การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
28457
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa857 รหัสสำเนา 11566
คำถามอย่างย่อ
ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
คำถาม
ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
คำตอบโดยสังเขป

เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกัน

แหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้ เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้ กราบสุญูดอาดัม แต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบ

บางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่า เนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้น อิบลิส ต้องมาจากมวลมะลาอะกะฮฺแน่นอน

คำตอบ : การยกเว้นอิบลิสซาตานไว้ในหมู่มลาอิกะฮฺ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าชัยฎอนเป็นพวกเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ แต่ในที่สุดโน้มนำไปสู่เหตุผลว่า อิบลิสซาตาน (เป็นผู้นมัสการพระเจ้านานหลายปี) อยู่ในหมู่มลาอิกะฮฺในระดับต้นๆ  แต่ต่อมาเพราะความหยิ่งยโสและความดื้อรั้นและไม่เชื่อฟังพระเจ้าเขา,จะถูกขับออกจากสวนสวรรค์

คำยืนยันบนคำกล่าวอ้างดังกล่าวคือ

1. อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบทอัลกะฮฺฟิว่าชัยฏอน (ซาตาน) มาจากญิน

2. พระเจ้าทรงขจัดบาปและความผิดออกไปจากมลาอิกะฮฺโดยทั่วไป ดังนั้น มลาอิกะจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่บริสุทธิ์ และไม่เคยทำบาป, ไม่เคยปองร้าย, ไม่เคยหลงตัวเอง, ไม่เคยหยิ่งยโสและ ...ฯลฯ

3. อัลกุรอานบางโองการกล่าวถึง บรรพบุรุษของชัยฏอน ซึ่งประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ชัยฏอน นั้นมีความเหมาะสมและมาจากหมู่มวลของญินแน่นอน ในขณะที่มลาอิกะเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทจิตวิญญาณ (ภาวะนามธรรม) จึงไม่มีปัญหาด้านการกินการดื่มแต่อย่างใด

4.  อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบางโองการว่า ทรงมอบให้บรรดามลาอิกะฮ์เป็นเราะซูลของพระองค์ เราะซูล หมายถึง ผู้ที่ถูกส่งมาจากพระเจ้า และผู้ที่เป็นเราะซูลของพระองค์นั้นจะไม่กระทำความผิดอย่างแน่นอน ดังนั้น ชัยฏอนได้กระทำบาปอันยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แล้วจะเป็นมลาอิกะฮฺได้อย่างไร

นอกเหนือจากนี้ ความเห็นพร้องกันของบรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่ ตลอดจนรายงานที่เชื่อได้จากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) ที่มาถึงมือเราแสดงให้เห็นว่า : ซาตานไม่ได้มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺ และเป็นที่เรารู้กันดีว่าความหน้าเชื่อถือ (ตะวาตุร) เป็นหนึ่งในสื่อที่สำคัญที่สุดสำหรับการค้นหาความถูกต้องของรายงาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

