การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6138
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/30
คำถามอย่างย่อ
ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ คืออะไร?
คำถาม
ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ. ความแตกต่างของทั้งสองคำนี้ในแง่ภาษาแล้วถือว่าชัดเจน แต่ต้องการทราบถึงการวิเคราะห์ของทั้งสองระดับว่าจะทำได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอาน กล่าวถึงวันกิยามะฮฺในฐานะสถานพำนักหลักสำหรับมนุษย์ ด้วยนามชื่อที่แตกต่างกัน เช่น อัลวากิอะฮฺ, อัรรอญิฟะฮฺ, อัฏฏอมะฮฺ, อัซซอเคาะฮฺ, อัลฮากเกาะฮฺ, เยามุลฟัฎล์, เยามุลนะดิม, เยามุลนุชูร,เยามุลฮัก, เยามุลมัซอะละฮฺ, เยามุลฮิซาบ, เยามุลมะฮาซิบะฮฺ, เยามุลตะลาก, และเยามุลฮัซเราะฮฺ, ซึ่งคำเหล่านี้ถูกกล่าวในอัลกุรอานในฐานะของ วันกิยามะฮฺ

ความหมายของ ฮัซรัต :

ความหมายเดิมของคำว่า ฮัซรัต คือการเปิดเผยชัดเจน ความชัดเจน[1]มีคำกล่าวว่าเนื่องจากวันกิยามะฮฺความจริง และความเร้นลับต่างๆ จะถูกเปิดเผยชัดเจนออกมา (วันซึ่งความเร้นลับภายในของบุคคลจะถูกเปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน)[2] และวันนั้นเรียกว่า วันแห่งความเสียใจ[3] คำว่า ฮัซรัต ยังถูกใช้ในความหมายอื่นอีก เช่น ในความหมายว่า “การสำนึกผิด” (เนื่องจากสิ่งหนึ่งได้หลุดลอยมือไป และไม่สามารถทดแทนสิ่งนั้นได้อีก) และเนื่องจากว่าผลของการเปิดเผยความจริงอันชัดเจน, เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องเสียใจและสำนึกผิดในสิ่งที่ได้กระทำลงไป, จึงเรียกวันนั้นว่า วันแห่งความเสียใจ ซึ่งการนำไปใช้ในลักษณะนี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นการใช้ในความหมายสำรองมากกว่า. ทำนองเดียวกันบางครั้งกล่าวว่า ฮัซรัต ก็ถูกนำไปใช้ในความหมายว่า การตกค้างจากการขับเคลื่อน ดังนั้น ตามคำอธิบายข้างต้นจะเห็นว่า ในวันกิยามะฮฺมนุษย์จะตกค้างจากขบวนการขับเคลื่อน และเขาไม่สามารถกระทำการงานอื่นใดต่อไปได้อีก งานของเขาจะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งตามคำอธิบายของอัลกุรอาน »ในวันนั้นขณะที่ทุกสิ่งสิ้นสุดลง«[4] ซึ่งไม่อาจทดแทนได้อีกต่อไป, ดังนั้น วันฟื้นคืนชีพถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจ ทำนองเดียวกันบางครั้งหมายถึง ความหวาดกลัวและกังวล ซึ่งวันกิยามะฮฺได้ถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจและเป็นกังวล เนื่องจากในวันนั้นมนุษย์จะได้เห็นฉากใหม่ๆ ที่แปลกประหลาด พวกเขาจะกังวลและมีความงงงวย พร้อมกับความระหนเป็นที่สุด

ส่วนการที่กล่าวว่า “ดารุลฮัซเราะฮฺ” มิได้มีการกล่าวไว้ในตำราศาสนาแต่อย่างใด ทั้งในอัลกุรอาน และฮะดีซ แต่ประโยคที่ว่า »เยามุลฮัซเราะฮฺ« มีกล่าวไว้ทั้งในอัลกุรอานและฮะดีซ

