การค้นหาขั้นสูง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงบริบททางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน ตลอดจนมุมมองของมัซฮับอื่นๆ(นอกเหนือจากชีอะฮ์)ที่มีต่อบรรดาอิมามสามท่านที่เอ่ยมา จึงจะเข้าใจเหตุผลที่มีการรวบรวมพจนารถอิมามอลี(อ.)ไว้ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทว่ามิได้มีปรากฏการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นในภรณีของอิมามท่านอื่นๆ ดังข้อสังเกตุต่อไปนี้:

1.อิมามอลี(อ.)คืออิมามท่านเดียวที่มีโอกาสขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮ์และผู้นำประชาคมมุสลิม แม้จะเพียงห้าปีที่ท่านมีอำนาจ  แต่ท่านก็มีโอกาสมากพอที่จะถ่ายทอดธรรมเทศนามากหมายหลายบทแก่ประชาชน ขณะเดียวกันนักบันทึกก็มีอิสระที่จะบันทึกธรรมเทศนาเหล่านั้นเพื่อเผยแพร่แก่ผู้อื่นต่อไป และแม้ว่าผู้ยึดถือมัซฮับอื่นๆมิได้ถือว่าท่านเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่แต่งตั้งโดยตรงจากท่านนบี(ซ.ล.) แต่อย่างน้อยพวกเขาก็บันทึกพจนารถของท่านไว้ในตำราของฝ่ายตน[1] เนื่องจากยอมรับว่าท่านเป็นหนึ่งในสี่เคาะลีฟะฮ์รอชิดีน

  1. 2. ความพยายามในการแจกแจงหลักการศาสนาของอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)เกิดขึ้นในช่วงผลัดอำนาจจากราชวงศ์อุมะวีสู่ราชวงศ์อับบาซิด ถึงแม้ว่าสภาวะดังกล่าวจะเป็นโอกาสทองในการเผยแพร่สารธรรมและสอนสั่งสานุศิษย์ และแม้ว่านักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์จำนวนมากเข้าร่วมศึกษาด้วย แต่กระนั้นก็มิได้ทำให้ท่านทั้งสองมีสถานภาพทางสังคมเหมือนอิมามอลี(อ.) เพราะยังต้องระมัดระวังอากัปกิริยาพอสมควรเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของสานุศิษย์ และเพื่อมิให้ราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งฉวยโอกาส ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงหลีกเลี่ยงการกล่าวคุฏบะฮ์บทยาวดังกรณีของอิมามอลี(อ.) แต่เน้นตอบคำถามประชาชนเป็นหลัก ที่น่าสนใจก็คือ บางครั้งท่านอิมามบากิร(อ.)ถึงกับต้องยกให้ท่านญาบิรเป็นสายรายงานของตน เพื่อที่จะอ้างอิงฮะดีษสักบทถึงท่านนบี(ซ.ล.)หรืออิมามอลี(อ.) ทั้งนี้ก็เพื่อให้พี่น้องมัซฮับอื่นๆยอมรับได้[2]
  2. 3. ต้องเรียนชี้แจงว่าพจนารถของบรรดาอิมาม ไม่ว่าจะอิมามอลี(อ.)หรืออิมามท่านใดก็ตาม ต่างก็มิได้รับการเรียบเรียงเป็นรูปเล่มในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นักรายงานฮะดีษหรือผู้ประพันธ์จะรวบรวมพจานารถบางส่วนไว้เท่านั้น นักรายงานฮะดีษบางคนเรียบเรียงเฉพาะฮะดีษที่ตนรายงาน และตั้งชื่อบันทึกประภทนี้ว่า “อัศล์” โดยได้เผยแพร่แก่บุคคลอื่นๆด้วย ทำให้มีการรวบรวมภายใต้ชื่อ “อัศล์สี่ร้อยฉบับ” อัลลามะฮ์ มัจลิซีได้นำเสนอรายนามอัศล์เหล่านี้ไว้ในส่วนแรกของหนังสือบิฮารุลอันว้าร อัศล์เหล่านี้จึงถือเป็นแหล่งอ้างอิงฮะดีษในระดับเบื้องต้น ซึ่งในภายหลังได้รับการเรียบเรียงในนาม “กุตุ้บอัรบะอะฮ์” (ตำราทั้งสี่)

อย่างไรก็ดี ฮะดีษต่างๆในตำราชุดดังกล่าวมิได้คัดเฉพาะอิมามบากิร(อ.)และอิมามญะฟัร(อ.)เท่านั้น หากแต่รวมฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆไว้ด้วย แต่ถึงกระนั้น ฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวมีมากกว่าท่านอื่นๆ เนื่องด้วยเสรีภาพที่มีในยุคนั้น

