การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6546
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1383 รหัสสำเนา 17912
หมวดหมู่ รหัสยทฤษฎี
คำถามอย่างย่อ
นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
คำถาม
อะไรคือนามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์ที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้?
คำตอบโดยสังเขป

จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เอง โดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษ พระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์ พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่า อิสมุ้ลมักนูน หรืออิสมุ้ลมัคซูน อีกด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า "อิสตีษ้าร" แปลว่าการเลือกเฟ้นเพื่อตนเอง ส่วนคำว่า "มุสตะอ์ษิเราะฮ์" แปลว่าสิ่งที่ได้รับการเลือกสรร
ท่านรอฆิบ อิศฟะฮานีกล่าวไว้ในหนังสืออัลมุฟร่อด้าตว่า "อัลอิสตีษ้าร คือการเจาะจงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตนเอง[1]" ส่วนหนังสือบิฮารุลอันว้ารระบุว่า "การอิสตีษ้ารสิ่งใดสิ่งหนึ่งหมายถึงการเจาะจงสิ่งนั้นเพื่อตนเอง"[2]

ฮะดีษหลายบทอธิบายว่าอัสมาอ์(พระนาม)ที่เป็นมุสตะอ์ษิเราะฮ์คือด้านเร้นลับของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมที่ไม่มีใครหยั่งรู้ ท่านอิมามบากิร(.)กล่าวไว้ว่า "เจ็ดสิบสองอักขระของอิสมุลอะอ์ซ็อมอยู่  เรา(อะฮ์ลุลบัยต์หยั่งรู้) มีเพียงอักขระเดียวที่เหลืออยู่  อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ทรงสงวนไว้ (ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้)[3]

และเนื้อหาฮะดีษในหมวด"การจุติขึ้นของพระนาม" ในหนังสืออุศูลกาฟีบ่งชี้ว่า พระนามประเภทมุสตะอ์ษิ้ร หรือที่เรียกกันว่า"มักนูน"และ"มัคซูน"นั้น ก็คือด้านเร้นลับของปฐมนามของพระองค์ พระนามประเภทนี้มีทั้งด้านแห่งการจำกัดในฐานะที่เป็นพระนาม และมีทั้งด้านเร้นลับในฐานะที่เป็นฐานสนับสนุนให้พระนามอื่นๆเผยอย่างชัดเจน [4]
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามโคมัยนีจึงกล่าวอธิบายเกี่ยวกับระดับชั้นของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมไว้ว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รคืออิสมุ้ลอะอ์ซ็อมในระดับเร้นลับ ท่านกล่าวว่า "อิสมุ้ลอะอ์ซ็อมโดยลักษณะอันเร้นลับที่ไม่มีใครหยั่งรู้นอกจากพระองค์แล้ว หมายถึงอักขระที่เจ็ดสิบสามที่พระองค์ทรงทราบแต่เพียงองค์เดียว"[5]

ตำรับตำราด้านอิรฟานสอนว่า จากการที่ระดับความเร้นลับของอาตมันพระองค์มีสูง จึงจำเป็นต้องมีสื่อกลางในการเผยเป็นพระนามและคุณลักษณะภายนอก สื่อกลางที่เผยความไพบูลย์ของพระองค์เหล่านี้มีสองด้าน  . ด้านที่เชื่อมโยงกับความเร้นลับของอาตมันพระองค์ซึ่งเป็นด้านแห่งความเร้นลับ . ด้านที่เชื่อมโยงกับพระนามซึ่งเป็นมิติที่ชัดเจนและเผยในรูปของพระนาม[6]

