การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11599
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa898 รหัสสำเนา 14814
หมวดหมู่ ปรัชญาอิสลาม
คำถามอย่างย่อ
อะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงบุคคลกลุ่มใด?
คำถาม
อะฮ์ลุลบัยต์คือใคร?
คำตอบโดยสังเขป

คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอาน ฮะดีษ และวิชาเทววิทยาอิสลาม อันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(..) ความหมายนี้มีอยู่ในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์ 33 ซูเราะฮ์ อะห์ซาบ).
นักอรรถาธิบายกุรอานฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมด และฝ่ายซุนหนี่บางส่วนแสดงทัศนะฟันธงว่า โองการดังกล่าวประทานมาเพื่อกรณีของชาวผ้าคลุม อันหมายถึงตัวท่านนบี ท่านอิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน. อะฮ์ลุลบัยต์ในที่นี้จึงหมายถึงบุคคลเหล่านี้ (อ้างจากฮะดีษที่รายงานจากอิมามอลี อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน อิมามซัยนุลอาบิดีน และอิมามท่านอื่นๆ รวมทั้งที่รายงานจากอุมมุสะลามะฮ์ อาอิชะฮ์ อบูสะอี้ดคุดรี อิบนุอับบาส ฯลฯ)
นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ระบุว่า อะฮ์ลุลบัยต์หมายรวมถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดี(.)ด้วยเช่นกัน.

คำตอบเชิงรายละเอียด

อะฮ์ลุลบัยต์เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอาน ฮะดีษ และวิชาเทววิทยาอิสลามอันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(..) ความหมายนี้ปรากฏในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์ 33 ซูเราะฮ์ อะห์ซาบ) “انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت و یطهرکم تطهیرا” (แท้จริง อัลลอฮ์ต้องการเพียงขจัดมลทินจากสูเจ้า(โอ้)อะฮ์ลุลบัยต์ และชำระสูเจ้าให้สะอาด)
รากศัพท์คำว่าอะฮ์ลุนหมายถึงความคุ้นเคยและใกล้ชิด[1] ส่วนคำว่าบัยตุนแปลว่าสถานที่พำนักและค้างแรม[2]. อะฮ์ลุลบัยต์ตามความหมายทั่วไปแปลว่าเครือญาติใกล้ชิด[3] แต่ก็อาจกินความหมายรวมไปถึงทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในแง่สายเลือด ศาสนา ที่อยู่ มาตุภูมิ ฯลฯ ได้เช่นกัน[4]

แต่ในมุมวิชาการแล้ว ทั้งนักเทววิทยาอิสลาม นักรายงานฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอาน ต่างใช้คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์เพื่อสื่อความหมายเฉพาะทาง เนื่องจากทราบดีว่ามีฮะดีษมากมายจากท่านนบี(..)และบรรดาอิมามที่ขยายความคำนี้ ทำให้ทราบว่ามีความหมายอันจำกัด

ส่วนคำดังกล่าวควรจะจำกัดความหมายเฉพาะบุคคลกลุ่มใดนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ
1. นักตัฟซีร(อรรถาธิบายกุรอาน)ฝ่ายซุนหนี่บางท่านเชื่อว่า อายะฮ์นี้กล่าวถึงภรรยานบีเท่านั้น เนื่องจากประโยคแวดล้อมล้วนกล่าวถึงภรรยานบีทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่สนับสนุนความหมายนี้ซึ่งรายงานจากอิบนิอับบาส โดยมีอิกริมะฮ์ มุกอติล และอิบนิ ญุบัยร์เป็นผู้รายงาน เรื่องมีอยู่ว่า อิกริมะฮ์ป่าวร้องทั่วทั้งตลาดว่าอะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงภรรยานบีเท่านั้น ใครคัดค้านขอให้มาสาบานสาปแช่งกับฉัน[5]

