะยอมความเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะสิทธิในส่วนนี้มิไช่สิทธิของอิสลามที่อิสลามจะอภัยโทษให้ได้ แต่เป็นสิทธิของมนุษย์ซึ่งทุกศาสนาและอารยชนทั่วโลกต่างให้การยอมรับ

คำตอบเชิงรายละเอียด

กุรอานกล่าวถึงพฤติกรรมด้านลบของกาฟิรก่อนจะเข้ารับอิสลามว่า: โอ้ศาสนทูต จงกล่าวแก่กาฟิรว่า หากยุติพฤติกรรม(อันเสื่อมเสีย)ของพวกท่าน เราจะอภัยโทษในสิ่งที่แล้วมา...”[1]
ท่านศาสดามุฮัมมัดเคยกล่าวไว้ว่าการรับอิสลามจะปกปิดพฤติกรรมที่ไม่ดีในอดีต ดังที่การเตาบะฮ์จะขจัดลักษณะนิสัยแห่งกาฟิรและจะปกปิดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์[2] วจนะดังกล่าวได้กลายมาเป็นพื้นฐานของหลักนิติศาสตร์อิสลามที่เรียกว่าหลักแห่งญุบ
โองการและฮะดีษข้างต้นต้องการจะสื่อให้ทราบว่าผู้ที่สนใจจะเข้ารับอิสลามไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับความผิดบาปในอดีต เนื่องจากอัลลอฮ์จะไม่เอาผิดในกรณีที่เคยละเมิดสิทธิของพระองค์(ก่อนรับอิสลาม) จึงไม่จำเป็นต้องทำอิบาดะฮ์หรือจ่ายซะกาตชดใช้ย้อนหลัง เพราะอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ให้อภัยที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม และไม่ถือโทษในสิ่งที่ปวงบ่าวเคยล่วงเกินในอดีต[3]
นอกจากนี้ หากผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามเคยกระทำผิดประเภทที่อิสลามระบุโทษชัดเจน เช่น โบยหลังผู้ที่น้ำเมา โทษดังกล่าวก็จะถูกระงับเช่นกัน อิสลามแทนที่ด้วยการปฏิบัติอย่างอ่อนโยน และให้เขาสบายใจว่าจะไม่ถูกลงโทษในสิ่งที่เคยพลาดพลั้งในอดีต อย่างไรก็ตาม อภัยทานดังกล่าวมีเฉพาะในส่วนของสิทธิของอัลลอฮ์และอิสลาม ด้วยเหตุนี้ หากเขาเคยล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ก่อนรับอิสลาม จำเป็นต้องชดใช้หรือขอประนีประนอม มิเช่นนั้นก็ต้องถูกลงโทษตามแต่กรณี อาทิเช่น หากเขาเป็นหนี้ หรือเคยขโมยทรัพย์สินในอดีต จำเป็นต้องชดใช้หรือส่งคืน หรือไม่ก็ประนีประนอมให้ผู้เสียหายอภัยให้  ในทำนองเดียวกัน หากเขาเคยก่ออาชญากรรมฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้ใด ก็ต้องชดใช้หรือรับโทษทัณฑ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากอัลลอฮ์ทรงอภัยในส่วนของสิทธิของพระองค์เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษย์ การพิจารณาคดีความเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์จึงดำเนินต่อไป โดยเขาจะต้องชดใช้ให้ผู้เสียหายเท่านั้น
อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวมิได้เป็นหลักการที่มีเฉพาะอิสลามเท่านั้น ทว่าทุกศาสนา ลัทธิ และทุกสังคมที่อารยะต่างก็มีหลักการเช่นนี้ด้วยกันทั้งสิ้น[4]
ผู้รู้บางท่านกล่าวเสริมว่า หากผู้ใดเข้ารับอิสลามและมีหนี้สินที่ต้องชำระ ผู้ปกครองรัฐอิสลามสามารถชำระหนี้สินดังกล่าวแทนด้วยเงินจากคลังส่วนกลางได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์แก่มุสลิมใหม่ ยกตัวอย่างเช่น หากมุสลิมใหม่สักคนต้องจ่ายสินไหมแก่ญาติผู้เสียชีวิตเนื่องจากก่อนรับอิสลามเคยฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา หลังรับอิสลามเขาก็ยังต้องแบกรับภาระหนี้สินดังกล่าวอยู่ แต่ผู้ปกครองรัฐอิสลามสามารถพิจารณาสั่งจ่ายสินไหมแทนจากคลังส่วนกลางได้.[5]
สรุปคือ ในกรณีเช่นนี้ ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกดำเนินคดีไม่ว่าจะอยู่ในรัฐทั่วไปหรือรัฐอิสลาม โดยที่ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเอาความได้ตามกระบวนการพิจารณาคดีของประเทศต่างๆรวมถึงประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอิสลาม.