อิมามโคมัยนีขนานนามสื่อกลางที่เผยสู่พระนามของอัลลอฮ์ว่า "เคาะลีฟะฮ์ของพระองค์" และ "หลักแห่งเคาะลีฟะฮ์" ส่วนตำราด้านอิรฟานได้ขนานนามว่าเป็น "เอกานุภาพที่แท้จริง" ส่วนภาคจำแนกที่เกิดกับพระองค์เมื่อพิจารณาถึงเอกานุภาพดังกล่าวเรียกว่า "ภาคจำแนกปฐมภูมิ" หรือ "สัจธรรมแห่งมุฮัมมัด"[7] ภาคจำแนกขั้นแรกที่เป็นฐานสำหรับการเผยพระนามของพระองค์ให้พ้นจากมิติลี้ลับก็คือ เอกานุภาพอันไร้เงื่อนไข หรือเอกานุภาพที่แท้จริงนั่นเอง ซึ่งเป็นภาวะแห่ง "อะฮะดียัต"จากด้านมิติลี้ลับ และเป็น "วาฮิดียัต"หรือมิติแห่งการเผยพระนามจากด้านที่เปิดเผย และสถานะอะฮะดียัตแห่งอาตมันซึ่งเป็นด้านลี้ลับของภาวะจำแนกปฐมภูมิของพระองค์ก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รนี่เอง[8]

ส่วนที่ว่าเป็นมุสตะอ์ษิ้ร(ได้รับเลือก)หมายความว่าอย่างไร? การที่พระนามเหล่านี้ได้รับเลือก แสดงว่ามิได้เผยให้ประจักษ์ หรือมีภาพลักษณ์ที่รับรู้ได้กระนั้นหรือ? หรือหมายความว่าภาพลักษณ์ของพระนามเหล่านี้ก็ได้รับเลือกเสมือนตัวพระนาม ซึ่งไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้

โดยทั่วไปแล้ว นักอาริฟถือว่าพระนามมุสตะอ์ษิ้รเป็นพระนามที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งไม่มีร่องรอยใดๆ ตลอดจนไม่มีภาพลักษณ์ใดๆในโลก
ศ็อดรุดดีน กูนะวี ได้จำแนกพระนามทางอาตมันของพระองค์ไว้สองส่วนในหนังสือ มิฟตาฮุ ฆ็อยบิ้ลญัมอิ วั้ลวุญูด"ดังนี้
ส่วนแรกมีร่องรอยและภาพลักษณ์ในโลก ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเผยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บำเพ็ญความดี หรืออาจจะปรากฏแก่นักอาริฟผู้แก่กล้าในระหว่างเห็นนิมิตรชุฮู้ด
พระนามทางอาตมันประเภทที่สองก็คือพระนามที่ไม่ปรากฏร่องรอยใดๆในโลก ทำให้ไม่มีผู้ใดสามารถประจักษ์ได้ และพระนามประเภทนี้แหล่ะที่เรียกว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้ร[9] แม้ไม่ปรากฏในโลก แต่ลักษณ์ของพระนามเหล่านี้มีอยู่ในชั้นแห่งอะอ์ยาน ษาบิตะฮ์ (ชั้นแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ตามทัศนะของนักอาริฟ) ด้วยเหตุนี้เองที่เราเรียกลักษณ์ในชั้นดังกล่าวว่า "มุมตะนิอ้าต"

ความหมายของมุมตะนิอ์ในแวดวงอิรฟานกว้างกว่าแวดวงปรัชญาเมธี ตามทัศนะของนักอาริฟแล้ว มุมตะนิอ้าตหมายถึงลักษณ์ที่ไม่เผยให้ประจักษ์แม้จะมีอยู่จริงในชั้นแห่งอะอ์ยาน ซึ่งอาจเป็นเพราะความเข้มข้นเชิงการมีอยู่ (ดังกรณีลักษณ์ของพระนามมุสตะอ์ษิ้ร) หรืออาจเป็นเพราะไม่อาจจะเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงได้ (เช่นการผนวกสองสิ่งที่หักล้างสุดขั้ว)

ส่วนมุมตะนิอ์ในมุมของปรัชญาเมธีหมายถึงประเภทที่สองเท่านั้น[10] จากทัศนะดังกล่าวทำให้ทราบว่า เนื่องจากพระนามเหล่านี้เบนไปสู่ภาวะลี้ลับ จึงไม่เผยหรือมีภาพลักษณ์ใดๆภายนอก  ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ และยังคงเป็นที่เลือกสรรของพระองค์ดังเดิม

