การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9005
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1795 รหัสสำเนา 17842
คำถามอย่างย่อ
ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
คำถาม
ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.

2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง

3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน

4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้

5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง

คำตอบเชิงรายละเอียด

เมื่อพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้บทสรุปว่า โองการที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ : กลุ่มแรกของโองการได้สรรเสริญและยกย่องความยิ่งใหญ่ของมนุษย์, ดังเช่นโองการต่อไปนี้ :

1. “แน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม เราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล เราได้ให้ปัจจัยยังชีพทั้งหลายที่ดีแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขามีเกียรติเหนือกว่าส่วนมากของผู้ที่เราได้สร้างโดยแท้”[1]

2. “จงรำลึกเมื่อพระผู้อภิบาลของเจ้าตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะตั้งผู้ปกครองคนหนึ่ง ณ แผ่นดิน มะลาอิกะฮฺได้ทูลว่า พระองค์จะทรงตั้งผู้ก่อการเสียหายขึ้นและหลั่งเลือด ณ แผ่นดิน กระนั้นหรือ ทั้งๆ ที่พวกเราถวายสดุดี ด้วยการสรรเสริญพระองค์ และเทิดทูนความบริสุทธิ์แด่พระองค์ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้ารู้ดีในสิ่งที่สูเจ้าไม่รู้”[2]

3. “แท้จริงเราได้เสนอการรับผิดชอบแก่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและขุนเขาทั้ง หลาย แต่พวกมันปฏิเสธจะแบกรับมันและกลัวต่อมัน และมนุษย์ได้แบกรับมัน แท้จริงเขาเป็นผู้อธรรมผู้โฉดเขลายิ่ง"[3] และ ...

ส่วนอัลกุรอานอีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวประณามและวิจารณ์มนุษย์ไว้, ซึ่งบางครั้งได้ใช้คำพูดรุนแรงและดูถูก เช่น กล่าวว่า “มนุษย์คือผู้ไร้ศักยภาพ”[4] “มนุษย์คือผู้หยิ่งผยองและละเมิด”[5]

ส่วนโองการอีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวประณามมนุษย์ไว้, ด้วยคำพูดที่รุนแรงประหนึ่งเป็นการดูถูกมนุษย์ด้วยคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์จะไม่เบื่อหน่ายต่อการวิงวอนขอความดี แต่เมื่อความทุกข์ยากประสบแก่พวกเขาเข้าเขาก็จะท้อถอยหมดอาลัย และเมื่อเราได้ให้เขาลิ้มรสความเมตตาจากเรา หลังจากความทุกข์ยากได้ประสบแก่เขา แน่นอนเขาก็จะกล่าวว่า "นี่คือความสามารถของฉัน และฉันไม่คิดว่าวันโลกาวินาศนั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าฉันถูกส่งกลับไปยังพระผู้อภิบาลของฉัน แน่นอนฉันจะมีคุณความดี ณ ที่พระองค์" ดังนั้นเราจะให้บรรดาผู้ปฏิเสธได้รู้เห็นในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ และแน่นอนเราจะให้พวกเขาได้ลิ้มรสการลงโทษอันรุนแรง และเมื่อเราได้ให้ความโปรดปรานแก่มนุษย์ เขาก็เมินหน้าและปลีกตัวออกห่าง และเมื่อความทุกข์ประสบแก่เขา เขาก็เป็นผู้วิงวอนขออย่างยืดเยื้อ”[6] “มนุษย์คือผู้ละเมิด”[7] “มนุษย์คือผู้อธรรมและเป็นผู้เนรคุณที่สุด”[8] “มนุษย์คือผู้อธรรมที่โง่เขลาที่สุด”[9] “มนุษย์คือคู่ปรปักษ์ตัวฉกาจ”[10] “มนุษย์คือผู้ขาดทุนและเสียหายที่สุด”[11] และ..

