การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6667
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7883 รหัสสำเนา 19999
คำถามอย่างย่อ
ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
คำถาม
อิมามโคมัยนี (ร.) กล่าวไว้ในหนังสือรัฐอิสลาม หน้า 25 ว่า “ฐานะภาพของอิมามสูงส่งถึงขั้นที่แม้แต่มลาอิกะฮ์และนบีท่านอื่นๆก็ไม่อาจจะเทียบทานได้” ถามว่าใครจะยอมเชื่อเช่นนี้?
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบี ทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (..) ฉะนั้น ในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆ วุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (..) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน
ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้น ถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับ ฉะนั้น การที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำพูดของอิมามโคมัยนีข้างต้น ได้มาจากเนื้อหาของฮะดีษมากมายที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีษที่ได้รับการยอมรับ อาทิเช่นฮะดีษนี้:

أَحْمَدُ بْنُ مُحَمَّدٍ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَیْنِ عَنْ مَنْصُورِ بْنِ الْعَبَّاسِ عَنْ صَفْوَانَ بْنِ یَحْیَى عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مُسْکَانَ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ الْخَالِقِ وَ أَبِی بَصِیرٍ قَالَ قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ ع یَا أَبَا مُحَمَّدٍ إِنَّ عِنْدَنَا وَ اللَّهِ سِرّاً مِنْ سِرِّ اللَّهِ وَ عِلْماً مِنْ عِلْمِ اللَّهِ وَ اللَّهِ مَا یَحْتَمِلُهُ مَلَکٌ مُقَرَّبٌ وَ لَا نَبِیٌّ مُرْسَلٌ وَ لَا مُؤْمِنٌ امْتَحَنَ اللَّهُ قَلْبَهُ لِلْإِیمَانِ وَ اللَّهِ مَا کَلَّفَ اللَّهُ ذَلِکَ أَحَداً غَیْرَنَا وَ لَا اسْتَعْبَدَ بِذَلِکَ أَحَداً غَیْرَنَا...[1]

อิมามศอดิก(.)กล่าวว่าแท้จริงพวกเรามีสิ่งเร้นลับและองค์ความรู้ประเภทหนึ่งที่พระองค์ทรงประทานให้ ซึ่งไม่มีมลาอิกะฮ์ระดับสูงสุดองค์ใด และเราะซู้ลท่านใด และผู้ศรัทธาที่อัลลอฮ์ทดสอบอีหม่านแล้วคนใดจะสามารถแบกรับสิ่งเหล่านี้ได้ ขอสาบานต่อพระองค์ พระองค์มิได้ทรงมอบภารกิจนี้แก่ผู้ใดนอกจากพวกเรา และไม่มีใครใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุจูงใจในการทำอิบาดะฮ์เสมือนพวกเรา

ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาความเป็นเลิศทางฐานันดรภาพและวิทยฐานะของบรรดาอิมามจากเนื้อหาของฮะดีษข้างต้น เนื่องจากผุ้รู้ฝ่ายชีอะฮ์มักจะอ้างอิงความเชื่อดังกล่าวไปยังฮะดีษประเภทนี้เป็นส่วนใหญ่

ก่อนที่จะพิจารณาถึงเรื่องดังกล่าว เห็นควรที่จะเกริ่นนำเบื้องต้นว่า ความประเสริฐของมนุษย์ที่มีเหนือมลาอิกะฮ์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ปราศจากข้อกังขาใดๆในทัศนะอิสลาม ฉะนั้นจึงไม่ไช่เรื่องแปลกหากจะยอมรับว่าบรรดาอิมามผู้ไร้บาปมีสถานะที่เหนือกว่าเหล่ามลาอิกะฮ์ ส่วนการที่บรรดาอิมามเหนือกว่าบรรดานบีนั้น สามารถพิสูจน์ได้จากหลายแง่มุมโดยไม่ขัดต่อหลักการใดๆในอิสลาม หากแต่จะช่วยเสริมสร้างศรัทธาที่มุสลิมควรจะทราบไว้ เราจะร่วมกันพิสูจน์ด้วยข้อสังเกตุต่อไปนี้:

