بلاگ
อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)ประมุขของหนุ่มสาวชาวสวรรค์
วันอาทิตย์, 06 มีนาคม 2565ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น มีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไป อย่างไรก็ดี เนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว บารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอน
ความหมายของตาบู้ตในฮะดีษเฆาะดี้ร
วันพุธ, 28 กรกฎาคม 2564วรรคหนึ่งของฮะดีษเฆาะดี้รมีอยู่ว่า “...ญิบรออีลลงมาแจ้งแก่ท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อัลลอฮ์ทรงสลามท่าน และทรงตรัสว่า “วาระสุดท้ายของอายุขัยและสถานะศาสนทูตของเจ้าใกล้จะมาถึงแล้ว จงทราบเถิดว่าข้าจะเรียกคืนชีวิตเจ้าโดยปราศจากการบิดพริ้ว ฉะนั้นจงทำสัญญาและสั่งเสียเถิด และจงส่งมอบวิทยปัญญาของเจ้าและศาสนทูตก่อนหน้าเจ้า และศาสตราวุธ และตาบู้ต และสัญลักษณ์แห่งภารกิจของเจ้าให้แก่อลี บิน อบีฏอลิบ ผู้เป็นตัวแทนและข้อพิสูจน์ของข้าบนหน้าแผ่นดิน จงแสดงให้เขาเป็นเสมือนสัญลักษณ์ และจงกำชับพันธะสัญญาที่มีต่อเขา และจงรณรงค์ให้ผู้คนระลึกถึงพันธะสัญญาที่ข้ากระทำต่ออลี บิน อบีฏอลิบในฐานะกัลญาณมิตรของข้า และในฐานะผู้นำของผู้ศรัทธาทั้งหญิงและชาย...”[1]
ตำราของอิมามบากิรและอิมามศอดิก
วันเสาร์, 17 กรกฎาคม 2564ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงบริบททางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน ตลอดจนมุมมองของมัซฮับอื่นๆ(นอกเหนือจากชีอะฮ์)ที่มีต่อบรรดาอิมามสามท่านที่เอ่ยมา จึงจะเข้าใจเหตุผลที่มีการรวบรวมพจนารถอิมามอลี(อ.)ไว้ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทว่ามิได้มีปรากฏการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นในภรณีของอิมามท่านอื่นๆ ดังข้อสังเกตุต่อไปนี้:
มามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)ประมุขของหนุ่มสาวชาวสวรรค์
วันพฤหัสบดี, 18 มีนาคม 2564บรรดานบีและเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ (ซึ่งท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลประเภทนี้) ล้วนมีความโดดเด่นเป็นพิเศษเหนือชาวสวรรค์ท่านอื่นๆ ทำให้บุคคลเหล่านี้ล้วนมีฐานะภาพเหนือชาวสวรรค์ทั่วไป อย่างไรก็ดี บางครั้งคุณลักษณะบางประการของบุคคลเหล่านี้ทำให้บารมีดังกล่าวโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
พิสูจน์ตำแหน่งอิมามของท่านอิมามอลี(อ.)
วันพุธ, 24 กุมภาพันธ์ 2564อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณและละเว้นจากกิเลศทุกประการ ทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลัง ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบ จากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรง ถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาล วิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติ และไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)โดยลำพัง จนถึงตรงนี้เราสามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญาว่า จะต้องมีอิมาม(ผู้นำ)ผู้รู้แจ้งเห็นจริง สืบทอดต่อจากท่านนบี(ซ.ล.)ในทุกยุคสมัย เพื่อชี้นำประชาชาติและธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนา ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิม
บุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
วันเสาร์, 16 มกราคม 2564มิติบุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในลักษณะที่จะต้องได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเท่านั้นจึงจะสามารถประจักษ์ได้ ซึ่งการนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมิติด้านศีลธรรมและจิตใจ ความรู้ และการต่อสู้ของนางทั้งในเชิงการเมืองและสังคม
ขอหยิบยกบุคลิกภาพอันโดดเด่นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ที่กล่าวถึงในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์)มานำเสนอโดยสังเขปดังนี้
สาเหตุที่เอ่ยนามของท่านนบีในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด
วันจันทร์, 02 พฤศจิกายน 2563เพื่อจะทราบเหตุผลของการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.) เราต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ท่อนกลางของโองการ آمَنُوا بِما نُزِّلَ عَلى مُحَمَّدٍ ต้องการจะสื่อเนื้อหาใด เพื่อจะเข้าใจสาเหตุที่มีการเอ่ยนามท่าน
บทบาทของพิธีกรรมการรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)
วันอังคาร, 25 สิงหาคม 2563สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ :