การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11308
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa959 รหัสสำเนา 14618
คำถามอย่างย่อ
ทำอย่างไรจึงจะฝันเห็นท่านเราะซูล(ซ.ล.)
คำถาม
ผมอยากฝันเห็นท่านเราะซูลุลลอฮ์และดื่มด่ำกับความปรารถนาสูงสุด ผมควรทำอย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน(เล่มสมบูรณ์)มีซิเกรและอะมั้ลที่ทำให้สามารถฝันเห็นเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ได้ อย่างไรก็ดี วิธีเหล่านี้ไม่อาจจะเป็นมูลเหตุสมบูรณ์ที่ทำให้สามารถฝันเห็นบุคคลที่เราต้องการเสมอไป กล่าวคือ ไม่ไช่ว่าทุกคนจะสามารถฝันเห็นท่านศาสดาด้วยอะมั้ลเหล่านี้ได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากทักษะดังกล่าวจำเป็นต้องควบคู่กับการหยุดทำบาป และปฏิบัติศาสนกิจภาคบังคับอย่างเคร่งครัด ตลอดจนต้องมีจิตใจอันบริสุทธิเพียงพอเสียก่อน.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนจะตอบคำถามข้างต้น ขออธิบายเกี่ยวกับความฝันและประเภทต่างๆของความฝันโดยสังเขปเสียก่อน
นักวิชาการพยายามนำเสนอบทวิเคราะห์อันยืดยาวเพื่ออธิบายเกี่ยวกับการฝันของมนุษย์ บ้างเชื่อว่าความฝันเกิดจากการไหลเวียนของเลือดจากสมองสู่อวัยวะต่างๆในร่างกาย ชุดคำอธิบายนี้อ้างอิงมูลเหตุทางฟิสิกข์
บ้างเชื่อว่ากิจกรรมต่างๆในรอบวันของคนเราก่อให้เกิดสารพิษในร่างกาย และสารพิษเหล่านี้ทำปฏิกิริยาต่อระบบประสาท ทำให้เกิดจินตภาพที่เราเรียกว่าฝันปฏิกิริยาดังกล่าวจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งสารพิษเหล่านั้นถูกร่างกายดูดซึมจนหมด ชุดคำอธิบายนี้อ้างอิงมูลเหตุทางชีวะเคมี
บางกลุ่มเชื่อว่าความฝันเกิดจากมูลเหตุทางระบบประสาทโดยแจกแจงว่า ความฝันเกิดจากการที่กลไกพิเศษของระบบประสาทที่อยู่ในสมอง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของร่างกายนั้น หยุดทำงานไปเนื่องจากความเหนื่อยล้า

แม้ไม่อาจปฏิเสธอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ได้โดยสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยเหล่านี้ก็ไม่อาจไขข้อสงสัยเกี่ยวกับความฝันให้กระจ่างได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
สาเหตุที่นักวิชาการในปัจจุบันไม่สามารถอธิบายความฝันได้อย่างกระจ่างชัดทุกแง่มุมนั้น เกิดจากการที่พวกเขาเน้นแนวคิดวัตถุนิยมเป็นหลัก พวกเขาพยายามจะอธิบายข้อเท็จจริงนี้โดยละเลยที่จะยอมรับความจริงเกี่ยวกับจิตวิญญาณมนุษย์  ซึ่งหากพิจารณาจะพบว่าความฝันเกิดจากปัจจัยทางจิตวิญญาณมากกว่าปัจจัยทางชีวภาพ หากเป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถจะอธิบายความฝันได้โดยไม่ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณอีกต่อไป
กุรอานได้นำเสนอคำนิยามอันละเอียดละออที่สุดเกี่ยวกับความฝัน โดยกล่าวว่า ความฝันก็คือการกู้คืนวิญญาณประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ความฝันเกิดจากการจำกัดอิทธิพลที่วิญญาณมีต่อร่างกาย แต่ไม่ถึงขั้นยุติอิทธิพลดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อวิญญาณถูกจำกัดรัศมีที่ส่องสว่างแก่ร่างกายให้เหลือเพียงแสงเทียนสลัวๆ ระบบการรับรู้ของร่างกายก็จะหยุดทำงานชั่วคราว ทำให้ผู้ที่นอนหลับไม่มีความรู้สึกหรือความเคลื่อนไหวเช่นปกติ แม้ว่าระบบต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเช่น ระบบหายใจ ระบบสูบฉีดเลือด ฯลฯ ยังต้องทำงานอยู่เหมือนเดิม.[1]

