ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด
แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น
ความเข้าใจเกี่ยวกับชิริก
ชิริกหมายถึง การที่คนเราได้ตั้งภาคีเทียบเทียมอัลลอฮฺในแง่ของอาตมัน การสร้างสรรค์ การบริบาล และอิบาดะฮฺ ซึ่งถือว่าภาคีที่ตั้งขึ้นมานั้นเป็นหุ้นส่วนของอัลลอฮฺ ในภารกิจเหล่านี้ ดังนั้น ถ้าการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ เป็นไปในลักษณะที่ว่าการกระทำนั้นคือ ความจำเป็นของชิริกต่ออัลลอฮฺแล้วละก็ เช่น ขอจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เพื่อให้สิ่งนั้นทำให้ดุอาอฺของตนสมประสงค์ อย่างเป็นเอกเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจของอัลลอฮฺ แน่นอน การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกและเป็นฮะรอมห้ามกระทำโดยเด็ดขาด แต่ถ้าได้ขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ โดยมิได้เชื่อว่าสิ่งนั้นจะมีอำนาจเอกเทศโดยไม่ต้องพึ่งพิงอำนาจของอัลลอฮฺ ทว่าอยู่ในอำนาจของอัลลอฮฺ ในแนวตั้ง หรือได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺ หรือได้รับอำนาจจากอัลลอฮฺ แน่นอน การกระทำลักษณะนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่าหลักฐานที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซุนนะฮฺท่านศาสดา และวิสัยทัศน์ของบรรดานักปราชญ์ยังให้การสนับสนุนไว้อีกต่างหาก
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราขอดุอาอฺผ่านท่านศาสดา (ซ็อลฯ) อิมาม และหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นกระทำตามที่เราขอโดยอนุญาตของอัลลอฮฺ สิ่งนี้ไม่เป็นชิริกอยางแน่นอน เนื่องจากเรามิได้มอบให้ท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีอำนาจเคียงอัลลอฮฺ หรือมีอำนาจเป็นเอกเทศแต่อย่างใด ฉะนั้น การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ในลักษณะดังกล่าวนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการทำอิบาดะฮฺกับพวกเขา
ความเข้าใจเกี่ยวกันดุอาอฺในอัลกุรอาน
ความเข้าใจผิดในความหมายของดุอาอฺในอัลกุรอาน เป็นสาเหตุนำไปสู่ความเข้าใจผิดในบางประเด็น ซึ่งจะเห็นว่าการวิงวอนขอนอกเหนือจากอัลลอฮฺ หรือการส่งเสียงเรียกที่นอกเหนือจากพระองค์ เป็นชิริก และผู้ใดกระทำเช่นนั้น ถือว่าเป็นการเฟร เลือดของเขาฮะลาลทันที คนกลุ่มนี้เขาได้ยึดเอาโองการบางโองการเป็นหลักฐานอ้างอิง เช่น โองการที่กล่าวว่า “แท้จริง บรรดามัสยิดเป็นของอัลลอฮฺ ดังนั้น จงย่าวิงวอนขอผู้ใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ”[1] ขณะที่คำว่า ดุอาอฺ ในอัลกุรอานถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น :
1.บางครั้ง ดุอาอฺ หมายถึง อิบาดะฮฺ อย่างโองการข้างต้น[2]