 ข้อสังเกตุแรก
ผู้ไร้บาปสิบสี่ท่านล้วนเปรียบเสมือนรัศมีเดียวกัน เรื่องนี้มีการกล่าวถึงในฮะดีษมากมายหลายบท ทั้งนี้ บางบทกล่าวเฉพาะห้าท่านแห่งผ้าคลุมกิซาอ์ และบางบทกล่าวรวมถึงทั้งสิบสี่ท่าน เราจะขอหยิบยกมานำเสนอทั้งสองประเภทดังนี้
อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า 

یَا مُحَمَّدُ إِنِّی خَلَقْتُکَ وَ خَلَقْتُ عَلِیّاً وَ فَاطِمَةَ وَ الْحَسَنَ وَ الْحُسَیْنَ مِنْ سِنْخِ نُورِی وَ عَرَضْتُ وَلَایَتَکُمْ عَلَى أَهْلِ السَّمَاوَاتِ وَ الْأَرَضِینَ فَمَنْ قَبِلَهَا کَانَ عِنْدِی مِنَ الْمُؤْمِنِینَ وَ مَنْ جَحَدَهَا کَانَ عِنْدِی مِنَ الْکَافِرِینَ یَا مُحَمَّدُ لَوْ أَنَّ عَبْداً مِنْ عِبَادِی عَبَدَنِی حَتَّى یَنْقَطِعَ أَوْ یَصِیرَ کَالشَّنِّ الْبَالِی ثُمَّ أَتَانِی جَاحِداً لِوَلَایَتِکُمْ مَا غَفَرْتُ لَهُ أَوْ یُقِرَّ بِوَلَایَتِکُم‏...[2]

ฮะดีษนี้เป็นวจนะของอัลลอฮ์เมื่อครั้งสนทนากับท่านนบี(..)ขณะเมี้ยะรอจ พระองค์ตรัสว่า โอ้มุฮัมมัด ข้าได้สร้างเจ้า และอลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน และฮุเซนจากรัศมีแห่งข้า และได้เสนอวิลายะฮ์ของพวกเจ้าแก่ชาวฟ้าและชาวโลก หากผู้ใดยอมรับ เขาจะถือเป็นผู้ศรัทธาในปริทรรศน์ของข้า แต่หากผู้ใดดื้อแพ่ง ก็จะถือว่าเป็นผู้ปฏิเสธในปริทรรศน์ของข้า โอ้มุฮัมมัด มาตรว่าบ่าวผู้ใดในปวงบ่าวของข้า เพียรบำเพ็ญอิบาดัตจนหมดลมหรือตาฝ้าฟาง แต่คืนกลับสู่ข้าในสภาพที่ดื้อแพ่งไม่ยอมรับวิลายะฮ์ของสูเจ้า ข้าจะไม่อภัยโทษแก่เขาเว้นแต่จะยอมรับวิลายะฮ์ของสูเจ้า...”

یَا مُحَمَّدُ إِنِّی خَلَقْتُ عَلِیّاً وَ فَاطِمَةَ وَ الْحَسَنَ وَ الْحُسَیْنَ وَ الْأَئِمَّةَ مِنْ نُورٍ وَاحِدٍ ثُمَّ عَرَضْتُ وَلَایَتَهُمْ عَلَى الْمَلَائِکَةِ فَمَنْ قَبِلَهَا کَانَ مِنَ الْمُقَرَّبِینَ وَ مَنْ جَحَدَهَا کَانَ مِنَ الْکَافِرِینَ یَا مُحَمَّدُ لَوْ أَنَّ عَبْداً مِنْ عِبَادِی عَبَدَنِی حَتَّى یَنْقَطِعَ ثُمَّ لَقِیَنِی جَاحِداً لِوَلَایَتِهِمْ أَدْخَلْتُهُ النَّار...[3]

ทั้งสองบทข้างต้นมีความหมายคล้ายกัน แต่บทที่สองระบุว่าบรรดาอิมามคือรัศมีหนึ่งเดียว

ข้อสังเกตุที่สอง:
อะฮ์ลุลบัยต์ทุกท่านล้วนมีฐานภาพแห่งวิลายะฮ์[4] กล่าวคือ นอกจากบุคคลเหล่านี้จะเป็นตัวแทนท่านนบี(..)ในแง่ผู้ปกครองสังคมและไขปัญหาศาสนาแล้ว ยังเป็นปูชนียบุคคลทางจิตวิญญาณที่ปราศจากบาปกรรม อีกทั้งมีอิทธิพลเหนือกลไกของโลกด้วยพระเมตตาของอัลลอฮ์ อันทำให้สามารถหยั่งรู้และควบคุมจิตวิญญาณของผู้คนได้
อัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอี (.) กล่าวว่า ฐานะความเป็นอิมามถือเป็นวิลายะฮ์ (อิทธิพล) ประเภทหนึ่งที่มีต่อจิตวิญญาณของผู้คน อันเสริมด้วยการฮิดายะฮ์ในลักษณะการนำพาสู่จุดหมาย มิไช่เพียงแค่ชี้ทางรอดอย่างที่บรรดานบี และผู้ศรัทธาทั่วไปกระทำกันเป็นปกติด้วยการตักเตือนสั่งสอนผู้คน[5]

