การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7385
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa12049 รหัสสำเนา 21059
คำถามอย่างย่อ
สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
คำถาม
สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร? และใครคือผู้เปิดประตูการอิจญฺติฮาดในซุนนียฺ อีกครั้งหนึ่ง?
คำตอบโดยสังเขป

วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลาม หลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลาม ปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) แล้ว ได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว,กล่าวคือ วิชาฟิกฮฺที่เกิดหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งได้นำมาจากอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน และอีกฝ่ายหนึ่งได้นำมาจากบรรดาเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) และตาบิอีนของท่านศาสดา

ประกอบกับความก้าวหน้าด้านฟิกฮฺได้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และปัญหาด้านฟิกฮฺก็มีมากขึ้น ซึ่งหลังจากอิสลามได้เปิดประตูแล้ว ก็ได้เริ่มเข้าสู่ปัญหาใหม่ๆ มีการค้นคว้าละเอียดมากยิ่งขึ้น และวิชาการด้านฟิกฮฺ, กล่าวคือนับจากเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนถึงช่วงต้นๆ ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรษที่ 4 วิชาการฟิกฮฺฝ่ายอะฮฺลุซซุนนะฮฺ ได้เจริญไปถึงขึ้นสูงสุด และได้มีกาจัดตั้งสำนักคิดที่ 4 ฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ. การอฮิจญฺติฮาดมุฏลัก (หมายถึงการอิจญฺติฮาดในปัญหาฟิกฮฺทั้งหมด โดยมิได้คำนึงถึงสำนักคิดใดเป็นการเฉพาะ) จนกระทั่งปี 665 ในหมู่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺได้เจริญถึงขีดสุด, แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการวิชาการฟิกฮฺฝ่ายซุนนียฺ ได้ปิดประตูลงซึ่งนอกเหนือจากสำนักคิดทั้งสี่แล้ว สำนักคิดอื่นๆ ได้ปิดตัวลงโดยสิ้นเชิงหรือมิได้ถูกรู้จักอย่างเป็นทางการอีกต่อไป และการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้พิพากษา อิมามญุมุอะฮฺ และผู้ออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ได้ปฏิบัติตามและตกอยู่ในการควบคุมดูแลจากหนึ่งในสำนักคิดทั้งสี่ที่มีชื่อเสียง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้มีเสียงมาจากฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ ซึ่งมีใจความคร่าวว่าจะมีการนำเอาหลักอิจญฺติฮาดกลับคืนสู่ การอิจญติฮาดมุฏลักอีกครั้งหนึ่ง, พวกเขาเคยทำการอิจญฺติฮาดในสำนักคิดหนึ่ง ขณะนี้จะมีการอิจญฺติฮาดในระหว่างสำนักคิดทั้งสี่ ประกอบกับปัจจุบันนี้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชีวิตมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการขอให้มีการอิจญฺติฮาดมุฏลักเกิดขึ้นมาใหม่

คำตอบเชิงรายละเอียด

การจัดตั้งบทบัญญัติได้เริ่มต้นในยุคสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) และได้ดำเนินต่อมาจนสิ้นอายุขัยของท่าน. ในมุมมองของชีอะฮฺ, นั้นยอมรับว่าหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ) การอธิบายหรือการตีความต่างๆ เกี่ยวกับแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) ของท่านศาสดา การอธิบายความบทบัญญัติและปัญหาด้านฟิกฮฺ และปัญหาอื่นที่นอกเหนือจากฟิกฮฺ, เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) บุตรหลานสนิทของท่านศาสดา แต่ในมุมมองของฝ่ายซุนนะฮฺ, เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) ต่างหากที่มีหน้าที่รับผิดชอบการชี้นำศาสนาและประชาชน

การอธิบายความบทบัญญัติและหลักอุซูลฟิกฮฺ ที่นำมาจากซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ) จนถึงประมาณ 40 ปีเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ, และหลังจากปีนั้นไปแล้วยังมีเซาะฮาบะฮฺบางท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้วบรรดาฟุกาฮา (นักปราชญ์) เป็นผู้อื่นมิใช่เซาะฮาบะฮฺ. หลังจากนั้นหน้าที่ความรับผิดชอบตกเป็นของบรรดาตาบิอีน จนกระทั่งสิ้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 1 และได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 2