 [1] ซูเราะฮ์อันฟาล, 38.

[2] ฏุร็อยฮีย์, มัญมะอุ้ลบะฮ์รอยน์, คำว่าجب; ซีเราะฮ์ ฮะละบี, เล่ม 3, หน้า 105. ฮะดีษข้างต้นมีรายงานสำนวนอื่นเช่นกัน เช่น: อิสลามจะขจัดพฤติกรรมในอดีตดู: อัลลามะฮ์ มัญลิซี, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 40, หน้า 230.

[3] ดู: มุฮักกิก ฮะมะดอนี, มิศบาฮุลฟะกีฮ์, กิตาบ ซะกาต, หน้า ; มุฮัมมัด ฮะซัน นะญะฟี, ญะวาฮิรุลกะลาม, เล่ม 17, หน้า 10.

[4] ดู: .มะการิม ชีรอซี, อัลกอวาอิดุล ฟิกฮียะฮ์, เล่ม 2, หน้า 169-183 (หลักแห่งญุบ).

[5] อบุลฟัตฮ์ ญุรญานี, ตัฟซีร ชอฮี, เล่ม 2 หน้า 96.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ประโยคที่ว่า لاتعادوا الایام فتعادیکم หมายความว่าอย่างไร?
    5926 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ประโยคดังกล่าวแปลว่า “จงอย่าเป็นศัตรูกับวันเวลาแล้ววันเวลาจะไม่เป็นศัตรูกับท่าน”ประโยคนี้ปรากฏอยู่ในฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)บางบทอัยยามในที่นี้หมายถึงวันเวลาในรอบสัปดาห์สำนวนนี้ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของวันเวลาและไม่ควรมองวันเวลาในแง่ลบเพราะอาจจะทำให้ประสบเคราะห์กรรมได้ควรคิดว่าวันเวลาเปี่ยมด้วยความเมตตาของพระองค์ที่เราจะต้องขวนขวายไว้อย่างไรก็ดีประโยคนี้ยังสามารถอธิบายได้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะนำเสนอในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษระบุว่า การปัสสาวะอย่างไม่ระวังจะทำให้ถูกบีบอัดในมิติแห่งบัรซัค กรุณาอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ
    6602 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในตำราฮะดีษมีบางรายงานระบุว่าท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า “จงระมัดระวังในการชำระปัสสาวะเถิดเพราะการลงโทษส่วนใหญ่ในสุสานเกิดจากการปัสสาวะ”[1] ท่านอิมามศอดิกก็เคยกล่าวว่า “การลงทัณฑ์ในสุสานส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องมาจากปัสสาวะ”[2]อย่างไรก็ดีต้องชี้แจงเกี่ยวกับปรัชญาของอะห์กามว่าถึงแม้ฮุกุ่มทุกประเภทจะอิงคุณและโทษในฐานะที่เป็นเหตุผลก็ตามแต่เป็นเรื่องยากที่จะสามารถแจกแจงเหตุและผลของฮุก่มแต่ละข้ออย่างละเอียดละออได้ที่สุดแล้วก็ทำได้เพียงแจกแจ้งทีละข้อซึ่งหลักเกณฑ์ที่ว่าสามารถครอบคลุมส่วนใหญ่เท่านั้นมิไช่ทั้งหมดจึงทำให้อาจจะมีข้อยกเว้นบางกรณี[3]ประเด็นการไม่ระมัดระวังนะญิสของปัสสาวะนั้นสติปัญญาของคนเราเข้าใจได้เพียงระดับที่ว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะทำลายน้ำนมาซอันเป็นเงื่อนไขของอิบาดะฮ์อย่างเช่นการนมาซ แต่ไม่อาจจะเข้าถึงสัมพันธภาพเชิงเหตุและผลระหว่างการปัสสาวะอย่างไม่ระวังกับการถูกลงโทษในสุสานได้อย่างไรก็ตามสติปัญญายอมรับในภาพรวมว่าการกระทำของมนุษย์จะส่งผลถึงโลกนี้และโลกหน้า[1]บิฮารุลอันว้าร,เล่ม
  • มนุษย์สามารถเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณโดยปราศจากศาสนาได้หรือไม่?
    10399 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/08
