การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6159
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/08/27
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1077 รหัสสำเนา 15399
คำถามอย่างย่อ
เป็นไปได้อย่างไรที่คนเราจะรักและกลัวอัลลอฮ์ในขณะเดียวกัน?
คำถาม
เป็นไปได้อย่างไรที่คนเราจะรักและกลัวอัลลอฮ์ในขณะเดียวกัน? อิสลามสอนให้มีทั้งความหวังและความกริ่งเกรงซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกันเอง อย่างน้อยบรรดามะอ์ศูมีนก็ไม่น่าจะต้องกลัวพระองค์ เพราะถ้าหากบุคคลเหล่านี้ยังต้องกลัวอัลลอฮ์ แล้วพวกเราจะเหลืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ความหวัง ความรัก และความกริ่งเกรงที่มีต่ออัลลอฮ์ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด เพราะความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นในชีวิตของเราทุกคนเป็นปกติ เพียงแต่เราอาจจะเคยชินเสียจนไม่รู้ตัว แม้แต่การเดินเหินตามปกติของเราก็เกิดจากปัจจัยทั้งสามประการดังกล่าว เนื่องจากหากไม่มีความหวัง เราก็จะไม่ก้าวเท้าเดิน และหากไม่ก้าวเท้าเดิน ก็จะไม่มีวันถึงจุดหมาย และหากไม่มีความกลัว เราก็จะไม่ระวังตัว จนอาจประสบอุบัติเหตุได้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนอีกประการก็คือ การใช้สอยเครื่องอำนวยความสะดวกเช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตาแก๊ส ฯลฯ เรามีความสุขและรักที่จะใช้สอยสิ่งเหล่านี้ แต่หากเราใช้สอยโดยไม่ระมัดระวังและไม่เกรงภัยที่อาจเกิดขึ้น เครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้ก็อาจเป็นอันตรายแก่เราได้ทุกเมื่อ
ด้วยเหตุนี้เอง การผนวกความรัก ความกลัว และความหวังเข้าด้วยกัน จึงไม่ไช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด
ในกรณีของอัลลอฮ์ก็เช่นกัน ควรต้องกริ่งเกรง รักและคาดหวังในพระองค์ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากความรักและความหลงใหลในพระองค์จะสร้างแรงบันดาลใจให้มนุษย์เคลื่อนไหวสู่การปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์พึงพอพระทัย เพื่อให้ได้รับความการุณย์และลาภเนียะมัตต่างๆทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนความกริ่งเกรงก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องนอบน้อมยอมสยบต่อคำบัญชาของพระองค์ และพยายามหลีกห่างกิเลสตัณหาและปัจจัยต่างๆที่จุดเพลิงพิโรธของพระองค์
การจับคู่กันระหว่างความหวังและความกลัวนี้ จะทำให้บุคคลทั่วไปได้อยู่เย็นเป็นสุข และปราศจากความหวาดผวาในโลกหน้า เนื่องจากโลกนี้คือสถานที่หว่านเมล็ดพันธุ์ เมล็ดที่หว่านไปต้องได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามเพื่อรอให้ถึงวันเก็บเกี่ยวผลผลิต และในวันเก็บเกี่ยวผลผลิต ย่อมไม่จำเป็นต้องมีการปกป้องใดๆอีกต่อไป
โดยลำพังแล้ว ความกลัวจะนำมาซึ่งความท้อแท้ ความเบื่อหน่าย และความเครียด ส่วนความหวังและความรักนั้น หากไม่กำกับไว้ด้วยความกลัว ก็จะนำพาสู่ความลำพองตน ความดื้อรั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณสมบัติที่ไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความรัก ความหวัง และความกลัวนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนทราบและเข้าใจกันดีอยู่แล้ว มนุษย์เราเมื่อเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง อาจจะเกิดความกลัวเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้:
. รู้สึกถึงอันตรายที่จะคุกคามชีวิต ทรัพย์สิน เกียรติยศ
. รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่หรือความสำคัญของสิ่งนั้นๆ
. ไม่ทราบว่าสิ่งนั้นจะมีผลลัพท์อย่างไร
อย่างไรก็ดี ในบางกรณี สาเหตุเหล่านี้อาจเกิดขึ้นพร้อมๆกัน

 

ส่วนความรักก็อาจจะเกิดจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้:
. ความรักที่เกิดจากการรับรู้จุดเด่นหรือแรงดึงดูดของบุคคลอื่น ทำให้มีคำกล่าวที่ว่าความรักทำให้คนตาบอด อย่างไรก็ดี คำพูดนี้จะถูกต้องก็ต่อเมื่อจุดเด่นเหล่านี้เป็นความสวยงามผิวเผินไม่ยั่งยืน  แต่หากความสวยงามเหล่านี้เกิดจากกริยามารยาทที่งดงาม หรือความโดดเด่นอันเป็นเอกหลักษณ์ นอกจากจะไม่ทำให้ตาบอดแล้ว ยังทำให้เข้าใจและเข้าถึงความเป็นจริง
. ความรักที่เกิดจากการต้องพึ่งพาผู้อื่นเพื่อช่วยให้ตนเองบรรลุเป้าหมาย ในกรณีนี้เป็นการรักตนเองมากกว่าที่จะเป็นการรักผู้อื่น
. ความรักที่เกิดจากความทราบซึ้งในบุญคุณเนื่องจากได้รับผลประโยชน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณผู้เป็นที่รัก
. ผู้เป็นที่รักปรารถนาจะรับความรักจากผู้มีความรัก เพราะหวังดีและต้องการให้ผู้มีความรักได้ประสบความเจริญก้าวหน้า
ทั้งนี้ เหตุปัจจัยแห่งความรักทั้งหมดที่กล่าวมา อาจเกิดขึ้นประการเดียวหรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายประการสำหรับแต่ละกรณี

 

หากจะพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า ทั้งความรัก ความหวัง และความกลัว ล้วนแฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลุ่มปัจจัยดังกล่าวจะอยู่รวมกันเสมอ แม้ในบางกรณีอาจจะมีอิทธิพลไม่เท่ากัน  คนทั่วไปมักจะมองข้ามปัจจัยเหล่านี้เนื่องจากความเคยชิน โดยไม่รู้ว่าปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเราอย่างยิ่ง ความหวังและความปรารถนาสร้างแรงจูงใจให้คนเราประกอบกิจวัตรประจำวัน หรือแม้แต่ยอมเสี่ยงกระทำในสิ่งอันตราย ขณะเดียวกันความกลัวก็จะทำให้มีความระมัดระวังและความรอบคอบมากขึ้น ทั้งนี้ ถ้าหากมนุษย์เรามีเพียงความหวังและความปรารถนา ก็มักจะมองโลกในแง่ดีโดยไม่ระมัดระวัง อันเป็นเหตุให้ประสบเหตุร้ายในชีวิต แต่ถ้ามนุษย์มีเพียงความกลัว ก็จะระแวงทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งข้าวปลาอาหาร เพราะมัวแต่ระแวงว่าอาจจะสำลักอาหารจนถึงแก่ชีวิตได้ เช่นนี้ก็มี

 