อัลกุรอาน กล่าวว่า :  »โอ้ เราะซูลจงเตือนสำทับพวกเขาถึงวันแห่งความเสียใจ ขณะที่วันนั้นทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง และพวกเขาอยู่ในหลงลืมและพวกเขาไม่มีศรัทธา«[5]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวอธิบายไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : จากบริบทของโองการเข้าใจได้ว่าสาเหตุของความเสียใจของพวกเขาคือ การงานของพวกเขาได้สิ้นสุดลง และพวกเขากำลังติดตามผลงานของตน ต่อมาทราบว่าพวกเขาได้รับความเสียหายและขาดทุนยิ่ง สิ่งที่พวกเขาได้พยายามสั่งสมไว้ ได้อันตรธานหายไปจากมือ ซึ่งโองการกล่าวต่อไปว่า : สาเหตุของความเสียหายของพวกเขาคือ การหลงลืมของพวกเขาบนโลกนี้นั่นเอง[6]

วันแห่งความเสียใจ, คือวันซึ่งประชาชนรู้สึกหดหู่และเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความเพิกเฉยและเลยในการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ[7] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :             »ความหายนะประสบแด่บุคคลที่หลงลืมและเพิกเฉย ซึ่งอายุขัยของเขาต่อต้านการดำรงอยู่ของเขา มิหนำซ้ำชีวิตประจำวันของเขายังฉุดกระชากเขาไปสู่ความอับโชค«[8]

มีรายงานฮะดีซที่สวยงามหลายบท กล่าวอธิบายไว้ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺและซุนนียฺ โดยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวว่าบรรดามะอฺซูม (อ.) ได้อธิบายโองการดังกล่าวด้วยตัวอย่างที่งดงามยิ่ง มีผู้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) เกี่ยวกับโองการดังกล่าว, ท่านอิมาม กล่าวว่า : »หลังจากชาวสวรรค์ได้เข้าสู่สวรรค์ และชาวนรกได้ถูกนำตัวสู่นรกแล้ว, จะมีเสียงเรียกดังมาจากพระผู้เป็นเจ้าว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย และโอ้ บรรดาชาวนรก พวกเธอรู้ไหมว่าความตายจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร. มีเสียงตอบว่า ไม่. อุปมาความตายประหนึ่งแกะตอนตัวผู้สีเทา ซึ่งจะอยู่ระหว่างสวรรค์และนรก. หลังจากนั้นได้เรียกทั้งหมดให้เข้ามาใกล้ๆ และจงมองดูความตายเถิด, หลังจากเข้ามาใกล้ๆ แล้ว, อัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้เชือดสัตว์ แล้วมีเสียงกล่าวว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย จะได้พำนักอยู่ในสวรรค์ตลอดไป จะไม่มีวันตาย ความหายนะจงมีแด่ชาวนรก ซึ่งพวกเจ้าจะได้พำนักอยู่ในนรกตลอดไป โดยไม่ตาย« หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า : นี่คือคำอธิบายของพระเจ้า ที่ตรัสว่า : »จงทำให้พวกเขากลัววันแห่งความเสียใจ, ในเวลานั้นขณะที่ทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง แต่พวกเขาอยู่ในระหว่างการหลงลืม และไม่ศรัทธา« หมายถึงการงานของชาวสวรรค์ ได้ทำให้พวกเขาธำรงเป็นนิจนิรันดร์อยู่ในสวรรค์ และการงานของชาวนรก ได้ทำให้พวกเขาธำรงอยู่ในนรกตลอดไป«[9] แหล่งอ้างอิงบางฉบับ ได้รายงานฮะดีซต่อไปอีกว่า : » ชาวสวรรค์มีความปิติยินเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะความดีใจ ส่วนชาวนรกจะส่งเสียงตะโกนโหวกเหวก ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะ ความเสียใจ«[10]

ใช่, ในโลกนั้นบรรดาพวกที่ทำความผิด ต่างแสดงความเสียใจและสำนึกผิดว่า เพราะอะไรพวกเขาจึงไม่ทำความดี และผู้ที่ประกอบความดีก็จะเสียใจเช่นกันว่า โอ้ พระเจ้า ทำไมเราจึงไม่ทำความดีงามให้มากกว่านี้.ชาวสวรรค์ในเวลานั้นยังมิได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ เขาจะเสียใจและกล่าวประณามถากถางตัวเอง[11]

ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : จะมีสองคนในวันฟื้นคืนชีพแสดงความเสียใจมากกว่าใครทั้งหมด, หนึ่งในนั้นคือ บุคคลที่สามารถใฝ่หาความรู้ได้บนโลกได้, แต่ว่าไม่ได้กระทำ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ผู้ที่ได้สอนความรู้แก่คนอื่น ซึ่งผู้เรียนรู้ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น, แต่ส่วนเขามิได้รับประโยชน์อันใดจากความรู้ของตน«[12]

การงานไม่ดีและความเฉยเมยทางโลก จะมีความเสียใจตามไปในปรโลกหน้า[13]

 


[1] อัลอัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 134, ลิซานุลอาเราะบี, เล่ม 4, หน้า 189.

[2] บทอัฏฏอริก, 9.

[3] เราฎุลญินาน และเราฮุลญินาน, เล่ม 13, หน้า 83

[4] บทมัรยัม, 39.

[5] وَ أَنْذِرْهُمْ يَوْمَ الْحَسْرَةِ إِذْ قُضِيَ الْأَمْرُ وَ هُمْ في‏ غَفْلَةٍ وَ هُمْ لا يُؤْمِنُونบทมัรยัม, 39.

[6] อัลมีซาน, เล่ม14. หน้า 51

[7] อัตติบยาน,เล่ม 7,หน้า 127

[8] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เฟฎุลอิสลาม, คำเทศนาที่ 63, หน้า 153.

[9] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 346, และรายงานที่คล้ายกันบันทึกอยู่ใน เซาะฮียฺบุคอรียฺ เล่ม 5, หน้า 236, และในแหล่งอ้างอิงอีกจำนวนมากของชีอะฮฺ และซุนนียฺ

[10] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 345,

[11] กันซุลอุมาล, เล่ม 1, ฮะดีซที่ 1806

[12] นะฮฺญุลฟะซอฮะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 245.

[13] ฆุรรอรุลฮะกัม, ฮะดีซ 10626.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีการกล่าวถึงเงื่อนไขการทำความสะอาดด้วยแสงแดดว่า»ระยะห่างระหว่างพื้นดินกับอาคารซึ่งแสงแดดส่องไปถึงนั้น ภายในต้องไม่มีอากาศหรือสิ่งอื่นกีดขวางแสดงแดด... « ประโยคนี้หมายถึงอะไร ช่วยอธิบายด้วย?
    5966 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำอธิบาย:แสงแดด,
  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    6474 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้
  • มีบทบัญญัติทางฟิกเกาะฮ์ในสวรรค์หรือไม่?
    7120 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    ก่อนอื่นต้องคำนึงเสมอว่าเราไม่สามารถล่วงรู้ถึงสภาวะของปรโลกและสวรรค์-นรกได้นอกจากจะศึกษาจากวะฮยู (กุรอาน)และคำบอกเล่าของเหล่าผู้นำศาสนาที่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือเสียก่อน.แม้ตำราทางศาสนาจะไม่ได้ระบุคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามดังกล่าวแต่จากการพิจารณาถึงข้อคิดที่ระบุไว้ในตำราทางศาสนาก็สามารถกล่าวได้ว่าในสวรรค์ไม่มีบทบัญญัติและกฏเกณฑ์จำเพาะใดๆอีกต่อไปหรือหากมีก็ย่อมแตกต่างจากข้อบังคับต่างๆในโลกนี้ทั้งนี้ก็เพราะการบังคับใช้บทบัญญัติของพระเจ้าในสังคมมนุษย์มีไว้เพื่อสร้างเสริมให้มนุษย์บรรลุถึงความเจริญและความสมบูรณ์สูงสุดซึ่งก็เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาในโลกนี้นั่นเอง
  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    5833 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน
  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16387 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5613 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
    8753 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ถือว่ไม่อนุญาตและมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6806 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
    9629 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจาก “ความถูกต้อง” นั่นเองซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียวส่วนศาสนาอื่นๆ
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6289 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60138 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57587 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42227 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38962 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34011 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28030 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27982 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27817 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25807 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...