องค์รวมและสาเหตุหลักของคำถามนี้ อยู่ที่เรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (.) เมื่อพระเจ้าทรงประสงค์ที่จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มลาอิกะฮฺได้ทูลถามพระองค์ด้วยความเคารพและความสุภาพที่สุดว่า : พวกเราเคารพและถวายสดุดีต่อพระองค์ยังจะไม่เพียงพออีกหรือ แน่นอน พระองค์จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อการใด ครั้นเมือพระองค์สาธยายความลึกลับของการสร้างมนุษย์ แล้วตรัสว่า มนุษย์คือตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน มวลมลาอิกะฮฺจึงได้น้อมรับคำเชิญ (ให้ก้มกราบอาดัม (.)) ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและด้วยความจริงใจ และทั้งหมดได้ก้มกราบสุญูดต่ออาดัม ในหมู่บรรดามลาอิกะฮฺ หรือดีกว่าที่จะพูดว่าชัยฏอนได้อยู่ในแถวของมลาอิกะฮฺด้วยในเวลานั้น ซึ่งเขาได้นมัสการพระเจ้ามาอย่างช้านาน แต่ความเร้นลับที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของชัยฏอนไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ยกเว้นผู้ทรงอำนาจยิ่ง ความลับที่ถูกซ่อนเร้นมาอย่างยาวนาน แต่บัดนี้มันได้ถูกเปิดเผยออกแล้วในระหว่างการสร้างของอาดัม (.) การปฏิเสธศรัทธาของชัยฏอนนั่นเอง แน่นอน เขาได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธามาอย่างช้านานแล้ว แต่ความหยิ่งยโสและความดื้อรั้นได้ถูกเปิดเผยขณะที่ไม่ยอมก้มกราบอาดัม (.)  ซึ่งการปฏิเสธศรัทธาที่ซ่อนไว้ก็ถูกเปิดเผยออกมาด้วย

เมื่ออัลลอฮฺตรัสแก่มลาอิกะฮฺทั้งหมดและอิบลิส (ผู้เป็นหนึ่งในพวกเขาซึ่งได้แสดงความเคารพบูชามาอย่างช้านาน) ว่า : พวกเจ้าจงก้มกราบอาดัมเถิด มลาอิกะฮฺทั้งหมดได้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ยกเว้นอิบลิสผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งและไม่สุญูด ซึ่งอิบลิสได้อ้างว่า: ฉันได้ถูกสร้างขึ้นจากไฟส่วนเขาถูกสร้างขึ้นจากดิน แล้วจะให้สิ่งที่ดีกว่าก้มกราบสิ่งที่ด้อยกว่าได้อย่างไร ?

ประหนึ่งว่า ซาตาน ไม่รู้แก่นแท้ความจริงของอาดัม ! ว่าอันที่จริงแล้วจิตวิญญาณจากพระเจ้าได้ถูกเป่าเข้าไปบนอาดัม ซึ่งแก่นแห่งเป็นมนุษย์ และคุณค่าของสำคัญของโลกแห่งความเร้นลับซึ่งมาจากพระผู้อภิบาลของเขาได้ถูกเป่าไปบนอาดัมทั้งสิ้น แน่นอน ในความคิดของซาตานจึงคิดว่าธาตุไฟนั้นดีกว่าธาตุดิน กระนั้นแม้ในการเปรียบเทียบของเขาก็ยังมีความผิดพลาดอยู่ดี แต่จะยังไม่อธิบายในที่นี้เนื่องจากเขาเห็นอาดัมแต่เพียงทางกายภาพของความเป็นมนุษย์ แต่หลงลืมด้านจิตวิญญาณของอาดัม ด้วยเหตุนี้เอง ชัยฎอนจึงได้แดสง 2 ปฏิกิริยาที่ตรงกันข้ามกับสองการกระทำ เขาจึงได้ถูกขับออกจากสวนสวรรค์เนรมิตของพระเจ้า ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ปฏิกิริยาแรกของชัยฏอนคือ ความภาคภูมิใจของตนที่มีต่อการสร้างมนุษย์ ส่วนปฏิกิริยาที่สอง, ความหยิ่งยโส, และขั้นสุดท้ายของความดื้อรั้นในการฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ พวกเขาได้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้ามากน้อยเพียงใด มีความมั่นคงในพฤติกรรมมากน้อยแค่ไหน กล่าวคือลำดังต่อไปจะขออธิบายคำบางคำก่อ :

() ชัยฏอน () อิบลิส () มลาอิกะฮฺ () ญิน

) ชัยฏอนซาตานมารร้าย : คำว่า ชัยฏอน มาจากคำว่า ชะฏะนะ และ ชาฏินะ หมายถึง สิ่งที่เป็นความชั่วร้ายและเกเรดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังดื้อดึง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ญิน หรือสิ่งมีชีวิตอื่น  ก็ตาม หรือให้ความหมายว่า จิตวิญญาณชั่วร้ายที่ออกห่างจากจริงก็มี ซึ่งหมายความว่าในแง่ที่เป็นจุดร่วม จะให้ความหมายควบคุมทั่วไปทั้งหมด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในแง่นี้ทั้งหมดเหมือนกัน