2. บางครั้ง ดุอาอฺ หมายถึง การเชิญชวน หรือการเรียกร้องไปสู่บางสิ่ง เช่น คำกล่าวของศาสดานูฮฺ (อ.) ที่ว่า “(นูฮฺ) กล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ แท้จริงข้าฯ ได้เชิญชวนหมู่ชนของข้าฯ ทั้งราตรีและทิวากาล ทว่าการเชิญชวนของข้าฯ มิได้เพิ่มพูนสิ่งใดแก่พวกเขา นอกจากการหลบหนี”[3] คำว่าดุอาอฺ ในโองการหมายถึง การเชิญชวนพวกเขาไปสู่ความศรัทธา แน่นอน ดุอาอฺลักษณะนี้ นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ยังเป็นตัวตนของความศรัทธาด้วยซ้ำไป การกระทำเช่นนั้นจึงเป็นวาญิบสำหรับบรรดาศาสดา
3. บางครั้ง ดุอาอฺ หมายถึง การอ้อนวอนในสิ่งที่เป็นความต้องการ ซึ่งบางครั้งก็กระทำผ่านหนทางปกติธรรมทั่วไป เช่น “พยานต้องไม่ปฏิเสธเมื่อพวกเขาถูกเรียกตัว”[4] ดุอาอฺตรงนี้ มีความหมายทั่วไป แน่นอน ถ้าบุคคลใดได้กระทำเขาจะไม่เป็นกาเฟรเด็ดขาด
บางครั้งอาจมีการกระทำเกิดขึ้น แต่มิได้เป็นไปในลักษณะทั่วไป ประหนนึ่งเป็นปาฏิหาริย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ก) บางครั้งมีความเชื่อว่าสิ่งนั้นมีผลที่เป็นเอกเทศจากอัลลอฮฺ แน่นอน ส่วนนี้ถือว่าเป็นชิริก เนื่องจากเฉพาะอัลลอฮฺ เท่านั้นที่มีอำนาจเหนือ หรือก่อให้เกิดผลได้ ซึ่งนอกเหนือจากพระองค์แล้ว แม้จะเป็นสาเหตุธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะมีอำนาจมากน้อยเพียงใด ล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น และก่อให้เกิดผลได้ก็ด้วยอนุญาตของพระองค์ อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “จงกล่าวเถิด พวกเจ้าจงเรียกร้องบรรดาสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวอ้าง (เป็นพระเจ้า) อื่นจากพระองค์ (แต่พวกนั้น) ไม่มีอำนาจที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากและเปลี่ยนแปลงพวกเจ้าได้”[5] ดังนั้น ผู้ศรัทธาที่มีสติปัญญาต่างเชื่อมั่นว่า ความเชื่อเหล่านี้ไม่มีอยู่ในตัวของเหล่าบรรดาศาสดา หรือหมู่มิตรของอัลอฮฺ อย่างแน่นอน
ข) บางครั้งขอผ่านบุคคล เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นขอต่ออัลลอฮฺให้แก่เรา การขอลักษณะนี้บ่งบอกให้เห็นว่า เตาฮีดในตัวของบุคคลนั้นมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเขาได้ให้บุคคลที่มีเกียรติกว่าเป็นสื่อกลาง ของการช่วยเหลือ ณ อัลลอฮฺ ซึ่งเขาเชื่อมั่นว่าปฐมเหตุสมบูรณ์ที่แท้จริงคือ อัลลอฮฺ มิใช่ผู้อื่น ดังนั้น ด้วยการตะวัซซุลไปยังหมู่มิตรของอัลลอฮฺ โดยขอผ่านพวกเขา ให้พวกเขาเหล่านั้นช่วยวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ให้สิ่งที่เขาต้องการสมประสงค์ การกระทำเช่นนี้คือ องค์ของเตาฮีด อีกทั้งเป็นการยืนยันให้เห็นถึง การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียวอีกด้วย อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เมื่อวงศ์วานอิสราเอลได้มาหามูซา และวอนต่อมูซาว่า ให้พระเจ้าประทานสำรับอาหารนานาชนิดลงมาแก่พวกเขา กล่าวว่า “โอ้ มูซา เราไม่สามารถทนต่ออาหารชนิดเดียวได้ ดังนั้น จงวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่าน ให้มีสิ่งงอกเงยขึ้นจากดิน ทั้งพืชผัก แตงกวา ข้าวสาลี ถั่ว และหัวหอมแก่พวกเรา”[6] มูซา มิได้ทักท้วงพวกเขาว่า ทำไมพวกท่านจึง เรียกร้องจากเราว่า “ยามูซา” ทำไมพวกท่านจึงไม่วอนขอต่อพระเจ้าโดยตรงเล่า สิ่งนี้เป็นชิริก และเป็นกาเฟร ทว่าในทางกลับกัน มูซา ได้วอนขอต่ออัลลอฮฺตามที่พวกเขาต้องการ และความต้องการของพวกเขาก็สมประสงค์
