การค้นหาขั้นสูง

ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น มีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไป อย่างไรก็ดี เนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว บารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอน


อนึ่ง เมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่า ฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไป มิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี

คำตอบเชิงรายละเอียด:

บรรดานบีและเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ (ซึ่งท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลประเภทนี้) ล้วนมีความโดดเด่นเป็นพิเศษเหนือชาวสวรรค์ท่านอื่นๆ ทำให้บุคคลเหล่านี้ล้วนมีฐานะภาพเหนือชาวสวรรค์ทั่วไป อย่างไรก็ดี บางครั้งคุณลักษณะบางประการของบุคคลเหล่านี้ทำให้บารมีดังกล่าวโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ

หากเราจะขนานนามท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ว่า "ประมุขหญิงแห่งอิสตรีชาวสวรรค์" หรือหากเราจะขนานนามอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)ว่า "ประมุขแห่งผู้ศิโรราบ"หรือ "ประมุขแห่งผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์" นั่นมิได้หมายความว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ไม่มีบารมีเหนือบุรุษเพศ หรือท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)ไม่มีภาวะผู้นำเหนือผู้ที่ปล่อยปละละเลยอิบาดะฮ์ แต่ที่ขนานนามเช่นนั้นก็เพราะคุณสมบัติความเป็นสตรีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.) ตลอดจนการที่อิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)มีสมาธิขั้นสูงในการทำอิบาดะฮ์ ทำให้ทั้งสองท่านเหมาะสมที่จะได้รับฉายานามดังที่กล่าวมา

เมื่อทราบดังนี้ จึงไม่ควรจะคิดว่าท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.) มีสถานภาพเหนือกว่าท่านนบี(ซ.ล.) อิมามอลี(อ.) และนักบำเพ็ญอิบาดะฮ์ขั้นสูงท่านอื่นๆ เพียงเพราะได้รับฉายานามว่าเป็นประมุขแห่งเหล่านักบำเพ็ญอิบาดะฮ์

ในกรณีของท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีสถานภาพเหนือกว่าหนุ่มสาวในสรวงสวรรค์ก็ชี้แจงได้ด้วยตรรกะเดียวกันนี้  เนื่องจากท่านทั้งสองถือกำเนิดในยุคแรกของอิสลาม วัยหนุ่มของทั้งสองท่านตรงกับยุคที่อิสลามเริ่มทอแสง และไม่ว่าจะในยุคของท่านนบี(ซ.ล.)หรือยุคต่อมาก็ตาม ไม่อาจจะหาวัยรุ่นคนใดมาเทียบเคียงท่านทั้งสองได้ ท่านทั้งสองมีความยำเกรงเหนือเด็กหนุ่มทุกคน ณ เวลานั้น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายานามว่าประมุขแห่งเด็กหนุ่มในสรวงสวรรค์  เพราะโดยปกติ ท่านก็เป็นทั้งประมุขของเด็กหนุ่มในสรวงสวรรค์ และเป็นประมุขของผู้มีอายุท่านอื่นๆในโลกดุนยาอยู่แล้ว

ขอให้ลองพิจารณาฮะดีษสองบทต่อไปนี้

  1. . قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ ع زُورُوا قَبْرَ الْحُسَيْنِ ع وَ لَا تَجْفُوهُ فَإِنَّهُ سَيِّدُ شَبَابِ أَهْلِ الْجَنَّةِ مِنَ الْخَلْقِ وَ سَيِّدُ شَبَابِ الشُّهَدَاء

อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "พวกท่านจงไปเยี่ยมเยียนสุสานของอิมามฮุเซน(อ.)เถิด และระวังอย่าละเมิดสิทธิของท่าน เพราะท่านคือประมุขของหนุ่มสาวชาวสวรรค์ และเป็นประมุขของชายหนุ่มที่เป็นชะฮีด"[1]
หากพิจารณาฮะดีษดังกล่าวให้ดีจะพบว่า นอกจากท่านอิมามฮุเซนจะได้รับการขนานนามว่า ซัยยิดุชชุฮะดาอ์ (ประมุขของเหล่าชะฮีด) และแม้ว่าท่านจะเสียชีวิตขณะอยู่ในวัยกลางคนก็ตาม แต่กลับได้รับฉายานามว่า "ประมุขของชายหนุ่มชะฮีด" เพิ่มมาด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นการชี้ให้เห็นถึงสถานภาพอันสูงส่งของบรรดาชะฮีดที่เป็นยุวชน ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของท่านอิมามฮุเซน(อ.)

