สวรรค์นั้นมีประตูต่างๆ จำนวนมากมาย ซึ่งมีถึง 8 ประตูด้วยกัน, ส่วนนามชื่อเฉพาะของประตูเหล่านั้น หรือประตูบานนั้นจะกลุ่มชนใดได้ผ่านเข้าไปบ้าง รายงานฮะดีซมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง และชื่อเฉพาะประตูมีรายงานที่กระจัดกระจายแจ้งเอาไว้ เช่น บาบเราะฮฺมะฮฺ, บาบุลซับร์, บาบุลชุกร์, บาบุลบะลาอ์, และ ....ซึ่งสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานข้างต้นคือ ประตูแต่ละบ้นจะเป็นทางผ่านสำหรับชาวโลกที่ได้รับเกียรติให้เป็นชาวสวรรค์ ซึ่งพวกเขาได้สั่งสมคุณงามความดีเอาไว้จำนวนมากมาย เป็นกลุ่มชนเฉพาะ และนามชื่อของพวกเขาก็เกี่ยวข้องกับความเหมาะสมและความดีงามอันเฉพาะของกลุ่มพวกเขา
สรวงสวรรค์นั้นมีประตูเป็นจำนวนมาก, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :
“และบรรดาผู้สำรวมตนต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา จะถูกนำสู่สรวงสวรรค์เป็นกลุ่ม ๆ จนกระทั่งเมื่อพวกเขามาถึงประตูทั้งหลายก็จะถูกเปิดออก”[1] อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า “คือสวนสวรรค์หลากหลายอันสถาพรประตู (ทุกบาน) จะเปิดอ้าไว้รอต้อนรับพวกเขา”[2]
รายงานฮะดีซจำนวนมากทั้งจากชีอะฮฺและซุนียฺได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้, กล่าวว่าจำนวนประตูต่างๆ ในสวรรค์มีถึง 80 ประตูด้วยกัน[3] รายงานบทหนึ่งจากท่านอิมามอมีรุลมุอฺมินีน อะลี (อ.) กล่าวว่า : สวรรค์มีอยู่ด้วยกัน 8 ประตู, ประตูบานหนึ่งบรรดาศาสดา (อ.) และบรรดาผู้ซื่อสัตย์สุจริต (ซิดดีกีน) จะเข้าสวรรค์ผ่านประตูนั้น, ประตูบานหนึ่งบรรดาชุฮะดาและบ่าวซอลิฮฺจะผ่านเข้าสวรรค์ไปทางนั้น, ประตู 5 บานจากทั้งหมดแปดประตูบรรดาชีอะฮฺและผู้จงรักภักดีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) จะเดินผ่านเข้าไป, ส่วนประตูอีกบานหนึ่งบรรดามุสลิมที่เหลื่อที่กล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ จะเดินผ่านเข้าไป[4]
รายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “สวรรค์นั้นมี 8 ประตู ส่วนนรกนั้นมี 7 ประตู”[5] ดังเช่นที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงนรกว่ามีด้วยกัน 7 ประตู กล่าวว่า “นรกมีเจ็ดประตู สำหรับทุกประตูมีส่วนที่ถูกจัดไว้แล้ว”[6]
รายงานจากฝ่ายซุนนีย์ กล่าวว่า “สำหรับสวรรค์นั้นมี 8 ประตู ได้แก่ประตูสำหรับผู้ดำรงนมาซ, ประตูสำหรับผู้ถือศีลอด,ประตูสำหรับฮัจญีทั้งหลาย, ประตูสำหรับผู้ปฏิบัติอุมเราะฮฺ, ประตูสำหรับนักต่อสู้,ประตูสำหรับผู้กล่าวรำลึก, และประตูของผู้ทำการขอบคุณ”[7]
รายงานอีกจำนวนมากที่กล่าวถึงประเด็นนี้ เข้าใจได้ว่าทุกๆ การงานนั้นจะมีประตูเฉพาะเอาไว้ ประตูต่างๆ ของสวรรค์ และชาวสวรรค์จะถูกเรียกเข้าสู่สวรรค์พร้อมกับการงานที่ดีของเขา.ดังนั้น การงานที่ดีที่สุดของเขาไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เขาจะถูกเรียกให้เข้าสวรรค์โดยผ่านประตูนั้น[8]
ด้วยเหตุนี้เอง สิ่งที่สร้างความมั่นใจได้ตรงนี้จากรายงานต่างๆ และโองการก็คือ สวรรค์จะมีประตูต่างๆ มากมายมีจำนวนถึง 8 ประตูด้วยกัน เพียงแต่ว่านามชื่อเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และประตูแต่ละบานถูกจำกัดขึ้นสำหรับชนกลุ่มใด รายงานต่างมีความขัดแย้งกันบ้างเล็กน้อย และไม่ได้กล่าวถึงชื่อประตูไว้ทั้งหมด แต่เพื่อหยิบยกเป็นตัวอย่างประกอบคำกล่าวอ้าง จะขอกล่าวถึงบางรายงานที่กล่าวถึงนามชื่อของประตูเหล่านั้น เช่น :