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ฉงนใจว่าความหวังและความกลัวอัลลอฮ์จะรวมกันได้อย่างไรต่างหากที่ต้องกลับไปเรียนรู้ธรรมชาติมนุษย์ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
กล่าวคือ ระดับของความรัก ความหวัง และความกริ่งเกรงพระองค์ที่มีในใจผู้ศรัทธานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
. บุคคลคนนั้นรู้จักอัลลอฮ์ รู้จักคุณลักษณะเชิงวิจิตร และคุณลักษณะเชิงบริสุทธิของพระองค์เพียงใด
. บุคคลคนนั้นมีประวัติอย่างไร
. บุคคลคนนั้นมั่นใจอนาคตของตนเพียงใด
ผู้ที่ยึดมั่นคุณลักษณะเชิงบริสุทธิของพระองค์เป็นหลัก หรือเคยมีประวัติด่างพร้อยในอดีต ระดับความกลัวของเขามักจะสูงกว่าความหวัง และในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ยึดมั่นในคุณลักษณะเชิงวิจิตรเป็นหลัก และเคยได้สัมผัสความเมตตาของพระองค์ ตลอดจนมีประวัติที่ใสสะอาด หรือเคยเตาบะฮ์จากบาปมาแล้ว บุคคลประเภทนี้มักจะมีระดับความหวังที่สูงกว่าความกลัว ส่วนบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติกลางๆ ในลักษณะที่ไม่มั่นใจว่าความดีของตนจะเพียงพอหรือไม่ อีกทั้งไม่มั่นใจว่าจะรอดพ้นไฟนรกหรือเปล่า แต่ยังหวังว่าพระองค์จะอภัยโทษให้ในวันพิพากษา บุคคลประเภทนี้สามารถรักษาสมดุลย์ระหว่างปัจจัยทั้งสามได้
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ความรักและความกลัวของคนส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความโลภและผลประโยชน์ กล่าวคือ คนส่วนใหญ่รักอัลลอฮ์เพราะหวังจะได้รับลาภต่างๆในสรวงสวรรค์ หรือไม่ก็เพราะเกรงกลัวการลงโทษในนรก แต่ยังมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่หลงใหลความวิจิตร ความบริสุทธิ เกียรติยศและความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ ซึ่งนอกจากบรรดาศาสดาและเหล่าตัวแทนศาสดาแล้ว น้อยนักที่จะมีผู้บรรลุสถานะเช่นนี้
ท่านอิมามอลี(.)ได้จำแนกบุคคลทั้งสามกลุ่มดังกล่าวไว้ว่ากลุ่มหนึ่งภักดีต่ออัลลอฮ์เพื่อหวังลาภยศในสวรรค์ นี่คือการภักดีวิถีพ่อค้า ส่วนอีกกลุ่มภักดีต่อพระองค์เพียงเพราะกลัวไฟนรก ซึ่งก็เป็นการภักดีวิถีทาส กลุ่มสุดท้ายภักดีต่ออัลลอฮ์เพราะเหตุผลที่พระองค์ควรค่าแก่การภักดี นี่แหล่ะคือการภักดีวิถีอิสรชน[1] (อิสระจากความต้องการส่วนตัว)
ด้วยเหตุนี้เองที่ครูบาอาจารย์ด้านจริยธรรมกล่าวกันว่า ความรักคือหนึ่งในฐานรากสำคัญของการอบรมวิถีอิสลาม อัลกุรอานในฐานะคัมภีร์ด้านจริยธรรมก็ถือว่าความรักเป็นแกนหลักของความดีงามทั้งปวง ท่านอิมามศอดิก(.) ก็เคยกล่าวไว้ว่าอัลลอฮ์ทรงบ่มเพาะกริยามารยาทของท่านนบี(..)ด้วยความรัก[2]

 

กุรอานและฮะดีษอุดมไปด้วยปัจจัยการทำให้กลัว(แจ้งข่าวร้าย) และสร้างความหวัง (แจ้งข่าวดี) ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวนับเป็นเป้าหมายหลักสำหรับผู้มีศรัทธาในระดับพื้นฐาน และเป็นตัวจุดประกายและสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้ที่มีศรัทธาในระดับปกติ ซึ่งจะทำให้มนุษย์ค่อยๆเกิดแรงจูงใจด้วยการกำชับและสนับสนุน แล้วจึงใช้ความรักเป็นแรงบันดาลใจต่อไป[3] ฉะนั้น จึงไม่ไช่เรื่องแปลกประหลาดที่ความรักความหวัง และความกริ่งเกรงอัลลอฮ์จะมีปฏิกริยาสอดประสานกัน เพราะปฏิกริยาเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งต่อการอบรมจริยธรรมมนุษย์ เนื่องจากด้วยกับปัจจัยความกลัวเท่านั้นที่มนุษย์จะออกห่างจากกิเลสตัณหาอันเป็นต้นเหตุของความพิโรธของพระองค์ ส่งผลให้มีความนอบน้อมยอมสยบต่อพระองค์มากขึ้น และด้วยกับปัจจัยความรักและความหวังเท่านั้น ที่จะทำให้มนุษย์ปรารถนาที่จะปฏิบัติศาสนกิจและกุศลกรรมทุกประเภทที่ทำให้ใกล้ชิดพระองค์

