Please Wait
6623
ในทัศนะของชีอะฮ์, วิลายะฮ์ของฟะกีฮ์(ผู้เชี่ยวชาญศาสนา)ในยุคที่อิมามเร้นกายนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิลายะฮ์ของบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ) กล่าวคือในยุคที่อิมามมะอ์ศูม(อ)ยังไม่ปรากฏกาย หน้าที่การปกครองดูแลประชาคมมุสลิมจะได้รับการสืบทอดสู่บรรดาฟะกีฮ์ ซึ่งฟุก่อฮา(พหูพจน์ฟะกีฮ์)ทุกท่านมีฐานะภาพเช่นเดียวกันนี้ ทว่าเมื่อหนึ่งในฟุก่อฮาสามารถจัดตั้งรัฐอิสลามสำเร็จ ฟะกีฮ์ท่านอื่นๆมีหน้าที่ต้องเชื่อฟัง และไม่อนุญาตให้แทรกแซงหรือขัดขวางหน้าที่ของวะลียุลฟะกีฮ์ อีกประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ จะต้องจำแนกระหว่างคุณสมบัติ“อะอ์ละมียะฮ์”(ความเชี่ยวชาญสูงสุด)ในกรณีของวิลายะตุลฟะกีฮ์ กับอะอ์ละมียะฮ์ในกรณีของมัรญะอ์ตักลีด กล่าวคือ ความเชี่ยวชาญสูงสุดในกรณีวิลายะตุลฟะกีฮ์หมายถึงผู้ที่สามารถวินิจฉัยปัญหาศาสนาและมีความเชี่ยวชาญสูงสุดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในระดับประเทศและระดับโลก และรู้เท่าทันกลลวงศัตรูอิสลาม ทำให้สามารถตัดสินใจอย่างรอบคอบและทันท่วงที และด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ท่านอายะตุลลอฮ์ อุซมา คอเมเนอี จึงได้รับการไว้วางใจจากสภาผู้ชำนัญการศาสนาในฐานะผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะสามารถนำพานาวารัฐอิสลามสู่เป้าหมายได้
“วิลายะฮ์”มีรากศัพท์จากคำว่า“วัลยุน”ซึ่งนักภาษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงต่างเห็นพ้องกันว่าสื่อถึง“ความชิดใกล้”[1]เพียงความหมายเดียว. ส่วนคำว่า“วะลี”ในภาษาอรับมีสามความหมาย: มิตร, ผู้มีความรัก, ผู้ช่วยเหลือ. แต่คำว่า“วิลายะฮ์”นอกจากจะมีสามความหมายดังกล่าว[2] ยังมีอีกสองความหมาย นั่นคือ: การมีอำนาจควบคุม, การปกครอง.[3]
ตามทัศนะของชีอะฮ์ หลักวิลายะตุลฟะกีฮ์สืบทอดมาจากวิลายะฮ์ของบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ) ดังที่วิลายะฮ์ของบรรดาอิมามก็สืบทอดมาจากวิลายะฮ์ของท่านร่อซูล(ซ.ล.) ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดหลักความคิดที่ว่า จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญอิสลามอยู่บนยอดปิระมิดประชาคมมุสลิมเพื่อบริหารเชิงมหภาคเสมอ ซึ่งหากอิมามมะอ์ศูมสามารถ