การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10412
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2557/02/12
คำถามอย่างย่อ
ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
คำถาม
อยากทราบว่า การรับเศาะดาเกาะฮฺจากผู้ให้โดยที่เขาต้องการให้สิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้นกับเขา เช่น ผู้เดินทางต้องการไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการบริจาคโดยเหนียตให้หายจากโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของผู้รับก็จะได้รับสิ่งที่ไม่ดีนั้น ๆ ใช่หรือไม่ ?
คำตอบโดยสังเขป
“เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1]
นิยามของเศาะดะเกาะฮ์
เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2]
บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ
อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน
1.  เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า
خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ لَهُمْ وَ اللَّهُ سَمِیعٌ عَلِیمٌ[3]
เกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ สามารถศึกษาได้จากคำถามหมายเลข 2981 และ 4597
2. เศาะดะเกาะฮ์ภาคอาสา (มุสตะฮับ/สุนัต) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่าเศาะดะเกาะฮ์  และเป็นความหมายที่ผู้ตั้งคำถามต้องการจะสื่อถึง (รายละเอียดเกี่ยวกับผลบุญของเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ และข้อจำแนกจากการกู้ยืม สามารถอ่านได้จากคำถามหมายเลข 13033)
ก่อนที่จะตอบคำถาม เราขอเกริ่นนำเกี่ยวกับผลบุญและอานิสงส์ที่จะได้รับจากการเศาะดะเกาะฮ์โดยสังเขป
ฮะดีษกล่าวถึงประเด็นข้างต้นโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้ :
ส่วนแรก. อานิสงค์ในการดึงดูดความจำเริญและคุณานุประโยชน์ต่างๆมาสู่ผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ อาทิเช่น ทำให้ริซกี (ปัจจัยยังชีพ) โปรยปรายลงมา, ช่วยเพิ่มทรัพย์สินและบะเราะกัต, การได้อยู่ภายใต้กรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า, ช่วยในการเยี่ยวยารักษาผู้ป่วย และช่วยให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ส่วนที่สอง. อานิสงส์ในการขจัดปัดเป่าภัยต่างๆให้พ้นจากผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ เป็นต้นว่า ระงับความกริ้วของพระผู้เป็นเจ้า ขจัดลางร้ายต่างๆ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ระงับอัคคีภัย ป้องกันการจมน้ำ ป้องกันการเสียสติ ป้องกันมรณกรรมในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
ซึ่งสามารถสรุปได้ด้วยสำนวนฮะดีษบทหนึ่งที่ว่า “เศาะดะเกาะฮ์จะขจัดภัยกว่าเจ็ดสิบประการ”[4]
สำนวนของฮะดีษหลายบทที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับส่วนที่สองนี้ มักจะใช้คำต่างๆที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “دفع” (ขจัดปัดเป่า) อาทิเช่นคำว่า یدفع،  تدفع،  ادفعوا  ฯลฯ ฉะนั้น หากต้องการจะตอบคำถามตามหัวข้อที่ตั้งไว้ ก็เห็นควรที่จะต้องไขความหมายของรากศัพท์ดังกล่าวให้ชัดเจนเสียก่อน