ช่วงปรากฏสำนักคิดด้านฟิกฮฺของซุนนะฮฺ

ฟิกฮฺของฝ่ายซุนนะฮฺ หลังจากไม่ยอมรับสภาวะการเป็นผู้นำและอิมามะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) แล้ว พวกเขาก็ได้เลือกแนวทางที่มิใช่แนวทางของลูกหลานของท่านเราะซูล (ซ็อล ) ในปัญหาด้านฟิกฮฺนั้น พวกเขาได้สอบถามและปฏิบัติตามเหล่าบรรดาเซาะฮาบะฮฺและตาบิอีน.

เนื่องจากการใช้ประโยชน์สูงสุดด้านนิติ (ฟิกฮฺ) สืบเนื่องจากปัญหามีมากยิ่งขึ้น, และหลังจากอิสลามได้เปิดตัวแล้วก็ได้เข้าไปสู่ปัญหาใหม่ๆ และมีการค้นคว้าที่ละเอียดยิ่งขึ้น วิชาการด้านฟิกฮฺได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว กล่าวคือเริ่มต้นจากฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนกระทั่งช่วงเริ่มต้น ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรที่ 4 ฟิกฮฺของซุนนะฮฺ ได้เติบโตจนถึงจุดอิ่มตัว และได้มีการจัดตั้งสำนักคิดทั้งสี่ขึ้นมาในช่วงนี้เอง

การก่อตัวของสำนักคิดต่างๆ ด้านนิติในหมู่ของซุนนะฮฺ, เป็นเสมือนปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ว่าปัญหาด้านนิติมีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความต้องการของสังคมอิสลาม และมุสิลมใหม่ที่มีต่อปัญหาบทบัญญัติก็มีมากยิ่งขึ้น แน่นอนในการขยายตัวของสำนักคิดเหล่านี้ บางสำนักคิดก็มาจากอุบายทางการเมือง โดยมีเจตนาที่จะขจัดหรือขับไล่ฟิกฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ออกไป ซึ่งเราไม่สามารถมองข้ามปัญหาเหล่านี้ได้ เนื่องจากการที่รัฐบาลของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) มิได้ปกครองอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เกิดความว่างเปล่าด้านฟิกฮฺเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีบรรดาฟุกาฮาเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนั้นก็ตาม

สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ในตอนแรกสำนักคิดด้านนิติ (ฟิกฮฺ) มิได้จำกัดอยู่เฉพาะสี่สำนักคิดเท่านั้น, ทว่ามีกลุ่มนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺอีกจำนวนมากได้จัดตั้งสำนักคิดของตนขึ้นมา, และแต่ละสำนักคิดเหล่านั้นก็ได้รับการสนับสนุน และมีผู้ปฏิบัติตามไปตามสถานภาพของเขตภูมิศาสตร์ ซึ่งจำนวนสำนักคิดเหล่านั้นทีสามารถยกตัวอย่างได้ เช่น สำนักคิดของ ฮะซัน บัศรียฺ (..ที่ 21-110), สำนักคิด เอาซาอียฺ (.. 88-157), สำนักดาวูด บิน อะลี เอซฟาฮานียฺ (202-270) ซึ่งมีชื่อเสียงไปตามเปลือกนอก และสำนักคิดมุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรียฺ (224-310)[1]

แต่เมื่อพิจารณาบางปัญหาแล้ว, สำนักคิดเหล่านี้ก็ย้อนกลับไปสู่สำนักคิดทั้งสี่นั่นเอง

