การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
60123
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa925 รหัสสำเนา 14906
คำถามอย่างย่อ
อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
คำถาม
กรุณาชี้แจงหน้าที่ทางกฏหมายที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี และอยากทราบว่าสามีมีสิทธิเรียกร้องให้ภรรยากระทำสิ่งใดได้บ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:
1. ยอมรับภาวะผู้นำของสามี: หากเกิดปัญหาครอบครัว สามีควรได้รับสิทธิชี้ขาดในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ดี สามีไม่ควรลุแก่อำนาจ และใช้สิทธิดังกล่าวจนกระทั่งขัดต่อศาสนาและกฏหมาย และขัดต่อความราบรื่นของชีวิตคู่
2. การยินยอมเรื่องเพศสัมพันธ์: ภรรยาจะต้องยินยอมให้สามีมีเพศสัมพันธ์ตามปกติวิสัย และตามแต่สุขภาพกายและใจจะอำนวย เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นต้องงด อย่างเช่น ขณะมีรอบเดือนหรือขณะป่วยไข้
3. ยินยอมสามีในเรื่องภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย: ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่สามีโอนสิทธิดังกล่าวแก่ภรรยาแล้ว และไม่รวมถึงกรณีที่จะส่งผลให้ภรรยาเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของภรรยา
4. เชื่อฟังสามีในเรื่องการออกนอกบ้าน และการพาผู้อื่นเข้ามาในบ้านตามเหมาะสม: ยกเว้นกรณีที่สามีห้ามไม่ให้เดินทางไปทำฮัจย์วาญิบ หรือกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา หรือหากการอยู่ในบ้านเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง.
5. เชื่อฟังสามีในเรื่องการเข้าทำงาน หรือการเลือกประเภทงาน ในกรณีที่ขัดต่อกาลเทศะ สถานภาพและความเหมาะสมของทั้งสองฝ่าย

คำตอบเชิงรายละเอียด

พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างทั้งชายและหญิงให้มีลักษณะที่หากปราศจากเพศตรงข้าม แต่ละเพศจะไม่สามารถถือกำเนิดและดำรงชีวิตต่อไปได้ ไม่สามารถบำบัดความต้องการทางกายและจิตใจโดยลำพังอย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถพัฒนาตนทั้งในแง่จิตวิญญาณและศาสนาไม่ว่าจะในเชิงปัจเจกหรือสังคม ประหนึ่งว่าแต่ละเพศเมื่อหลอมรวมกันแล้วจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ แต่หากแยกจากกันก็จะมีความบกพร่องที่ต้องได้รับการเติมเต็ม[1]
คุณลักษณะดังกล่าวเมื่อนำมาพิจารณาถึงความแตกต่างในแง่ร่างกายและจิตใจของชายหญิง อัลลอฮ์จึงทรงกำหนดสิทธิและหน้าที่[2]ของสามีภรรยาไว้ทั้งในลักษณะรวมและเฉพาะแต่ละเพศ ทั้งนี้ก็เพื่อสนองความต้องการทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ผู้รู้ทางศาสนาให้ความสำคัญต่อสิทธิหน้าที่ของสามีภรรยาทั้งในทางฟิกเกาะฮ์(นิติศาสตร์อิสลาม)[3] จริยธรรม[4] และกฏหมายแพ่ง[5] ทั้งนี้ก็เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ทางจริยธรรมเปรียบเสมือนเสาหลักที่ค้ำประกันสิทธิหน้าที่ทางกฏหมายแพ่ง[6] ส่วนสิทธิหน้าที่ทางฟิกเกาะฮ์ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับสิทธิหน้าที่ทางกฏหมาย เราจึงขอนำเสนอสิทธิและหน้าที่ทางจริยธรรมและกฏหมายอิสลามดังต่อไปนี้:

ส่วนแรก: หน้าที่ทางจริยธรรมอิสลามของภรรยา
จากเนื้อหาของฮะดีษทำให้เราสามารถจำแนกหน้าที่ของภรรยาออกเป็นสองส่วน นั่นคือ คุณค่าของการปฏิบัติหน้าที่ต่อสามี และรายละเอียดหน้าที่
. คุณค่าของการปฏิบัติหน้าที่ต่อสามี
1.ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า“หากอนุมัติให้ศิโรราบต่อสิ่งที่มิไช่พระเจ้า ฉันจะบอกให้เหล่าภรรยาศิโรราบต่อสามี”
2. สิทธิของสามี มีมากกว่าสิทธิของผู้ใดเหนือภรรยา
3. ญิฮาดของภรรยาคือการอดทนต่อพฤติกรรมไม่ดีของสามี
4. ภรรยาไม่ควรยั่วโทสะสามี แม้ว่าสามีจะทำให้เธอไม่สบายใจ
5. ภรรยาที่ไม่ได้รับความพอใจจากสามี ศาสนกิจของเธอจะไม่ได้รับการตอบรับ
6. ภรรยาที่ไม่รู้คุณสามี จะไม่ได้รับผลบุญใดๆจากศาสนกิจ[7]