แต่ยังมีนักตัฟซีรฝ่ายซุนหนี่บางส่วน และฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมดโต้แย้งทัศนะดังกล่าวว่า หากอะฮ์ลุลบัยต์ที่กล่าวในโองการนี้จำกัดเฉพาะภรรยานบีจริง สรรพนามในโองการนี้ก็ควรที่จะคงรูปเป็นพหูพจน์เพศหญิงต่อไป และควรเป็นعنکن و یطهرکنมิไช่عنکم و یطهرکمซึ่งอยู่ในรูปพหูพจน์เพศชายดังที่อายะฮ์กล่าวไว้.
ส่วนฮะดีษที่อ้างมาเพื่อสนับสนุนก็ยังมีข้อเคลือบแคลงอยู่ อบูฮัยยาน ฆ็อรนาฏี(ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่)ยังตั้งข้อสงสัยถึงการเชื่อมโยงถึงอิบนิ อับบาส. อิบนิกะษี้รกล่าวว่า หากฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อเพียงว่า ภรรยานบีเป็นสาเหตุของการประทานโองการดังกล่าว เราก็ถือว่าถูกต้อง แต่หากจะอ้างว่าฮะดีษนี้เจาะจงว่า กลุ่มภรรยานบีเท่านั้นที่เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ เราถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีฮะดีษมากมายหักล้างความคิดเช่นนี้.[6]
อย่างไรก็ดี คำพูดของอิบนิกะษี้รที่ว่าภรรยานบีคือสาเหตุของการประทานโองการนี้ก็ยังไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากคำพูดนี้ขัดต่อเบาะแสแวดล้อมของโองการดังกล่าว และยังขัดต่อฮะดีษอีกหลายบทที่ตนเองให้การยอมรับ.

2. นักตัฟซีรซุนหนี่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า อะฮ์ลุลบัยต์ในอายะฮ์นี้ หมายถึงภรรยานบี(..) รวมทั้งท่านอิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยน์(.)[7] ทว่าผู้นำเสนอทัศนะนี้มิได้เสนอฮะดีษใดๆเพื่อสนับสนุน.

3. นักตัฟซีรบางท่านเชื่อว่า สำนวนในโองการดังกล่าวเป็นสำนวนเชิงกว้าง ซึ่งหมายรวมถึงสมาชิกครอบครัวท่านนบี(..)ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภรรยาหรือบุตรหลาน หรือแม้กระทั่งทาสและทาสีที่เคยรับใช้ท่าน ษะอ์ละบีอ้างว่า คำดังกล่าวครอบคลุมถึงบนีฮาชิมทุกคนหรือไม่ก็เฉพาะผู้ศรัทธาที่เป็นบนีฮาชิม[8] ทัศนะนี้ก็มิได้อ้างอิงหลักฐานใดๆเช่นกัน.

4. นักตัฟซีรอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า อะฮ์ลุลบัยต์อาจจะหมายถึงบุคคลที่ไม่อนุญาตให้รับเศาะดะเกาะฮ์ ทัศนะนี้อ้างอิงฮะดีษจาก เซด บินอัรก็อมที่มีผู้ถามเขาว่า อะฮ์ลุลบัยต์นบี(..)มีใครบ้าง? หมายรวมถึงภรรยานบีหรือไม่? เซดตอบว่า แม้ว่าโดยปกติ ภรรยาจะนับเป็นอะฮ์ลุลบัยต์(ผู้ใกล้ชิด) แต่อะฮ์ลุลบัยต์นบีนั้น หมายถึงบุคคลที่ไม่อนุญาตให้รับเศาะดะเกาะฮ์ อันหมายถึงลูกหลานอลี(.) ลูกหลานอะกี้ล ลูกหลานญะฟัร และลูกหลานอับบาส[9]อย่างไรก็ดี ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่อย่างอบุลฟุตู้ห์ รอซี เชื่อว่าทัศนะดังกล่าวไม่แข็งแรงพอ.

5. นักตัฟซีรฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมด และฝ่ายซุนหนี่ไม่น้อยเชื่อว่าโองการนี้ประทานในกรณีของท่านนบี อิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน และถือว่าคำว่าอะฮ์ลุลบัยต์มีความหมายเจาะจงบุคคลเหล่านี้เท่านั้น ทั้งนี้โดยอ้างอิงพยานหลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะฮะดีษมากมายที่รายงานจากท่านนบี อิมามอลี อิมามฮะซันและอิมาฮุเซน อิมามซัยนุลอาบิดีน และอิมามท่านอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีอุมมุสะลามะฮ์ อาอิชะฮ์ อบูสะอี้ดคุ้ดรี อิบนิอับบาส และศ่อฮาบะฮ์ท่านอื่นๆรายงานด้วยเช่นกัน

หากเชื่อตามนี้ สิ่งที่ยังเป็นที่สงสัยก็คือ เป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮ์จะกล่าวเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับภรรยานบี ท่ามกลางประโยคที่กำลังตักเตือนภรรยานบีอยู่? สามารถตอบได้ดังนี้
1. เชคฏอบัรซีตอบว่า นี่ไม่ไช่กรณีเดียวที่พบว่าโองการต่างๆที่แม้จะเรียงต่อกันแต่กลับกล่าวคนละประเด็น มีกรณีเช่นนี้มากมายในกุรอาน นอกจากนี้ยังพบได้ในกาพย์โคลงกลอนของนักกวีอรับมากมาย[10]
2. อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี ตอบเสริมไว้ว่า ไม่มีหลักฐานใดพิสูจน์ว่าโองการ
 انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت و یطهرکم تطهیراًนั้น ประทานมาในคราวเดียวกันกับโองการข้างเคียง ตรงกันข้าม มีฮะดีษยืนยันว่าโองการนี้ประทานลงมาโดยเอกเทศ แต่ในภายหลังได้รับการจัดให้อยู่ในแวดล้อมของโองการเกี่ยวกับภรรยานบีโดยคำสั่งนบีเอง หรือโดยทัศนะผู้รวบรวมกุรอานภายหลังนบี[11]
3. ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์นำเสนอคำตอบที่สามไว้ว่า เหตุที่โองการดังกล่าวอยู่ในแวดล้อมของโองการภรรยานบีก็เพราะ อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะกำชับให้กลุ่มภรรยานบีคำนึงเสมอว่า พวกนางอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกบางส่วนเป็นผู้ปราศจากบาป ฉะนั้น ควรจะต้องระมัดระวังอากัปกิริยาให้มากกว่าผู้อื่น เพราะเมื่อมีสถานะเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ปราศจากบาปแล้ว อัลลอฮ์และเหล่าผู้ศรัทธาย่อมจับตาพวกนางเป็นพิเศษ อันส่งผลให้มีภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้น[12]

ส่วนฮะดีษที่กล่าวถึงสาเหตุของการประทานโองการดังกล่าวนั้นมีมากมาย จำแนกตามเนื้อหาได้ดังนี้
1. กลุ่มฮะดีษที่ระบุชัดเจนว่า บุคคลทั้งห้าที่ได้เอ่ยนามมาแล้วคืออะฮ์ลุลบัยต์และเป็นบุคคลที่โองการกล่าวถึง[13]
2. 
กลุ่มฮะดีษที่มีเนื้อหาสนับสนุนฮะดีษกิซาอ์ เช่นฮะดีษที่รายงานโดยอบูสะอี้ดคุดรี อนัสบินมาลิก อิบนิอับบาส อบุลฮัมรออ์ อบูบัรซะฮ์
ที่กล่าวว่า ท่านนบีกล่าวคำว่าالسلام علیکم اهل البیت و رحمة الله و برکاته، الصلاة یرحمکم اللهและอัญเชิญโองการตัฏฮี้รหน้าบ้านท่านอิมามอลี(.)ก่อนนมาซซุบฮิ(บางรายงานกล่าวว่าทุกเวลานมาซ)เป็นประจำตลอดระยะเวลาสี่สิบวัน หรือหกเดือน หรือเก้าเดือน(ตามสำนวนรายงาน)[14]
หนังสือชะเราะฮ์อิห์กอกุ้ลฮักก์[15] ได้รวบรวมแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องนี้กว่าแปดสิบแห่ง แน่นอนว่าแหล่งอ้างอิงฝ่ายชีอะฮ์ย่อมมีมากกว่านี้[16]
ฉะนั้น จากฮะดีษที่ยกมาทั้งหมด ทำให้มั่นใจได้ว่าอะฮ์ลุลบัยต์ที่กล่าวถึงในโองการ 33 ซูเราะฮ์อะห์ซาบ หมายถึงท่านนบี(..) อิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.)