ความเชื่อที่มีต่อบทบาทของ สิ่งถูกสร้าง ที่มีต่อมรรคผบชล หรือเชื่อในผลหรือเหตุปัจจัยที่มีต่อ ผู้ให้บังเกิดผล ไม่ถือว่าเป็นชิริก สิ่งจำเป็นสำหรับเตาฮีด มิได้หมายความว่าต้องปฏิเสธระบบของเหตุปัจจัยทางโลก หรือทุกร่องรอยที่เกิดขึ้นปราศจากสื่อกลาง สิ่งนั้นมาจากอัลลอฮฺ และสำหรับเหตุปัจจัยแล้วถือว่าไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้น แม้ว่าจะอยู่ในแนวตั้งของอัลลอฮฺก็ตาม เราไม่เชื่อหรือว่า ไฟมีบทบาทในการเผาไหม้ น้ำช่วยดับกระหาย ฝนช่วยให้เกิดการเจริญงอกงาม อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ ดับกระหาย และให้การเจริญงอกงาม ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีเหตุปัจจัยอื่นอันกฎที่เป็นไปธรรมชาติทั่วไป โดยที่พระองค์มิได้เป็นเหตุของการเกิดสิ่งนั้นโดยตรง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของอัลลอฮฺ ดังนั้น การที่เราเชื่อในสิ่งถูกสร้าง มิได้หมายความว่าสิ่งนั้นเท่าเทียมอัลลอฮฺ หรือเป็นชิริกในอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ หรือเชื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นพระเจ้าองค์ที่สอง ทว่าสิ่งเหล่านั้นคือ ความสมบูรณ์ในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียว ขณะเดียวกันการเชื่อในเรื่องผลและเหตุปัจจัย หรือการมีบทบาทของสิ่งถูกสร้างในระบบธรรมชาติ ดังเช่นที่ว่า ทุกสิ่งบนโลกนี้ไม่มีสิ่งใดมีความเป็นเอกเทศด้วยตัวมัน โดยไม่ต้องพึ่งพาอัลลอฮฺ และมิได้เป็นเอกเทศในการเกิดผล ความเชื่อเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็น ชิริกแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนั้นจะเห็นว่า เขตแดนของชิริกและเตาฮีด จึงมิได้หมายความว่า การที่เราจะเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺว่ามีบทบาท ทว่าชิริก นั้นหมายถึงการที่เราเชื่อว่าสิ่งอื่นมีอำนาจเทียบเทียมอัลลอฮฺ ทั้งในแนวตั้งและในแนวนอน นอกจากนั้นยังเชื่อเหล่านั้นมีอำนาจเป็นเอกเทศในการบังเกิดผล
อีกนัยหนึ่งการเชื่อในอำนาจหรือบทบาทของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เช่น มะลาอิกะฮฺ บรรดาศาสดา หรืออิมาม เหมือนกับการเชื่อในบทบาทและเหตุปัจจัยธรรมดาทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นชิริก หรือการมีอำนาจเหนือปัจจัยทางธรรมชาติ ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเชื่อในอำนาจที่ตรงกันข้ามกับอัลลอฮฺ ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่บนโลกนี้การมีอยู่ของสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของอัลลอฮฺ และพระประสงค์ของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดมีอำนาจหรืออยู่อย่างเอกเทศด้วยตัวเองโดยปราศจากอัลลอฮฺ แม้ว่าสิ่งนั้นจะมีอำนาจเหนือธรรมชาติ โดยอ้างว่าเป็นอำนาจของตน อำนาจนั้นก็ยังเป็นของพระเจ้าอยู่ดี เขาเป็นเพียงผู้ปฏิบัติที่อยู่ภายใต้อำนาจของอัลลอฮฺ ดังเช่นที่ ญิบรออีลคือ สื่อกลางแห่งความเมตตา ความรู้ และวะฮฺยูของอัลลอฮฺ หรือมีกาอีลคือ สื่อแห่งความโปรดปรานของพระองค์ อิสราฟีลสื่อแห่งความเป็นและความตาย และมะลาอิกะตุลเมาต์คือสื่อในการถอดดวงวิญญาณ
ดังนั้น สำหรับความชัดเจนในประเด็นนี้ จะขอยกตัวอย่างจากอัลกุรอานสัก 2 โองการ ดังนี้ :
1.อัลกุรอาน จากคำพูดของอีซา (อ.) กล่าวว่า “ฉันจะจำลอง [สิ่งหนึ่ง] จากดินดั่งรูปนกสำหรับพวกท่าน แล้วฉันจะเป่าไปบนมัน แล้วมันจะกลายเป็นนกโดยอนุมัติ [บัญชา] ของอัลลอฮฺ ฉันจะรักษาคนตาบอดโดยกำเนิด คนเป็นโรคเรื้อนให้หายปกติ ฉันจะให้ผู้ที่ตายแล้วมีชีวิตขึ้น[7]
2.บรรดาลูกๆ ของศาสดายะอฺกูบ (อ.) หลังจากได้สำนึกผิดแล้ว ได้เข้าไปหาบิดาของพวกตน “กล่าวว่า โอ้ พ่อของเรา โปรดขออภัยโทษแก่เราในความผิดของเรา แท้จริง เราเป็นผู้ผิด กล่าวว่า ฉันจะขออภัยโทษจากพระผู้อภิบาลของฉันให้พวกเจ้าในไม่ช้านี้ แท้จริง พระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”[8]
ซึ่งจะเห็นว่า บรรดาลูกๆ ของยะอฺกูบ ได้ใช้ประโยคว่า “โอ้ พ่อของเรา” ทั้งที่ศาสดายะอฺกูบมิได้ตำหนิหรือห้ามปรามว่า อย่าพูดเช่นนั้น หรือกล่าวว่า พวกเจ้าวิงวอนขอต่อพระเจ้าโดยตรงซิ ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่า สิ่งเหล่านี้มิได้ขัดแย้งกับเตาฮีดแต่อย่างใดไม่
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้ดงต่อไปนี้ :
1.การตะวัซซุล และความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ โดยปราศสื่อกลาง, คำถามที่ 524 (ไซต์ : 590)
2.ตะวัซซุล ในอัลกุรอานและซุนนะฮฺ, คำถามที่ 2032 (ไซต์ : 2265)
3.ปรัชญาการตะวัซซุลต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) คำถามที่ 1321 (ไซต์ : 1316)
4.มุเฏาะฮะรียฺ,มุรตะฎอ, เฌะฮอนบีนี เตาฮีดดี, เตหะราน, ซ็อดรอ, พิมพ์ครั้งที่ 21, ปี 1384
5.มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,วะฮาบี บัรซัร โดเราะฮี, กุม, มัดเราะเซะฮฺ อิมามอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1384
[1] บทญิน, 18, "وَ أَنَّ الْمَساجِدَ لِلَّهِ فَلا تَدْعُوا مَعَ اللَّهِ أَحَدا".
[2] บทญิน, 18,
[3] บทนูฮฺ, 5-6.
[4] บทบะเกาะเราะฮฺ, 282, ." وَ لَا يَأْبَ الشهَُّدَاءُ إِذَا مَا دُعُواْ"
[5] บทอัสรออฺ, 56, "قُلِ ادْعُواْ الَّذِينَ زَعَمْتُم مِّن دُونِهِ فَلَا يَمْلِكُونَ كَشْفَ الضُّرِّ عَنكُمْ وَ لَا تحَوِيلا"
[6] บทบะเกาะเราะฮฺ, 61 กล่าวว่า ..
."وَ إِذْ قُلْتُمْ يَمُوسىَ لَن نَّصْبرِ عَلىَ طَعَامٍ وَاحِدٍ فَادْعُ لَنَا رَبَّكَ يخُرِجْ لَنَا ممِّا تُنبِتُ الْأَرْضُ مِن بَقْلِهَا وَ قِثَّائهَا وَ فُومِهَا وَ عَدَسِهَا وَ بَصَلِهَا"
[7] บทอาลิอิมรอน, 49
[8] บทยูซุฟ, 97, 98.