ข. รายละเอียดหน้าที่ของภรรยา
1. ภรรยาไม่ควรเผลอใจแก่ชายอื่น มิเช่นนั้นจะถือเป็นหญิงผิดประเวณีในทัศนะของพระองค์
2.
ภรรยาไม่ควรปฏิเสธกามารมณ์ของสามี และควรตอบรับหากสามีขอร่วมหลับนอนแม้บนพาหนะ ไม่ว่าช่วงวันหรือกลางคืน แต่หากไม่เป็นไปตามนี้ เธอจะถูกมวลมะลาอิกะฮ์ละอ์นัต(ประณาม)
3
. ภรรยาไม่ควรถือศีลอดสุหนัต(ภาคอาสา)หากไม่ได้รับการยินยอมจากสามี (นี่คือคำสอนเชิงสัญลักษณ์ และน่าจะหมายรวมถึงศาสนกิจสุหนัตทุกประการ)
4. ภรรยาไม่ควรนมาซให้ยาวนาน หากจะทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการเร่งด่วนของสามีได้
5. ภรรยาไม่ควรให้ทรัพย์สินแก่ผู้ใดแม้แต่เศาะดะเกาะฮ์ หากสามีไม่ยินยอม
6. ภรรยาไม่ควรออกนอกบ้านหากสามีไม่ยินยอม มิเช่นนั้นจะถูกประณามโดยมะลาอิกะฮ์แห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน รวมถึงมะลาอะฮ์แห่งความเมตตาและความกริ้ว[8]
7. ภรรยาควรเสริมสวย ใช้เครื่องหอม และประดับประดาตนเพื่อสามีเท่านั้น และหากกระทำไปเพื่อชายอื่น นมาซของเธอจะไม่ได้รับการตอบรับ.[9]

ส่วนที่สอง: หน้าที่ตามบทบัญญัติอิสลาม
ประกอบด้วยหมวดหน้าที่ร่วมกันของทั้งสามีและภรรยา และหน้าที่จำเพาะสำหรับภรรยา
ก. หน้าที่ร่วมกันของสามีและภรรยา
:
1.
มีปฏิสัมพันธ์อย่างอบอุ่น: สามีและภรรยาต่างมีหน้าที่ในการแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อกัน ไม่ว่าจะในแง่การกระทำ วาจา หรือแม้แต่สีหน้า และจะต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สร้างความร้าวฉาน นอกจากจะมีข้อยกเว้นในแง่บทบัญญัติ กฏหมาย หรือวิถีประชา
2. ถ้อยทีถ้อยอาศัย:
สามีภรรยาจะต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างเสริมสถาบันครอบครัวให้ก้าวหน้ามั่นคง ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวขึ้นอยู่กับวัตรปฏิบัติในแต่ละสังคม กาลเทศะ ขนบธรรมเนียม และสถานภาพของทั้งสองฝ่าย ตัวอย่างเช่น หากธรรมเนียมสังคมกำหนดว่าภาระในบ้าน การเลี้ยงดูและให้นมบุตรเป็นหน้าที่ของภรรยา และกำหนดว่าภาระนอกบ้านเป็นหน้าที่ของสามี ทั้งสองฝ่ายก็ควรประสานงานกันตามธรรมเนียมดังกล่าว
3. การเลี้ยงดูบุตรธิดา:
สามีภรรยาจะต้องทุ่มเทเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูบุตรธิดาตามอัตภาพ กาลเทศะ และระดับความคาดหวังในแต่ละสังคม
4. ซื่อสัตย์ต่อกัน:
สามีภรรยาจะต้องไม่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางผิดประเวณีกับผู้อื่น

ข. หน้าที่จำเพาะภรรยาตามบทบัญญัติ
1. ยินยอมต่อภาวะผู้นำของสามี: หากเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว สามีควรได้รับสิทธิตัดสินชี้ขาด อย่างไรก็ดี หน้าที่ดังกล่าวของสามีไม่ควรเป็นไปในลักษณะที่ขัดต่อหลักอัธยาศัยไมตรีและหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย รวมทั้งจะต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนาและกฏหมายแพ่ง อันเกิดจากการลุแก่อำนาจของสามี

2. ตัมกีน[10]: ภรรยาจะต้องยินยอมให้สามีมีเพศสัมพันธ์ตามปกติวิสัย และตามแต่สุขภาพกายและใจจะอำนวย เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นทางศาสนาหรือกฏหมายที่ต้องงด อย่างเช่น ขณะมีรอบเดือนหรือขณะป่วยไข้

3. ยินยอมสามีในเรื่องภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย: ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่สามีโอนสิทธิในการตัดสินใจให้แก่ภรรยาแล้ว และไม่รวมถึงกรณีที่จะส่งผลให้ภรรยาเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของภรรยา

4. เชื่อฟังสามีในเรื่องการออกนอกบ้าน และการพาผู้อื่นเข้ามาในบ้านตามเหมาะสม: ยกเว้นกรณีที่สามีห้ามไม่ให้เดินทางไปทำฮัจย์วาญิบ หรือกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา หรือหากการอยู่ในบ้านเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง.

5. เชื่อฟังสามีในเรื่องการเข้าทำงาน หรือการเลือกประเภทงาน ในกรณีที่ไม่ขัดต่อกาลเทศะ สถานภาพและความเหมาะสมทางสรีระและจิตใจของทั้งสองฝ่าย

ทั้งหมดนี้เป็นการประมวลหน้าที่ของภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามีอย่างคร่าวๆ และเพื่อให้หัวข้อนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จะขอนำเสนอภาระหน้าที่ๆสามีพึงปฏิบัติต่อภรรยาโดยสังเขปดังนี้

ส่วนที่สาม: หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
หน้าที่ของสามีต่อภรรยาแบ่งออกเป็นสองประเภท หน้าที่ทางจริยธรรม และหน้าที่ทางบทบัญญัติ
ก. หน้าที่ทางจริยธรรม
: เนื้อหาของฮะดีษได้จำแนกออกเป็นสองส่วน นั่นคือ คุณค่าของการประพฤติดีต่อภรรยา และรายละเอียดหน้าที่
หนึ่ง
: คุณค่าของการประพฤติดีต่อภรรยา
1. การมอบความรักแด่ภรรยาคืออุปนิสัยของบรรดานบี[11]
2. การสารภาพรักต่อภรรยาจะไม่เลือนหายไปจากใจเธอ
3. ให้อภัยภรรยาหากแสดงเธอพฤติกรรมไม่ดี
4. ประพฤติต่อเธออย่างทะนุถนอมเอาใจใส่
5. ชายที่ประเสริฐสุดในทัศนะของพระองค์คือ สามีที่มีความประพฤติดีที่สุดต่อภรรยา
6. ชายที่เป็นที่รักที่สุด คือสามีที่ประพฤติดีต่อภรรยาบ่อยที่สุด
7. ต้องหวั่นเกรงการตัดสินของพระองค์ หากไม่ระมัดระวังสิทธิของภรรยา.

สอง: รายละเอียดหน้าที่ทางจริยธรรม
1. มองภรรยาในฐานะดอกไม้ที่ควรค่าแก่การทะนุถนอม มิไช่สาวใช้ในบ้าน ทั้งนี้ก็เพื่อคงไว้ซึ่งความสดใสสวยงามของเธอ และไม่คาดหวังจากเธอในสิ่งที่เกินเลยความสามารถ
2. ตระเตรียมปัจจัยสี่และเครื่องประดับให้เหมาะสมสำหรับเธอ โดยเฉพาะสำหรับวันอีด
3. สอบถามความเห็นของภรรยาในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตคู่
4. รักษาสิทธิภรรยาในแง่กิจกรรมทางเพศ

ข. ภาระหน้าที่ตามบทบัญญัติ
แบ่งออกเป็นสองส่วน หน้าที่รวมสำหรับสามีภรรยา(ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว) และหน้าที่จำเพาะสำหรับสามี

ส่วนที่สี่: หน้าที่จำเพาะของสามี
ก. หน้าที่ในเรื่องค่าใช้จ่าย
1. จัดหาอาหารที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
2.
จัดหาเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
3. จัดหาเครื่องประดับที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
4. จัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
5. จัดหาคนช่วยทำงานบ้านหากจำเป็น ตามความเหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา หรือในกรณีที่ภรรยาล้มป่วย
6. จัดหาหยูกยาและให้การรักษาภรรยาหากล้มป่วย[12]