 

สรุปคือ ความหวังและความกลัวจะกระตุ้นให้มนุษย์ประดับประดาตนเองด้วยการกระทำความดี และปลดเปลื้องกิเลสตัณหาและบาปกรรมทุกประการ
และนี่ก็คือสภาวะในอุดมคติที่อัลลอฮ์ทรงตระเตรียมไว้สำหรับมนุษย์ ส่งผลให้ซึมซับศีลธรรมจากอัลลอฮ์ และก้าวสู่สถานะความเป็นเคาะลีฟะฮ์ของพระองค์ อันจะส่งผลให้ได้รับความปลอดภัยและความสุขสบายในโลกหน้า ดังที่โองการกุรอานกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง อาทิเช่นผู้ที่มีศรัทธาต่ออัลลอฮ์และปรโลก และปฏิบัติสิ่งที่ดีงาม ผลรางวัลของพวกเขาจะสถิตอยู่  พระองค์อัลลอฮ์ และไม่เหลือความกลัวและความโศกเศร้าที่จะคุกคามพวกเขาอีกต่อไป[4]
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ความกลัวที่ปราศจากความหวัง จะทำให้หัวใจตายด้าน ซึมเศร้า สิ้นหวัง ละทิ้งเตาบะฮ์ และทำให้จมปลักอยู่ในวังวนแห่งบาป สุดท้ายก็ต้องเผชิญกับโทษทัณฑ์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนความหวังที่ปราศจากความกลัว ก็จะทำให้เกิดความลำพองตนและผัดผ่อนการเตาบะฮ์โดยหวังจะกระทำในบั้นปลายชีวิต ทำให้คาดหวังผิดๆว่าจะได้รับความเมตตาจากพระองค์แน่นอน ที่ว่าผิดก็เพราะว่าหากไม่พยายามแสวงหาด้วยการกระทำก็ไม่ควรคาดหวังความเมตตาใดๆจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านอิมามฮุเซน(.)กล่าวในดุอาอะเราะฟะฮ์ว่ามืดบอดเถิด สองตาที่ไม่เห็นว่าพระองค์เฝ้าดูการกระทำ และผู้ที่พระองค์มิได้ประทานความรักให้ ย่อมเป็นผู้ขาดทุนฉะนั้น ทุกคนจะได้เห็นผลกรรมของความกลัวและความหวังในโลกหน้า จำพวกหนึ่งถูกลงโทษเนื่องจากใช้ประโยชน์จากลาภของพระองค์ในทางที่มิชอบ หรือมีอาการสิ้นหวังในพระองค์จึงหันไปทำบาปจนหนำใจ หรือถูกหลอกให้เริงโลกย์จนลืมเก็บเกี่ยวกุศลกรรม  อีกจำพวกหนึ่งได้รับลาภบริสุทธิ์ โดยไม่ต้องกลัวเกรงสิ่งใด พวกเขาคือผู้ที่ได้รักษาสมดุลย์ระหว่างความกลัวและความหวัง ทำให้สามารถเป็นแนวหน้าในการงดเว้นบาปและตักตวงบุญ

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษาจากหมวดความกลัวและความหวังหรือความรักหรือการอุปถัมภ์ในหนังสือจริยธรรมอิสลามทั่วไป อาทิเช่น
1. ระดับจริยธรรมในกุรอาน,อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี,หน้า
อธิบายสี่สิบฮะดีษ, อิมามโคมัยนี,หน้า
จริยศาสตร์ในกุรอาน, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี,หมวดความกลัวและความหวัง.

 

 

[1] คำแปลนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,.มุฮัมมัด ดัชที, ฮิกมะฮ์ที่237,หน้า678

[2] บิฮ้ารฯ,เล่ม17,หน้า3.