دفع (ดัฟอ์) แปลว่า “การสนับสนุนส่งเสริม”[5], “การขจัดด้วยกำลัง”[6] และ “การหักห้าม”[7] ด้วยเหตุนี้เอง ความหมายของการ “ดัฟอ์” ภยันตรายต่างๆด้วยเศาะดะเกาะฮ์ก็คือ “หากบุคคลบริจาคเศาะดะเกาะฮ์ และหากพระองค์ทรงประสงค์ให้บังเกิดผล การบริจาคดังกล่าวสามารถขจัดปัดเป่าภยันตรายต่างๆที่จะถาโถมมาสู่ผู้บริจาค ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพระองค์ทรงประสงค์ที่จะปกป้องผู้บริจาคให้พ้นจากภยันตราย เพื่อเป็นการตอบแทนกรรมดี (การบริจาค) ของเขา”
 ตรรกะดังกล่าวนี้สามารถพบเห็นได้ในฮะดีษที่อบู วัลลาด รายงานจากท่านอิมามศอดิก (อ.)[8]
อนึ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมการลงทัณฑ์และภยันตรายต่างๆ กอปรกับการที่พระองค์ทรงมีสถานะเหนือกว่าทุกปัจจัย ด้วยเหตุนี้ ฮะดีษหลายบทจึงใช้สำนวน “ภยันตรายที่ถาโถมลงมา” คำว่าฟากฟ้าที่ปรากฏในฮะดีษเหล่านี้ย่อมหมายถึงสถานะภาพที่สูงส่ง มิไช่ท้องฟ้าอันหมายถึงจักรวาลหรือระบบสุริยะ
โองการที่สามารถใช้พิสูจน์เนื้อหาข้างต้นได้ก็คือ “สูเจ้าแน่ใจหรือว่าจะปลอดภัยจากการสูบของธรณี หรือกรณีที่(พระองค์)ทรงส่งวาตภัยเหนือสูเจ้า”[9]
อีกโองการหนึ่งระบุว่า “สูเจ้าคิดหรือว่าจะรอดพ้นจากคำสั่งจากพระผู้ทรงสถิต ณ ฟากฟ้า ที่ลิขิตให้ธรณีสูบสูเจ้า โดยที่มันจะสั่นสะเทือนต่อไป”[10]
เมื่อพิจารณาสองโองการข้างต้นประกอบกับโองการต่างๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันนี้ ทำให้ทราบว่า ภยันตราย (บะลา) นั้น เกิดขึ้นทั้งจากฟากฟ้าและแผ่นดินได้ทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้อาณัติของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงมักจะใช้สำนวนที่ว่า “การลงบะลา” (ภยันตราย)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “ดัฟอ์” ทั้งความหมายในพจนานุกรมและความหมายที่แพร่หลาย ก็จะทำให้ได้ข้อสรุปว่า จริงๆแล้วการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์มีผลระงับภยันตรายต่างๆมิให้ถูกลิขิตลงมาตั้งแต่แรก ฉะนั้นจึงไม่เหลือภยันตรายใดๆที่จะถูกโอนถ่ายไปสู่ผู้รับเศาะดะเกาะฮ์อีกต่อไป และนี่ก็คือความหมายของการระงับภยันตรายโดยการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์นั่นเอง
และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า คำว่าดัฟอ์หมายถึงการที่พระองค์ทรงปกปักษ์รักษาผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ให้พ้นจากภยันตราย มิไช่การโยกย้ายถ่ายโอนภยันตรายจากผู้บริจาคไปสู่ผู้อื่น
จึงไม่มีเหตุผลที่จะเข้าใจว่าภยันตรายต่างๆจะโอนถ่ายไปสู่ผู้รับบริจาคอีกต่อไป.
 

[1] ริฏอ มะฮ์ยอร,พจนานุกรมอรับ ฟารซี,หน้า 551, คำว่า “صدق
[2] ฮะซัน มุศเฏาะฟะวี, อัตตะห์กีก ฟี กะลิมาติลกุรอานิลกะรีม, เล่ม 6,หน้า 217, เล่ม 12,หน้า 59, โบนเฆาะเฮ ทัรโญเมะฮ์ วะ นัชเร เคทอบ, เตหราน, อิหร่านศักราช 1360.
[3] “จงรับเศาะดะเกาะฮ์ (ในรูปซะกาต) จากทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อเป็นการชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์สะอาด และ (ขณะรับซะกาต) จงขอพรแด่พวกเขา แน่แท้ การขอพรของเจ้าจะนำมาซึ่งความสงบแก่พวกเขา และพระองค์ทรงได้ยินและทรงรอบรู้” อัตเตาบะฮ์, 103.
