Please Wait
7082
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง
บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง
แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก
ท่นอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :“แท้จริงอัลลอฮฺทรงกำหนดข้อบังคับเหนือตัวแก่สูเจ้า ดังนั้น จงอย่าทำลายข้อบังคับเหล่านั้น ทรงกำหนดการลงโทษที่แน่นอนแก่สูเจ้า ดังนั้น จงอย่าล่วงละเมิดกฎเหล่านั้น ทรงสั่งห้ามบางสิ่งแก่สูเจ้า ดังนั้น จงรักษาระเบียบนั้นโดยเคร่งคัด และทรงนิ่งเฉยต่อบางสิ่งมิใช่เพราะทรงลืมเลือน แต่มิทรงประสงค์ให้สูเจ้าลำบาก”[1]
ในที่นี้ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงขอบข่ายของบทบัญญัติ และการลงโทษซึ่งอัลลอฮฺทรงกำหนดเป็นหน้าให้มนุษย์ปฏิบัติบนโลกนี้, หรือทรงยกเลิกกฎเหล่านั้น ตามความเป็นจริงท่านอิมามต้องการกล่าวว่า ข้อกำหนดทั้งที่เป็นวาญิบและฮะรอม หรือบทลงโทษของพระองค์ยังไม่ครบสมบูรณ์ทั้งหมด ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งซึ่งอัลลอฮฺ ทรงปล่อยวางมิได้กำหนดเป็นหน้าที่สำหรับมนุษย์ ทรงเพิกเฉย, เช่น การกำหนดให้มนุษย์ต้องเรียนรู้วิชาการที่ยากและมีความละเอียดอ่อน แต่ไม่มีมรรคผลอันใดต่อโลกหน้า, เนื่องอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ทรงเพิกเฉยต่อสิ่งเหล่านั้น อันเนื่องจากพระองค์ทรงลืมแต่อย่างใด, พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากการหลงลืมเลือน ทว่าด้วยเหตุผลที่ว่า สิ่งเหล่านั้นไม่ยังประโยชน์อันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้น อาจเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันเป็นประโยชน์มากกว่า ด้วยสาเหตุนี้เอง ที่พระองค์มิทรงกล่าวถึงสิ่งเหล่านั้น[2]
บางคนกล่าวว่า, จุดประสงค์ของการนิ่งเฉยในบางประการ เช่น ปัญหาเรื่องมุบาฮฺ, ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง[3]
แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก, ด้วยเหตุนี้เอง คำกล่าวของ ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงบ่งชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทุกสิ่งที่เป็นความต้องการของมนุษย์ทั้งหลาย ในหนทางการชี้นำ, ความเจริญผาสุก และความสมบูรณ์ด้านศีลธรรมและปรโลกของเขา พระองค์ได้อธิบายไว้แล้วทุกสิ่ง, อัลกุรอาน คือคัมภีร์แห่งการชี้นำทางมีหน้าที่รับผิดชอบโปรแกรมต่างๆ ที่นำไปสู่ความสุขสมบูรณ์ และความต้องการในการชี้นำทางสำหรับมนุษย์[4]แต่สิ่งต่างๆ ที่มิได้สาธยายไว้ และทรงเพิกเฉยต่อสิ่งเหล่านั้น มิใช่เกิดจากความหลงลืมหรือการไม่ใส่ใจของพระองค์แต่อย่างใด เนื่องจากพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความลืมเลือนทั้งหลาย, ทว่าปัญหาที่เหลือนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นความขวนขวายพยายามของมนุษย์ เพื่อมนุษย์จะได้เห็นความสำคัญของสิ่งเหล่านั้น, ส่วนการที่กล่าวว่า จงอย่าทำให้ตัวเองต้องลำบาก มิได้หมายความว่า ในการใฝ่หาความรู้นั้นมนุษย์ไม่จำเป็นต้องขวนขวายแต่อย่างใด ทว่าหมายถึงต้องขวนขวายให้มาก ต้องอดทน และจงอย่าทุมเทให้แก่ภารกิจทางโลกอย่างสุดตัวจนเจียดเวลาเพื่อปรโลกไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางโลกเป็นสาเหตุทำให้ท่านต้องห่างไกลจากเป้าหมายที่แท้จริงของการสร้างมนุษย์ นั่นก็คือการให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านจิตวิญญาณ มิเช่นนั้นแล้วมีใครบ้างที่ไม่ทราบว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าวิชาการในศาสตร์ต่างๆ[5] ซึ่งความรู้ดังกล่าวครอบคลุมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง การพาณิชย์ การคลัง การเกษตร และ ...[6]
[1] บะฮฺรอนนียฺ, อิบนุมัยษัม, ชัรนะฮฺญูลบะลาเฆาะฮฺ, แปลโดย, อะฎออีย์, มุฮัมมัดริฎอ, เล่ม 8, หน้า 97, คำสุภาษิตที่ 105, มูลนิธิการค้นคว้าและวิจัยอิสลาม ออสตอน กุดส์ ระฎะวียฺ, มัชฮัด, พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1385.
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม
[3] นะวอบ ลาฮียอน, มีรซามุฮัมมัด บากิร,ชัรนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, หน้า 301, สำนักพิมพ์ อิควาน กิตาบฌียฺ, เตหะราน, บีทอ.
[4] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ “ญามิอียัตกุรอาน”, 3723 (ไซต์ : 4760)
[5] ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงศึกษาหาความรู้เถิด ถึงแม้จะอยู่ไกลถึงเมืองจีนก็ตาม เนื่องจากการศึกษาหาความรู้เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคน”< اطْلُبُوا الْعِلْمَ وَ لَوْ بِالصِّينِ فَإِنَّ طَلَبَ الْعِلْمِ فَرِيضَةٌ عَلَى كُلِّ مُسْلِمٍ > บิฮารุลอันวาร, เล่ม 1, หน้า 180, สถาบันอัลวะฟาอ์, เบรูต, ปี 1049.
[6] ท่านอิมามฮะซัน (อ.) กล่าวว่า “จงขวนขวายต่อภารกิจทางโลกของท่าน ประหนึ่งว่าท่านจะมีชีวิตอยู่ตลอดไป” ฮุรอามิลียฺ, วะซาอิลชีอะฮฺ, เล่ม 17, หน้า 76, อาลุลบัยตฺ, กุม, ปี 1409, < < اعْمَلْ لِدُنْيَاكَ كَأَنَّكَ تَعِيشُ أَبَداً وَ اعْمَلْ لآِخِرَتِكَ كَأَنَّكَ تَمُوتُ غَداً.