สาเหตุการผูกขาดด้านนิติศาสตร์ของซุนนะฮฺไว้ในสี่สำนักคิด

เนื่องด้วยความขัดแย้งด้านนิติศาสตร์อย่างมากมาย ระหว่างสำนักคิดต่างๆ ฝ่ายซุนนะฮฺ, จึงได้เกิดการยอมรับโดยทั่วไปเพื่อจำกัดสำนักคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน แต่ตรงนี้เช่นกันต้องไม่ลืมว่า ฝ่ายปกครองเองก็มีบทบาทไม่น้อยต่อการกำหนดรายละเอียดของสำนักคิดทั้งสี่ แน่นอน ประชาชนนั้นไม่มีอำนาจพอที่จะกำหนด หรือจำกัดจำนวนที่แน่นอนให้แก่สำนักคิดต่างๆ ได้, ทว่ารัฐบาลต่างหากที่กำหนดรายละเอียดและตัวอย่างต่างๆ อันเฉพาะเหล่านั้น และบางครั้งก็ยกย่องให้บางสำนักคิดดีกว่าอีกสำนักคิดหนึ่ง และบางครั้งถ้าหากบุคคลที่ปฏิบัติตามสำนักคิดหนึ่ง ได้ก้าวไปถึงยังตำแหน่งของการออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) หรือการพิพากษา รัฐก็จะถือว่าสำนักคิดนั้นเป็นสำนักคิดโปรดสำหรับเขา ซึ่งจะสนับสนุนและขยายสำนักคิดให้กว้างขวางออกไป พร้อมกับสนับสนุนให้เป็นสำนักคิดสาธารณ ตัวอย่างเช่น สำนักคิดฮะนะฟี เนื่องจากอำนาจ สิ่งอำนวยประโยชน์ และมีผู้ปฏิบัติตามมาก จึงได้ขยายสำนักคิดออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่ซุนนะฮฺด้วยกันเอง, อบูยูซุฟ, ผู้พิพากษาในสมัยปกครองของอับบาซซี ซึ่งได้รับเกียรติอย่างมากจากฝ่ายปกครอง สำนักคิดนี้จึงได้รับการยกย่องและถือเป็นสำนักคิดที่ดีกว่าสำนักคิดอื่น และโดยปกติแล้วบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ สำนักคิดฮะนะฟียฺ เขาก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาโดยปริยาย

บรรดาอิมามสำนักคิดซุนนะฮฺ ประกอบด้วย

1.อบูฮะนีฟะฮฺ,นุอฺมาน บิน ษาบิต (เสียชีวิต .. 150)

2. มาลิก บิน อะนัส (เสียชีวิต .. 179)

3. ชาฟิอียฺ, มุฮัมมัด บิน อิดรีส (เสียชีวิต .. 204)

4. อะฮฺมัด บนิ ฮันบัล (เสียชีวิต .. 240)

สาเหตุของการปิดประตูการอิจญฺติฮาดในหมู่ซุนนะฮฺคืออะไร และปิดอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว การอิจญฺติฮาด, ถือว่าเป็นหัวเชื้อแห่งชีวิตของอิสลาม และเป็นพลศาสตร์แห่งบทบัญญัติ, เกี่ยวกับการอิจญฺติฮาดนั้นจะเห็นว่าบรรดามุสลิมได้ทำให้กฎหมายอิสลาม ปราศจากการพิงพึ่งไปยังกฎหมายอื่นที่มิใช่อิสลาม มานานถึง 14 ศตวรรษด้วยกัน, การอิจญฺติฮาดมุฏลัก, จนกระทั่งปี 665 ในหมู่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนะฮฺได้เจริญถึงขีดสุด, แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการ สำนักคิดต่างๆ ที่นอกเหนือจาก 4 สำนักคิดต่างได้รับการละเลย และไม่ได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการอีกต่อไป ซึ่งทุกตำแหน่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้พิพากษา, อิมามญุมุอะฮฺ, ผู้ออกฟัตวา ทั้งหมดได้ตกอยู่ในมือของนักปราชญ์จากหนึ่งในสี่สำนักคิดที่มีชื่อเสียง

แต่สาเหตุของการยุติการอิจญฺติฮาดมุฏลักในฝ่ายซุนนะฮฺ สามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ความอคติที่มีต่อสำนักคิด