ดังนั้น คำว่า ชัยฏอน จึงเป็นคำนามหนึ่ง (เพศคำนาม) ซึ่งหมายถึงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและอันตรายและก่อให้เกิดการหลงผิด ใช้ได้ทั้งกับทุกสิ่งที่มีอยู่ (ไม่ว่าจะมนุษย์หรือไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม)

ในพระคัมภีร์อัลกุรอานและคำกล่าวของบรรดาอิมามมะอ์ซูม (.) กล่าวว่า ชัยฏอนซาตานมารร้าย ไม่ได้ระบุเจาะจงเฉพาะว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทว่าบางครั้งหมายถึงมนุษย์ที่ชั่วร้าย หรือมีมารยาทหยาบคาย เช่น อิจฉาริษยา, ก็เรียกว่า ชัยฏอน เหมือนกัน[1]

) อิบลิส : เป็นคำนามเฉพาะ (อะลัม) ซึ่งมีเพียงสิ่งเดียวที่ตรงกับความเป็นจริง เขาเป็นคนแรกบนโลกนี้ที่ได้ฝ่าฝืนและก่อบาปกรรมขึ้น และ  เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าเขาได้วิวาทเพื่อเรียกร้องความเป็นอิสระ เขาได้หลงตนเองและแสดงความหยิ่งจองหอง และปฏิเสธคำสั่งของพระเจ้า และในที่สุดก็ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตรนั้น

นามอื่นของ อิบลิส คือคือ อะซาซีล[2] ส่วนคำว่า อิบลิส มาจากคำว่า "อิบลาส" ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็น ฉายานามหนึ่ง อิบลาส คือการสิ้นหวัง ซึ่งบางทีอาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากอิบลิส สิ้นหลังในความเมตตาของพระเจ้า จึงได้รับฉายานามนี้

) มลาอิกะฮฺ : เพียงพอแล้วที่จะกล่าวถึงคุลักษณะบางส่วนที่เหมาะสมของมลาอิกะฮฺ เพื่อที่เราจะได้รับบทสรุปว่า มวลมลาอิกะฮฺทั้งหลาย ไม่มีวันที่จะกระทำความผิดและบาปกรรมใด  ได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ชัยฏอนซาตานมารร้ายจึงไม่สามารถมาจากประเภทของมลาอิกะฮฺได้เด็ดขาด[3]

มลาอิกะฮฺ คือการมีอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งพระเจ้าได้อธิบายถึงคุณลักษณะทีดีเกี่ยวกับพวกเขาไว้ในอัลกุรอาน เช่นบางโองการกล่าวว่า :

بَلْ عِبادٌ مُکْرَمُون‏، لا یَسْبِقُونَهُ بِالْقَوْلِ وَ هُمْ بِأَمْرِهِ یَعْمَلُون

" (มะลาอิกะฮ์) เป็นบ่าวผู้มีเกียรติ พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์"[4]

ซึ่งจะเห็นว่าจนกระทั้งถึงวินาทีสุดท้าย มลาอิกะฮฺก็จะไม่กระทำสิ่งที่ขัดต่อสัจธรรมความจริง พวกอยู่ในสภาพของการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระผู้อภิบาลเสมอ เป็นสิ่งที่มีอยู่ที่สะอาดบริสุทธิ์ ตัวตนของมลาอิกะฮฺสะอาด ฉะนั้นจึงไม่มีวันที่พวกเขาจะเกลือกกลั้วกับบาปกรรมอย่างแน่นอน สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านี้การเชื่อฟังพระเจ้าอยู่ในสายเลือดของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจะไม่แสดงความอ่อนแอและไร้ความสามารถในสิ่งที่ตนไม่รู้ ไม่แสดงความยโสโอหังต่อสิ่งที่ตนรู้เด็ดขาด เนื่องจาก พวกเขาเชื่อมั่นว่า การมีอยู่ของพวกเขาล้วนมาจากพระผู้อภิบาลทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าพวกเขาฝ่าฝืนคำสั่งแม้เพียงเล็กน้อย สิ่งที่พวกเขารู้ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นความโง่เขลาทันที

