การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13454
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1068 รหัสสำเนา 17840
คำถามอย่างย่อ
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
คำถาม
สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

“เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำ ละแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...

เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)

สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ซึ่งแหล่งน้ำนั้นเสมือนเป็นรากฐานของบัลลังก์ของอัลลอฮฺ

สระน้ำเกาษัร, คือสระน้ำอันเฉพาะสำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ผู้ที่จะส่งน้ำให้ดื่มคือท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามท่านอื่นๆ (อ.) และสำหรับบรรดาศาสดาท่านอื่นก็จะมีสระน้ำเฉพาะเอาไว้สำหรับประชาชาติของท่าน, แต่สระน้ำเหล่านั้นจะไม่มีความกว้างและไม่มีความจำเริญเหมือนสระน้ำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ)

คำตอบเชิงรายละเอียด

“เกาษัร” อยู่บนรูปของ “เฟาอัล” เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มาจากคำว่า “กิซรัต” หมายถึง “ความดีงานอันมากมายมหาศาล” ความกว้างในความหมายของคำๆ นี้กว้างและครอบคลุมซึ่งมีตัวอย่างนับจำนวนไม่ถ้วน เช่น “ความดีงามที่ไม่มีที่สิ้นสุด” ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่ารวมอยู่ในความหมายดังกล่าวด้วย. สำหรับคำว่า “เกาษัร” ซึ่งปรากฏอยู่ในบทอัลเกาษัร, ตามการอธิบายของชีอะฮฺและซุนนียฺได้กล่าวถึงความหมายจำนวนมากมายสำหรับคำว่า “เกาษัร” เอาไว้ ซึ่งประโยคหนึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้นก็คือ “ความดีงามจำนวนมหาศาล” นั่นเอง ตัวอย่างเช่น :

1.สระน้ำหรือแม่น้ำเกาษัร ...2.ตำแหน่งของการชะฟาอะฮฺอันยิ่งใหญ่ในวันฟื้นคืนชีพ, 3.นบูวัต, 4.วิทยปัญญาและความรู้, 5.อัลกุรอาน, 6.สหายและผู้ติดตามจำนวนมากมาย, 7.ปาฏิหาริย์จำนวนมาก, 8. ความรู้และการกระทำจำนวนมาก, 9.เตาฮีดและมิติของเตาฮีด, 10.ความโปรดปรานต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงมอบแด่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในโลกนี้และปรโลก, 11.ลูกหลานหรือทายาทจำนวนมากมาย ที่ยังคงหลงเหลืออยู่แม้กาลเวลาจะผ่านไปอย่างเนิ่นนานแล้วก็ตาม. ไม่ต้องสงสัยหรือคลางแคลงใจอีกต่อไปว่าทายาทและลูกหลานจำนวนมากมายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในขณะนี้สืบเชื้อสายมาจาก บุตรีผู้ทรงเกียรติอันสูงส่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ซะฮฺรอ (อ.). ดังนั้น องค์ประกอบที่ละเอียดอ่อนที่สุดของ “เกาษัร” ก็คือการมีอยู่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ อัซซะฮฺรอ (อ.) ท่านคือคำอธิบายความสัจจริงและเป็นพยานที่ดีที่สุดของความจริงในประเด็นนี้ และท่านยังเป็นสาเหตุแห่งการประทานลงมาและเป็นบริบทของโองการในบท อัลเกาษัร อีกด้วย. แน่นอนการมีอยู่ของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) คือแหล่งที่มาของคุณงามความดีจำนวนมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของกำดำรงอยู่ของสาส์นแห่งศาสดา (ซ็อล ฯ) ตราบจนถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ และยังเป็นปัจจัยสำคัญแห่งการคงอยู่อย่างเป็นอมตะของเชื้อสายบริสุทธิ์[1]

ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณารายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสระน้ำเกาษัร สาเหตุแห่งการประทานลงมาของอัลกุรอานบทเกาษัร เนื้อหาสาระ และบริบทของโองการแล้ว, สามารถสรุปได้ว่า “เกาษัร” มี 2 องค์ประกอบสำคัญ หนึ่งในนั้นคือโลกนี้ สองคือปรโลกหน้า ซึ่งองค์ประกอบสำคัญสำหรับโลกนี้คือ “เกาษัรมุฮัมมะดียฺ” ฟาฏิมะฮฺอัซซะฮฺรอ (อ.) ผู้ซึ่งเป็นแหล่งสืบสกุลลูกหลาน และเชื้อสายอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งท่านศาสดาและลูกหลานของท่านในโลกนี้ ได้ทำให้ประชาชนได้อิ่มหนำกับวิชาการความรู้ จริยธรรมอันประเสริฐ บทบัญญัติอิสลาม และมารยาทแห่งพระเจ้า ส่วนองค์ประกอบอื่นก็คือ “เกาษัรแห่งสวรรค์” สระน้ำแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านอื่น (อ.) เป็นผู้มอบน้ำดื่มแก่ผู้หิวกระหายผู้เป็นชาวสวรรค์ ซึ่งผ่านการสอบสวนจากสนามสอบสวนแห่ง เยามุลมะชัร ไปแล้ว[2]