ข. หน้าที่ในการร่วมหลับนอน
กฏหมายทั่วไปมิได้ชี้ชัดในจุดนี้โดยระบุไว้เพียงหลักอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อกัน ทว่าผู้รู้ทางศาสนาได้นำเสนอประเด็นดังกล่าวไว้ดังนี้
:
1.
หลังพิธีแต่งงานแล้ว ภรรยามีสิทธิเหนือสามีในการร่วมเตียงเคียงหมอนดังนี้
หากเป็นสาวพรหมจรรย์ สามีมีหน้าที่จะต้องอยู่กับเธอไม่น้อยกว่าเจ็ดคืน แต่หากเป็นหญิงที่ผ่านการแต่งงานแล้ว สามีมีหน้าต้องอยู่กับเธอไม่น้อยกว่าสามคืน โดยหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว หากเธอเป็นภรรยาคนเดียวของสามี ภายในสี่คืน สามีมีหน้าที่ต้องอยู่กับเธออย่างน้อยหนึ่งคืน แต่หากมีภรรยาหลายคน สามีมีหน้าที่ต้องอยู่กับภรรยาแต่ละคนไม่น้อยกว่าหนึ่งคืนต่อสี่คืน[13]

2.
หน้าที่ด้านกิจกรรมทางเพศ: สามีมีหน้าที่จะต้องประกอบกามกิจกับภรรยาไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้งต่อสี่เดือน ซึ่งถือเป็นสิทธิของภรรยาอย่างหนึ่ง.



[1] เอกสารประกอบการสอนวิชาสิทธิสตรีในอิสลาม,อาจารย์มิศบาฮ์ ยัซดี,ครั้งที่ 209 ,หน้า  2096.

[2] ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์,233 และ, อันนิซาอ์,4 และ, อันนะฮ์ลิ,72 และ, อัรรูม,21 ตลอดจนโองการอื่นๆที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา.

[3] บรรดาผู้รู้ศาสนาและมัรญะอ์ตั้กลีดมักนำเสนอหัวข้อสิทธิและหน้าที่ภรรยาไว้ในหมวดการแต่งงานถาวร บทการนิกะฮ์.

[4] สิ่งที่ได้นำเสนอไปเกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆในข้อเขียนนี้ อ้างอิงจากฮะดีษของบรรดามะศูมีน(อ.)ที่รายงานในหนังสือ“ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน”บทที่หก,หมวดที่สี่,ที่นำเสนอเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา.

[5] จำต้องทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างหน้าที่ทางจริยธรรมกับหน้าที่ทางกฏหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวดังนี้ 1. ข้อแนะนำทางจริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญญาและศาสนา แต่กฏหมายจะต้องตราขึ้นโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น อาทิเช่นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 2. ข้อแนะนำทางจริยธรรมเป็นไปเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับพระเจ้า,ตนเองและผู้อื่น แต่กฏหมายนั้นตราขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับคนในสังคม 3. ข้อแนะนำทางจริยธรรมมีเป้าหมายเพื่อบรรลุถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับพระเจ้า แต่กฏหมายตราขึ้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมทางโลก และเพื่อบริหารให้ชีวิตราษฎรเป็นไปอย่างราบรื่น 4. ข้อแนะนำทางจริยธรรมเน้นเจตนาเป็นหลัก ในขณะที่กฏหมายเน้นการกระทำเป็นหลัก 5. ข้อแนะนำทางจริยธรรมบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยเชิงบวกของบุคคลได้มากกว่าข้อบังคับทางกฏหมาย 6. ข้อแนะนำทางจริยธรรมบางประการเป็นสุหนัต(ภาคอาสา) แต่ข้อกฏหมายล้วนเป็นข้อบังคับทุกประการ 7. ข้อแนะนำทางจริยธรรมมีแรงบันดาลใจทั้งโลกนี้และโลกหน้า แต่ข้อกฏหมายขึ้นอยู่กับอำนาจทางตำรวจทหารเท่านั้น. ดู: ปรัชญาจริยธรรม และเอกสารประกอบการบรรยายวิชาสารธรรมกุรอาน,ครั้งที่ 177.