ดังนั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างมลาอิกะฮฺ กับชัยฏอนอยู่ที่เรื่องราวการสร้างและการก้มกราบอากดัม เนื่องจากมลาอิกะฮฺได้ล่วงรู้อย่างชัดเจนด้วยจิตเบื้องลึกว่า พวกตนไม่เข้าใจและไม่รู้เกี่ยวกับพระนามอันไพจิตรของพระเจ้า หมายถึงพวกเขาทราบเป็นอย่างดีว่า พวกเขาไม่รู้ แต่ส่วนชัยฏอนนั้นด้วยความดื้อรั้นและความยโสโอหังที่มีอยู่ในสายเลือด จึงได้คิดว่าตนรู้ดีทุกอย่าง ฉะนั้น ชัยฏอน จึงไม่เข้าใจคำสั่งของพระเจ้า ที่สั่งให้ก้มกราบอาดัมเนื่องจากความรู้ของพระเจ้าที่เพิ่มเติมไปบนอาดัม ความคิดที่มืดมิดของชัยฏอนจึงได้ปิดกั้นไม่เปิดโอกาสให้เขาได้เข้าใจในวิชาการเหล่านั้น ในความหมายก็คือ ความอคติ ความจองหองอวดดีคืออุปสรรคสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจ และในที่สุดแล้วชัยฏอนก็ไม่ได้ก้มกราบอาดัม มันเป็นการปฏิเสธของผู้มีความยโสโอหัง ไม่ใช่ว่าเขาไม่สามารถก้มกราบได้!

ด้วยคำอธิบายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า มวลมลาอิกะฮฺ ทั้งหลายเป็นผู้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ความผิดบาปไม่อาจปรากฏในหมู่พวกเขาได้อย่างแน่นอน เมื่อไม่มีทางกระทำความผิด ดังนั้นผลงานทั้งหมดของพวกเขาจึงได้กระทำไปเพื่อการภักดีในพระเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อการเชื่อฟังคำสั่งเป็นวาญิบและมีสำคัญยิ่งแล้ว ความผิดบาปก็จะถูกสั่งห้ามและถูกปิดกลั้นไปโดยปริยาย (นี่เป็นเหตุผลแรก ทางสติปัญญาที่ยืนยันให้เห็นความแตกต่างระหว่างชัยฏอนกับมลาอิกะฮฺ)

แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเหตุผลและหลักฐานอื่น  ทางปัญญา จะอธิบายสั้น  เกี่ยวกับ ญิน เสียก่อน

) ญิย : ญิน ตามรากเดิมแล้วหมายถึง สรรพสิ่งนั้นที่ถูกปกปิดไปจากความรู้สึกของมนุษย์ อัลกุรอานยืนยันถึงการการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตประเภท ญิน เอาไว้ ซึ่งอัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า พวกเขาเช่นกันเป็นสรรพสิ่งหนึ่งที่มาจากไฟ ส่วนมนุษย์นั้นถูกสร้างขึ้นจากดิน อย่างไรก็ตามการสร้างญินนั้นมีมาก่อนการมนุษย์[5]