    รูปภาพของจิตวิญญาณสมัยที่โจทย์ขานกันอยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับภาพทางจิตวิญญาณ ในความคิดของเราในฐานะมุสลิมหนึ่ง เนื่องจากความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของมุสลิมนั้น มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคำสอนศาสนา จิตวิญญาณทางศาสนา, วางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามตำแนะนำสั่งสอนของศาสนา จึงจะก่อให้เกิดสถานดังกล่าว คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับความจริงที่พ้นญาณวิสัย เหนือโลกวัตถุและความจริงที่วางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่ามนุษย์ในระบบของการสร้างสรรค์ มีสถานภาพพิเศษ กำลังดำเนินชีวิตไปในหนทางพิเศษ อันเป็นหนทางที่ต้องอาศัยพฤติกรรมอันเฉพาะบางอย่าง อีกนัยหนึ่ง จิตวิญญาณทางศาสนา เป็นความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์มีต่อข้อเท็จจริง ซึ่งจะพบว่าความรู้สึกนั้นตั้งอยู่เหนือโลกของวัตถุ ขณะเดียวกันก็วางอยู่บนข้อตกลงและเงื่อนไขอันเฉพาะ ถ้าหากพิจารณาสติปัญญาที่มีขอบเขตของจำกัด ในการรู้จักมิติต่างๆ ของการมีอยู่ของมนุษย์ การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา และในที่สุดการเลือกวิธีการต่างๆ ว่าจะดำเนินไปอย่างไร เพื่อไปให้ถึงสิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์ถวิลหา ดังนั้น ตรงนี้จึงไม่อาจพึงความรู้ในเชิงของเหตุผล หรือสติปัญญาได้เพียงอย่างเดียว ทว่าต้องพึ่งคำแนะนำและผู้ชี้นำทาง ซึ่งการทำความเข้าใจ และการครอบคลุมของสิ่งนั้นต้องเหนือกว่า สติปัญญา และสิ่งนั้นก็คือ วะฮฺยู ของพระเจ้า ซึ่งได้มาถึงสังคมมนุษย์โดยผ่านขบวนการของบรรดาเราะซูล ซึ่งได้แนะนำมนุษย์ให้เดินไปสู่สัจธรรมความจริงสูงสุด อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานเราะซูลลงมาคนแล้วคนเล่า ทรงทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ มนุษย์มีหน้าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ...
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    6115 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • จะมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรบ้าง เพื่อให้บุตรหลานรักการอิบาดะฮฺ?
    6034 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    สำหรับการส่งเสริมและการสนับสนุนให้ปฏิบัติข้อบังคับของศาสนา เบื้องต้นสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการวิเคราะห์ความคิดของเขา หลังจากนั้นจึงจะหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมต่อไป, ทัศนะของบุคคลและความเชื่อที่มีต่ออัลลอฮฺ, โลกทัศน์ของพระเจ้า,มนุษย์, วันฟื้นคืนชีพ และ... เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความเชื่อ เพราะจะช่วยทำให้เขามั่นคงต่อการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติข้อบังคับต่างๆ และความประพฤติ การโน้มน้าวทางความเชื่อ การมีวิสัยทัศน์ที่ดี และการมีความคิดดีกับฝ่ายตรงข้าม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน) ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดมรรคผลในทางที่ดี การอบรมสั่งสอนและการส่งเสริม จึงจำเป็นต้องเริ่มจากความคิดของเขาก่อน แน่นอน การที่บิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตร โปรแกรมการอบรมสั่งสอนย่อมไม่ได้ผล หรือล้มเหลวแน่นอน โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมด้านการอบรม สามารถสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตรหลานของตนได้ บางวิธีการเป็นวิธีที่มีความจำเป็นและเหมาะสม ดังเช่น : 1 ให้เกียรติบุตร: ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า "จงให้เกียรติลูกๆ ของตนและจงอบรมสั่งสอนให้ดี" 2 รู้ถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนในช่วงวัยรุ่น (เช่นความเป็นอิสระ, อารมณ์, ฯลฯ) เป็นการรู้จักทั่วไปถึงสภาพจิตใจอันเฉพาะของลูกแต่ละคน ...
  • มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร? ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ทราบเรื่องนี้หรือไม่?
    8819 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกโดยท่านอิมามอลี(อ.)ภายหลังนบีวะฝาตไปแล้วเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ญิบรออีลหรือมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งถ่ายทอดแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตตลอดจนความเร้นลับของอาลิมุฮัมมัด(ซ.ล.) หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตำแหน่งอิมามและเป็นมรดกตกทอดระหว่างอิมามปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นหลังท่านนบี(ซ.
  • การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
    18534 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    9648 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • จะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?
    8768 ปรัชญาของศาสนา 2554/07/16
    ผู้ที่คิดว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะปรับเข้าหากันได้แสดงว่าไม่เข้าใจธรรมชาติของศาสนาเทวนิยมโดยเฉพาะศาสนาอิสลามอีกทั้งไม่เข้าใจว่าพื้นที่คำสอนของศาสนาและพื้นที่ความรู้ของวิทยาศาสตร์ก็แยกออกเป็นเอกเทศ เมื่อพื้นที่ต่างกันก็ย่อมไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นคำสอนของศาสนามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในสามพื้นที่ด้วยกันนั่นคือความสัมพันธ์กับตนเองความสัมพันธ์กับผู้อื่น(สังคมและสิ่งแวดล้อม) และความสัมพันธ์กับพระเจ้า และในฐานะที่อิสลามถือเป็นศาสนาที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดได้สนองตอบความต้องการของมนุษย์ทุกยุคสมัยด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “อิจญ์ติฮาด”ซึ่งได้รับการวางรากฐานโดยวงศ์วานศาสดามุฮัมมัดส่วนเทคโนโลยีนั้นมีอิทธิพลเพียงในพื้นที่แห่งประสาทสัมผัสและมีไว้เพื่อค้นพบศักยภาพของโลกและจักรวาลที่ซ่อนอยู่ตลอดจนเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือในการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่านวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ช่วยแผ่ขยายพื้นที่ในการตรากฏเกณฑ์ศาสนาให้กว้างยิ่งขึ้นเพราะในทัศนะอิสลามแล้วสามารถจะวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆได้โดยใช้กระบวนการอิจญ์ติฮาดและอ้างอิงขุมความรู้ทางฟิกเกาะฮ์. ...
  • การบริจาคทรัพย์ฮะรอม กฎเกณฑ์ว่าอย่างไร?
    5878 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การวะกัฟจะถือว่าถูกต้องก็ต่อเมื่อ, ตนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ต้องการวะกัฟอย่างถูกต้อง[1]ดังนั้นการวะกัฟทรัพย์สินที่ได้ขู่กรรโชก

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59446 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56905 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41711 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38464 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38456 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33488 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27567 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27283 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27182 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25256 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...