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราสามารถจำแนกวิลายะฮ์ออกเป็นสองประเภทด้วยกัน: วิลายะฮ์ตัชรีอี และวิลายะฮ์ตั้กวีนี
วิลายะฮ์ตัชรีอี หมายถึงสิทธิขาดในการบัญญัติกฏเกณฑ์ อันเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮ์เพียงผู้เดียว ซึ่งแม้แต่ท่านนบี(..) ก็ไม่มีสิทธิดังกล่าว[6] แต่เป็นเพียงผู้แจ้งข่าวดีและข่าวร้าย เป็นผู้เผยแพร่กฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์[7]

วิลายะฮ์ตั้กวีนี หมายถึงศักยภาพทางจิตวิญญาณที่สามารถควบคุมสรรพสิ่งในโลกได้ด้วยความอนุเคราะห์ของพระองค์
กล่าวได้ว่า มุอ์ญิซาตหรืออภินิหารเชิงกิจกรรม[8]ของบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ล้วนเกิดจากศักยภาพดังกล่าว อาทิเช่น การผ่าดวงจันทร์[9] และการผ่าต้นไม้โดยท่านนบี(..)[10] เหตุการณ์แผ่นดินสูบ[11]และการแยกทะเล[12]โดยท่านนบีมูซา(.)ในกรณีของกอรูนและฟิรอูน การแยกภูเขาโดยนบีศอลิห์(.)[13] การรักษาโรคเรื้อนและฟื้นชีพคนตาย[14]โดยท่านนบีอีซา(.) ตลอดจนการดึงประตูค็อยบัรโดยท่านอิมามอลี(.)[15] ล้วนเกิดจากศักยภาพแห่งวิลายะฮ์ ตั๊กวีนีของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ที่มีเหนือสรรพสิ่งต่างๆทั้งสิ้น

ข้อสังเกตุที่สาม:
วิลายะฮ์ได้มาจากการใกล้ชิดและสลายอัตตา(ฟะนาอ์)[16]เพื่อพระองค์ และความใกล้ชิดดังกล่าวก็เกิดขึ้นได้ด้วยการภักดีและประพฤติตามครรลองจริยธรรมของพระองค์เท่านั้น แม้ว่ามนุษย์ไม่อาจจะเป็นพระเจ้าได้ แต่สามารถจะเชื่อมโยงกับพระองค์ได้ ยิ่งมนุษย์เชื่อมโยงกับพระองค์ซึ่งเป็นขุมอำนาจอันไร้ขีดจำกัดเท่าใด ยิ่งฉีกม่านกิเลสที่บังตาได้มากเท่าใด ยิ่งมองข้ามอัตตาได้เพียงใด สัญลักษณ์และคุณลักษณะแห่งพระองค์ก็ยิ่งบังเกิดแก่เขามากเท่านั้น[17] และในเมื่ออัลลอฮ์มีอำนาจควบคุมทุกสรรพสิ่งอย่างไร้ขีดจำกัด มนุษย์ก็สามารถมีศักยภาพนี้ได้ตามระดับการเชื่อมโยงกับอำนาจอันไร้ขีดจำกัดของพระองค์

มีฮะดีษระบุว่า อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า โอ้ปวงบ่าวของข้า จงภักดีต่อข้า เพื่อข้าจะได้ทำให้สูเจ้าเป็นภาพลักษณ์ของข้า[18] โอ้เผ่าพันธุ์ของอาดัม ข้ามีเพียบพร้อมทุกสิ่งโดยไม่มีวันยากไร้ จงภักดีต่อข้า เพื่อสูเจ้าจะได้ปลอดจากความยากไร้ ข้าดำรงอยู่อย่างอมตะ จงภักดีต่อข้า เพื่อข้าจะบันดาลให้สูเจ้าเป็นอมตะ ข้ามีประกาศิตใดสิ่งนั้นย่อมจะเกิดขึ้น จงภักดีต่อข้า เพื่อข้าจะบันดาลให้สูเจ้ามีประกาศิตที่หากประสงค์สิ่งใดก็จะเป็นไปตามนั้น[19]