นักวิชาการบางคน อธิบายว่า ญิน เป็นจิตวิญญาณประเภทหนึ่งที่มากด้วยสติปัญญา ปราศจากภาวะวัตถุ แต่ไม่ได้เป็นภาวะนามธรรมสมบูรณ์แต่อย่างใด เนื่องจากบางสิ่งบางอย่างที่สร้างขึ้นจากไฟ มีสภาพเป็นวัตถุและเป็นกึ่งสภาวะของนามธรรม, หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าเป็นชนิดของวัตถุที่ละเอียดอ่อน[6]

จากโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่า ญิน ก็เป็นประเภทหนึ่งที่คล้ายเหมือนมนุษย์เช่นกัน มีสติปัญญา มีความต้องการ และความรู้สึก สามารถทำงานหนักได้ ญินมีทั้งผู้ศรัทธาและปฏิเสธศรัทธา ญินบางคนเป็นบ่าวบริสุทธิ์ บางคนก็เป็นผู้ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินเช่นเดียวกับมนุษย์, ญินมีชีวิต ความตาย และมีการคืนชีพเช่นเดียวกัน ... มีเพศชายและเพศหญิง มีการแต่งงานและมีการขยายเผ่าพันธุ์เหมือนกัน

แต่ประเด็นหลักในที่นี้คือ อิบลิส มาจากมลาอิกะด้วยหรือไม่ ในหมู่นักวิชาการมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ซึ่งที่มาของข้อพิพาทนี้ บางที่อาจเป็นการยึดถืออัลกุรอานบางโองการและการตีความที่ต่างกันออกไป

บางคนกล่าวว่า ซํยฏอนมารร้าย (อิบลีส) มาจากมลาอิกะฮฺ เหตุผลหลักของพวกเขาก็คืออัลกุรอานบางโองการที่กล่าวว่า

واذ قلنا للملایکة اسجدوا لآدم فسجدوا الا ابلیس

"จงรำลึกถึง ขณะที่เรากล่าวแก่มลาอิกะฮฺว่า พวกเจ้าจงก้มกราบอาดัมเถิด แล้วพวกเขาก็ก้มกราบยกเว้นอิบลีส"[7] เนื่องจากโองการนี้ ได้ยกเว้นอิบลิสออกไปจากการก้มกราบ ส่วนผู้ที่ถูกยกเว้นไปจากพวกเขาคือ มลาอิกะฮฺ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า อิบลิส มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺ

แต่ตามความเป็นจริงแล้ว อิบลิส ไม่อาจมาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺได้ รายงานที่เชื่อถือได้ (มุตะวาติร) จากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) ซึ่งบรรดาอิมามมีความเห็นพร้องต้องกัน และเน้นย้ำว่า อิบลิส นั้นมาจากหมู่ญินไม่ใช่มลาอิกะฮฺ ซึ่งประเด็นดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้หลายเหตุผลด้วยกันกล่าวคือ

1. อัลลอฮ์ ผู้ทรงอำนาจยิ่งตรัสว่า "อิบลีสอยู่ในจำพวกญิน[8]

2. อัลลอฮ์ ผู้ทรงอำนาจยิ่งตรัสว่า

لایعصون اللَّه ما اَمَرهم و یفعلون ما یؤمرون

พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา[9] พระเจ้าตรัสเกี่ยวกับมลาอิกะฮฺว่า : ไม่มีทางที่พวกเขาจะฝ่าฝืนพระบัญชาของพระเจ้า หมายถึงโดยทั่วไปแล้วพระองค์ปฏิเสธบาปกรรมให้พ้นไปจากมลาอิกะฮฺ ซึ่งเข้าใจได้ว่าประการแรก ไม่มีมลาอิกะฮฺองค์ใด และประการที่สอง ไม่มีการทำความผิดบาปใด  ทั้งสิ้น