จึงสรุปได้ว่าในระหว่างความฝัน ระบบสมองส่วนหนึ่งจะหยุดทำงาน[2] หาได้หยุดทำงานทั้งระบบไม่ ด้วยเหตุนี้เองที่ฮะดีษต่างๆนิยามความฝันว่าเป็นพี่น้องความตาย[3]
ฮะดีษจากอิมามอลีบทหนึ่งกล่าวไว้ว่าการนอนหลับทำให้ปลอดทุกข์โศก และมีคุณสมบัติเทียบเคียงความตาย[4]
โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งความฝันออกเป็นสามประเภท
หนึ่ง, ความฝันที่มีความหมายชัดเจนไม่จำเป็นต้องทำนายฝัน
สอง, ความฝันที่สับสนยุ่งเหยิง ซึ่งไม่อาจนำมาทำนายฝันได้
สาม, ความฝันที่จิตของมนุษย์แสดงผลเป็นรหัสหรือในลักษณะอุปมาอุปไมย ความฝันประเภทนี้แหล่ะที่มีการทำนายฝันกัน[5]

หลังจากทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความฝันแล้ว ก็พอจะทราบว่ามนุษย์สามารถท่องไปในโลกแห่งมิษาลและอักล์ เพื่อเข้าพบเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ได้ กล่าวคือ เมื่อคนเรานอนหลับก็จะเชื่อมต่อกับโลกแห่งมิษาลและอักล์อันสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะตัวของวิญญาณ ทำให้สามารถเห็นและรับรู้ปรากฏการณ์บางอย่างตามแต่ศักยภาพของแต่ละคนจะอำนวย[6] ด้วยเหตุนี้ หากมีบันทึกในอัตชีวประวัติของผู้บำเพ็ญกุศลอย่างท่านชะฮีด มุเฏาะฮะรี ว่าท่านเคยได้รับเกียรติในเรื่องนี้[7] ก็ไม่ไช่เรื่องน่าฉงนใจแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงว่า
หนึ่ง ไม่ไช่ว่าทุกคนจะสามารถควบคุมความฝันของตนให้นำพาสู่การพบเจอบุคคลที่ต้องการพบเสมอไป
สอง ในตำราดุอาอย่างเช่นมะฟาตีฮุลญินาน[8]จะมีอะมั้ลที่จะส่งผลให้สามารถฝันเห็นท่านนบี(..)ได้[9] แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่าอะมั้ลดังกล่าวย่อมมีส่วนให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ก็หาได้เป็นมูลเหตุสมบูรณ์ที่ทำให้ฝันเห็นท่านนบี(..)ในลักษณะที่หากทำอะมั้ลดังกล่าวแล้วจะต้องได้เห็นท่านนบีในฝันกันโดยถ้วนหน้าไม่ ทั้งนี้ก็เนื่องจากการที่จะฝันเห็นนบีต้องมีเงื่อนไขอื่นๆอีก อาทิเช่น การหยุดทำบาป, เคร่งครัดในศาสนกิจภาคบังคับ และความผ่องใสทางจิตวิญญาณ ต่อเมื่อมีครบทุกเงื่อนไขเท่านั้น จึงจะสามารถฝันเห็นท่านศาสดาได้ นั่นเป็นเพราะว่าผู้ที่มีจิตใจผ่องแผ้วปราศจากกิเลศเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จดังใจหมาย

อย่างไรก็ดี หากคุณปฏิบัติอะมั้ลดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ได้เห็นศาสดาในฝันตามที่ปรารถนา แน่นอนว่าอัลลลอฮ์จะทรงประทานผลรางวัลอื่นชดเชยให้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากทั้งความหวังที่จะได้พบท่านนบี รวมถึงอะมั้ลในตำราดุอาซึ่งอุดมไปด้วยซิกรุลลอฮ์นั้น ล้วนมีผลบุญ  พระองค์ทั้งสิ้น
เกร็ดน่ารู้ส่งท้ายก็คือ วิธีที่จะทำให้ฝันเห็นท่านศาสดา(..)มิได้จำกัดเฉพาะอะมั้ลดังกล่าว เนื่องจากยังมีวิธีอื่นๆที่มีผลลัพธ์ดังกล่าวเช่นกัน อย่างเช่น การตะวัสสุ้ลผ่านเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ ในชีวประวัติของท่านอายะตุลลอฮ์ อัลอุซมา มัรอะชี นะญะฟี บันทึกไว้ว่า คืนหนึ่งท่านได้ตะวัสสุ้ลเพื่อหวังจะเห็นหนึ่งในเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ในฝัน แล้วท่านก็ฝันเห็นท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน อลี ดังใจหมาย ซึ่งเหตุการณ์นี้ผูกโยงกับเหตุการณ์ที่นักกวีนามระบือชะฮ์ริย้อรแต่งโคลงกลอนยกย่องท่านอิมามอลีในคืนเดียวกันนั้น.[10]