ข้อสังเกตุที่สี่:
สถานะแห่งวิลายะฮ์เหนือกว่าสถานะความเป็นนบีในแง่ลำดับชั้น เนื่องจากมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ
กล่าวคือวะลีคือผู้ที่บรรลุถึงแก่นสัจธรรมแห่งพระเจ้ายามที่สลายแล้วซึ่งอัตตา ด้วยเหตุนี้จึงรับรู้ความเร้นลับเบื้องสูงและนำแจ้งแก่ผู้อื่น เราเรียกการรับรู้นี้ว่านุบูวะฮ์เชิงกว้าง”,“นุบูวะฮ์เชิงฐานันดร”,“นุบูวะฮ์ตะอ์รี้ฟซึ่งตรงข้ามกับนุบูวะฮ์ตัชรี้อ์
ผู้ที่เป็นนบีสามารถบอกเล่าเกี่ยวกับอาตมัน คุณลักษณะ และกิจของพระเจ้าตามฐานะแห่งนุบูวะฮ์ตะอ์รี้ฟ และเผยแพร่บทบัญญัติของอัลลอฮ์ อบรมจริยธรรม สอนสั่งวิทยปัญญา บริหารบ้านเมืองในฐานะที่เป็นนุบูวะฮ์ตั๊กวีนี กุรอานระบุว่า:
وَ لَمَّا بَلَغَ أَشُدَّهُ آتَیْناهُ حُکْماً وَ عِلْماً وَ کَذلِکَ نَجْزِی الْمُحْسِنین[20]
กล่าวคือ มนุษย์ผู้บรรลุถึงขุมคลังแห่งความดีงาม ย่อมจะได้รับกลิ่นอายแห่งนบี นั่นหมายความว่าเข้าถึงนุบูวะฮ์เชิงฐานันดรแล้ว แม้ว่าจะไม่ได้รับตำแหน่งนุบูวะฮ์ตัชรี้อ์ก็ตาม[21] ฉะนั้น แม้ว่าบุคคลทั่วไปไม่ได้รับตำแหน่งนุบูวะฮ์ตัชรี้อ์ แต่สามารถที่จะได้รับสถานะความเป็นวะลีด้วยการภักดีต่ออัลลอฮ์และจาริกทางจิตวิญญาณกระทั่งบรรลุสู่ความใกล้ชิดพระองค์ (ไม่ว่าจะในแง่อาสาหรือกำชับ) อันถือเป็นนุบูวะฮ์เชิงฐานันดรหรือตำแหน่งวิลายะฮ์นั่นเอง

