การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11093
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/29
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8963 รหัสสำเนา 20235
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดบางคนจึงมีรูปลักษณ์ภายในความฝันเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทั้งที่หลังจากนั้นเขาเตาบะฮ์และได้รับฐานันดรที่สูงส่ง
คำถาม
มีการกล่าวกันว่าบางคนเคยกระทำบาปในช่วงวัยรุ่น แต่เมื่อแสงแห่งทางนำของอัลลอฮ์สาดส่องสู่หัวใจ จึงกลับตัวเป็นผู้ศรัทธา ตัวอย่างเช่น นายเราะซูล เติร์ก ที่ได้รับฉายาว่าผู้ที่อิมามฮุเซนประทานอิสรภาพให้
(อธิบาย: กล่าวกันว่าก่อนที่เราะซูล เติร์กจะกลับตัวกลับใจ มีผู้ฝันเห็นเขาในรูปของสุนัขที่นอนเฝ้าค่ายพักของอิมามฮุเซน คอยเฝ้าระวังมิให้คนนอกเข้ามาใกล้ เมื่อได้ทราบความฝันดังกล่าวทำให้เขาเปลี่ยนแปลงตนเอง กระทั่งได้รับฐานันดรอันสูงส่งภายหลังจากเตาบะฮ์)
คำถามก็คือ เหตุใดท่านอิมามฮุเซนจึงรับเขาไว้ในฐานะสุนัขเฝ้าบ้าน? ผมหมายถึงว่าเหตุใดเขาจึงยังอยู่ในรูปของสุนัข? ทั้งที่ฐานะภาพของมนุษย์สูงส่งกว่าอย่างเทียบมิได้ แล้วทำไมในความฝันดังกล่าวอันเป็นที่ทราบกันดีในหมู่พวกเรา อิมามจึงรับเขาไว้ในฐานะสุนัขตัวหนึ่ง? ต้องเรียนว่าผมรู้จักเพื่อนฝูงของเราะซูล และยังเคยอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับเขามาแล้ว
คำตอบโดยสังเขป

เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่าของโองการกุรอานและฮะดีษต่างๆจะพบว่า ผู้คนมากมายมีรูปโฉมทางจิตวิญญาณที่ไม่ไช่คน การกระทำบางอย่างสามารถเปลี่ยนรูปโฉมทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสัตว์ได้ อาทิเช่นการดื่มเหล้า ที่สามารถแปลงโฉมผู้ดื่มให้เป็นสุนัขในแง่จิตวิญญาณได้

กรณีที่ถามมานั้น ท่านอิมามฮุเซนมิได้เปลี่ยนรูปโฉมของเราะซูล เติร์ก การกระทำของเขาต่างหากที่ทำให้ตนมีรูปโฉมดังที่กล่าวมา ซึ่งหากไม่มีการเตือนด้วยความฝันดังกล่าว เขาก็คงยังไม่เตาบะฮ์ แต่เมื่อเตาบะฮ์แล้วก็ย่อมจะคืนสู่รูปโฉมความเป็นคนเช่นเดิม

คำตอบเชิงรายละเอียด

กุรอานกล่าวว่า و اذا الوحوش حشرت (เมื่อสรรพสัตว์ฟื้นคืนชีพ)[1] นักอรรถาธิบายให้ทัศนะเกี่ยวกับโองการนี้ไว้สองประการด้วยกัน 
หนึ่ง: สรรพสัตว์จะฟื้นคืนชีพเพื่อเป็นพยานหรือโจทก์ในการพิพากษามนุษย์[2]
สอง: มนุษย์บางคนจะฟื้นคืนชีพในรูปของสัตว์เดรัจฉาน

นอกจากนี้ กุรอานยังกล่าวอีกว่า فَلَمَّا عَتَوْا عَنْ ما نُهُوا عَنْهُ قُلْنا لَهُمْ کُونُوا قِرَدَةً خاسِئِین [3] ซึ่งเล่าว่าบนีอิสรออีลบางคนถูกสาปให้เป็นลิงเนื่องจากฝ่าฝืนกฏของอัลลอฮ์ที่ห้ามมิให้ทำการประมงในวันเสาร์
โองการดังกล่าวสื่อว่าการกระทำบางประการสามารถทำให้มนุษย์แปรสภาพทางกายและใจกลายเป็นสัตว์ได้

