การอภัยและการยกโทษ เป็นคุณสมบัติพิเศษของบุรุษผู้มีความยิ่งใหญ่ และยังเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณของเขาอีกด้วย, ตามคำสอนของอิสลาม คุณลักษณะเหล่านี้ถือว่าเป็น ความประเสริฐด้านคุณธรรมและจริยธรรม, ศาสนาซึ่งท่านศาสดาประจำศาสนาได้ถูกคัดเลือกขึ้นมา เพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์และความประเสริฐของจริยธรรม อีกทั้งตัวท่านเองก็เป็นผู้มีจริยธรรมอันสูงส่งและยิ่งใหญ่, อัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจำนวนมากได้เน้นย้ำเรื่องความประเสริฐของจริยธรรม และคุณธรรมของศาสดาเอาไว้, อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : การตอบแทนความชั่ว คือความชั่วช้าที่คล้ายกัน ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่ได้เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตน รางวัลของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ. และโดยแน่นอนพระองค์ไม่ทรงรักหมู่ชนที่อธรรมกดขี่” “ความดีและความชั่วไม่มีวันเท่าเทียมกัน,จงทำลายความเลวทรามด้วยความดีงาม เวลานั้นท่านจะได้พบว่าระหว่างพวกท่านและเขา มีศัตรูและความบาดหมาง ประหนึ่งว่าเป็นมิตรใกล้ชิดและมิตรสนิทยิ่ง” แต่ “ถ้าความดีได้ปรากฏหรือซ่อนเร้นไว้ และอภัยในความผิดบาป แท้จริงอัลลอฮฺคือพระผู้ทรงอภัยยิ่ง และทรงปรีชาญาณ (ทั้งที่พระองค์มีความสามารถในการลงโทษ, หรือจะอภัยก็ได้)”
ทำนองเดียวกันมีรายงานอีกเป็นจำนวนมาก ปรากฏในตำราและคำสอนต่างๆ ทางศาสนาของเรา ซึ่งมิใช่แค่ส่งเสริมสนับสนุนประชาชนให้รู้จักการอภัย หรือมีอโหสิกรรมต่อกันเท่านั้น, ทว่าถือว่า การอภัยหรือการอโหสิกรรมนั้นเป็นความพิเศษอันเฉพาะสำหรับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ดังคำกล่าวที่ว่า “แบบฉบับของพวกเราอะฮฺลุลบัยตฺ คือ การอภัยและการอโหสิกรรมในสิทธิของบุคคลที่อธรรมต่อเรา” “รางวัลตอบแทนของบุคคลที่รู้จักให้อภัยอยู่ ณ อัลลอฮฺ, รายงานฮะดีซกล่าวว่า “ในวันสอบสวนจะมีเสียงร้องเรียกจากผู้เรียกว่า, บุคคลใดที่มีสิทธิอยู่กับอัลลอฮฺจงลุกขึ้นมา, ซึ่งจะไม่มีผู้ใดลุกขึ้นยืนขึ้นมา, ยกเว้นผู้ที่รู้ให้อภัยและอโหสิกรรม, พวกท่านไม่เคยได้ยินพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ ดอกหรือที่ตรัสว่า : บุคคลใดก็ตามที่อภัยและแก้ไขปรับปรุง รางวัลของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ”
ด้วยเหตุนี้เอง, ผู้ศรัทธาที่แท้จริงหมายถึง บุคคลที่ปาวนาตัวเองให้เข้ากับจริยธรรมอันสูงส่งของพระเจ้า และแม้ว่าจะมีคนอื่นอธรรมและฉ้อฉลสิทธิของเขา แต่เขาก็อโหสิกรรมให้จนหมดสิ้น, ฉะนั้น มันไม่เป็นการดีเอาเสียเลยที่มนุษย์จะละเมิดสิทธิของอัลลอฮฺ และเขาได้กระทำหรือแสดงพฤติกรรมบางอย่างอันเป็นการตอบโต้หรือกลั่นแกล้ง บุคคลที่ฉ้อฉลหรือเอาเปรียบหรืออธรรมต่อเขา, เนื่องจากการกระทำเช่นนี้เป็นการกดขี่อย่างหนึ่งเช่นกัน ซึ่งได้รับการปฏิเสธจากอัลลอฮฺ (ซบ.) : “แท้จริงพระองค์ (อัลลอฮฺ) มิทรงรักบรรดาผู้อธรรมกดขี่ทั้งหลาย”
การอภัยและการอโหสิกรรม เป็นคุณสมบัติพิเศษของบุรุษผู้มีความยิ่งใหญ่ และยังเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณของเขาอีกด้วย, ตามคำสอนของอิสลาม คุณลักษณะเหล่านี้ถือว่าเป็น ความประเสริฐด้านคุณธรรมและจริยธรรม, ศาสนาซึ่งท่านศาสดาประจำศาสนาได้ถูกคัดเลือกขึ้นมา เพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์และความประเสริฐของจริยธรรม อีกทั้งตัวท่านเองก็เป็นผู้มีจริยธรรมอันสูงส่งและยิ่งใหญ่,
ปัญหาที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้, คือความเป็นศัตรู, ความอคติ และความโกรธชิงชังกันในหมู่ผู้ศรัทธา, ซึ่งสามารถพิจารณาได้ใน 2 มุมมองด้วยกัน กล่าวคือ
1.วัตถุประสงค์ของความศรัทธาและองค์ประกอบของมันคืออะไร?