คุณลักษณะของสระน้ำเกาษัร

คำอธิบายเกี่ยวกับเกาษัร จากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) : เกาษัรคือแม่น้ำสายหนึ่งที่เปี่ยมด้วยความดีงามอันมหาศาลในสรวงสวรรค์ ซึ่งความดีนั้นจะไหลออกจากเกาษัรยังบริเวณรอบๆ ของมันเท่ากับจำนวนหมู่ดวงดาวแห่งฟากฟ้า, และถูกหลอมให้เป็นแก้ว ประชาชาติของฉันเมื่อผ่านการสอบสวนแล้วจะได้เข้าสู่สวรรค์ และเข้าไปยังเกาษัร.ซึ่ง ณ เบื้องหน้าของฉันจะมีสระน้ำใบหนึ่งซึ่งความใหญ่ของมันนับตั้งแต่มะดีนะฮฺ จนถึงเยเมน หรือจากมะดีนะฮฺจนถึงอุมมาน. บริเวณด้านข้างจะเป็นทองคำ เครื่องดื่มในนั้นมีความขาวยิ่งกว่าหิมะและน้ำนม,มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง, มีความหอมยิ่งกว่าชะมด และน้ำนั้นจะไหลผ่านหินก้อนใหญ่ และไข่มุก. บุคคลใดได้ดื่มน้ำจากเกาษัรแล้ว เขาจะไม่กระหายอีกต่อไป ซึ่งบุคคลแรกที่จะได้เข้าสู่สระน้ำเกาษัร,คือบรรดาผู้อพยพจากมักกะฮฺสู่มะดีนะฮฺ. ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของสระน้ำคอยส่งน้ำให้ดื่มคือ เมาลา,อมีรุลมุอฺมินีน, อะลี (อ.) และบรรดาผู้ศรัทธาหลังจากได้ดื่มน้ำแล้ว พวกเขาจะไปรวมตัวกัน ณ ศาสดา (ซ็อล ฯ) และแต่ละคนจะมีความปิติยินดีเมื่อได้พบกันอีกครั้ง, ตาน้ำแห่งเกาษัรจะไหลมาจากภายใต้บัลลังก์ของอัลลอฮฺ ซึ่งบริเวณสถานที่นั้นคือที่พำนักของบรรดาเอาซิยาอฺ (อ.) และชีอะฮฺของพวกเขา และจากที่นั้นจะมีรางน้ำ 2 อันไหลผ่านไปยังสระน้ำเกาษัร และหลังจากนั้นจะมีแม่น้ำ 2 สายไหลเวียนอยู่ในสวรรค์. สำหรับศาสดาแต่ละท่านจะมีแม่น้ำเฉพาะในสวรรค์ และเนื่องจากมีผู้เข้าสู่สระน้ำของตนมากมาย จึงมีการแข่งขันกัน, ซึ่งฉันหวังว่าผู้เข้าสู่สระน้ำของฉันจะมากมายยิ่งกว่าศาสดาท่านอื่น[3]

สระน้ำเกาษัรในทัศนะของอิมามมะอฺซูม (อ.) :

อิมามอมีรุลมุอฺมินีน อะลี (อ.) กล่าวว่า : “สระน้ำเกาษัรของเราเต็มเปี่ยม จากที่นั้นจะมีแม่น้ำไหลแยกออกไป 2 สายจากสวรรค์, หนึ่งในนั้นแหล่งตาน้ำของมันคือ ตัสนีม และอีกสายหนึ่งคือ มะอีน”[4]