ขณะที่โองการต่างๆ ข้างต้น, ที่ได้นำเสนอมาได้ถูกตั้งคำถามว่า หมายความว่าอย่างไร? ความหมายและความเข้าใจของชนสองกลุ่มนี้ พิจารณาจากภายนอกเหมือนว่ามีความขัดแย้งกัน ไม่เหมือนกันและห่างไกลกันมากกระนั้นหรือ?

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ เป็นการดีถ้าจะตอบด้วยอัลกุรอาน, เพราะว่าอัลกุรอานบางโองการนั้นเป็นตัวอธิบายอีกบางโองการ

อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ กล่าวว่า :

“แท้จริง บรรดาผู้ปฏิเสธในหมู่ชาวคัมภีร์และเหล่าผู้ตั้งภาคี จะอยู่ในนรกญะฮันนัม พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล ชนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ชั่วช้ายิ่ง, แต่สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐยิ่ง”[12]

อัลกุรอานทั้งสองโองการนี้ติดกันและอยู่ในบทเดียวกัน, ซึ่งได้กล่าวว่า มนุษย์ คือสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดและเลวที่สุดในขณะเดียวกัน. ประเด็นนี้เป็นตัวอธิบายได้เป็นอย่างดีว่า มนุษย์สามารถขึ้นไปสู่จุดสูงสุด และตกต่ำที่สุดได้โดยไม่มีความจำกัด หมายความว่าถ้ามนุษย์มีศรัทธามั่นคงและประกอบคุณความดี เขาจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีที่สุด แต่ถ้าเขาได้ระหนไปสู่การหลงทาง ดื้อรั้น อวดดี และหยิ่งผยองแล้วละก็เขาจะตกต่ำ จนกระทั่งว่าเป็นสิ่งถูกสร้างที่เลวที่สุดของพระองค์

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “อัลลอฮฺ ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้โดยแบ่งการสร้างออกเป็น 3 ประเภท : ทรงสร้างมวลมลาอิกะฮฺ, สร้างสรรพสัตว์, และสร้างมนุษย์, สำหรับมวลมลาอิกะฮฺ พระองค์ทรงมอบสติปัญญาโดยปราศจากกิเลสและโมหะแก่พวกเขา, ส่วนสรรพสัตว์มีแต่กิเลสและโมหะไม่มีสติปัญญา, ส่วนมนุษย์นั้นคือศูนย์รวมของทั้งสอง สุดแต่ว่าอำนาจฝ่ายใดจะมีอำนาจเหนืออีกฝ่าย, ดังนั้น ถ้าสติปัญญามีอำนาจเหนือกิเลส, บุคคลนั้นก็จะประเสริฐกว่ามลาอิกะฮฺ แต่ถ้ากิเลสมีอำนาจเหนือสติปัญญา บุคคลนั้นก็จะเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน”[13]

จากรายงานดังกล่าวนี้สามารถสรุปได้ว่า มนุษย์นั้นเป็นสิ่งถูกสร้างที่มีสององค์ประกอบสำคัญในตัว (สติปัญญาและอำนาจฝ่ายต่ำ), แน่นอนความพยายามและสัญชาติญาณแห่งกิเลสก็มี 2 ขั้วด้วยเช่นกัน (ความพยายามและความดึงดูดด้านจิตวิญญาณหรือปัญญา และสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานหรืออำนาจฝ่ายต่ำ) ซึ่งมนุษย์สามารถใช้พลังและเจตนารมณ์เสรี ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบแก่มนุษย์ทุกคน เป็นตัวเลือกสรรดังนั้นมนุษย์มนุษย์จึงมีสิทธ์ที่จะเลือกทำให้ตัวเองสูงส่ง ไปสู่ความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ หรือจะเลือกทำให้ตัวเองตกต่ำไปสู่ก้นบึ้งของความเลว ดังที่อัลกุรอานได้ให้นิยามว่า “พวกเขาประหนึ่งปศุสัตว์ ทว่าพวกเขาเลวยิ่งกว่าเสียอีก”[14]