[1] ดู: ตัฟซีรเนมูเนะฮ, เล่ม19, หน้า 482และ 483.

[2] อายะฯ มะการิม ชีรอซี, มะอ้าดและโลกหลังความตาย หน้า 385.

[3] วลีالنوم اخو الموتใน, อะวาลี อัลละอาลี, เล่ม 4, หน้า 73.

[4] วลีالنوم راحة من الم و ملائمة الموتใน, ฆุร่อรุ้ล ฮิกัม, ฮะดีษที่ 1461.

[5] ตัฟซีรอัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 11, หน้า 372.

มีฮะดีษรายงานจากท่านนบี(..)ว่า ความฝันแบ่งเป็นสามประเภท. ข่าวดีจากอัลลอฮ์ การเผยสถานะของจิต ความหวาดกลัวที่ชัยฏอนก่อขึ้นالرویا الثلاثه: فبشری من الله و حدیث النفس و تخویف الشیطانกันซุ้ล อุมม้าล, 41385.

และมีฮะดีษรายงานจากท่านอิมามศอดิกว่า คราใดที่บ่าวของพระองค์ประสงค์จะทำบาป แต่พระองค์ยังประสงค์ให้เขาเป็นคนดี พระองค์จะทรงบันดาลให้เขาฝันร้ายเพื่อจะได้หวั่นเกรงไม่กล้าทำบาป
اذ کان العبد علی معصیه الله عز و جل و اراد الله به خیرا اراه فی منامه رویا تروعه و فینزجرها عن تلک المعصیهอัลอิคติศ้อศ, หน้า 24.

[6] ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ดู: อัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 11, หน้า 366-373.

[7] ภรรยาของท่านเล่าว่าคืนหนึ่ง ท่านตกใจตื่นขึ้นมากลางดึก ฉันถามท่านว่าเกิดอะไรขึ้นหรือย่างไร? ท่านตอบว่า ฉันฝันว่าได้เข้าพบท่านเราะซูลลุลลอฮ์(..)พร้อมกับท่านอิมามโคมัยนี ฉันเอ่ยต่อท่านนบีว่า โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ท่านนี้(อิมามโคมัยนี)คือหนึ่งในบุตรหลานของท่าน. ท่านนบีได้สวมกอดท่านอิมามโคมัยนี แล้วจึงหันมาโอบกอดฉัน และได้จุมพิตริมฝีปากโดยที่ฉันยังจำไออุ่นของริมฝีปากท่านได้ ฉันคิดว่าคงจะต้องเกิดเรื่องใหญ่ในชีวิตฉันเป็นแน่. ภรรยาของท่านเล่าต่อว่าสามวันต่อมาท่านก็ถูกลอบยิงเป็นชะฮีด

[8] ภาคผนวกมะฟาตีฮุลญินาน, หมวดบากิยาตุศศอลิฮาต.

[9] อ่านซูเราะฮ์ อัชชัมส์, อัลลัยล์, ก็อดร์, กาฟิรูน, กุ้ลฮุวัลลอฮ์, นาส และ ฟะลัก (สี่กุ้ล)อย่างละหนึ่งจบ และหลังจากนั้นอ่านกุ้ลฮุวัลลอฮ์ 100 จบ และศอละวาต 100 ครั้ง จากนั้นจึงนอนตะแคงขวาขณะยังมีน้ำนมาซ.

[10] ฮุเซน ซะบูรี, ชะฮ์ริย้อรของเรา, พิมพ์ปี 1381.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16058 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8872 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5438 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8235 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6585 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    9294 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10439 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5643 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    8580 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8192 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38463 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27294 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27190 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...