รายงานที่เชื่อถือได้จากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : บุคคลที่ได้เจ็บปวดหัวใจของเขาเนื่องจากโศกนาฏกรรมของเราที่มีมายังพวกเขา, เขาจะมีชีวิตชีวาเมื่อเวลาแห่งความตายได้มาถึง ชีวิตชีวาที่ไม่เคยออกไปจากหัวใจของเขาไปจนกว่าจะได้เข้ามาสู่สระน้ำเกาษัรของเรา  และสระน้ำเกาษัรจะทำให้พวกเขาดีใจ,เพราะความรักของเราที่มีต่อพวกเขา.แม้กระทั่งว่าได้ดึงดูดพวกเขาเอาไว้ และพวกเขาต่างมีความสุขสนุกสนานกับอาหารหลากหลายประเภท ทำให้พวกเขาไม่ต้องการเคลื่อนย้ายออกไปที่อื่น.และบุคคลใดก็ตามได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัร เขาจะไม่กระหายและไม่เหน็ดเหนื่อยอีกต่อไป.น้ำนั้นจะใสเย็นและมีกลิ่นหอมด้วยพิมเสนและกลิ่นชะมด มีรสชาติเหมือนขิง มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง มีความนุ่มนวลยิ่งกว่าความเรียบเนียน น้ำมีความใสแวว มีความหอมยิ่งกว่ากลิ่นหอมของชะมด. น้ำได้ไหลออกจากตาน้ำตัสนีมแห่งสวรรค์ เข้าไปรวมกับแม่น้ำทุกสายในสวรรค์ และน้ำได้ไหลไปบนโขดหิน ไข่มุก และทับทิม และ ...บุคคลใดที่ได้เห็นความเศร้าโศกของเราและได้แสดงความเศร้าออกมา,ในวันนั้นเขาจะสดชื่นและดีใจเมื่อได้มองสระน้ำเกาษัรของเรา น้ำจะถูกจัดแบ่งให้พรรคพวกเพื่อนพ้องของเราทุกคน ทุกคนจะได้รับความสุขไปตามความรักและการเชื่อฟังที่มีต่อเรา บุคคลใดที่รักเรามากเขาก็จะมีความสุขมาก ...”[5]

สิ่งที่สมควรกล่าวตรงนี้คือ บรรดาอิมามมะอฺซูมทั้งสิบสองท่าน (อ.) ในวันฟื้นคืนชีพคือผู้แจกน้ำจากสระน้ำเกาษัร ดังรายงานฮะดีซและเหตุผลภายนอกจากซัยยิดุชชุฮะดา (อ.) กล่าวว่า : و نحن وُلاة الحوض نسقى وُلاتنا “พวกเราคือเจ้าของสระน้ำเกาษัร,เราจะแจกน้ำให้มิตรสหายของเราได้ดื่ม”[6] ดังเช่นที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มีความหวังว่า ผู้เข้ามายังสระน้ำของท่านนั้นจะมีมากกว่าศาสดาท่านอื่น มุสลิมคนใดได้ยินชื่อของเกาษัรและคุณสมบัติของมันแล้ว ต่างมีความหวังว่าเขาคงจะได้เป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปยังสระน้ำเกาษัร และนบี (ซ็อล ฯ) แต่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าถ้าต้องการให้ความหวังนั้นเป็นจริง จำเป็นต้องขวนขวายพยายามอย่างยิ่งที่จะเข้าไปสู่สระน้ำเกาษัรให้จงได้ และหลังจากได้จัดเสบียงเตรียมพร้อมที่จะเดินทางแล้วจะต้องระมัดระวังตัวให้ดี เพื่อว่าทุนที่ได้จัดลงแรงไปนั้นจะได้ไม่อันตรธานสูญหายไป ด้วยน้ำมือของมารร้ายชัยฏอน ญิน และมนุษย์ หรือมีอันต้องเสียหายเปรอะเปื้อนความโสมมภายนอก มิเช่นนั้นแล้วความพยายามของตนก็จะสูญเสียไปอย่างไร้ค่า และทำให้เขาไม่อาจเข้าสู่สระน้ำเกาซัรได้ ทุกสิ่งจะกลายเป็นเพียงความฝันและการจินตนาการเท่านั้น ฉะนั้น จงอย่าเฝ้าดีใจกับความฝัน แต่จงพยายามและขวนขวายเพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมาย, ความหวังลมๆ แล้งๆ และความหลงลืมคือสิ่งไร้สาระที่สุด

เราต้องตั้งความหวังไว้ว่า บนโลกนี้อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้เราได้รับประโยชน์จากความรู้ของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) และความรักที่มีต่อพวกท่านแล้ว ส่วนในปรโลกเราจะได้เป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้าไปยังสระน้ำเกาษัร สายตาของเราจะสว่างไสวเมื่อได้พบท่าน จิตวิญญาณที่หิวกระหายจะได้ดื่มน้ำจากมือของท่าน ด้วยเหตุนี้ ในดุอาอฺนุดบะฮฺเราอ่านว่า :

: "... واسقنا من حوض جده صلى الله علیه وآله بکاسه و بیده ریّا رویّا هنیئاً سائغاً لاظمأ بعده یا ارحم الراحمین"

(โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า) โปรดให้พวกเราได้อิ่มหนำจากสระน้ำแห่งพระเจ้าตาของท่านอิมามซะมาน (อ.) ด้วยแก้วและถ้วยดื่มจากมือของท่าน (อิมามซะมาน) อิ่มอย่างเต็มรูปแบบดับความกระหาย ซึ่งเขาจะไม่กระหายอีกต่อไปหลังจากนี้ โอ้ ผู้เป็นเลิศแห่งความเมตตา”

แหล่งอ้างอิง :

1. โครัซมี,มักตัล, เล่ม 2, หน้า 33.