2.การจัดการของอิสลามเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้ง ความโกรธกริ้ว ความอคติ ความเป็นศัตรู และ ...มีวิธีการจัดการอย่างไร และแนวทางแก้ไขเปลี่ยนแปลงคืออะไร?
เกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อีมาน” ต้องกล่าวว่า : บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอาน ได้อธิบายโองการต่อไปนี้ว่า : “ชาวอาหรับชนบทกล่าวว่า: เราศรัทธาแล้ว จงกล่าวเถิด พวกเจ้ายังมิได้ศรัทธาแต่จงกล่าวว่า : พวกเราเข้ารับอิสลามแล้ว, เพราะความศรัทธายังมิได้เข้าสู่หัวใจของพวกเจ้า และถ้าหากพวกเจ้าเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์แล้ว พระองค์จะไม่ทำให้การงานของ พวกเจ้าด้อยลงแต่ประการใด แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ”[1] ความแตกต่างระหว่างอิสลามกับอีมาน กล่าวว่า : ตามความหมายของโองการ,จะเห็นว่า อิสลาม นั้นมีรูปร่างภายนอกและมีกฎระเบียบ เมื่อมนุษย์ได้กล่าวปฏิญาณตน (ชะฮาดะตัยนฺ) แล้วเท่ากับว่าเขาได้เข้าสู่เขตแดนของอิสลามแล้ว บทบัญญัติของอิสลามสามารถปฏิบัติกับเขาได้, ส่วนอีมาน (ศรัทธา), คืออีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจริงและอยู่ภายใน สถานที่ของมันคือจิตใจ, มิใช่สิ่งที่กล่าวออกมาเป็นคำพูดหรือลมปากเท่านั้น, การยอมรับอิสลามนั้นอาจมีเป้าหมายและเจตนารมณ์แตกต่างกัน, เช่น บางคนเข้ารับเพราะทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างอื่น หรือเนื่องจากศักดิ์ศรี, แต่ความศรัทธา (อีมาน) นั้นมีเป้าหมายด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ให้การสนับสนุนอีมานคือ ความรู้ความเข้าใจ และผลของอีมานคือ ความสำรวมตนต่อบาปกรรม, และนี่คือความหมายตามที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวอธิบายไว้ว่า : “อิสลามคือคำพูดและเป็นการแสดงออกภายนอกเท่านั้น, ส่วนความศรัทธาสถานของมันคือจิตใจ”[2] ทำนองเดียวกันมีอีกคำอธิบายหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : “อิสลามคือ คำพูดและการแสดงออกภายนอก และเนื่องด้วยอิสลามนั้นเองทำให้หลายชีวิตได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัย, ของฝากต่างๆ ได้ถูกส่งคืนถึงมือเจ้าของ การสมรสและเพศสัมพันธ์ได้แพร่หลาย, ส่วนรางวัลและผลตอบแทนคือ ผลของความศรัทธา”[3] บางทีอาจเป็นเพราะว่าจำนวนรายงานฮะดีซที่มีมากมาย จึงทำให้ความหมายของ อิสลาม เป็นเพียงผลที่เกิดจากคำพูดเท่านั้น, ขณะที่ความศรัทธาต้อง สารภาพด้วยดำพูดและการกระทำโดยคำสั่งของอิสลาม : “อีมานคือคำสารภาพพร้อมกับการกระทำ, ส่วนอิสลามคือ คำสารภาพที่ปราศจากการกระทำ”[4]
ตามความหมายนี้เอง มีอีกหนึ่งการตีความที่กล่าวไว้ในเรื่อง อิสลามและอีมาน, ท่านฟัฎล์ บุตรของ ยะซาร กล่าวว่า : ฉันได้ยินจากท่านอิมามญะอฺฟัรอัซซอดิก (อ.) กล่าวว่า : “อีมานในความหมายแล้ว มีส่วนร่วมอยู่ในอิสลาม, ขณะที่อิสลามมิได้เป็นเช่นนั้นเลย, อีมานหมายถึง สิ่งซึ่งพำนักอยู่ในจิตใจ, แต่อิสลามคือสาเหตุของการอนุญาตให้แต่งงาน และเป็นเกราะคุ้มกันชีวิตให้รอดปลอดภัย”[5]
window.print();