[3] ระดับจริยธรรมในกุรอาน,อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี,หน้า330-332

[4] ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์,62 และอัลมาอิดะฮ์,65 สรุปเนื้อหาจากคำถามที่ 64

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    13215 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12905 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6831 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • ประชาชนชาวเมืองกุมไม่ว่าจะกระทำผิดเพียงใดก็จะไม่ถูกลงโทษในไฟนรกกระนั้นหรือ?
    5848 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    1.รายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับเมืองกุม, ที่ว่าประชาชนชาวกุมจะไม่ตกนรกนั้นไม่ถูกต้อง.2.การรู้จักมักคุ้นกับลูกหลานของท่านศาสดา (ซ็อล
  • ปรัชญาของการมีทาสในอิสลามคืออะไร? อิสลามมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่าอย่างไร?
    12310 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    ถูกต้องบทบัญญัติเกี่ยวกับ การแต่งงานกับทาส, การเป็นมะฮฺรัมกับทาส, สัญญาซื้อขาย (ข้อตกลงที่จะปล่อยทาสเป็นไท) และ ...ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน, การมีทาสได้รับการยืนยันว่ามีจริงในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต้นยุคอิสลาม แต่จำเป็นต้องกล่าวว่าอิสลามมีโปรแกรมที่ละเอียดอ่อน และมีกำหนดเวลาในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท ซึ่งบั้นปลายสุดท้ายของทั้งหมดเหล่านั้นคือ การได้รับอิสรภาพเป็นไททั้งสิ้น ดังนั้นการเผชิญหน้าของอิสลามกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้: 1-อิสลามมิเคยเริ่มต้นปัญหาเรื่องทาส 2-อิสลามถือว่าปัญหาชะตากรรม และความเจ็บปวดใจของทาสในอดีตที่ผ่านมาคือ ปัญหาความล้าหลังอันยิ่งใหญ่ของสังคม 3-อิสลามได้วางโครงการที่ละเอียดอ่อน เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็นไท, เนื่องจากครึ่งหนึ่งของพลเมืองในสมัยก่อนเป็นทาสทั้งสิ้น, พวกเขาไม่มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพการงาน, ไม่มีปัจจัยสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป.ถ้าหากอิสลามได้มีคำสั่งต่อสาธารณชนว่าให้ทั้งหมดปล่อยทาสให้เป็นไท, ซึ่งเป็นไปได้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะต้องสูญเสียชีวิต หรือไม่ชนส่วนใหญ่ก็จะต้องว่างงานไร้อาชีพ หิวโหย ถูกกีดกัน และพวกเขาต้องได้รับแรงกดดันจนกระทั่งเข้าทำร้ายและโจมตีในทุกที่ การประจัญบาน การนองเลือด และการทำลายกฎระเบียบของสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามได้วางแผนการไว้อย่างละเอียด เพื่อดึงดูดสังคมให้ทาสเหล่านี้ได้รับอิสรภาพ และเป็นไทไปที่ละน้อย ซึ่งแผนการดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7581 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6799 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ฮัมมาดะฮ์เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
    7473 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    ตำราวิชาสายรายงานฮะดีษระบุว่ามีสตรีที่ชื่อ “ฮัมมาดะฮ์” สองคน คนหนึ่งชื่อ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ เราะญาอ์” ส่วนอีกคนคือ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ ฮะซัน” แต่สันนิษฐานว่าสองรายนี้คือคนๆเดียวกัน สุภาพสตรีท่านนี้เป็นสาวิกาของท่านอิมามศอดิก(อ.) ซึ่งกุลัยนีและเชคเศาะดู้กได้รายงานฮะดีษของอิมามศอดิกจากนาง[1] ท่านนะญาชีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อซิยาด บิน อีซา อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ ส่วนเชคฏูซีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อ เราะญาอ์ บิน ซิยาด จะเห็นได้ว่ามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องชื่อของพี่ชายและบิดาของนาง ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะมีสตรีสองคนที่ชื่อฮัมมาดะฮ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสำนวนของนะญาชีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าสองคนนี้แท้ที่จริงก็คือสตรีคนเดียวกัน เหตุผลที่นำมาชี้แจงก็คือ[2] อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ มีชื่อจริงว่า ซิยาด บิน อบีเราะญาอ์ (มิไช่แค่เราะญาอ์) ส่วนชื่อจริงของอบูเราะญาอ์คือ มุนซิร หรือซิยาด ผลที่ได้ก็คือ ...
  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7865 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7410 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60417 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42516 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39813 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39167 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34277 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28327 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28252 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28186 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26125 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...