  1. 4. ในยุคที่ยังสามารถติดต่อกับบรรดาอิมาม(อ.)ได้ ชีอะฮ์ยังไม่มีความจำเป็นนักที่จะต้องพึ่งพาตำราที่รวบรวมฮะดีษจากทุกหมวดหมู่และทุกสายรายงาน แต่เมื่อไม่สามารถติดต่อกับอิมาม(อ.)ในยุคเร้นกายได้ทั้งโดยตรงและผ่านตัวแทน ก็เพิ่งจะเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ทำให้เหล่านักวิชาการชีอะฮ์มีดำริที่จะรวบรวมพจนารถอิมาม(อ.)
    ด้วยเหตุนี้เองที่ตำราประเภทนี้ประพันธ์ขึ้นในศตวรรษที่สามถึงห้าเป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่น กุตุ้บอัรบะอะฮ์, ตุฮะฟุ้ลอุกู้ล, โดยส่วนใหญ่จะบันทึกพจนารถของอิมามทุกท่าน แต่ก็มีตำราอย่างนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ และ ฆุเราะรุ้ลฮิกัม ที่เจาะจงเฉพาะอิมามอลี(อ.)ท่านเดียว
  2. 5. วิธีเรียบเรียงที่เป็นประโยชน์สำหรับนักวิชาการอิสลามมากที่สุดคือการเรียบเรียงและจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาฮะดีษของบรรดาอิมาม(อ.)ทุกท่าน มิไช่การเรียบเรียงในลักษณะเจาะจงอิมามแต่ละท่าน (แม้ว่าจะมีคุณค่าในระดับหนึ่งเช่นกัน)
    อย่างไรก็ดี เนื่องจากฮะดีษของบรรดาอิมามมีคุณค่าสูงส่งเท่าเทียมกันหมด กอปรกับการที่ผู้รู้มักจะค้นหาฮะดีษตามรายเนื้อหาเพื่อใช้อ้างอิงในเชิงฟิกเกาะฮ์ เทววิทยา ฯลฯ จึงสรุปได้ว่าวิธีเรียบเรียงตำราอย่างปัจจุบันเหมาะสมที่สุด
  3. 6. ในสมัยนั้น บรรดาเคาะลีฟะฮ์แห่งราชวงศ์อับบาซิดที่กุมอำนาจอยู่ รวมทั้งพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะอ์ทุกมัซฮับ ต่างก็มิได้เป็นปฏิปักษ์กับอิมามอลี(อ.) ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งยังแสดงท่าทีให้เกียรติท่านด้วย ในสภาพสังคมเช่นนี้เองที่ทำให้ท่านซัยยิด เราะฎี รวบรวมพจนารถของอิมามอลี(อ.)และเรียบเรียงเป็น “นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” โดยไม่ถูกแรงต่อต้านใดๆเลย ทั้งที่ซัยยิดพำนักอยู่ที่กุรงแบกแดด เมืองหลวงของอับบาซิด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าโวหารเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำราของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เช่นกัน[3]

แต่หากจะเรียบเรียงหนังสือที่บันทึกฮะดีษของบรรดาอิมาม โดยเฉพาะอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.) (ที่กล่าวฮะดีษไว้มากเป็นพิเศษ) ก็อาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเชิงลบจากเหล่าเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์อับบาซิดได้  ทั้งนี้เพราะท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยแสดงท่าทีคัดค้านราชวงศ์นี้มาตั้งแต่เถลิงอำนาจ[4] บรรดาอิมามหลังจากท่านก็เคยแสดงท่าทีดังกล่าวเช่นกัน

ฉะนั้น นอกเหนือจากฮะดีษของอิมามอลี(อ.)แล้ว การที่จะเรียบเรียงตำราฮะดีษของบรรดาอิมามที่แม้จะเป็นอิมามยุคก่อนอับบาซิดก็ตาม ล้วนจะถูกราชวงศ์นี้เพ่งเล็งเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นการตอกย้ำทฤษฎีที่ว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์เป็นกรรมสิทธิของวงศ์วานอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อไม่ให้เป็นที่เพ่งเล็งจากอำนาจรัฐ นักวิชาการชีอะฮ์จึงเลือกที่จะรายงานฮะดีษของบรรดาอิมามท่านอื่นๆเคียงข้างฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)และอิมามอลี(อ.)ในตำราอย่าง อัลกาฟีย์, ตะฮ์ซีบ, มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกีฮ์ ฯลฯ

  1. 7. วิธีดังกล่าวถือปฏิบัติกันมาจนถึงยุคที่มีการเรียบเรียงตำราอย่างเช่น บิฮารุลอันว้าร, วะซาอิลุชชีอะฮ์ ...ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าฮะดีษจากอิมามบากิรและอิมามศอดิกจะได้รับการบันทึกในตำราเหล่านี้เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องจำแนกออกจากกัน แต่ปัจจุบันได้มีการจำแนกฮะดีษของอิมามแต่ละท่านและเรียบเรียงเป็นหนังสือ อาทิเช่น หนังสือมุสนัด อิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(อ.) เรียบเรียงโดยคุณ อะซีซุลลอฮ์ อะฏอรุดี โดยแต่ละชุดก็มีหลายเล่มด้วยกัน[5] นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำแนกฮะดีษตามรายนามอิมามแต่ละท่าน