นอกจากนี้ คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์ยังหมายรวมถึงอิมามท่านอื่นๆ นับจากอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดีด้วยเช่นกัน
อบูสะอี้ดคุดรีรายงานฮะดีษท่านนบีว่า ฉันขอฝากฝังสองสิ่งสำคัญไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดังสายเชือกที่ขึงจากฟากฟ้าสู่ผืนดิน และอีกประการคืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกันตราบวันกิยามะฮ์[17]
อบูซัร ฆิฟารี รายงานฮะดีษท่านนบีว่าอุปมาอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันเปรียบดังสำเภาแห่งนู้ห์ ใครที่โดยสารจะปลอดภัย และใครเมินเฉยจะจมน้ำ[18]
อิมามอลี(.)รายงานฮะดีษท่านนบีว่าฉันขอฝากฝังสองสิ่งสำคัญไว้กับพวกท่าน คัมภีร์ของอัลลอฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่แยกกันจวบจนกิยามะฮ์(ประดุจสองนิ้วจรดกัน)” ญาบิรเอ่ยถามว่าใครเล่าคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน?” ท่านนบีตอบว่าอลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน ฮุซัยน์ และบรรดาอิมามจากลูกหลานของฮุซัยน์จวบจนวันกิยามะฮ์[19]
อิมามอลี(.)เล่าว่า ฉันอยู่ในบ้านของอุมมุสะลามะฮ์กับท่านนบี(..)กระทั่งโองการانما یرید اللّه لیذهب عنکم الرجس اهل البیت ประทานลงมา ท่านนบีกล่าวกับฉันว่าโองการนี้กล่าวถึงเธอและลูกๆของเธอ ฮะซันและฮุซัยน์ ตลอดจนบรรดาอิมามลูกหลานของเธอที่จะถือกำเนิดฉันเอ่ยถามว่า โอ้เราะซูลุลลอฮ์ ภายหลังจากท่านจะมีอิมามกี่คนหรือ? ท่านตอบว่าฮะซันจะเป็นอิมามต่อจากเธอ จากนั้นฮุซัยน์ จากนั้นอลีบุตรของฮุซัยน์ จากนั้นมุฮัมมัดบุตรอลี จากนั้นญะฟัรบุตรมุฮัมมัด จากนั้นมูซาบุตรญะฟัร จากนั้นอลีบุตรมูซา จากนั้นมุฮัมมัดบุตรอลี จากนั้นอลีบุตรมุฮัมมัด จากนั้นฮะซันบุตรอลี จากนั้น ผู้เป็นบทพิสูจน์(อัลฮุจญะฮ์)บุตรฮะซัน นามเหล่านี้จารึกไว้  เบื้องอะร็อชของอัลลอฮ์ และฉันเคยทูลถามพระองค์ว่านามเหล่านี้เป็นใคร? พระองค์ทรงตอบว่า เหล่านี้คือบรรดาอิมามภายหลังจากเจ้า พวกเขาบริสุทธิและศัตรูของพวกเขาล้วนถูกสาปแช่ง[20]
นอกจากนี้ยังมีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าอิมามสิบสองท่านของชีอะฮ์ก็คืออะฮ์ลุลบัยต์นั่นเอง โดยที่อิมามศอดิก(.)และอิมามท่านอื่นๆก็ระบุชัดเจนว่าตนเองเป็นสมาชิกอะฮ์ลุลบัยต์เช่นกัน[21]

กล่าวได้ว่า เหตุผลที่กุรอานเน้นย้ำถึงสถานภาพอันสูงส่งของอะฮ์ลุลบัยต์นั้น ก็เพื่อให้ผู้ศรัทธาก้าวตามแนวทางของพวกเขา เพื่อให้บรรลุทางนำแห่งจิตวิญญาณ(เพราะจุดประสงค์หลักของกุรอานคือการนำทางมนุษย์الم ذلک الکتاب لاریب فیه هدی للمتقین[22])  จากการที่บรรดาอิมามชีอะฮ์ถือเป็นผู้นำทางสำหรับประชาชาติอิสลาม จึงทำให้พวกเขาได้รับการรวมไว้ในสถานภาพแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อท่านนบี(..)ในฐานะที่ผู้อธิบายกุรอาน ต้องการจะกล่าวถึงตำแหน่งผู้นำภายหลังจากท่านเมื่อใด ท่านจะใช้คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์เสมอ.


เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม เชิญอ่าน
อะฮ์ลุลบัยต์นบี(..), คำถามที่833,1249
บทบาทและเป้าหมายของอะฮ์ลุลบัยต์(.), คำถามที่900.



[1] ฟะยูมี,มิศบาฮุ้ลมุนี้ร,หน้า 28.

[2] อ้างแล้ว,หน้า 68.

[3] อ้างแล้ว.

[4] รอฆิบ อิศฟะฮานี,มุฟร่อด้าต อัลฟาซุลกุรอาน,หน้า 29.

[5] ฏอบะรี,ญามิอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซี้ริลกุรอาน,เล่ม 22,หน้า 7.

[6] อิบนุกะษี้ร,ตัฟซีริลกุรอานิลอะซีม,เล่ม 5,หน้า 452-453.

[7] ฟัครุรอซี,ตัฟซี้ร กะบี้ร,เล่ม 25,หน้า 209 และ บัยฎอวี,อันว้ารุตตันซี้ล วะอัสร้อรุตตะอ์วีล,เล่ม 4,หน้า 163. และ อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 232.

[8] กุรฏุบี,อัลญามิอุ้ลอะห์กามิลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 183. และ อาลูซี,รูฮุลมะอานี,เล่ม 22,หน้า 14.

[9] อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 231-232.

[10] ฏอบัรซี,มัจมะอุ้ลบะยาน,เล่ม 7,หน้า 560.

[11] อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี,อัลมีซาน,เล่ม 16,หน้า 312. และ ฟัครุรอซี,ตัฟซี้ร กะบี้ร,เล่ม 25,หน้า 209. และ บัยฎอวี,อันว้ารุตตันซี้ล วะอัสร้อรุตตะอ์วีล,เล่ม 4,หน้า 163. และ อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 232. และ กุรฏุบี,อัลญามิอุ้ลอะห์กามิลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 183. และ อาลูซี,รูฮุลมะอานี,เล่ม 22,หน้า 14. และ ฏอบัรซี,มัจมะอุ้ลบะยาน,เล่ม 7,หน้า 560. และ อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 231-232.

[12] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์,เล่ม17 ,หน้า 295.

[13] บุคอรี,อัตตารี้ค,เล่ม 2,หน้า 69-70. และ ติรมิซี,สุนัน,เล่ม 5,หน้า 663. และ ฏอบะรี,ญามิอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซี้ริลกุรอาน,เล่ม 22,หน้า 6-7. และ กุรฏุบี,อัลญามิอุ้ลอะห์กามิลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 183. และ อัลฮากิม,อัลมุสตัดร้อก,เล่ม 2,หน้า 416:3146.

[14] ฏอบะรี,ญามิอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซี้ริลกุรอาน,เล่ม 22,หน้า 5-6. และ บุคอรี,อัลกุนา,หน้า 25-26. และ อะห์มัดบินฮัมบัล,อัลมุสนัด,เล่ม 3,หน้า 259. และ ฮัสกานี,ชะวาฮิดุตตันซี้ล,เล่ม2,หน้า 11-15. และ สุยูฏี,ดุรรุลมันษู้ร,เล่ม 6,หน้า 606-607.

[15] มัรอะชี,ชะเราะฮ์ อิห์กอกุ้ลฮักก์,เล่ม 2,หน้า 502,647, และ เล่ม 9,หน้า2,91.

[16] ส่วนหนึ่งของข้อเขียนนี้ได้ข้อมูลจากหนังสือแนะนำอะฮ์ลุลบัยต์ เขียนโดยอลี อะลอโมโรดัชที,หน้า 301-308.