2.ซะมัคชะรีย์, มะฮฺมูดบินอุมัร, กิชาฟ, หน้า, 806 – 808.

3.เฎาะบาเฏาะบาอีย์, มุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน, เล่ม 20, หน้า 370 – 373.

4.เฏาะบัรระซีย์, ฟัฎลิบนิลฮะซัน, มัจมะอุลบะยาย, เล่ม 5 หน้า 548 – 549.

5.อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซ, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 18.

6.อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซ, ฮักกุลยะกีน, หน้า453 และ 455

7. ฟัยฎ์ กาชานีย์, มุลลามุฮฺซิน, มะฮัจญฺตุลบัยฏออ์, เล่ม 8, หน้า 352 – 353

8.มุฮัดดิซ กุมมี, อับบาส, มะฟาตีฮุลญินาน, ดุอาอฺนุดบะฮฺ

9.มิซบายัซดีย์,มุฮัมมัดตะกีย์, ญามี อัซซุลาลเกาษัร, หน้า 19 - 22



[1] มิซบาฮฺ ยัซดี, มุฮัมมัดตะกี,ญามีอัซซุลาลเกาษัร, หน้า 20 – 22, อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี, มุฮัมมัด ฮุเซน, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 20, หน้า 370, และตัฟซีรต่างๆอีกจำนวนมาก, ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[2] แน่นอน มีความสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่าง เกาษัรมุฮัมมะดี กับ เกาษัรแห่งสวรรค์, ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าและโอกาสที่มากกว่านี้ แต่สิ่งที่สามารถกล่าวได้คือส่วนใหญ่แล้วสติปัญญาของมนุษย์จะไม่ไร้ความสามารถ ในการสร้างความเข้าใจกับกรณีเช่นนี้

[3] ฟัยฎ์ กาชานีย์,มุฮฺซิน, มะฮัจญฺตุลบัยฎออฺ, เล่ม 8,หน้า 352 – 353,และตัฟซีรเล่มอื่นๆ ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[4] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซีย์, ฮักกุลยะกีน, หน้า 453, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 18

[5] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซีย์, ฮักกุลยะกีน, หน้า 455.

[6] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 45, หน้า 49

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษทุกบทที่กล่าวถึงการมุตอะฮ์เชื่อถือได้หรือไม่?
    7933 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/03
    การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(ซ.ล.)และเคาะลีฟะฮ์คนแรกตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สองกระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุดแต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไปเนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนาดังกล่าวถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรมอย่างไรก็ดีฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ควรได้รับการกลั่นกรองสายรายงานและเนื้อหาเสมือนฮะดีษอื่นๆทั่วไปซึ่งจะแจกแจงในคำตอบแบบสมบูรณ์ต่อไปนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสภาพสังคมในยุคของอิมามด้วย ...
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27168 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • หลังจากเสียชีวิต วิญญาณมนุษย์สามารถรับรู้เรื่องราวในโลกดุนยาหรือไม่?
    14605 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/09
    นัยยะที่ได้จากกุรอานและฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนบ่งชี้ว่าภายหลังจากเสียชีวิตวิญญาณผู้ตายสามารถแวะเวียนมายังโลกนี้เพื่อจะรับทราบสารทุข์สุขดิบของญาติมิตรได้และหลักฐานทางศาสนาก็มิได้ปฏิเสธบทบาทของมะลาอิกะฮ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แถมยังระบุไว้ชัดเจนอีกด้วยดังฮะดีษต่อไปนี้“แน่นอนว่าวิญญาณผู้ศรัทธาจะกลับมาเยี่ยมครอบครัวเขาจะได้เห็นสิ่งที่ดีงามแต่จะไม่ได้เห็นเรื่องที่ไม่พึงประสงค์”“อัลลอฮ์จะส่งมะลาอิกะฮ์มาพร้อมกับวิญญาณผู้ศรัแธาเพื่อชี้ให้เขาเห็นเฉพาะสิ่งที่น่ายินดี” ...
  • ในทัศนะของรายงานและโองการต่างๆ มีการกระทำใดบ้าง ที่ทำลายการงานที่ดี อันเป็นที่ยอมรับ?
    5960 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ทั้งอัลกุรอานและรายงานกล่าวว่า, การมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺและการห่างไกลจากการตั้งภาคีและการตกศาสนาคือเงื่อนไขแรกในการตอบรับการกระทำดังนั้นถ้าปราศจากสิ่งนี้จะไม่มีการงานที่ดีอันใดถูกยอมรับณ
  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16032 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6441 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่?
    8959 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/08
    เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7176 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6556 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    9039 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59415 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56857 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41690 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38449 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38446 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33471 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27555 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27262 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27168 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25238 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...