การใช้พระนามมุสตะอ์ษิ้รเพื่อสื่อถึงอาตมันของพระองค์

อิมามโคมัยนีได้อธิบายประโยคหนึ่งในดุอาสะฮัรที่ว่า اللهم انی اسئلک من اسمائک باکبرها โดยเกริ่นไว้ก่อนว่า"พระนามและคุณลักษณะของพระองค์เปรียบเสมือนฉากกั้นอาตมัน ซึ่งอาตมันพระองค์จะเผยปรากฏด้วยช่องทางแห่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆเท่านั้น ส่วนในมุมลี้ลับแล้ว พระองค์ปราศจากซึ่งพระนามหรือการตั้งพิกัดใดๆทั้งสิ้น" แล้วท่านอิมามโคมัยนีก็กล่าวว่า "หนึ่งในข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คือ หมายถึงสถานะอาตมันอันลี้ลับนั่นเอง ส่วนที่เรียกว่าพระนามก็เพราะอาตมันของพระองค์นั่นแหล่ะ ที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับอาตมันเอง[11]
ท่านประพันธ์ตำราอธิบายหนังสือ "มิศบาฮุ้ลอุ้นซ์" หลังจากทัศนะของกูนะวีว่าด้วยการจำแนกพระนามทางอาตมัน และการที่พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากซึ่งภาพลักษณ์ใดๆ ท่านอิมามได้ยกทัศนะของอาจารย์ของท่าน (อายะตุลลอฮ์ ชอฮ์ออบอดี)ว่า "สังเขปทัศนะของกูนะวีก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากภาพลักษณ์ใดๆในโลก ส่วนอาจารย์อาริฟผู้สมบูรณ์ของเรากล่าวว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คืออาตมันเชิงอะฮะดีดั้งเดิมของพระองค์ เนื่องจากอาตมันของพระองค์จะเป็นบ่อเกิดของพระนามด้วยกับภาวะจำแนก แต่อาตมันที่ปราศจากภาวะจำแนกย่อมไม่รองรับการเผยพระนาม ส่วนการใช้คำว่าพระนามกับอาตมันก็เป็นการกล่าวอย่างอนุโลมเท่านั้น มิไช่การกล่าวระบุอย่างจริงจัง[12]

ประเด็นที่เกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์ถือเป็นประเด็นระดับสูงของวิชาอิรฟาน ซึ่งจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อมีพื้นฐานด้านอิรฟานและปรัชญาเสียก่อน

หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่านบทความ ภาวะเผยของพระนามมุสตะอ์ษิ้รในทัศนะของอิมามโคมัยนี เขียนโดย ซัยยิดกิวามุดดีน ฮุซัยนี นิตยสารมะตีน ฉบับที่ห้า



[1] รอฆิบอิศฟะฮานี,อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรออิบิ้ลกุรอาน,หน้า 10

[2] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 85, ฮะดีษที่ 1, หน้า 255

[3] อุศู้ลกาฟีย์,เล่ม 1, บทว่าด้วยฮุจญัต, หน้า 334, หมวด ما اعطی الائمه - علیهم السلام – من اسم الله الاعظم :
و نحن عندنا من الاسم الاعظم اثنان و سبعون حرفا و حرف واحد عند الله تعالی استأثر به فی علم الغیب عنده
นักตัฟซี้รมักจะยกฮะดีษนี้มาเพื่ออธิบายโองการ قال الذی عنده علم من الکتاب ดู: บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 27, ใต้หมวดว่าด้วย ان عندهم الاسم الاعظم به یظهر منهم الغرایب โดยอ้างถึงฮะดีษเหล่านี้ไว้

[4] อุศูลกาฟีย์, เล่ม1, บทว่าด้วยฮุดูษุสสะมาอ์,หน้า 152, " عن ابی‏عبدالله(ع) قال: ان الله تبارک و تعالی خلق اسما... فجعله کلمة تامة علی اربعة اجزاء معا لیس منها واحد قبل الآخر، فاظهر منها ثلاثة اسماء لفاقة الخلق الیها و حجب منها واحدا و هو الاسم المکنون المخزون... و هذه الاسماء الثلاثة ارکان و حجب الاسم الواحد المکنون المخزون بهذه الاسماء الثلاثة