มีฮะดีษมากมายที่พิสูจน์ว่ารูปโฉมทางจิตวิญญาณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาทิเช่นฮะดีษดังต่อไปนี้:
1. อบูบะศี้ร กล่าวกับอิมามบากิร(.)ว่า ผู้ทำฮัจญ์ช่างมีจำนวนมากมายอะไรเช่นนี้! เสียงเซ็งแซ่ไปหมด ท่านตอบว่า เสียงเซ็งแซ่เท่านั้นที่มากมาย ทว่าผู้ทำฮัจญ์ช่างน้อยนิด เธออยากจะเห็นเองไหมล่ะ?
แล้วท่านก็ใช้มือลูบที่สองตาของฉันพลางอ่านดุอาแล้วกล่าวว่าทีนี้ลองเพ่งดูผู้ทำฮัจญ์อีกครั้งสิเขาเล่าว่า ฉันมองดูก็พบว่ามีลิงและสุกรจำนวนมาก แต่ก็มีผู้ศรัทธาจำนวนน้อยนิดเปล่งแสงดุจดาวฤกษ์ในคืนเดือนมืด[4]

2. ฮะดีษต่อไปนี้

عِدَّةٌ مِنْ أَصْحَابِنَا عَنْ سَهْلِ بْنِ زِیَادٍ عَنِ ابْنِ أَبِی نَجْرَانَ عَنْ مُثَنًّى الْحَنَّاطِ عَنْ کَامِلٍ التَّمَّارِ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا جَعْفَرٍ ع یَقُولُ النَّاسُ کُلُّهُمْ بَهَائِمُ ثَلَاثاً إِلَّا قَلِیلًا مِنَ الْمُؤْمِنِینَ وَ الْمُؤْمِنُ غَرِیبٌ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ

อิมามบากิร(.)กล่าวว่าผู้คนส่วนใหญ่เป็นสรรพสัตว์เว้นแต่เพียงบรรดาผู้ศรัทธาท่านกล่าวย้ำถึงสามครั้งว่าผู้ศรัทธามีสถานะไม่ต่างไปจากคนแปลกหน้า[5](ในภาวะเช่นนี้) จากฮะดีษนี้ทำให้ทราบว่ารูปโฉมทางจิตวิญญาณของผู้คนส่วนใหญ่มิได้เป็นมนุษย์ แต่เป็นสัตว์

3. ท่านนบี(..)กล่าวว่าจะเกิดเคาะสัฟและเกาะซัรในประชาชาติของฉัน อันหมายถึงการถูกแผ่นดินสูบและการกระหน่ำลงทัณฑ์จากฟากฟ้า” (คล้ายการทิ้งระเบิดในปัจจุบัน) สหายถามว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ บะลาเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด? ท่านตอบว่าเมื่ออุปกรณ์บันเทิงที่ไร้สาระ และสตรีนักขับร้อง และสุราเมรัยแพร่ระบาด ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ประชาชาติของฉันบางกลุ่มกระทำการฝ่าฝืนในยามราตรี แต่กลายเป็นลิงค่างและสุกรในยามรุ่งอรุณ เนื่องจากพวกเขาอนุมัติในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม จ้างหญิงขับร้อง ดื่มสุราเมรัย กินดอกเบี้ย และสวมใส่ผ้าใหม[6]

ฮะดีษข้างต้นพิสูจน์แล้วว่าการกระทำบางประเภทสามารถแปลงโฉมหน้าทางจิตวิญญาณได้

จนถึงตรงนี้ได้ข้อสรุปจากคำบอกเล่าของโองการและฮะดีษหลายบทว่า เป็นไปได้ที่โฉมหน้าทางจิตวิญญาณของคนเราจะเปลี่ยนไปเนื่องจากการทำบาป

ส่วนเหตุผลที่เราะซูล เติร์กมีรูปลักษณ์ดังกล่าวในความฝัน ก็เนื่องจากว่าเขาเคยเป็นคนติดสุราเรื้อรัง แต่ก็ยังให้เกียรติอิมามฮุเซนด้วยการเลิกดื่มสุราในช่วงเดือนมุฮัรร็อม แน่นอนว่าการดื่มสุราเป็นนิจสินย่อมแปลงรูปโฉมทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งก็เป็นผลจากการกระทำของเขาเอง
ฉะนั้นจึงกล่าวไม่ได้ว่าอิมามฮุเซนเปลี่ยนรูปโฉมของเขา ทว่าตัวเขาเองต่างหากที่เปลี่ยนรูปโฉมตนเอง

ส่วนเหตุผลที่ท่านอิมามเปิดเผยรูปโฉมของเขาในความฝัน ทั้งๆที่มนุษย์ควรมีฐานันดรที่สูงส่งนั้น ต้องเรียนว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะต้องการจะสื่อว่า แม้ความประพฤติเชิงลบของเขา(ดื่มสุรา)จะทำให้มีรูปอัปลักษณ์ทางจิตวิญญาณ แต่อะฮ์ลุลบัยต์ก็มิได้ปฏิเสธความดีอื่นๆที่เขาทำ ทั้งยังได้ปกป้องมิให้มีใครเหยียดหยามเขาอีกด้วย เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงเกียรติยศของอะฮ์ลุลบัยต์อย่างชัดเจน

