Please Wait
13591
นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัว อาทิเช่น จะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับ ตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว เป็นสิทธิของอัลลอฮ์เหนือฉัน ที่ฉันจะต้องให้ทานคนยากไร้หนึ่งร้อยบาท” เช่นนี้ถือว่าถูกต้อง
หนึ่งในเงื่อนไขของการนะซัรก็คือ ผู้ที่นะซัรจะต้องมีสติสัมปชัญญะ บรรลุนิติภาวะ และตัดสินใจนะซัรด้วยตนเอง. นั่นหมายความว่า การนะซัรในกรณีที่ถูกบังคับขู่เข็ญ หรือนะซัรในขณะที่บันดาลโทสะและมิได้ยั้งคิดไตร่ตรองเสียก่อน ถือว่าเป็นโมฆะทั้งสิ้น นอกจากนี้ กิจกรรมแก้นะซัรก็ควรเป็นสิ่งที่เหมาะสมและพึงกระทำ และต้องไม่เกินความสามารถของผู้นะซัร จึงสามารถกล่าวได้ว่านะซัรก็คือ การที่คนๆหนึ่งกำหนดกุศลกรรมบางอย่างให้เป็นข้อบังคับ(วาญิบ) หรือบังคับตนให้งดเว้นอกุศลกรรมบางประการเพื่ออัลลอฮ์
แต่ประการที่ว่านะซัรประเภทใดมีโอกาสสัมฤทธิ์ผลเร็วที่สุดนั้น จากผลการค้นคว้าสอบถามชี้ให้เห็นว่า การนะซัรอุทิศส่วนกุศลแด่บรรดาอิมามจากวงศ์วานนบี(ซ.ล.)ให้ผลค่อนข้างสูง ตัวอย่างเช่น นะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงช่วยให้สมประสงค์ เขาจะอ่านกุรอานหนึ่งจบและอุทิศผลบุญแด่หนึ่งในมะอ์ศูม(ผู้ปราศจากบาป)สิบสี่ท่าน หรืออาจจะนะซัรว่าจะถือศีลอด หรืออ่านซิยาเราะฮ์อาชูรอสี่สิบครั้ง.
อย่างไรก็ดี บางครั้งเรามีความประสงค์บางอย่างและได้นะซัรหลายครั้งหลายครา แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเสียที กรณีเช่นนี้มิได้ทำให้การนะซัรหมดความน่าเชื่อถือลงไปแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะบางครั้ง เราคิดว่าบางเรื่องจำเป็นและจะต้องไขว่คว้ามาให้ได้ แต่แท้ที่จริงอาจจะก่อให้เกิดผลเสียแก่เราในภายหลัง อัลลอฮ์จึงระงับไม่ให้เราได้รับในสิ่งที่ต้องการจนกว่าจะถึงเวลาอันควร เนื่องจากบางครั้งเราต้องการในสิ่งที่จะเป็นอันตรายแก่เรา และบางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเป็นผลดีแก่เรา
สรุปคือ ในกรณีดังกล่าว อัลลอฮ์จะทรงสนองนะซัรของเราเมื่อทรงเห็นควร นั่นก็หมายความว่าหากผลลัพท์ล่าช้าไปบ้าง ก็มิได้เกิดจากการที่นะซัรของเราด้อยค่าแต่อย่างใด[1].