Please Wait
8813
อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]«
โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย
ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ยังต้องถูกต้องตามหลักการคำสอนด้วย, ในทัศนะอิสลามจึงจะถือว่าถูกต้อง[2]
ความแตกต่างระหว่างประโยคที่กล่าวว่า “«أموالکم بینکم» ทรัพย์สินในหมู่สูเจ้า «تراض منکم» ความพอใจในหมู่สุเจ้า เนื่องจาก การทำการค้านั้น, การยินยอมถือว่าเป็นภาวะทางจิตใจและอยู่ภายในใจมนุษย์ ซึ่งเกิดจากทั้งสองฝ่ายที่ทำการค้าขายกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงใช้คำว่า “มินกุม”[3] ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความพอใจอย่างหนึ่งที่ออกมาจากพวกเขา และด้วยประโยคที่กล่าวเน้นย้ำว่า «لاتَأْكُلُوا أَمْوالَكُمْ»، จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเอง ได้เป็นตัวกำหนดให้คำว่า «بينكم» “ในหมู่สูเจ้า” นั้นเด่นชัดขึ้นกล่าวคือ เป็นการรวบรวมทรัพย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งได้นำมาใช้ตรงกลางประโยตเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงการรวบรวมทรัพย์สิน[4] ด้วยเหตุนี้ จึงใช้คำว่า »บัยนะ« แทน เพื่อบ่งชี้ให้เห็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนนั้น
[1] บทนิซาอฺ, 29.
[2] ฮิลลียฺ,มิกดาร บิน อัลดุลลอฮฺ ซียูรียฺ, กันซุลเอรฟาน ฟี ฟิกฮิลกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 33, 34, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, บีทอ, มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 3, หน้า 355, ดารุลกุตุบอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก 1374 (ค.ศ. 1995), เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ, อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 4, หน้า 317, ตัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 5, ปี ฮ.ศ. 1417.
[3] บัยฎอวียฺ, อับดุลลอฮฺ, อันวารุลตันซีล วะอัสรอรุลตะอฺวีล, เล่ม 2, หน้า 70, ดารุลอะฮฺยา อัตตุรอษ อัลอะเราะบียฺ, เบรูต ปี ฮ.ศ. 1418.
[4] เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ, อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 4, หน้า 317, ตัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามี, กุม, ปี ฮ.ศ. 1417.