[4] กุลัยนี, มุฮัมมัด ยะอ์กูบ บิน อิสฮ้าก, อัลกาฟี, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย อลีอักบัร ฆอฟฟารี และมุฮัมมัด ออคูนดี, เล่ม 4 หน้า 3-10, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหราน, พิมพ์ครั้งที่สี่, ฮศ1407
[5] รอฆิบ อิศฟะฮานี, ฮุเซน บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟเราะดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย ศ็อฟวาน อัดนาน ดาวูดี, หน้า 316, ดารุลอิลม์ อัดดารุช ชามียะฮ์, ดามัสกัส, เบรุต, พิมพ์ครั้งแรก, ฮศ.1412
[6] อิบนิ มันซูร, มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม, ลิซานุลอรับ, เล่ม 8, หน้า 87, ดาร ศอดิร, เบรุต, ฮศ.1414
[7] เคาะลีล บิน อะห์มัด ฟะรอฮีดี, กิตาบุลอัยน์, เล่ม 2, หน้า 45, สำนักพิมพ์ฮิจรัต, กุม, พิมพ์ครั้งที่สอง, ฮศ.1410
[8] อัลกาฟี, เล่ม 4,หน้า 5
[9] فَأَمِنْتُمْ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمْ جانِبَ الْبَرِّ أَوْ یُرْسِلَ عَلَیْکُمْ حاصِباً...  ซูเราะฮ์อัลอิสรอ, 68
[10] أَ أَمِنْتُمْ مَنْ فِی السَّماءِ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمُ الْأَرْضَ فَإِذا هِیَ تَمُورُ  ซูเราะฮ์อัลมุลก์, 16
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8423 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงบิดเบือน
    6883 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    สำหรับความกระจ่างในประเด็นดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้1. ถ้าหากวัตถุประสงค์ของท่านจากคำว่าชีอะฮฺหมายถึงความประพฤติที่ผิดพลาดซึ่งชีอะฮฺบางคนได้กระทำลงไปแล้วนำเอาความประพฤติเหล่านั้นพาดพิงไปยังนิกายชีอะฮฺถือว่าไม่มีความยุติธรรมสำหรับชีอะฮฺเอาเสียเลยเนื่องจากอิสลามโดยตัวตนแล้วไม่มีข้อบกพร่องอันใดทั้งสิ้นทุกข้อบกพร่องนั้นมาจากมุสลิมของเรา2. ...
  • ชีวิตและจิตวิญญาณต้องนอนหลับหรือตายด้วยหรือไม่ ?
    6363 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ปัญหาเรื่องจิตวิญญาณและแก่นแท้ของมันเป็นปัญหาที่พิพาทถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคำถามข้างต้นก็ได้ก็เป็นผลพวงและแหล่งที่มาจากคำถามนี้เองที่ว่าแก่นแท้ของมนุษย์ก็คือ กายภาพอันเป็นวัตถุตามลักษณะที่ปรากฏกระนั้นหรือหรือว่าเบื้องหลังของมันยังมีสิ่งอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่อีกซึ่งตาเนื้อธรรมดาไม่อาจมองเห็นได้ซึ่งอยู่นอกเหนือคุณสมบัติของวัตถุและมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงสิ่งนั่นเป็นวัตถุหรือนามธรรมที่ไร้สถานะและชะตากรรมของสิ่งนั้นภายหลังจากการตายของร่างกายจะเป็นอย่างไร?คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้สามารถอธิบายในเชิงของทฤษฎีบท,ในลักษณะที่เป็นเชิงตรรกะเพื่อจะได้ไปถึงยังบทสรุป
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16963 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7736 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7138 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
  • สามารถอธิบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชน ระหว่างแพทย์กับคนไข้ตามบทบัญญัติของอิสลามได้หรือไม่?