มาตรว่ากรุณาธิคุณจากเบื้องบนโปรยปรายมา
ปุถุชนกับศาสดาอีซาก็หาต่างกันไม่

อย่างไรก็ดี สามารถระบุความแตกต่างระหว่างสถานะวิลายะฮ์กับนุบูวะฮ์ได้ดังนี้
1. วิลายะฮ์คือภาวะเชิงฮักกอนี ส่วนนุบูวะฮ์คือภาวะเชิงค็อลกี กล่าวคือนุบูวะฮ์เป็นภาพลักษณ์ของนุบูวะฮ์ ส่วนนุบูวะฮ์เป็นแก่นแท้ของวิลายะฮ์
2. อัมบิยาอ์เข้าถึงศาสตร์อันเร้นลับของสรรพสิ่งเนื่องจากสลายอัตตาแล้ว อีกนัยหนึ่งคือได้จุติขึ้นภายหลังจากสลายอัตตาแล้ว จึงสามารถบอกเล่าฮะกีกัตที่ตนทราบได้ แต่อย่างไรก็ดี ที่มาของภาวะดังกล่าวก็คือภาวะฮักกี หรือวิลายะฮ์นั่นเอง
3. วะลีเป็นผู้มีความเข้าใจชะรีอัตภายนอกและฮะกีกัตภายในอย่างลึกซึ้ง แต่ภาระหน้าที่ของอัมบิยาอ์จำกัดเฉพาะชะรีอัตภายนอกเท่านั้น
4. วะลีดูแลกิจภายนอกและกิจทางจิตใจของมนุษย์ จึงต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
จงเฟ้นหาครูบาเพราะทางสู่จุดหมาย
เต็มไปด้วยภยันตรายกร้ำกรายเรา[22]
5. นบีและเราะซู้ลทั่วไปได้รับความรู้จากอัลลอฮ์ผ่านมลาอิกะฮ์และสื่อกลางอื่นๆ ทว่าวะลีได้รับความรู้จากฮะกีกัตแห่งศาสดามุฮัมมัดโดยตรง[23]
6
. นุบูวะฮ์และริซาละฮ์จำกัดอยู่ในกรอบเวลาและสถานที่ จึงมีวันสิ้นสุดภารกิจ แต่วิลายะฮ์มิได้เป็นเช่นนี้ เพราะคำว่าวะลีถือเป็นหนึ่งในพระนามของอัลลอฮ์[24] และพระนามของอัลลอฮ์ย่อมเป็นนิรันดร์[25] เนื่องจากพระนามของพระองค์ย่อมต้องมีตัวตนภายนอก(มัซฮัร) วิลายะฮ์จึงไม่สิ้นสุดลง[26] มนุษย์ผู้สมบูรณ์ถือเป็นตัวตนภายนอกอันสมบูรณ์ของพระนามเหล่านี้ และยังมีวิลายะฮ์เชิงกว้างด้วย ทว่านบีและเราะซู้ลมิไช่ตัวตนของพระนามอัลลอฮ์ และสถานภาพความเป็นนบีและเราะซู้ลยังต้องเกี่ยวข้องกับกาลเวลา ซึ่งย่อมสิ้นสุดลงตามกาลเวลา
7. ปัจจัยที่ส่งมอบนุบูวะฮ์และริซาละฮ์คือพระนามอันชัดแจ้ง(อัสมาอ์ ซอฮิร) ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะปลอดสิ่งคุกคาม(ตัจลียะฮ์) แต่ปัจจัยที่ส่งมอบวิลายะฮ์คือพระนามอันลึกล้ำ(อัสมาอ์ บาฏิน) อันเกี่ยวข้องกับภาวะประดับประดา(ตะฮ์ลียะฮ์)
8. วิลายะฮ์คือหัวใจของนุบูวะฮ์และริซาละฮ์ ซึ่งจะเข้าถึงสองสภาวะนี้ได้ด้วยวิลายะฮ์[27]

สรุป
จากข้อมูลที่นำเสนอทั้งหมดทำให้ทราบว่า
หนึ่ง. วิลายะฮ์ของผู้เป็นเราะซูลและนบี เหนือกว่าตำแหน่งริซาละฮ์และนุบูวะฮ์ของพวกท่านเหล่านั้น
สอง. เป็นไปได้ที่ผู้เป็นวะลีบางคนอาจไม่มีสถานะเป็นนบี แต่มีวุฒิภาวะและสถานภาพเหนือกว่านบีในแง่วิลายะฮ์ เพราะเหตุนี้เองที่ท่านคิเฎรสามารถปรารภกับนบีมูซาว่า انک لن تستطیع معی صبرا (ท่านไม่สามารถจะทนอยู่เคียงข้างฉันได้หรอก) อีกทั้งยังสำทับอีกว่า ألم اقل انک لن تستطیع معی صبرا (ฉันมิได้บอกท่านดอกหรือว่าท่านไม่อาจจะทนอยู่เคียงข้างฉันได้) สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการตัดบทว่า هذا فراق بینی و بینک (นี่คือจุดจบระหว่างท่านกับฉัน)[28]
และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว จึงเข้าใจได้ว่าเหตุใดท่านนบีอีซา(.)จึงละหมาดตามหลังท่านอิมามมะฮ์ดี(.)ภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย[29] ทั้งที่ท่านนบีอีซา(.)ถือเป็นหนึ่งในห้าศาสดาระดับอุลุ้ลอัซม์ กล่าวคือ แม้ท่านคิเฎรและอิมามมะฮ์ดีจะไม่มีสถานภาพนุบูวะฮ์ ตัชรี้อ์อย่างนบีอีซา(.) แต่ในแง่ของวิลายะฮ์ตั้กวีนีแล้ว ท่านคิเฎรเหนือกว่าท่านนบีมูซา และท่านอิมามมะฮ์ดีเหนือกว่านบีอีซา และเพราะเหตุนี้เองที่ท่านอิมามอลี(.)กล่าวว่า 