2 ฮะดีษที่ว่า

عن علي ع قال قال رسول الله ص أتاني ملك فقال يا محمد إن الله تعالى يقول لك إني قد أمرت شجرة طوبى أن تحمل الدر و الياقوت و المرجان و أن تنثره على من قضى عقد نكاح فاطمة من الملائكة و الحور العين و قد سر بذلك سائر أهل السماوات و إنه سيولد بينهما ولدان سيدان في الدنيا و سيسودان على كهول أهل الجنة و شبابها و قد تزين أهل الجنة لذلك فاقرر عينا يا محمد فإنك سيد الأولين و الآخرين[2]

ท่านอิมามอลี(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ว่า ท่านเคยกล่าวว่า "มีมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งมาพบฉันและเล่าว่า โอ้มุฮัมมัด ... และหลานทั้งสองของท่านคือผู้มีเกียรติในโลกดุนยา และในไม่ช้าก็จะได้เป็นประมุขของชายหนุ่มและคนชราในสรวงสวรรค์ และ..."

ฮะดีษนี้ระบุว่ามีทั้งวัยรุ่นและคนชราในสวรรค์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาว่าในสรวงสวรรค์ไม่มีภาวะชราภาพ จึงสามารถสรุปได้ว่าหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)ทั้งสองท่านนี้ เป็นผู้นำของชาวสวรรค์โดยรวมก็จริง แต่ทว่าสถานะความเป็นประมุขที่มีต่อของชาวสวรรค์ที่ชะฮีดหรือเสียชีวิตปกติในวัยหนุ่มสาวนั้น เข้มข้นกว่า สำนวนเช่นนี้ย่อมไม่ขัดต่อความเชื่อที่ว่าชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวทั้งหมด เพราะคนชราชาวสวรรค์ในที่นี้หมายถึงผู้ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยชรานั่นเอง

อีกคำถามหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับบางท่านก็คือ ฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)มีสถานะเป็นประมุขเหนือบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆหรือไม่? ตอบโดยสรุปได้ว่า โดยปกติแล้ว สำนวนทุกสำนวนย่อมมีข้อยกเว้น ซึ่งบางสำนวนระบุข้อยกเว้นไว้อย่างชัดเจน แต่บางสำนวน เนื่องจากผู้พูดถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอธิบายมากนัก ผู้ฟังจึงต้องพิจารณาเบาะแสและพยานแวดล้อมเอง
เพราะฉะนั้น เนื้อหาโดยสรุปของฮะดีษก็คือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)มีสถานะเป็นประมุขเหนือชาวสวรรค์ทั่วไป แต่ไม่รวมถึงชาวสวรรค์ระดับพิเศษอย่างท่านนบี(ซ.ล.), ท่านอิมามอลี(อ.),ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.) ...ฯลฯ

เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ลองพิจารณาฮะดีษต่อไปนี้
มีชายคนหนึ่งซักถามท่านอิมามศอดิก(อ.)ว่า "ท่านนบี(ซ.ล.)มิได้กล่าวดอกหรือว่าท่านอบูซัรคือผู้มีสัจจะที่สุด?" ท่านอิมามตอบว่า "ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวไว้เช่นนั้นจริง" เขาจึงแย้งว่า "หากเป็นเช่นนั้น แล้วท่านนบี(ซ.ล.)และอิมามอลี(อ.)เล่า? อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน(อ.)เล่า?" (ท่านอบูซัรมีสัจจะกว่าบุคคลเหล่านี้กระนั้นหรือ?) ท่านอิมามตอบว่า "อะฮ์ลุลบัยต์อย่างพวกอยู่นอกการเปรียบเทียบดังกล่าว"[3]

นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาถึงเบาะแสและพยานแวดล้อม จะเข้าใจได้ว่ามีการเปรียบสัจจะวาจาของท่านอบูซัรกับบุคคลทั่วไป ไม่ได้หมายรวมถึงบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) แม้ตัวบทฮะดีษจะมิได้ระบุอย่างชัดเจนก็ตาม


[1] เชคศ่อดู้ก,ษะวาบุ้ลอะอ์ม้าล,หน้า 97,สำนักพิมพ์ ชะรีฟ เราะฎี,กุม

[2] เศาะฮีฟะตุรริฎอ(อ.),หน้า 94,ฮะดีษที่ 30,การประชุมนานาชาติอิมามริฎอ(อ.),ฮ.ศ.1406

[3] เชคศ่อดู้ก,มะอานิ้ลอัคบ้าร,เล่ม 1,หน้า 179,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,กุม

คำถามสุ่ม

  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6226 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง
    5954 تاريخ کلام 2555/03/18
    มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้ อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า “ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจนถึงคนสุดท้าย” สอง. ท่านกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง” ...
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    5981 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า
  • เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
    9304 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจาก “ความถูกต้อง” นั่นเองซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียวส่วนศาสนาอื่นๆ
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6661 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    10525 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
    13148 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/09
    ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน” สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป ...
  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7937 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    6000 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    5986 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59438 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56885 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41703 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38461 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38451 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33484 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27563 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27278 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27178 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25252 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...