การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11070
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa943 รหัสสำเนา 15116
คำถามอย่างย่อ
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
คำถาม
คุณมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ ฮูรุลอัยน์เตรียมไว้เพื่อสุภาพบุรษเท่านั้น หรือจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์ด้วย? มีทัศนะที่เป็นเอกฉันท์จากกุรอานและฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศ จากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่าฮูรุลอัยน์คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์ น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงาน ส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้น ตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.
นอกจากนี้ คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธา หรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]
นอกจากเนื้อคู่แล้ว ยังมีฆิลมานหรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย



[i] ดีดอเร ย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),.มะการิม ชีรอซี,หน้า 120-121.

คำตอบเชิงรายละเอียด

สวรรค์และความโสภาอันนิรันดร์ถือเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ ที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลแด่บ่าวผู้ยำเกรงและเปี่ยมศรัทธา อย่างไรก็ดี ความรื่นรมย์ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือความพึงพอพระทัยของพระองค์อันถือเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับมนุษย์  ประเด็นสำคัญก็คือ ความศรัทธาและการบำเพ็ญกุศลเท่านั้นที่จะนำพาสู่สรวงสวรรค์ ยิ่งศรัทธาแรงกล้าและกุศลกรรมมากมายเท่าใด ก็ยิ่งอำนวยให้ได้รับฐานันดรที่สูงขึ้นในสวรรค์ ซึ่งในการนี้ไม่มีข้อจำกัดทางเพศ หญิงและชายสามารถบรรลุระดับขั้นต่างๆได้เท่าเทียมกัน ดังกุรอานกล่าวว่า: ชายและหญิงคนใดที่ประกอบกุศลกรรมและเป็นผู้ศรัทธา แน่แท้จะได้ย่างเข้าสู่สรวงสวรรค์ และจะได้รับปัจจัยโดยไร้การคำนวนนับ.[1]
คงจะไม่ถูกนัก หากเราจะคิดว่ากฏเกณฑ์และระบบระเบียบต่างๆของโลกหน้าเหมือนกับกฏเกณฑ์ของโลกนี้ราวถอดแบบกันมา และหากพบว่ากุรอานหรือฮะดีษบอกกล่าวถึงความสุขที่ได้กินดื่ม ได้อยู่เคียงข้างเนื้อคู่ ได้เอนกายใต้ร่มไม้ริมลำธารอันหวานฉ่ำในสรวงสวรรค์แล้วล่ะก็ นั่นเป็นการอุปมาอุปไมยให้เราเข้าใจความสุขบางส่วนเท่านั้น เพราะความสุขในโลกหน้ามิอาจเทียบได้กับความสุขทั่วไปในโลกนี้[2]
หากพิจารณาจากโองการกุรอานและฮะดีษจะพบว่า ชาวสวรรค์จะได้รับทุกสิ่งที่หมายปอง[3] ซึ่งฮูรุลอัยน์ก็นับเป็นความรื่นรมย์หนึ่งที่ชาวสวรรค์จะได้เชยชม หลายโองการกล่าวถึง ฮูรุลอัยน์ ในฐานะคู่ครองสำหรับชาวสวรรค์[4]
คำว่าฮูรเป็นพหูพจน์ของเฮารออ์ซึ่งแปลว่า หญิงสาวที่ตาดำของเธอดำขลับ และตาขาวของเธอขาวหมดจด หรืออีกความหมายหนึ่งคือ หญิงสาวที่นัยน์ตาของเธองามดุจนัยน์ตาของกวาง ส่วนอัยน์เป็นพหูพจน์ของอัยนาอ์ซึ่งแปลว่าผู้มีนัยน์ตากลมโต กุรอานเปรียบฮูรุลอัยน์กับไข่มุกอันเลอค่า[5] สันนิษฐานว่าฮูรุลอัยน์มีความแตกต่างจากหญิงสาวทั่วไปในโลกนี้[6] โดยพระองค์ทรงกล่าวว่าเราได้สมรสพวกเขากับฮูรุลอัยน์[7]

หลายโองการกล่าวถึงคุณลักษณะของผู้รับใช้ประเภทต่างๆที่รายล้อมชาวสวรรค์[8]

 นักอรรถาธิบายกุรอานเห็นพ้องกันว่าในสวรรค์ย่อมไม่จำเป็นต้องมีการสมรสตามรูปแบบทั่วไปในโลก ฉะนั้นสมรสในที่นี้จึงหมายถึงการบันดาลฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์.[9]
นอกจากนี้ คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธา หรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[10]
ท้ายนี้ขอกล่าวเสริมว่า ในสวรรค์มีฆิลมานที่จะปรนนิบัตรับใช้ทั้งชายและหญิงชาวสวรรค์

พวกเขาคือเด็กหนุ่มที่มีใบหน้าหล่อเหลา กุรอานกล่าวว่าหากได้เห็นพวกเขา จะคิดเปรียบเทียบพวกเขากับไข่มุกที่เรียงราย [11] บางโองการกล่าวว่าจะมีเด็กหนุ่มสาละวนรับใช้อยู่รายรอบ ประหนึ่งมุขงามในเปลือกหอย[12]
ความหมายทั่วไปของโองการดังกล่าวบ่งชี้ว่า เด็กหนุ่มเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปรนนิบัติรับใช้เท่านั้น.