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : สวรรค์มี 8 ประตู ซึ่งประตูบานหนึ่งมีนามว่า รัยยาน จะไม่มีผู้ใดได้ผ่านประตูนั้นเด็ดขาด ยกเว้นบรรดาผู้ที่ถือศีลอด[9] คำว่า รอยยาน หมายถึง ความอิ่มหนำสำราญ
ท่านบิลาล ได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับประตูสวรรค์ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตอบว่า : สวรรค์นั้นมีประตูแตกต่างกัน กล่าวคือ, บาบุลเราะฮฺมะฮฺ (ประตูแห่งความเมตตา) ซึ่งทำจากทับทิมแดง, บาบุลซับรฺ (ประตูแห่งความอดทน) เป็นประตูบานเล็ก ซึ่งมีอยู่คู่เดียว ซึ่งทำจากทับทิมแดง, ส่วนบาบุลชุกร์ (ประตูแห่งการขอบคุณ) ซึ่งทำจากทับทิมขาว, มีสองคู่ ความกว้างของประตูนี้มีขนาดเท่าการเดินทางไกลนานถึง 500 ปี, ส่วนบาบุลบะลาอฺ คือประตูแห่งความทุกข์ระทมเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นประตูที่ขึ้นจากทับทิมสีเหลือง มีอยู่คูเดียว และมีคนจำนวนน้อยนิดเดินผ่านประตูนี้ไป, บาบุลอะอฺซอม เป็นประตูที่บ่าวผู้เป็นกัลญาณชนจะเดินผ่านเข้าไป ซึ่งพวกเขามีความสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ มีความซื่อสัตย์ และนอมน้อมถ่อมตน และกลุ่มชนซึ่งผู้คุ้นเคยกับพระเจ้าและเต็มใจพระองค์[10]
รายงานจากฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ซึ่งรายงานมาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : ประตูสวรรค์เป็นประตูซึ่งได้กล่าวเรียกว่า “ฏุฮา” ครั้นเมื่อวันกิยามะฮฺได้บังเกิดขึ้น ผู้ประกาศจะร้องเรียกขึ้นว่า “อยู่ที่ไหนกันหรือผู้ที่ดำรงนมาซซุฮฺริเป็นนิจศิล”? นี่คือประตูที่ได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับพวกท่าน, ดังนั้น จงเข้าประตูนี้ไปเถิดพร้อมด้วยความเมตตาของพระองค์[11]
ฎุฮา คือช่วงเวลาหนึ่งจากวัน เมื่อแสงตะวันได้ส่องสว่างครอบคลุมทุกพื้นที
สิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานนี้คือ การงานที่ดี,คือหนึ่งในแนวทางที่จะนำพาไปสู่สรวงสวรรค์ และประตูสวรรค์แต่ละบานนั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับกลุ่มชนที่เฉพาะเจาะจงสำหรับชาวสวรรค์ ซึ่งพวกเขาได้สร้างคุณงามความดีพิเศษเอาไว้
[1] อัลกุรอาน บทอัซซุมัร, 73.
[2] อัลกุรอาน บทซ็อด, 50.
[3] มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัดริฏอ กุมมี มัชฮัดดียฺ, ตัฟซีรกันซุลดะกออิก วะบะฮฺรุลเฆาะรออิบ, เล่ม 11, หน้า 343, ญะลาลุดดีน ซุยูฎียฺ, ตัฟซีรอัดดุรุลมันซูร ฟี ตัฟซีริลมะอฺซูร, เล่ม 5, หน้า 342.
[4] เชคซะดูก, อัลคิซอล, หน้า 407.
[5] อับดุล อลี บินญุมุอะฮฺ, อะรูซีย์ ญะวีรียฺ, ตัฟซีร นูรุซซะเกาะลัยนฺ เล่ม 4, หน้า 506.
[6] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ , 44.
[7] อัดดุรุลมันซูร, เล่ม 5, หน้า 343.
[8] อ้างแล้วเล่มเดิม
[9] เฏาะบัรซีรย์, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 4, หน้า 511
[10] เชคซะดูก,มันลายะฮฺเฏาะรุลฟะกีฮฺ, เล่ม 1 หน้า 192, 295.
[11] อัดดุรุลมันซูร, เล่ม 5, หน้า 343.