การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6704
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/09
คำถามอย่างย่อ
ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
คำถาม
ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
คำตอบโดยสังเขป

อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร
ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด
นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัคบารีและอุศูลีถือเป็นสองกลุ่มภายในชีอะฮ์สิบสองอิมาม ที่มีมุมมองเกี่ยวกับบทบัญญัติศาสนาแตกต่างกันดังต่อไปนี้
หนึ่ง. อัคบารีก็คือกลุ่มผู้นิยมฮะดีษเป็นหลัก ในแวดวงชีอะฮ์เรียกว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร(ฮะดีษ)เท่านั้น กล่าวกันว่าผู้ริเริ่มแนวทางดังกล่าวก็คือ มุลลอ มุฮัมมัดอะมีน บิน มุฮัมมัดชะรีฟ อัสตัรออบอดี (เสียชีวิตฮ.ศ.1033) สันนิษฐานว่าเขาเป็นผู้สถาปนากลุ่มอัคบารีขึ้นในหมู่ชีอะฮ์รุ่นหลัง อีกทั้งเป็นคนแรกที่แสดงท่าทีคัดค้านบรรดามุจตะฮิดชีอะฮ์ หนังสือ“ฟะวาอิดุ้ลมะดะนียะฮ์”ของเขามีเนื้อหาโจมตีบรรดามุจตะฮิดโดยกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำลายล้างศาสนาของพระองค์ เขาอ้างว่าแนวการวินิจฉัยของผู้รู้ชีอะฮ์ยุคหลังแตกต่างไปจากผู้รู้ยุคแรก และเชื่อว่าไม่สามารถจะวินิจฉัยปัญหาโดยอาศัยกุรอานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกุรอานมีทั้งโองการที่ชัดเจน(มุห์กัม)และคลุมเครือ(มุตะชาบิฮ์) ตลอดจนโองการหักล้าง(นาซิค)และถูกหักล้าง(มันสู้ค) จึงจำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษเป็นหลัก เขากล่าวว่า เนื่องจากการอิจติฮ้าดตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสงสัย ทว่าฮะดีษถือเป็นหลักฐานที่มั่นคง(เนื่องจากรายงานมาจากบรรดาอิมาม(อ.)) จึงไม่อาจจะทิ้งหลักฐานที่มั่นคงโดยหันไปยึดข้อสงสัยได้

สอง. กลุ่มอุศูลี ซึ่งประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงกันข้ามกับกลุ่มอัคบารี กลุ่มนี้เชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ การปฏิบัติตามข้อสันนิษฐาน และการจำแนกระดับชั้นของฮะดีษ พวกเขาถือว่าการวินิจฉัยเป็นหน้าที่เชิงฟัรดูกิฟายะฮ์ แต่หากมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนจำกัดก็จะกลายเป็นฟัรดูอีนทันที[1]

ข้อแตกต่างหลักระหว่างสองกลุ่มนี้มีเพียงวิธีการวินิจฉัยบทบัญญัติชะรีอัตเท่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเด็นขัดแย้งปลีกย่อยดังต่อไปนี้
หนึ่ง. ประเด็นอิจติฮ้าดและตักลี้ด กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด

สอง. กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่มีผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา

สาม. กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงคัดสรรแต่เพียงฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ทำให้กลุ่มนี้ปฏิเสธการจำแนกฮะดีษออกเป็นสี่ประเภท(เศาะฮี้ห์, ฮะซัน, มุวัษษั้ก, เฎาะอี้ฟ) ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว

สี่. กลุ่มอุศูลียอมรับหลักการเชิงสติปัญญาอาทิเช่น หลัก”กุบฮุตักลี้ฟบิมาลายุฏ้อก”(การออกคำสั่งในสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร) หรือหลัก “กุบฮุอิก้อบ บิลาบะยาน” (การลงโทษโดยไม่ชี้แจงเสียก่อนถือเป็นเรื่องไม่สมควร) ในขณะที่กลุ่มอัคบารีไม่ยอมรับหลักการเชิงสติปัญญาเหล่านี้

ห้า. ในเรื่องความชอบธรรมในการอ้างอิงความหมายทั่วไปของกุรอาน กลุ่มอัคบารีไม่เห็นด้วยที่จะยึดความหมายทั่วไปของกุรอานเว้นแต่จะได้รับการยืนยันโดยฮะดีษเท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีเชื่อว่าสามารถยึดตามความหมายทั่วไปของกุรอานได้แม้จะไม่มีฮะดีษยืนยัน[2]

กว่าสองศตวรรษที่มีการโต้เถียงอย่างเผ็ดร้อนระหว่างอุละมาอ์สองกลุ่มดังกล่าว จนกระทั่ง “ออฆอ มุฮัมมัดบากิร วะฮี้ด เบะฮ์บะฮอนี”(เสียชีวิตฮ.ศ.1208) สามารถยุติบทบาทของกลุ่มอัคบารีอย่างราบคาบ ทำให้อุละมาสายอุศูลีมีอิทธิพลเหนืออัคบารีตั้งแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันมีกลุ่มอัคบารีหลงเหลืออยู่เพียงน้อยนิด[3]

 

 


[1] สารานุกรมตะชัยยุอ์,หมวดฟิร็อก(ปรับเนื้อหาเล็กน้อย)

[2] เว็บไซต์ เฮาซะฮ์ http://www.hawzah.net/Hawzah/Questions/QuestionView.aspx?LanguageID=1&QuestionID=10880

[3] สารานุกรมตะชัยยุอ์

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    10861 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    9352 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6596 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6797 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7666 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • จริงหรือไม่ที่อิมามฮุเซน (อ.) สมรสกับชะฮ์รบานู?
    9135 تاريخ بزرگان 2554/12/19
    เกี่ยวกับประเด็นการสมรสระหว่างอิมามฮุเซน (อ.) กับชะฮ์รบานูซึ่งเป็นเชลยศึกของกองทัพมุสลิมนั้นมีหลายทัศนะด้วยกันเนื่องจากบางรายงานเล่าว่าหญิงคนนี้ถูกจับเป็นเชลยในสมัยการปกครองของอุมัรบ้างกล่าวว่าสมัยอุษมานอีกทั้งยังระบุนามของท่านและบิดาของท่านไว้แตกต่างกันด้วยเหตุนี้ยากที่จะฟันธงว่าภรรยาขอของอิมามฮุเซน (อ.) และมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.) เป็นชาวอิหร่าน ( อีกทั้งการที่มีนามว่าชะฮ์รบานู) ...
  • กรุณาอธิบายถึงแก่นอันเป็นพื้นฐานหลักของแนวคิดชีอะฮฺ พร้อมกับคุณลักษณะต่างๆ?
    18830 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    พื้นฐานแนวคิดหลักของชีอะฮฺและวิชาการทั้งหมดของชีอะฮฺได้รับจากอัลกุรอาน อัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นความหมายภายนอกโองการหรือภายใน,หรือแม้แต่การนิ่งเฉยหรือการแสดงออกของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผลทั้งสิ้นและผลของสิ่งเหล่านี้,คำพูดการนิ่งเฉยและการกระทำของอิมาม (อ.) ก็เป็นเหตุผลด้วย นอกจากอัลกุรอานแล้วยังถือว่าการพิสูจน์ด้วยสติปัญญาก็เป็นเหตุผลด้วยเหมือนกันซึ่งการค้นคว้าได้รับการสนับสนุนและเน้นย้ำไว้อย่างยิ่ง แนวทางในการได้รับแนวคิดเช่นนี้สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์บริสุทธิ์จากความบกพร่องและคุณลักษณะไม่สมบูรณ์ต่างๆ,พระองค์พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะสมบูรณ์ทั้งหลายทั้งปวง 2. มีความเชื่อในเรื่องความดีและความชั่วของภูมิปัญญากล่าวคือภูมิปัญญารับรู้ว่าพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากกระทำสิ่งชั่วร้าย 3. มีความเชื่อในเรื่องความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าและบรมศาสดาท่านสุดท้าย 4. มีความเชื่อว่าการแต่งตั้งและการกำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องมาจากพระเจ้าเท่านั้นโดยผ่านศาสดาหรืออิมามคนก่อนหน้านั้นจำนวนตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มี 12 คนบุคคลแรกจากพวกเขาคือท่านอิมามอะลีบุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ส่วนคนสุดท้ายจากพวกเขาคือท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ซึ่งณปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่รอคอยพระบัญชาจากพระเจ้าให้ปรากฏกายออกมา 5. มีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายการได้รับรางวัลตอบแทนและการลงโทษในการกระทำ ...
  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    7178 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5829 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    9192 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59974 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57314 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42084 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39122 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38796 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33897 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27910 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27802 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27600 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25623 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...