[6] ข้อกฏหมายที่นำเสนอในข้อเขียนนี้อ้างอิงจากมาตรา1112 ถึง1117 กฏหมายแพ่งและกฏหมายฟ้องร้อง(ของอิหร่าน)ในหนังสือกฏหมายแพ่ง,เล่ม 4 ,หน้า 5 .เขียนโดยดร.ฮุเซน อิมามี และหนังสือกฏหมายครอบครัว,เล่ม1,โดยดร.ฮะซัน ศะฟออี และอะสะดุลลอฮ์ อิมามี.

[7] ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน,อ.มัจลิซี,บทที่ 6 ,หน้า 76-77.

[8] หนึ่งในข้อแตกต่างก็คือ ผู้รู้ทางศาสนาให้ความเห็นว่าภรรยามีสิทธิเรียกร้องค่าเหนื่อยในการทำงานบ้านจากสามี ในขณะที่นักกฏหมายบางคนเชื่อว่าการทำงานบ้านรวมอยู่ในหน้าที่การประสานความร่วมมืออยู่แล้ว และไม่ควรเรียกร้องค่าจ้างในการปฏิบัติหน้าที่ๆต้องกระทำ, กฏหมายครอบครัว,ศะฟออีและอิมามี,เล่ม1, หน้า162.

[9] ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน,บทที่ 6 ,หน้า 76-79.

[10] เพื่อศึกษาความหมายของตัมกีนในเชิงแคบและเชิงกว้าง ดู: กฏหมายแพ่ง,ดร.ฮุเซน อิมามี,หน้า 173.

[11] อุรวะตุ้ลวุษกอ,มัรฮูมฏอบาฏอบาอี ยัซดี,เล่ม 2 ,หมวดนิกาฮ์,หน้า 626.

[12] แต่ผู้รู้ทางศาสนามักจะเห็นว่าไม่ไช่หน้าที่ของสามี,กฏหมายแพ่ง,หน้า 343.

[13] ทัศนะดังกล่าวคือทัศนะที่ผู้รู้ทางศาสนาส่วนใหญ่ให้การยอมรับ แต่อีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ต้องการจะสื่อเพียงแค่การไม่ตีตนออกห่างภรรยาเท่านั้น.อ้างแล้ว.หน้า 446.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6458 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • เหตุใดบรรดาอิมาม(อ.)จึงไม่สามารถปกป้องฮะร็อมของตนเองให้พ้นจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้?
    5937 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/13
    นอกจากอัลลอฮ์จะทรงมอบอำนาจแห่งตัชรี้อ์(อำนาจบังคับใช้กฎชะรีอัต)แก่นบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)แล้วพระองค์ยังได้มอบอำนาจแห่งตั้กวีนีอีกด้วยเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้สามารถจะแสดงอิทธิฤทธิ์ต่อสรรพสิ่งในโลกได้อำนาจดังกล่าวยังมีอยู่แม้บุคคลเหล่านี้สิ้นลมไปแล้วทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวแม้อยู่ในอาลัมบัรซัค(มิติหลังมรณะ) อย่างไรก็ดีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้อำนาจดังกล่าวอย่างพร่ำเพรื่อแต่จะใช้อำนาจนี้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของศาสนาของอัลลอฮ์หรือกรณีที่จำเป็นต่อการนำทางมนุษย์เท่านั้นซึ่งต้องไม่ขัดต่อจารีตวิถี(ซุนนะฮ์)ของพระองค์ด้วยอีกด้านหนึ่งการให้เกียรติสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)นับเป็นหนทางที่เที่ยงตรงส่วนการประทุษร้ายต่อสถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นหนทางที่หลงผิดแน่นอนว่าจารีตวิถีหนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ในอันที่จะเลือกระหว่างหนทางที่เที่ยงตรงและหลงผิดด้วยเหตุนี้เองที่บรรดาอิมาม(อ.)ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจพิเศษโดยไม่คำนึงความเหมาะสมยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์เองซึ่งแม้จะทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งแต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจทุกกรณีเห็นได้จากการที่มีผู้สร้างความเสียหายแก่อาคารกะอ์บะฮ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์แต่พระองค์ทรงใช้พลังพิเศษกับกองทัพของอับเราะฮะฮ์เท่านั้นเนื่องจากเขายาตราทัพเพื่อหวังจะบดขยี้กะอ์บะฮ์โดยเฉพาะ ...
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8712 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7545 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    8357 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9049 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5780 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7755 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    7351 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60122 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57558 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42211 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39359 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38942 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33998 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28013 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27959 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27790 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25791 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...