หากคุณได้มีโอกาสค้นหาแหล่งอ้างอิงทางฮะดีษเล่มต่างๆก็ย่อมจะได้ข้อสรุปว่า ฮะดีษส่วนใหญ่ล้วนรายงานจากอิมามสองท่านนี้

 

[1] อนึ่ง เรามิได้หมายรวมถึงกลุ่มเคาะวาริจและกลุ่มผู้เกลียดชังวงศ์วานนบี ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักในสังคมมุสลิม

[2] ริญาล กัชชี,หน้า 41,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมัชฮัด,ฮ.ศ.1348

[3] ดู: อิบนิ อบิลฮะดี้ด, อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 1,หน้า 204,หอสมุดอายะตุลลอฮ์มัรอะชี,กุม,ฮ.ศ.1404

[4] ดู: มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 47,หน้า 162,หมวดที่ 6,สำนักพิมพ์อัลวะฟา,เบรุต,เลบานอน,ฮ.ศ.1404

[5] ผู้เขียนท่านนี้ได้เรียบเรียงตำราในลักษณะเดียวกันนี้กรณีอิมามท่านอื่นๆด้วยเช่นกัน

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ในทัศนะของอิสลาม ชาวฮินดูถือว่าเป็นนะญิสหรือไม่ และจะต้องออกห่างพวกเขาหรือไม่?
    7615 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    บรรดามัรญะอ์ได้ฟัตวาว่ากาฟิรเป็นนะญิสและจะต้องหลีกเลี่ยงความเปียกชื้นจากพวกเขาท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “กาฟิรคือผู้ที่ไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือตั้งภาคีต่อพระเจ้าหรือไม่ยอมรับในการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) เขาผู้นั้นถือเป็นนะญิส
  • ชาวสวรรค์และชาวนรกมีอายุราวๆกี่ปี?
    15851 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    ความเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามอายุขัยถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้ ทว่าในโลกหน้าโดยเฉพาะในสวรรค์ เราไม่อาจจะมโนภาพว่ามนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันในลักษณะที่บางกลุ่มเป็นเด็ก บางกลุ่มอยู่ในวัยกลางคน บางกลุ่มเป็นคนชราได้ แม้สมมุติว่าเราจะเชื่อว่าโลกหน้ายังเป็นโลกแห่งวัตถุ แต่ความแตกต่างในแง่อายุขัยอย่างที่เราเคยชินในโลกนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นในโลกหน้าอย่างแน่นอน มีฮะดีษระบุว่าผู้ที่จะเข้าสรวงสวรรค์จะกลายเป็นวัยรุ่นที่มีรูปลักษณ์อันงดงาม یدخلون الجنة شبابا منورین و قال إن أهل الجنة جرد مرد مکحلون
  • การคบชู้หมายถึงอะไร?
    10389 สิทธิและกฎหมาย 2557/05/22
    การซินา หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยผิดประเวณีกับหญิงอื่น ที่มิใช่ภรรยาตามชัรอีย์ (ภรรยาที่สมรสถาวร หรือชั่วคราว) การซินาในทัศนะอัลกุรอาน, ถือเป็นบาปใหญ่ อัลลอฮฺ ตรัสถึงการซินาไว้ว่า “จงอย่าเข้าใกล้การลอบผิดประเวณี เนื่องจากเป็นการลามกและทางอันชั่วช้ายิ่ง”[1],[2] การกระทำดังกล่าว ถ้ากระทำโดยหญิงมีสามี หรือชายมีภรรยาอยู่แล้ว เรียกว่า การเป็นชู้[3] แต่ถ้ามิได้เป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นการทำชู้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบัญญัติของการซินา และการลงโทษที่จะติดตามมา อันถือว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ และหน้าขยะแขยงยิ่งนี้ กรุณาศึกษาจากคำตอบต่อไปนี้ อย่างไรหรือที่เรียกว่า ซินา, 8243 (ไซต์ 8288) การลงโทษ และการลุแก่โทษ กรณีการทำชู้ 7159 (ไซต์ 7508) ฮุกุ่มของการซินากับหญิงมีสามี 2688 (ไซต์ ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7789 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7511 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6995 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6405 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...
  • การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญในกรณีที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตถึงว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    6129 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/02
    การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญเพื่อเยี่ยมเยียนวสุสานอันบริสุทธิ์ของบรรดาอาอิมมะฮ์ (อ.) ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอิมาม(อ.) เนื่องจากจะช่วยเชิดชูเกียรติภูมิผลงานและความทรงจำเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9449 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    21041 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60070 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57453 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42149 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39240 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38895 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33954 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27970 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27890 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27713 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25729 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...