เนื่องจากลูกศิษย์และผู้ปฏิบัติตามของแต่ละสำนักคิด พวกเขามีความอคติอย่างมาก กับหัวหน้าสำนักคิดของพวกเขา ซึ่งจะไม่อนุญาตให้มีทัศนะขัดแย้งกับหัวหน้าสำนักคิดเด็ดขาด หนึ่งในนักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : หนึ่งในปัจจัยสำคัญอันเป็นสาเหตุของการนำไปสู่การปิดประตูการอิจญฺติฮาดของฝ่ายซุนนะฮฺซึ่งสาเหตุเหล่านี้เองที่เกือบจะเป็นสาเหตุทำให้พวกเขามาศึกษาด้านนิติของฝ่ายชีอะฮฺ- ซึ่งเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นบุคคลที่มีความรู้, และตัวการนี้เองหลังจากบรรดาผู้นำสำนักคิดทั้งสี่ อะฮฺมัด ฮันบัล, มุฮัมมัด บิน อิดรีส,ชาฟิอียฺ อบูฮะนีฟะฮฺ. และมาลิกบินอะนัส ได้วางรากฐานผลงานของตนอย่างเป็นรูปร่างไว้ในสังคมของซุนนะฮฺ แต่เนื่องจากความแปลกประหลาดที่มีมากเกินขนาด เป็นปรากฏการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับนักปราชญ์ของพวกเขา จึงได้มีการยึดอำนาจในการ อิจญฺติฮาด ไปจากพวกเขา

2.สร้างปัญหาในการพิพากษา :

บางครั้งกฎหมายต่างๆ ที่ผู้พิพากษาแต่ละบัลลังก์ได้พิจารณาออกมา, มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง,ในลักษณะที่ว่าถ้าหากผู้พิพากษาศาลหนึ่งเป็นมุจญฺตะฮิด, เขาได้ฟัตวาออกมาตามการอิจญฺติฮาดของตน, ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเองได้รับการคัดค้านต่างๆ เป็นจำนวนมากจากประชาชน, เนื่องจากจะเห็นว่าศาลแต่ละบัลลังก์จะออกคำพิพากษา หรือบทบัญญัติสำหรับหัวข้อหนึ่งอันเฉพาะที่มีความแตกต่างกัน, ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงได้เขามามีบทบาทรับผิดชอบและเสนอทิศทางของบทบัญญัติ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน และเพื่อป้องกันการวิวาทกัน ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้นำเสนอแนวคิดของสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งจากสี่สำนักคิด

3.ปัจจัยด้านการเมือง :

เกี่ยวกับประเด็นนี้ได้มีคำกล่าวว่า : โดยทั่วไปแล้วองค์กรภาคการเมืองในสมัยนั้น ต่างมีความหวาดกลัวต่อแนวคิดของนักปราชญ์ทางศาสนา และสถาบันทางวิชาการ, เนื่องจากบรรดานักปราชญ์หรือมุจญฺตะฮิดนั่นเองได้ใช้ความอิสระทางความคิด และพละศาสตร์ด้านการอิจญฺติฮาดของตนปกป้องอิสลามเอาไว้ อีกทั้งป้องกันการอุปโลกน์ต่างๆ หรือการเบี่ยงเบนของบรรดานักปกครองที่อธรรม ซึ่งนักปราชญ์นั่นเองที่ได้เชิดชูอิสลามให้สูงส่ง และฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ พร้อมกับได้แนะนำและนำเอาอิสลามมาปฏิบัติใช้ในสังคม และสิ่งนี้ก็คือความขัดแย้งอันเป็นปรปักษ์อย่างสุดโต่ง กับผู้ปกครองที่อธรรมฉ้อฉล ซึ่งไม่มีวันเข้ากันได้อย่างแน่นอน[2]

แน่นอน การอิจญฺติฮาดแบบมีเงื่อนไข ในหมู่ซุนนะฮฺก็พอมีอยู่บ้างในระดับหนึ่ง ซึ่งการอิจญฺติฮาดลักษณะนี้จะอนุญาตให้มุจญฺตะฮิดบางท่านได้อิจญฺติฮาด เพื่อจะได้มีขอบเขตจำกัดและอยู่ในขอบข่ายของสำนักคิดอันเฉพาะ ดังนั้น ถ้าพิจารณาหลักอุซูลและพื้นฐานของสำนักคิดนั้นแล้ว จะมีการอิจญฺติฮาดบทบัญญัติและตีความออกมา, แต่การอิจญฺติฮาดสมบูรณ์ได้ถูกปิดไปจากสำนักคิดทั้งสี่นานแล้ว

การนำเอาหลักอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้งในซุนนะฮฺ

ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้มีการเอ่ยถึงหลักการอิจญฺติฮาดมุฏลักอีกครั้งหนึ่ง ในหมู่ซุนนะฮฺ[3] โดยอ้างว่าจำเป็นต้องนำเอาหลักการอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้ง.พวกเขาหลังจากได้อิจญฺติฮาดในสำนักคิดหนึ่งแล้ว (กล่าวคือบรรดาฟะกีฮฺมีสิทธิ์อิจญฺติฮาด ซึ่งต้องวางอยู่บททฤษฎีทางความเชื่อเรื่องฟิกฮฺของสำนักคิดเดียวเท่านั้น เช่น ฮะนะฟี) อนุญาตให้อิจญฺติฮาดระหว่างสำนักคิดทั้งสี่ได้ (หมายถึงขอบข่ายของการอิจญฺติฮาดของฟะกีฮฺที่มีต่อสำนักคิดหนึ่ง ได้ขยายตัวไปสู่ทั้งสี่สำนักคิดได้ และฟะกีฮฺ สามารถอิจญฺติฮาดไปตามความเชื่อของสำนักคิดทั้งสี่ได้) ซึ่งทุกวันนี้บทบัญญัติใหม่ในชีวิตประจำวัน และทุกสิ่งได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการนำเสนอเรื่อง การอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้ง

ทุกวันนี้ บรรดานักคิดฝ่ายซุนนีย์ได้ถามตัวเองว่า  : ทำไมประชาชนต้องปฏิบัติตาม (ตักลีด) บุคคลหนึ่งที่ได้ใช้ชีวิตอยู่เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ซึ่งเขาไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาใหม่ๆ ของทุกวันนี้?

ทำนองเดียวกัน พวกเขาถามว่า : ถ้าหากการตักลีดวาญิบและจำเป็นแล้วละก็, อิมามของสำนักคิดทั้งสี่ของซุนนะฮฺ ก็เป็นผู้ปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน? แล้วพวกเขาตักลีดตามใครหรือ?

แนวคิดนี้ปัจจุบันในหมู่ผู้มีวิสัยทัศน์สมัยใหม่ได้รับการสนับสนุน และมีผู้ปฏิบัติตาม โดยีเจตนารมณ์ที่จะเปิดประตูแห่งการอิจญฺติฮาดที่ได้ถูกปิดมานานขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง :

คำถามที่ 796 (ไซต์ : 855) การอิจญฺติฮาดในหมู่ชีอะฮฺ

คำถามที่ 795 (ไซต์ : 854) การอิจญฺติฮาดในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซ

คำถามที่ 4932 (ไซต์ : 5182 ) แนวคิดในการขยายสำนักคิด



[1] ซุบฮานียฺ, ญะอฺฟัร, ตารีคฟิกฮฺ อัลอิสลามี วะอัดวาริฮี, หน้า 14, มุอัซซะซะฮฺ อิมามซอดิก (.), กุม, 1427

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม

[3] นักวิชาการฝ่ายซุนนียฺบางคน เช่น มุฮัมมัดอะลี ซิยาซียฺ อะลี มันซูร มิซรียฺ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจำนวนหลายตอนด้วยกัน (ตารีค อัลฟิกฮุล อิสลามี วะอัดวาเราะฮู, หน้า 100.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12555 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7747 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    9261 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    6876 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...
  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    5745 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    10127 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
    15246 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/21
    อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกันระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้นหมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันทีอาทิเช่นร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิสเขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภททรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษฯลฯ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนาเช่นการนมาซถือศีลอดชำระคุมุสจ่ายซะกาตประกอบพิธีฮัจย์ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัยยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรกตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูตเหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่านนอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้วการหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นคำสอนของกุรอานนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่านย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับณอัลลอฮ์นอกจากนี้จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้งเพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยายและจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุกและต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ฉะนั้นประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคนแม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลามโดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6745 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7273 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7196 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59464 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56924 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41726 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38480 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38465 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33501 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27574 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27300 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27193 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25267 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...