[17] ติรมิซี,สุนัน,เล่ม 5,หน้า 663. บทว่าด้วยความประเสริฐของอะฮ์ลุลบัยต์นบี ฮะดีษที่ 3788.

[18] อัลฮากิม,อัลมุสตัดร้อก,เล่ม 3,หน้า 150. และ ซะฮะบี,มีซานุ้ลอิอ์ติด้าล,เล่ม 1,หน้า 224.

[19] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 23,หน้า 147.

[20] อ้างแล้ว.เล่ม 36,หน้า 336 ฮะดีษที่ 199.

[21] อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 349,ฮะดีษที่ 6.

[22] ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์1,2.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6229 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6520 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5526 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
    6871 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ในซิยารัตอาชูรอมีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วยในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัตเพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่าบนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขาอันหมายถึงผู้กระทำผิดผู้วางเฉยผู้ปีติยินดี ... ฯลฯต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(อ.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวกหากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยากเนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก ฉะนั้นในทางวิชาอุศู้ลแล้วเราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้นเป็นการยกเว้นประเภท “ตะค็อศศุศ” มิไช่ “ตัคศี้ศ” หมายความว่าคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้วจึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ...
  • เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
    9587 تاريخ کلام 2554/12/21
    ในช่วงระยะเวลาการปกครองอันสั้นของยะซีดเขาได้ก่ออาชญากรรมอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการกล่าวคือประการแรกเขาได้สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), สองเขาได้ก่อกรรมชั่วอิสระ
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    6844 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8191 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรู้จักบุคคลสำคัญในสวรรค์และนรก?
    6295 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    มีหลายโองการในกุรอานที่กล่าวถึงบทสนทนาระหว่างชาวสวรรค์และชาวนรก ซึ่งทำให้พอจะทราบคร่าวๆได้ว่าชาวสวรรค์สามารถที่จะรับรู้สภาพและชะตากรรมของบุคคลต่างๆในนรกได้ นอกจากนี้ เหล่าบุรุษชาวอะอ์ร้อฟรู้จักสีหน้าของชาวสวรรค์และชาวนรกเป็นอย่างดี มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าเหล่าบุรุษแห่งอะอ์ร้อฟนั้น ตามนัยยะเชิงแคบก็คือบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ.) ส่วนนัยยะเชิงกว้างก็หมายถึงบรรดามนุษย์ที่ได้รับการเลือกสรร ซึ่งจะอยู่ในลำดับถัดจากบรรดาอิมาม โดยบุคคลเหล่านี้อยู่เหนือชาวสวรรค์และชาวนรกทั้งมวล เราขอนำเสนอความหมายของโองการเหล่านี้ดังต่อไปนี้ 1. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ อัศศ้อฟฟ้าต “ในสรวงสวรรค์ ผู้คนต่างหันหน้าเข้าหากันแล้วถามไถ่กันและกัน โดยหนึ่งในนั้นเอ่ยขึ้นว่า แท้จริงฉันมีสหายคนหนึ่งที่ถามฉันว่า เธอเชื่อได้อย่างไรที่ว่าหลังจากที่เราตายและกลายเป็นธุลีดินแล้ว จะถูกนำไปพิพากษา (ชาวสวรรค์กล่าวว่า) ท่านรับรู้สภาพปัจจุบันของเขาหรือไม่? เมื่อนั้นก็ได้ทราบว่าเขาอยู่ ณ ใจกลางไฟนรก (ชาวสวรรค์)กล่าวแก่เขาว่า ขอสาบานต่อพระองค์ เจ้าเกือบจะทำให้ฉันหลงทางแล้ว หากปราศจากซึ่งพระเมตตาของพระองค์ ฉันคงจะอยู่(ในไฟนรก)เช่นกัน”[1] 2. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ มุดดัษษิร “ทุกคนย่อมค้ำประกันความประพฤติของตนเอง นอกจากสหายแห่งทิศขวาซึ่งจะถามไถ่กันในสรวงสวรรค์ ...
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20836 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5480 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59456 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56914 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41721 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38475 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27571 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27291 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27188 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25264 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...