3. อัลลอฮฺ ตรัสว่า

افتتخذونه وذُرتیه اولیاء من دونى وهُمُ لکم عدو

"พวกเจ้าจะยึดเอามันและวงศ์วานของมัน เป็นผู้คุ้มครองอื่นจากข้ากระนั้นหรือหรือ? ทั้งๆ ที่พวกมันเป็นศัตรูกับพวกเจ้า[10] ประเด็นดังกล่าวนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าในหมู่ญินและวงศ์วานของเขา หรืออีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ในหมู่พวกเขามีการสืบสกุลวงศ์ ขณะที่ในหมู่มลาอิกะฮฺมีการสร้างในลักษณะของจิตวิญญาณ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะไม่มีในหมู่พวกเขา

4. อัลลอฮฺ ตรัสว่า "ผู้ทรงแต่งตั้งมะลาอิกะฮฺให้เป็นผู้นำข่าว[11] และเราทราบเป็นอย่างดีว่าการปฏิบเสธและการทำความผิดสำหรับเราะซูลแล้วเป็นไปไม่ได้ และไม่อนุญาตให้กระทำ

แต่คำตอบสำหรับบุคคลที่กล่าวว่า อิบลิสได้รับการยกเว้นจากหมู่มลาอิกะฮฺ จำเป็นต้องกล่าวว่า การยกเว้น ชัยฏอน ออกไปจากมลาอิกะฮฺไม่ได้บ่งบอกเลยว่า ทั้งสองมลาอิกะฮฺและญินเป็นประเภทเดียวกัน สิ่งที่สามารถเข้าใจได้จากโองการก็คือ อิบลิส อยู่ในแถวเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ และอยู่ในหมู่พวกเขาซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการก้มกราบเฉกเช่นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ บางคนกล่าวว่า การยกเว้นในโองการดังกล่าว เป็นการยกเว้นประเภทไม่ต่อเนื่อง (มุงกะฏิอ์) หมายถึง สิ่งที่ได้รับการเว้นไปจากพวกเขาไม่ได้ถูกกล่าวไว้ในประโยค[12]

ขณะที่มีคำกล่าวถึงอิบลิสว่า พวกเขาแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านานถึง 6000 ปี ดังนั้น การจัดให้การมีอยู่ประเภทนี้ร่วมกับมลาอิกะฮฺ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด และมีความเป็นไปได้

ท่านอิมามซอดิก (.) ได้ถูกถามว่า อิบลิสมาจากมวลมลาอิกะฮฺหรือไม่ หรือเป็นประเภทหนึ่งจากมวลสรรพสิ่งทั้งหลายแห่งฟากฟ้า ท่านกล่าวว่า : ไม่ได้มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺและสิ่งมีชีวิตอื่น  ในฟากฟ้าแต่อย่างใด ทว่าอิบลิสมาจากหมู่มวลของญิน เพียงแต่ได้อยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งมลาอิกะฮฺเองก็คิดว่าเขามาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺเช่นกัน แต่อัลลอฮฺ ทรงทราบว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น และเรื่องนี้ได้ดำเนินมาจนถึงกาลเวลาที่พระองค์ได้มีบัญชาให้มวลมลาอิกะฮฺ ทั้งหมดก้มกราบต่ออาดัม ความลับของอิบลิสที่ซ่อนอยู่อย่างช้านานก็ได้เปิดเผยออกมา[13]

แหล่งอ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม :

1. มัรฮูม เฏาะบัรระซีย์ มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 1 หน้า 163 ตอนอธิบายโองการ 34  บทบะเกาะเราะฮฺ

2 . อัลลามะฮฺ มูฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอีย์, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 122 เป็นต้นไป และเล่ม 8 , หน้า 20 เป็นต้นไป

3. อับดุลอฮฺ ญะวาด ออมูลีย์,ตัฟซีรเมาฏูอีย์, เล่ม 6, ตอนอธิบายเกี่ยวกับการสร้างอาดัม

4. อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด มิซบาฮฺ ยัซดี, มะอาริฟกุรอาน เล่ม 1-3, หน้า 297 เป็นต้นไป

5. ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 1, ตอนอธิบายโองการที่ 34 บทบะเกาะเราะฮ, เล่มที่ 11 หน้า 8 เป็นต้นไป



[1] รอฆิบ เอชฟาฮานี, มุฟฟะรอดอต คำว่า ชัยฏอน

[2]  ฏูซีย์, มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 1 หน้า 165 พิมพ์ที่เบรุต

[3] โองการได้ใช้คำว่า มลาอิกะอฺ ในรูปของพหูพจน์ ซึ่งมี อลีฟกับลาม ควบคู่มาด้วยเสมอ เช่น มวลมลาอิกะฮฺทั้งหมด มีหน้าที่ก้มกรามอาดัม

[4]  อัลกุรอาน บทอันบิยาอ์ โองการ 26-27

[5] อัลกุรอาน บทอัลฮิจร์ โองการที่ 27 กล่าวว่าและญินนั้น เราได้สร้างมันมาก่อนจากไฟของลมร้อน

[6] นักวิชาการกล่มหนึ่ง ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 11 หน้า 79-80

[7] อัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการ 34

[8] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟิ โองการ 50

[9] อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม โองการ 6

[10] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟิ โองการ 50

[11] อัลกุรอาน บทฟาฏิร 1 และบทฮัจญฺ 75

[12] แต่ยังมีการบ่งชี้อย่างอื่นอีก ซึ่งสามารถศึกษาได้จาก ตักซีร มัจญฺอุลบะยาน ตอนอธิบาย โองการที่ 34 บทอับบะเกาะเราะฮฺ 

