Please Wait
6958
ส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ก็คือ “การเล่าความหลัง” ซึ่งกุรอานได้ใช้สิ่งนี้ในการนำเสนอหลักคำสอนในโอกาสต่างๆ เรื่องราวที่กุรอานเน้นเป็นพิเศษก็คือเรื่องราวของบรรดาศาสนทูต ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. نَقُصُّ عَلَيْكَ مِنْ أَنْباءِ الرُّسُل เราจะเล่าเรื่องราวของเหล่าศาสนทูตให้เจ้าฟัง[i]
2. وَ لَقَدْ أَرْسَلْنا رُسُلاً مِنْ قَبْلِكَ مِنْهُمْ مَنْ قَصَصْنا عَلَيْكَ وَ مِنْهُمْ مَنْ لَمْ نَقْصُصْ عَلَيْك เราได้ส่งศาสนทูตก่อนหน้าเจ้า ได้เล่าเรื่องราวของพวกเขาบางคน และมิได้เล่าเรื่องราวของบางคน[ii]
3. وَ رُسُلاً قَدْ قَصَصْناهُمْ عَلَيْكَ مِنْ قَبْلُ وَ رُسُلاً لَمْ نَقْصُصْهُمْ عَلَيْك และเหล่าศาสนทูตที่เราได้สาธยายเรื่องราวแก่เจ้าก่อนหน้านี้ และอีกหลายคนที่มิได้สาธยายแก่เจ้า[iii]
4. لَقَدْ كانَ في قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِأُولِي الْأَلْبابِ ما كانَ حَديثاً يُفْتَرى وَ لكِنْ تَصْديقَ الَّذي بَيْنَ يَدَيْهِ وَ تَفْصيلَ كُلِّ شَيْءٍ وَ هُدىً وَ رَحْمَةً لِقَوْمٍ يُؤْمِنُونَ แท้จริงมีอุทาหรณ์แฝงอยู่ในเรื่องราวของพวกเขาสำหรับผู้ทรงปัญญา มิไช่เรื่องที่กุขึ้น แต่เป็นการยืนยันความถูกต้องของศาสนทูตในยุคนั้น เป็นบทพิสูจน์ทุกสิ่ง และเป็นทางนำและเมตตาธรรมแก่ชนผู้ศรัทธา”[iv]
ส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ก็คือ “การเล่าความหลัง” ซึ่งกุรอานได้ใช้สิ่งนี้ในการนำเสนอหลักคำสอนในโอกาสต่างๆ เรื่องราวที่กุรอานเน้นเป็นพิเศษก็คือเรื่องราวของบรรดาศาสนทูต ทั้งนี้ก็เนื่องจากการนำเสนอเรื่องราวของเหล่าศาสนทูตย่อมมีผลต่อการส่งเสริมจริยธรรม เรื่องเล่าในกุรอานก็คัดมาจากชีวประวัติของบรรดาศาสนทูต(อ.)นั่นเอง
เรื่องเล่าในกุรอานล้วนมีคติสอนใจ มิได้เป็นเพียงนิทานเพลินใจให้เคลิบเคลิ้ม โดยปกติแล้ว การเล่าเรื่องราวในอดีตจะต้องเน้นท่อนที่มีคติสอนใจเป็นหลัก เรื่องเล่าที่ดีที่สุดคือเรื่องที่ทำให้จิตใจสงบ ซึ่งเรื่องราวในกุรอานนอกจากจะคัดจากเรื่องจริงแล้ว ยังแฝงด้วยเหตุและผลที่น่าไตร่ตรองอีกด้วย[1]
มีโองการกุรอานมากมายที่กล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ อาทิเช่น
1. نَقُصُّ عَلَيْكَ مِنْ أَنْباءِ الرُّسُل “เราจะเล่าเรื่องราวของเหล่าศาสนทูตให้เจ้าฟัง”[2]
2. وَ لَقَدْ أَرْسَلْنا رُسُلاً مِنْ قَبْلِكَ مِنْهُمْ مَنْ قَصَصْنا عَلَيْكَ وَ مِنْهُمْ مَنْ لَمْ نَقْصُصْ عَلَيْك “เราได้ส่งศาสนทูตก่อนหน้าเจ้า ได้เล่าเรื่องราวของพวกเขาบางคน และมิได้เล่าเรื่องราวของบางคน”[3]