ประการที่สอง หากไม่แจ้งให้เขาทราบเช่นนี้ เขาอาจยังไม่กลับตัวกลับใจก็เป็นได้

ประการที่สาม อิมามฮุเซนทราบดีว่าเขามีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นอัญมณีอันทรงคุณค่าในอนาคต จึงต้องการจะกระตุ้นให้เขากลับสู่หนทางที่เที่ยงตรง ทั้งนี้ เมื่อคนเราเตาบะฮ์แล้วก็ย่อมไม่ถูกตำหนิไม่ว่ากรณีใด ดังที่ท่านนบี(..)กล่าวว่า
 التائب من الذنب کمن لا ذنب له (ผู้ที่เตาบะฮ์แล้ว เปรียบเสมือนผู้ที่มิได้ทำบาป)[7]

ส่วนที่ถามว่าเหตุใดอิมามจึงให้การอนุเคราะห์เขาในรูปของสุนัขนั้น ต้องเรียนว่าเขามีรูปโฉมทางจิตวิญญาณเป็นสุนัขอยู่ก่อนแล้ว แต่อิมามก็ยังให้การอนุเคราะห์เขา อย่างไรก็ดี สุนัขในที่นี้เป็นสุนัขปกป้องอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งเป็นรูปจำลองของการที่เขางดดื่มสุราและกำชับให้เพื่อนฝูงงดดื่มในช่วงมุฮัรรอม อันถือเป็นการให้เกียรติในระดับของเขาขณะนั้น ซึ่งอิมามก็ได้เผยความดีของเขาให้เป็นที่ประจักษ์ อย่างไรก็ดี เมื่อได้เตาบะฮ์แล้ว แน่นอนว่ารูปโฉมจิตวิญญาณของเขาย่อมเปลี่ยนจากสุนัขเป็นมนุษย์รูปงาม

ขอให้พระองค์ทรงฟื้นคืนชีพพวกเราเคียงข้างเหล่าผู้ถวิลหาอิมามฮุเซนอย่างบริสุทธิใจด้วยเทอญ.



[1] อัตตั้กวี้ร,4

[2] นัคญะวอนี, เนียะมะตุลลอฮ์ บิน มะฮ์มู้ด, อัลฟะวาติฮุ้ลอิลาฮียะฮ์ วั้ลมะฟาติฮุ้ลฆ็อยบียะฮ์, เล่ม 2,หน้า 487, ด้าร ริกาบี, อิยิปต์,1999

[3] อัลอะอ์ร้อฟ, 166

[4] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 27,หน้า 30,สำนักพิมพ์อัลวะฟา,เบรุต1404

[5] อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 242, (หมวดความพร่องจำนวนของมุอ์มิน)

[6] ธรรมเทศนาของบรรดาอิมาม(.)  บิฮารเล่ม ฉบับแปล- หน้า 248 ส่วนที่ยี่สิบสี่ คำแนะนำจากอิมามศอดิก(.),สำนักพิมพ์อิสลามียะฮ์

[7] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 16,หน้า 75,สถาบันอาลุลบัยต์, 1409

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8715 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • ชีวิตและจิตวิญญาณต้องนอนหลับหรือตายด้วยหรือไม่ ?
    6372 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ปัญหาเรื่องจิตวิญญาณและแก่นแท้ของมันเป็นปัญหาที่พิพาทถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคำถามข้างต้นก็ได้ก็เป็นผลพวงและแหล่งที่มาจากคำถามนี้เองที่ว่าแก่นแท้ของมนุษย์ก็คือ กายภาพอันเป็นวัตถุตามลักษณะที่ปรากฏกระนั้นหรือหรือว่าเบื้องหลังของมันยังมีสิ่งอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่อีกซึ่งตาเนื้อธรรมดาไม่อาจมองเห็นได้ซึ่งอยู่นอกเหนือคุณสมบัติของวัตถุและมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงสิ่งนั่นเป็นวัตถุหรือนามธรรมที่ไร้สถานะและชะตากรรมของสิ่งนั้นภายหลังจากการตายของร่างกายจะเป็นอย่างไร?คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้สามารถอธิบายในเชิงของทฤษฎีบท,ในลักษณะที่เป็นเชิงตรรกะเพื่อจะได้ไปถึงยังบทสรุป
  • แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
    7672 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺพร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอานก็จะเกิดขึ้นโดยปริยายและจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน ...
  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    10429 بیشتر بدانیم 2557/02/12
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9160 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9011 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
    7362 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/01
    หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้นมีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกันเพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่จะต้องสอดคล้องกับกุรอานตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้รส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี ...
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    8840 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    6753 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59458 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41722 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38462 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27292 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27188 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...