    6080 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    ด้านหนึ่ง บทบัญญัติของพระเจ้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้, ก) บทบัญญัติอิมฎออีย์, ข) บทบัญญัติตะอฺซีซียฺ อะฮฺกามอิมฎออียฺ หมายถึง บทบัญญัติซึ่งมีมาก่อนอิสลาม, แต่อิสลามได้ปรับปรุงและรับรองกฎนั้น เช่น การค้าขายประเภทต่างๆ มากมาย, อะฮฺกามตะอฺซีซียฺ หมายถึง บทบัญญัติที่ไม่เคยมีมาก่อน ทว่าอิสลามได้กำหนดกฎเกณฑ์เหล่านั้นขึ้นมา เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺทั้งหลาย สิทธิซึ่งกันและกัน ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมิได้มีเฉพาะแต่ในอิสลามเท่านั้น, ทว่าระหว่างศาสนาต่างๆ ของพระเจ้า, หรือแม้แต่ศาสนาที่มิได้นับถือพระเจ้าก็กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เช่นเดียวกัน ด้วยทัศนะที่ว่า มนุษย์มีภาคประชาสังคม และการตามโดยธรรมชาติ, ดังนั้น เพื่อรักษาระเบียบของสังคม จำเป็นต้องวางกฎเกณฑ์ และกำหนดสิทธิขึ้นสำหรับประชาคมทั้งหลาย ซึ่งพลเมืองทั้งหมดต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและต้องรักษากฎระเบียบเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า สิทธิของบุคคล เกี่ยวกับสิทธิซึ่งกันและกัน ...
  • เด็กผู้ชายที่มีอายุ 12 ปีสามารถเข้าร่วมในการนมาซญะมาอัตแถวเดียวกับผู้ชายคนอื่นๆได้หรือไม่?
    5976 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/08
    การที่ลูกหลานและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมมัสยิดและร่วมนมาซญะมาอัตจะทำให้พวกเขาผูกพันกับการนมาซ ซึ่งไม่เพียงแต่ไม่เป็นที่ต้องห้าม ทว่าถือเป็นมุสตะฮับอย่างยิ่ง[1] แต่ประเด็นที่ว่า การที่เด็กที่ยังไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้และยังไม่บรรลุนิติภาวะจะเข้าร่วมในนมาซญะมาอัต และจะทำให้การนมาซของผู้อื่นมีปัญหาหรือไม่นั้น มีสองประเด็นดังต่อไปนี้ ผู้นมาซคนอื่นๆสามารถที่จะเชื่อมต่อกับอิมามญะมาอัตได้โดยวิธีอื่น ในกรณีนี้การนมาซญะมาอัตของผู้อื่นถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด[2] การที่ผู้อื่นจะต้องเชื่อมต่อกับอิมามญะมาอัตโดยผ่านผู้ที่ยังไม่บรรลุนิตะภาวะเท่านั้น (เช่นมีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยื่นอยู่ที่แถวหน้าหลายคน ในกรณีนี้คำวินิจฉัยของอุลามามีดังนี้ “หากในระหว่างแถวที่มีการนมาซญะมาอัตมีเด็กที่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ยืนอยู่ หากเรามิได้แน่ใจว่านมาซของเขาไม่ถูกต้อง ก็สามารถยืนแถวต่อจากเขาได้”[3] อนึ่ง กฏดังกล่าวมีไว้สำหรับกรณีที่มีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยืนอยู่หลายๆคนในแถวเดียวกัน แต่ถ้าหากเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยืนอยู่ในแถวนมาซญะมาอัตหลายคน ทว่าไม่ได้ยืนอยู่ติดๆกัน โดยยืนในลักษณะกั้นกลางผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสองคน (ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่านมาซของพวกเขาไม่ถูกต้องก็ตาม) ก็ไม่ทำให้นมาซของผู้อื่นมีปัญหาแต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “การจัดแถวในการนมาซญะมาอัตและฮุกุมของการเคลื่อนไหวในการนมาซ”, ...
  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5300 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    5983 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59438 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56880 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41701 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38461 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38451 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33484 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27563 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27277 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27178 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25252 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...