أَرَى نُورَ الْوَحْیِ وَ الرِّسَالَةِ وَ أَشُمُّ رِیحَ النُّبُوَّةِ وَ لَقَدْ سَمِعْتُ رَنَّةَ الشَّیْطَانِ حِینَ نَزَلَ الْوَحْیُ عَلَیْهِ(ص)...
ฉันประจักษ์ถึงรัศมีแห่งวะฮีย์และริซาละฮ์ และได้กลิ่นอายแห่งนุบูวะฮ์ และได้ยินเสียงโหยหวนของชัยฏอนขณะที่มีวะฮีย์ประทานแก่ท่านนบี(..)

ท่านนบีกล่าวแก่ท่านว่า
إِنَّکَ تَسْمَعُ مَا أَسْمَعُ وَ تَرَى مَا أَرَى إِلَّا أَنَّکَ لَسْتَ بِنَبِی
เธอจะได้ยินอย่างที่ฉันได้ยิน และเห็นอย่างที่ฉันเห็น เว้นแต่ว่าเธอมิไช่นบี[30]

อิมามฮะซัน(.)กล่าวหลังการจากไปของท่านอิมามอลี(.)ผู้เป็นบิดาว่า:
و الله لقد قبض فیکم اللیلة رجل ما سبقه الأولون إلا بفضل النبوة، و لایدرکه الآخرون‏
ขอสาบานต่อพระองค์ ค่ำคืนนี้อัลลอฮ์ได้เก็บคืนดวงวิญญาณของชายผู้หนึ่ง ที่ไม่มีบรรพชนคนใดเหนือกว่าเขาเว้นแต่หากไม่นับฐานะแห่งนุบูวะฮ์ และไม่มีชนรุ่นหลังคนใดบรรลุถึงเขาได้อีกแล้ว[31]

ท่านนบี(..)เคยกล่าวว่า
إن لله عبادا لیسوا بأنبیاء یغبطهم النبیون بمقاماتهم و قربهم إلى الله تعالى
แท้จริง อัลลอฮ์ทรงมีปวงบ่าวที่มิไช่นบี ทว่าบรรดานบีไฝ่ฝันจะได้รับฐานันดรอย่างพวกเขา[32]ฮะดีษล่าสุดนี้ นอกจากจะบ่งบอกถึงสภาวะที่เหนือกว่าบรรดานบีแล้ว ยังเฉลยถึงเหตุผลของสภาวะดังกล่าวด้วยว่า و قربهم إلى الله تعالى ดังที่กล่าวไปแล้วว่าความใกล้ชิดพระองค์คือรหัสแห่งสถานะดังกล่าว และความใกล้ชิดขั้นสมบูรณ์ก็มิไช่อื่นใดนอกจากวิลายะฮ์เชิงตั้กวีนี

กุรอานกล่าวว่า
وَ یَقُولُ الَّذینَ کَفَرُوا لَسْتَ مُرْسَلا قُلْ کَفى‏ بِاللَّهِ شَهِیداً بَیْنِی وَ بَیْنَکُمْ وَ مَنْ عِنْدَهُ عِلْمُ الْکِتابِ

เหล่าผู้ปฏิเสธจะกล่าวแก่ว่า เจ้ามิไช่ศาสดา จงกล่าวเถิด เพียงพอแล้วที่อัลลอฮ์และผู้ที่มีวิทยปัญญาแห่งคัมภีร์จะเป็นพยานระหว่างฉันกับพวกท่าน [33]

ในอายะฮ์นี้ อัลลอฮ์ได้ระบุผู้เป็นพยานอยู่สองกรณี หนึ่งก็คือพระองค์เอง สองก็คือผู้ที่รอบรู้วิทยปัญญาแห่งคัมภีร์ ประจักษ์พยานของอัลลอฮ์ก็คืออภินิหาร(มุอ์ญิซาต)ต่างๆ ซึ่งอัลกุรอานก็ถือเป็นอภินิหารประเภทหนึ่ง