ดังนั้น โองการอัลกุรอานได้ปลดเปลื้องม่านแห่งความสัตย์จริงนี้ให้ปรากฏชัดเจนแล้ว ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายอยู่ในขั้นของความเป็นไปได้โดยศักยภาพ ซึ่งเขามีคุณภาพพอที่จะเป็นคนดี เป็นผู้ทีเกียรติยศที่สุด หรืออาจมีความประเสริฐกว่ามวลมลาอิกะฮฺทั้งหลายก็ได้ และแน่นอน ท่ามกลางการขวนขวายพยายามด้วยความเป็นไปได้ในศักยภาพ มนุษย์อาจก้าวไปถึงยังตำแหน่ง เคาะลิฟะตุลลอฮฺก็ได้, แต่ถ้ามนุษย์ไม่ยอมใช้ประโยชน์จากความเมตตาและการอนุเคราะห์พิเศษจากอัลลอฮฺ โดยฝ่าฝืนกระทำผิดแล้วละก็, เขาก็จะได้รับการประณามหยามเหยียดจากพระองค์ ดังที่ได้หยิบยกตัวอย่างไปแล้ว

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดค้นคว้าจาก :

อัลมีซาน (ฉบับแปลฟาร์ซียฺ), เล่ม 16, หน้า 524 – 527, ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 8, หน้า 242, เล่ม 17, หน้า 451 - 457



[1] อัลกุรอานบทอัลอิสรอ, โองการ 70

[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, โองการ 30

[3] อัลกุรอาน บทอะฮฺซาบ, โองการ 72

[4] อลกุรอาน บทฟุซซิลัต, โองการ 49-50-51

[5] อัลกุรอาน บทชูรอ, โองการ 27

[6] อัลกุรอาน บทฟุซิลัต, โองการ 49, 50, 51.

[7] อัลกุรอาน บทชูรอ, โองการ  27.

[8] อัลกุรอาน บทอิบรอฮีม, โองการ  34.

[9]  อัลกุรอา บทอะฮฺซาบ, โองการ 72.

[10] อัลกุรอาน บทยาซีน, โองการ 77.

[11] อัลกุรอาน บทอัศรฺ, โองการ 2.

[12] อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ, โองการ 6-7

[13] ตัฟซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 188

[14]  "اولئک کالانعام بل هم اضل"อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 179.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • เหตุใดบางคนจึงมีรูปลักษณ์ภายในความฝันเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทั้งที่หลังจากนั้นเขาเตาบะฮ์และได้รับฐานันดรที่สูงส่ง
    11092 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่าของโองการกุรอานและฮะดีษต่างๆจะพบว่าผู้คนมากมายมีรูปโฉมทางจิตวิญญาณที่ไม่ไช่คนการกระทำบางอย่างสามารถเปลี่ยนรูปโฉมทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสัตว์ได้อาทิเช่นการดื่มเหล้าที่สามารถแปลงโฉมผู้ดื่มให้เป็นสุนัขในแง่จิตวิญญาณได้กรณีที่ถามมานั้นท่านอิมามฮุเซนมิได้เปลี่ยนรูปโฉมของเราะซูลเติร์กการกระทำของเขาต่างหากที่ทำให้ตนมีรูปโฉมดังที่กล่าวมาซึ่งหากไม่มีการเตือนด้วยความฝันดังกล่าวเขาก็คงยังไม่เตาบะฮ์แต่เมื่อเตาบะฮ์แล้วก็ย่อมจะคืนสู่รูปโฉมความเป็นคนเช่นเดิม ...
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    6925 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7139 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6676 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    7772 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7339 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
  • ถ้าหากเป็นการแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) และฝ่ายชายได้เป็นตัวแทนฝ่ายหญิง เพื่ออ่านอักด์ แต่มิได้บอกกำหนดเวลาและจำนวนมะฮฺรียะฮฺ ถือว่าอักด์ถูกต้องหรือไม่?
    9260 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำตอบจากมัรญิอฺตักลีดบางท่านกล่าวว่า ..สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺ
  • อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
    10808 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/29
    สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา ...
  • จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
    6786 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดาการได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59458 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56917 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41721 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38462 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27291 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27188 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...