3. وَ رُسُلاً قَدْ قَصَصْناهُمْ عَلَيْكَ مِنْ قَبْلُ وَ رُسُلاً لَمْ نَقْصُصْهُمْ عَلَيْك “และเหล่าศาสนทูตที่เราได้สาธยายเรื่องราวแก่เจ้าก่อนหน้านี้ และอีกหลายคนที่มิได้สาธยายแก่เจ้า”[4]
4. لَقَدْ كانَ في قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِأُولِي الْأَلْبابِ ما كانَ حَديثاً يُفْتَرى وَ لكِنْ تَصْديقَ الَّذي بَيْنَ يَدَيْهِ وَ تَفْصيلَ كُلِّ شَيْءٍ وَ هُدىً وَ رَحْمَةً لِقَوْمٍ يُؤْمِنُونَ “แท้จริงมีอุทาหรณ์แฝงอยู่ในเรื่องราวของพวกเขาสำหรับผู้ทรงปัญญา มิไช่เรื่องที่กุขึ้น แต่เป็นการยืนยันความถูกต้องของศาสนทูตในยุคนั้น เป็นบทพิสูจน์ทุกสิ่ง และเป็นทางนำและเมตตาธรรมแก่ชนผู้ศรัทธา”[5]
นอกจากนี้ยังมีโองการอื่นๆอีกมากมาย...ฯลฯ
อนึ่ง การได้เห็นร่องรอยของบรรพชนหรือกลุ่มชนที่ถูกลงทัณฑ์เนื่องจากไม่สนใจสัจธรรมนั้น ย่อมมีอิทธิพลต่อจิตใจมากกว่าการอ่านเรื่องราวในตำราหลายเท่า ทั้งนี้ก็เพราะร่องรอยทางประวัติศาสตร์เหล่านี้สามารถสัมผัสได้
คงเป็นเพราะเหตุนี้กระมังที่กุรอานใช้คำว่า “อุนซุรู” (จงเพ่งเถิด) แทนคำว่า “ตะฟักกะรู” (จงไตร่ตรอง)[6]ในโองการที่ว่า
قُلْ سِيرُوا فِي الْأَرْضِ ثُمَّ انْظُرُوا كَيْفَ كانَ عاقِبَةُ الْمُكَذِّبِينَ[7]
ด้วยเหตุนี้จึงมีหลายโองการที่ส่งเสริมให้ท่องไปในโลกกว้าง อาทิเช่น
1. قُلْ سِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَانْظُرُوا كَيْفَ كانَ عاقِبَةُ الْمُجْرِمِينَ “จงกล่าวเถิด(ว่า) จงท่องไปในปฐพี แล้วจงเพ่งดูว่าบั้นปลายของผู้กระทำชั่วเป็นอย่างไร”[8]
2. قُلْ سِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَانْظُرُوا كَيْفَ بَدَأَ الْخَلْقَ จงกล่าวเถิด(ว่า) จงท่องไปในปฐพี แล้วจงเพ่งมองว่าพระองค์ทรงริเริ่มการสรรสร้างได้อย่างไร”[9]
3. أَ فَلَمْ يَسِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَتَكُونَ لَهُمْ قُلُوبٌ يَعْقِلُونَ بِها... [10]อายะฮ์นี้ต้องการสื่อว่า การท่องโลกกว้างเพื่อหาอุทาหรณ์จะส่องให้ดวงใจของมนุษย์สว่างด้วยปัญญา ทำให้มีมุมมองกว้างไกล ทำให้โสตประสาทแม่นยำ และนำพาให้พ้นจากความกระด้างทางความคิด
[1] กิรออะตี,มุฮ์ซิน,ตัฟซี้รนู้ร,เล่ม 5,หน้า 398,ศูนย์วัฒนธรรมบทเรียนอัลกุรอาน,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สิบเอ็ด,ปี 1383
[2] ฮู้ด,120
[3] ฆอฟิร, 87
[4] นิซาอ์, 164
[5] ยูซุฟ,111
[6] อินอาม, 11
[7] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 5,หน้า 163,ดารุ้ลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1374
[8] อันนัมลิ,71
[9] อัลอังกะบู้ต,20
[10] อัลฮัจย์, 46