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6196 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    6561 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]
  • มนุษย์นั้นมีสิทธิที่จะพูดจาจาบจ้วงพี่น้องในศาสนาของตนได้ไหม – เนื่องจากการทะเลาะวิวาทหรือความขัดแย้งระหว่างพวกเขา- อันเป็นสาเหตุของการกลั่นแกล้งและทำให้การโกรธเกลียดกัน, ทั้งๆ ที่เขาได้กล่าวขออภัยแล้ว?
    5846 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/20
    การอภัยและการยกโทษเป็นคุณสมบัติพิเศษของบุรุษผู้มีความยิ่งใหญ่และยังเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณของเขาอีกด้วย, ตามคำสอนของอิสลามคุณลักษณะเหล่านี้ถือว่าเป็นความประเสริฐด้านคุณธรรมและจริยธรรม, ศาสนาซึ่งท่านศาสดาประจำศาสนาได้ถูกคัดเลือกขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์และความประเสริฐของจริยธรรม
  • มีฟัตวาเกี่ยวกับอาชีพที่สองไหม? หรือว่าการมีอาชีพที่สองเท่ากับเป็นคนหลงโลก?
    7296 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพหรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8191 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • เมื่อคำนึงถึงการที่สตรีจะต้องมีประจำเดือน จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ เนื่องจากจะต้องถือศีลอดติดต่อกันเป็นเวลา 31 วัน
    7220 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการถือศีลอดที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องถืออย่างติดต่อกัน (เช่นการถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์หรือการถือศีลอดที่มีการบนบานเอาไว้) หากเขาไม่สามาถทำเช่นนี้ได้เนื่องจากป่วยหรือมีรอบเดือนหรือเป็นนิฟาซ (สำหรับสตรี) และผู้ถือศีลอดไม่สามารถถือศีลอดติดต่อกันได้ต่อเมื่อข้อจำกัดเหล่านั้นหมดไป (เช่นการป่วย, การมีรอบเดือนหรือการมีนิฟาซ) หากถือศีลอดต่อทันทีก็จะถือว่าถูกต้องและไม่จำเป็นต้องเริ่มถือศีลอดใหม่แต่อย่างใด[1][1]อิมามโคมัยนี, รูฮุลลอฮ์, ตะฮ์รีรุลวะซีละฮ์, แปล,เล่มที่
  • เอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ไม่ถือเป็นนะญิสและสามารถกินได้ไช่หรือไม่?
    11977 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    แอลกอฮอล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักหนึ่งคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมีและประเภทที่สองคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากการกลั่นระเหยของเหล้าและเนื่องจากเอทานอลเป็นหนึ่งในแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมประเภทต่างๆดังนั้นเราจึงต้องมาวิเคราะห์ประเด็นแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมเสียก่อน
  • ควรนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักกับพระเจ้าแก่ชมรมเยาวชนในพื้นที่อย่างไร?
    5982 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/19
    หากพิจารณาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับหลักความเชื่อ ต้องถือว่าประเด็นการรู้จักพระเจ้าถือเป็นประเด็นหลักที่สำคัญที่สุด อีกทั้งครอบคลุมประเด็นปลีกย่อยมากมาย หากคุณต้องการอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้จะต้องคำนึงถึง 2 หลักการเป็นสำคัญ หนึ่ง. ควรเลือกประเด็นที่จะหยิบยกมาพูดคุยให้เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตรรกะ สอง.จะต้องคำนึงถึงบุคลิกและพื้นฐานความรู้ของผู้ฟังอย่างเคร่งครัด เกี่ยวกับหลักการแรก ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ คุณจะต้องเลือกประเด็นในการพูดคุยเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่มีความครอบคลุมมากกว่า เพื่อที่จะได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้ง่ายขึ้น จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นลึกๆ ของการรู้จักพระเจ้า นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ โดยคำนึงถึงลำดับการเรียงเนื้อหาที่เหมาะสม และจะต้องหลีกเลี่ยงการพูดเยิ่นเย้อ ให้ทยอยนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้า และควรใช้วิธีการที่สามารถเข้าใจง่ายและมีความหลากหลาย ควรใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกแสวงหาพระเจ้าที่มีในเยาวชนให้มากที่สุด ควรจะปล่อยให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดและสรุปข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าใจประเด็นต่าง ๆได้ ควรใช้หนังสือต่างๆ ที่เสนอข้อมูลอย่างชัดแจนและมีการลำดับเนื้อเรื่องที่ดี เกี่ยวกับหลักการที่สองควรจะคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ควรจะนำเสนอประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ของเยาวชนกลุ่มนั้น ๆ และหากต้องการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ...
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6676 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38462 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27293 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27189 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...