[5] อรรถาธิบายดุอาสะฮัร,อิมามโคมัยนี,แปลโดยซัยยิดอะหมัด ฟะฮ์รี, หน้า 11, " اما الاءسم الاءعظم بحسب الحقیقة الغیبیة التی لایعلمها الا هو و لا استثناء فیه، فبالاعتبار الذی سبق ذکره، و هو الحرف الثالث و السبعون المستاثر فی علم غیبه

[6] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 16-17, ان الاسماء و الصفات الالهیة ایضا غیر مرتبطة بهذا المقام الغیبی بحسب کثراتها العلمیة غیر قادرة علی اخذ الفیض من حضرته بلاتوسط شی‏ء... فلابد لظهور الاسماء و بروزها و کشف اسرار کنوزها من خلیفة الهیة غیبیة یستخلف عنها فی‏الظهور فی‏الاسماء و ینعکس نورها فی تلک المرایا... هذه الخلیفة الالهیة و الحقیقة القدسیه التی هی اصل الظهور لابد ان یکون لهاوجه غیبی الی الهویة الغیبیة ولایظهر بذلک الوجه ابدا، و وجه الی عالم الاسماء والصفات بهذا الوجه یتجلی فیه

[7] อัลก่อวาอิ้ด, ศออินุดดีน อลี อัตตัรกะฮ์,หน้า 79 

[8] อัรริซาละฮ์ อัตเตาฮีดียะฮ์,อัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอี,หน้า 47

[9] มิศบาฮุลอุ้นส์,มุฮัมมัด บิน ฮัมซะฮ์ อัลฟะนารี,หน้า 14 บทที่สี่ จากบทฟาติฮะห์

[10] อารัมภบทก็อยซะรีเพื่ออธิบายฟุศูศุ้ลฮิกัม, ดาวู้ด บิน มุฮัมมัด ก็อยซะรี, หน้า18-19 و هی الممتنعات قسمان، قسم یختص بفرض العقل ایاه کشریک الباری و قسم لایختص بالفرض، بل هی امور ثابتة فی نفس الامر، موجودة فی العلم، لازمة لذات الحق، لانها صور للاسماء الغیبیة المختصة بالباطن من حیث هو ضد الظاهر، او للباطن وجه یجتمع مع الظاهر و وجه لا یجتمع معه... و تلک الاسماء هی التی قال(رض) فی فتوحاته و اما الاسماء الخارجه عن الخلق و النسب فلایعلمها الا هو، لانه لا تعلق لها بالاکوان و الی هذه الاسماء اشار النبی(ص) او استاثرت به فی علم غیبک

[11] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 114-115 هذا فان اشرت باطلاق الاسم فی بعض الاحیان علی هذه المرتبه التی هی فی عماء و غیب کما هو احد الاحتمالات فی الاسم المستاثر فی علم غیبه، کما ورد فی الاخبار و اشار الیه فی الاثار الذی یختص بعلمه الله، و هو الحرف الثالث و السبعون من حروف الاسم الاعظم المختص علمه به - تعالی - فهو من باب ان الذات علامة للذات، فانه علم بذاته لذاته

[12] อธิบายหนังสือมิศบาฮุลอุ้นส์,อิมามโคมัยนี, หน้า 218 قال شیخنا العارف الکامل - دام ظله - ان الاسم المستاثر هو الذات الاحدیة المطلقه، فان الذات بما هی متعینه منشا للظهور دون الذات المطلقه، ای بلا تعین، و اطلاق الاسم علیه من المسامحة و الظاهر من کلام الشیخ و تقسیمه، الاسماء الذاتیه الی ما تعین حکمه و ما لم یتعین، انه من الاسماء الذاتیة التی لامظهر لها فی العین

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16058 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8872 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5438 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8235 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6585 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    9294 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10439 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5643 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    8580 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8192 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38463 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27294 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27190 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...