สามารถจะสรุปได้ว่า อัลลอฮ์จะทรงประทานลาภเนียะอฺมัตทั้งหมดในสวรรค์แก่สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีผู้มีอีหม่านและตักวา ซึ่งฮูรุลอัยน์ในฐานะคู่ครอง และฆิลมานในฐานะคนรับใช้ที่มีใบหน้าหล่อเหลา ก็ถือเป็นเนียะอฺมัตดังกล่าวเช่นกัน

เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี: ฮูรุลอัยน์แห่งสวรรค์และการแต่งงาน คำถามที่ 748.



[1] ซูเราะฮ์ ฆอฟิร, 40.

[2] โองการแห่งชีวิต,ฮุเซน อิสกันดะรี,เล่ม 5,หน้า 302.

[3] ซูเราะฮ์ ฟุศศิลัต, 31.

[4] ซูเราะฮ์ อัดดุคอน,54 อัฏฏู้ร,22  อัลวากิอะฮ์,22,23

[5] "و حور عین؛ کامثال اللؤلؤ المکنون" (ฮู้รผู้มีนัยน์ตาดำขลับ เธองามประหนึ่งไข่มุกที่ซ่อนเร้น) อัลวากิอะฮ์, 23,24

[6] คำแปลอัลมีซาน, เล่ม 18 , หน้า 228 .

[7] ซูเราะฮ์ อัดดุคอน, 54

[8] ซูเราะฮ์ อัศศอฟฟาต,47 อัรเราะฮ์มาน,57 อัลอินซาน,70,72  อัฏฏู้ร,24

[9] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8 ,หน้า 99 และ คำแปลอัลมีซาน, เล่ม 18 , หน้า 228.

[10] ดีดอเร ย้อร,อ้างแล้ว.

[11] یطوف علیهم ولدان، مخلدون اذا رأیتهم حسبتهم لولوءً منثوراً، انسان، آیه ی19.

[12] "وَ یَطُوفُ عَلَیْهِمْ غِلْمانٌ لَهُمْ کَأَنَّهُمْ لُؤْلُؤٌ مَکْنُونٌ"، อัตฏูร, 24.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5309 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • อาริสโตเติลเป็นศาสดาแห่งพระเจ้าหรือไม่?
    8938 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    อาริสโตเติล, เป็นนักฟิสิกส์ปราชญ์และนักปรัชญากรีกโบราณเป็นลูกศิษย์ของเพลโตและเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตก
  • เราสามารถกล่าวคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนเวลาอะซานหรือไม่? หรือจำเป็นหรือไม่ที่จะกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์
    5886 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    คำถามของคุณไม่ชัดเจนนัก ทำให้สามารถแบ่งคำถามนี้ได้เป็น 2 คำถาม แต่คาดว่าคำถามของคุณน่าจะหมายถึงข้อที่หนึ่งดังต่อไปนี้1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกล่าวหนึ่งในสองของคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนถึงเวลาอะซาน(เวลาที่ตะวันเริ่มคล้อยลง) หรือสามารถกล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองก่อนหรือหลังอะซานก็ได้?
  • ถ้าหากไม่ทราบว่าและได้รับประทานเนื้อฮะรอมไป จะมีความผิดอันใดบ้าง?
    5481 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    บุคคลใดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว, เพิ่งจะรู้ว่านั่นเป็นอาหารฮะรอม, ถ้าหากไม่คิดว่าสิ่งนั้นจะฮะรอมประกอบกับมีสัญลักษณ์ของฮะลาลด้วยเช่นมาจากร้านของมุสลิม, มิได้กระทำบาปอันใด
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8712 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • นามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรและนามของบิดาของพวกเธอคืออะไร ?
    5786 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    ท่ามกลางหมู่มิตรของอัลลอฮฺและหมู่กัลญาณชนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพวกเขาได้เสียสละในแนวทางของความเป็นเอกะและเป้าหมายของพระเจ้าอย่างมากมายนามชื่อของพวกเขาได้จารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษย์แต่ท่ามกลางหมู่ชนแหล่งอ้างอิงและรายงานในอิสลามได้จารึกนามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรเอาไว้ว่าเป็นสตรีที่ดีที่สุดมีเกียรติและฐานันดรสูงส่งที่สุดในฐานะที่เป็นสตรีที่ดีที่สุดและเป็นสตรีชาวสวรรค์ที่ดีที่สุดด้วยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวแก่ท่านอมีรุลมุอฺมินีน ...
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7401 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • ท่านอิมามซะมานจะอยู่ในทุกที่หรือ แม้แต่ในประเทศต่างๆ (ยะฮูดียฺ) หรือประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม?
    6912 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ถ้าหากพิจารณาด้วยสติปัญญาและตรรกะแล้วจะพบว่าการไปถึงยังจุดสมบูรณ์สูงสุดอันเป็นที่ยอมรับโดยปราศจากการชี้นำจากองค์พระผู้อภิบาลสิ่งนี้ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอนอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ส่งบรรดาข้อพิสูจน์ของพระองค์มายังหมู่ประชาชนเพื่อชี้นำทางพวกเขา
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5479 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
    7452 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59452 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56911 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41718 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38470 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38459 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33493 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27569 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27288 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27185 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25260 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...