   Tabarsi, บาหยัน Assembly, C 1, p 163, เผยแพร่ในเบรุต

[13] เฏาะบัรเราะซีย์ มัจญฺมะอุล บะยาน เล่ม 1 หน้า 163 พิมพ์ที่เบรุต

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6700 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • มีรายงานฮะดีซจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่? และศีลอดนี้ถือเป็นศีลอดมุสตะฮับด้วยหรือไม่?
    7248 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11515 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    6572 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นๆ?
    6389 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    บนพื้นฐานของเหตุผลทั่วไปแห่งสภาวะการเป็นศาสดา คือ การชี้นำมวลมนุษยชาติ, พระองค์จึงเลือกสรรประชาชาติบางคนจากหมู่พวกเขาในฐานะของแบบอย่าง, เพื่อเป็นตัวแทนและเป็นผู้ชี้นำทาง แน่นอนการเลือกสรรนี้มิได้ปราศจากเหตุผล คำอธิบาย ศักยภาพในการเป็นเคาะลิฟะฮฺของพระเจ้า ได้ถูกมอบแก่มนุษย์ทุกคนแล้ว เพียงแต่ว่ามิใช่มนุษย์ทุกคนจะไปถึงขั้นนั้นได้, มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่มีศักยภาพพอ และด้วยการอิบาดะฮฺทำให้เขาได้ไปถึงยังตำแหน่งของการเป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน และพวกเขาจะไม่กระทำความผิดตามเจตนารมณ์เสรีของตน, อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ถึงสภาพของพวกเขาทั้งก่อนการสร้างในรูปแบบภายนอก และทรงรอบรู้ถึงสภาพและความประพฤติของพวกเขาเป็นอย่างดี, การตอบแทนผลรางวัลแก่การงานของพวกเขา, พระองค์ทรงเลือก มอบสาส์น และความคู่ควรการเป็นผู้นำสังคมแก่พวกเขา, ดังนั้น ความเร้นลับในการเลือกสรรจึงวางอยู่บน 2 เหตุผล กล่าวคือ 1.การแสดงความเคารพสมบูรณ์ของหมู่มิตรของพระเจ้าที่มีต่อพระองค์ 2.ความเมตตาและความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ที่มีต่อหมู่มิตรของพระองค์ สรุป ความเมตตาการุณย์ของพระเจ้าที่ทรงมีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากว่า หนึ่ง : วางอยู่บนศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา และสอง
  • ถ้าหากบนผิวหนังมีจุด่างดำ หรือสีน้ำตาล สามารถผ่าตัด หรือยิงเลเซอร์ได้ไหม ถ้าสามียินยอม?
    8302 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ทัศนะของมัรญิอฺตักลีดบางท่านเกี่ยวกับการผ่าตัดจุดด่างดำปานบนผิวหนังด้วยการยิงเลเซอร์เช่นสำนักฯพณฯ
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    6469 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • การอยู่ตามลำพังกับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ภายในห้องเดียวกัน เป็นอะไรหรือไม่?
    19201 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    คำหลักคำสอนของศาสนา,หนึ่งในหลักการที่สอนให้มนุษย์มีความบริสุทธิ์และปกป้องตนจากการทำความผิดคือ การห้ามมิให้อยู่กับหญิงสาวตามลำพังภายในห้องเดียวกัน คำสั่งเสียของชัยฏอน ที่มีต่อมูซา (อ.) ที่ว่า “โอ้ มูซาจงอย่าอยู่ตามลำพังกับหญิงสองต่อสองในที่เดียวกัน เนื่องจากบุคคลใดก็ตามกระทำเช่นนี้ ฉันจะเป็นเพื่อนกับเขา มิใช่ผู้ช่วยเหลือเขา”[1] เช่นเดียวกันท่อนหนึ่งจากคำแนะนำที่มารมีต่อศาสดานูฮฺ (อ.) “เมื่อใดก็ตามที่เจ้าได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง ในที่นั้นจะไม่มีใครอยู่กับเจ้าเลย แล้วเจ้าจะคิดถึงเรา”[2] ด้วยเหตุนี้เอง, จากการที่ชัยฏอน จะอยู่กับเราในที่ซึ่งเราได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง การอยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแห่งการกระซิบกระซาบของชัยฏอน ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องเตือนสำทับในที่นี้คือ บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ที่เราได้จำเป็นต้องอยู่ตามลำพังกับนามะฮฺรัม เนื่องด้วยความจำเป็นด้านการศึกษาค้นคว้า การให้คำปรึกษา และอื่นๆ ดังนั้น ในกรณีที่จำเป็นเหล่านี้ ถ้าหากใส่ใจและมีความเคร่งครัดต่อคำสอนของศาสนาและชัรอียฺ หรือให้เลือกอยู่ในที่สาธารณเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อปิดประตูการหยุแหย่ของชัยฏอน
  • เราสามารถที่จะทำน้ำนมาซหรืออาบน้ำยกฮะดัษทั้งที่ได้เขียนตาไว้หรือไม่?
    6376 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆที่จะสกัดกั้นมิให้น้ำไหลถึงผิวได้ดังนั้นหากได้เขียนในวงขอบตาการอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำยกฮะดัษถือว่าถูกต้องแต่ถ้าหากได้เขียนบริเวณรอบตาหรือบริเวณคิ้วก็จะต้องพิจารณาว่ามีความหนาแน่นถึงขั้นสกัดมิให้น้ำเข้าไปถึงบริเวณที่จะต้องทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษหรือไม่?เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่บรรดาฟุกะฮาอ์มีทัศนะเอกฉันท์จึงขอยกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตมาณที่นี้“หากได้เขียนบริเวณรอบนอกของดวงตาและที่เขียนตามีความมันจนคนทั่วไปเชื่อว่าจะสกัดกั้นมิให้น้ำเข้าถึงและมั่นใจว่าเขียนขอบตาก่อนที่จะทำการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหม่”[1][1]บะฮ์ญัต, มุฮัมหมัดตะกี, การวินิจฉัย, เล่มที่ 1,สำนักพิมพ์ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6686 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60536 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58128 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42657 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40030 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39277 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28457 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28385 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28307 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26236 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...