การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17797
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/11/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1739 รหัสสำเนา 27467
คำถามอย่างย่อ
ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
คำถาม
ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอนในอัลกุรอาน?
คำตอบโดยสังเขป

บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับการตอบคำถามอย่างละเอียดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาสองคำนี้ ชัยฏอน และอิบลิซ ให้กระจ่างเสียก่อน

ชัยฏอน :

คำว่า ชัยฏอน มาจากรากศัพท์ของคำว่า “ชะฏะนะ” หมายถึง การเป็นปรปักษ์, ซึ่งจะใช้เรียกทุกสรรพสิ่งที่ฝ่าฝืน ละเมิด และแสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับความจริง ซึ่งไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรพสัตว์ก็ตาม[1]

คำว่า ชัยฏอน ถูกใช้ในอัลกุรอาน 3 ลักษณะดังนี้ :

1. ใช้คำว่า ชัยฏอน เพรียวอย่างเดียวโดยปราศจาก อลิฟ และลาม ในกรณีนี้ วัตถุประสงค์คือ ชัยฏอน ที่มิได้มีการระบุแน่นอนว่าหมายถึงใคร แน่นอนว่า อาจหมายถึง ทุกคนทั้งที่เป็นมนุษย์และญินก็ได้ เช่น โองการที่กล่าวว่า :

«وَ مَنْ يَعْشُ عَنْ ذِكْرِ الرَّحْمنِ نُقَيِّضْ لَهُ شَيْطاناً فَهُوَ لَهُ قَرينٌ »

“ผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงพระผู้ทรงปรานี เราจะให้ชัยฏอนตัวหนึ่งแก่เขา แล้วมันก็จะเป็นสหายของเขา”[2]

2. คำว่า ชัยฏอน ถูกใช้พร้อมกับ อลิฟและลาม, ในกรณีนี้โดยทั่วไปแล้วจะให้ความหมายเฉพาะเจาะจงนั่นคือ อิบลิซ เช่น โองการที่กล่าวว่า :

«يا بَني‏ آدَمَ لا يَفْتِنَنَّكُمُ الشَّيْطانُ كَما أَخْرَجَ أَبَوَيْكُمْ مِنَ الْجَنَّةِ»

“โอ้ ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย จงอย่าให้ชัยฏอนลวงพวกเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้ให้พ่อแม่ของพวกเจ้าออกจากสวนสวรรค์มาแล้ว”[3]

บางครั้งก็จะใช้ในความหมายทั่วๆ ไป เช่น โองการที่กล่าวว่า : «الشَّيْطانُ يَعِدُكُمُ الْفَقْرَ وَ يَأْمُرُكُمْ بِالْفَحْشاء...» “ชับฎอนจะขู่พวกเจ้าให้กลัวความยากจน และกำชับพวกเจ้าให้กระทำความชั่ว”[4]

ตรงนี้จะเห็นว่า (อลิฟลาม) จะเป็นตัวระบุว่าชัยฏอนนั้นหมายถึง ชนิด (ทั่วไป) เนื่องจากการบังคับให้กลัวความอยากจน หรือการชักชวนไปสู่การก่อกรรมชั่ว บางครั้งก็เกิดได้โดยน้ำมือของชัยฏอน หรือมนุษย์

3. คำว่า “ชัยฏอน” ถูกใช้ในลักษณะที่เป็นพหูพจน์ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ชัยฏอน นั้นมีองค์ประกอบภายนอกมากมาย ที่แตกต่างกัน ขณะที่ถ้าหากคำว่า ชัยฏอน เป็นคำนามสำหรับ บุคคลเฉพาะ (อิบลิซ) จะใช้ในลักษณะที่เป็นเอกพจน์เสียส่วนใหญ๋ นอกจากนั้นอัลกุรอาน บางโองการหลังจากคำว่า ชะยาฏีน ในลักษณะที่เป็นชนิดต่างๆ ที่แตกต่างไปจากประเภทของ ชัยฏอน เช่น โองการที่กล่าวว่า : «وَ كَذلِكَ جَعَلْنا لِكُلِّ نَبِيٍّ عَدُوًّا شَياطينَ الْإِنْسِ وَ الْجِن» หมายถึง “ในทำนองนั้น เราได้ให้มีศัตรูขึ้นแก่นะบีทุกคนคือ บรรดาชัยฏอนทั้งที่เป็นมนุษย์ และญิน”[5]

อิบลีซ :

คำว่า อิบลิซ มาจากรากศัพท์คำว่า (อิบลาซ) หมายถึงความเศร้าเสียใจ ความทุกข์ใจที่เกิดจาก การสิ้นหวังอย่างรุนแรง อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า :  « وَ يَوْمَ تَقُومُ السَّاعَةُ يُبْلِسُ الْمُجْرِمُون‏» หมายถึง “วันที่วาระสุดท้าย (กิยามะฮฺ) จะเกิดขึ้นพวกทำผิดต่างหมดหวัง”[6] ซึ่งตรงกับความหมายของคำตามที่กล่าวในสารานุกรม[7]

อิบลิซ ได้ถูกเรียกว่าอิบลีซ เนื่องจากว่า มันได้สิ้นหวังจากพระเมตตาของพระเจ้าโดยสิ้นเชิง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เนื่องจากความดื้อดึง อวดดี และฝ่าฝืนต่อคำสั่งของพระองค์

อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : » เมื่อเราได้กล่าวแก่มะลาอิกะฮฺว่า จงกราบคารวะอาดัม ทั้งหมดได้กราบคารวะ เว้นแต่อิบลิซมันอยู่ในหมู่ของพวกญิน ดังนั้น จึงฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้อภิบาล«[8] อัลลอฮฺ ทรงถามว่า “โอ้ อิบลีซ อันใดเล่าที่ขัดขวางเจ้าไม่ให้เจ้าก้มกราบต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างขึ้นด้วยมือทั้งสองของข้า? เจ้าเย่อหยิ่งจองหอง หรือว่าเจ้าอยู่ในหมู่ผู้สูงส่งกันแน่? เจ้าประเมินการว่าเจ้าดีและวิเศษกว่าเขา? (เจ้าคิดว่าเจ้าดีกว่าใช่ไหม) อิบลิซ ตอบว่า : กล่าวว่า ข้าฯ ดีกว่าเขา พระองค์ทรงสร้างข้าฯ จากไฟ และทรงสร้างเขาจากดิน[9] ตรงนี้เองที่อัลลอฮฺ ทรงมีคำสั่งขับไล่อิบลีซออกไปว่า ดังนั้น เจ้าจงออกไปจากที่นี่ เพราะแท้จริงเจ้าเป็นผู้ถูกขับไล่ การสาปแช่งของข้าจะประสบแก่เจ้า ตราบจนถึงวันแห่งการตอบแทน[10] พร้อมกับถอดถอนคุณลักษณะของ มะลัก ออกจากเขา[11] ทว่าตั้งแต่แรกแล้วที่อิบลิซ มิได้มาจากหมู่มวลมะลาอิกะฮฺ ทว่าเนื่องจากความพยายามในการอิบาดะฮฺ การแสดงความเคารพภักดี เชื่อฟัง จนทำให้เขาอยู่ในฐานะที่ใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาล และได้อยู่ในหมู่มวลมะลาอิกะฮฺ[12]

ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า : “ชื่อของอิบลิซคือ »ฮะรัษ หรือ ฮาริษ «แต่ได้เรียกว่า อิบลิซ เนื่องจากมารได้สิ้นหวังในพระเมตตาของอัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง”[13]

อิบนุอารอบี,เจ้าของหนังสือ ฟุตูฮาต มักกียะฮฺ กล่าวถึง การตั้งชื่ออิบลิซว่า : มารเป็นคนแรกที่ได้ถูกตั้งชือว่า ชัยฏอน [ฮาริษ] หลังจากอัลลอฮฺ ทรงเรียกเขาว่า อิบลาซ หมายถึง ผู้สิ้นหวังจากพระเมตตาของอัลลอฮฺ โดยสิ้นเชิง[14]

อัลกุรอาน กล่าวว่า : เมื่ออัลลอฮฺ ทรงถอดเขาออกจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺ มารกล่าวต่อรองว่า »โอ้ พระผู้อภิบาล ฉะนั้น โปรดประวิงเวลาให้แก่ข้าฯ จนถึงวันฟื้นคืนชีพ ตรัสว่า แน่นอน เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ถูกประวิงเวลา จนกระทั่งถึงวันที่เวลาถูกกำหนดไว้แล้ว«[15]

ครั้นเมื่ออิบลิซมั่นใจว่าตนจะได้มีชีวิตต่อไป จึงกล่าวว่า “กล่าวว่า ดังนั้น ขอสาบานด้วยเกียรติของพระองค์ว่า ข้าฯ จะทำให้พวกเขาทั้งหมดหลงผิด ยกเว้นปวงบ่าวของพระองค์ ในหมู่พวกเขาที่บริสุทธิ์ใจเท่านั้น”[16]

ดังนั้น มารจึงกลายเป็นศัตรูตัวฉกาจของอัลลอฮฺ มาตั้งแต่บัดนั้น อัลลอฮฺ ทรงสำทับหมู่มนุษย์ทั้งหลายว่า »แท้จริง ชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูกับพวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงถือว่ามันเป็นศัตรู[17]«

แน่นอน การกล่าวถึงประเด็นนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งว่า บรรดาชัยฏอนทั้งหมดได้เชื่อฟังคำสั่งของอิบลิซ และอยู่ใต้การบังคับบัญชาของมัน อัลกุรอาน จึงได้เรียกกลุ่มนี้ว่า พลพรรคของชัยฏอน (อิบลิซ)

»ชัยฎอนมารร้ายได้เข้าไปครอบงำพวกเขาเสียแล้ว มันจึงทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพรรคพวกของชัยฏอนนั้น พวกเขาเป็นผู้ขาดทุน«  [18]

สรุปประเด็น :

อิบลีซ, คือชื่อหนึ่งของชัยฏอน เนื่องจากการฝ่าฝืนในคำสั่งของอัลลอฮฺ จึงถูกขับออกจากสถานแห่งอัลลอฮฺ ส่วนคำว่า ชัยฏอน คือความเข้าใจรวม หมายถึง สรรพสิ่งที่ดื้อรั้น อวดดี จองหอง ละเมิด และฝ่าฝืน ซึ่งครอบคลุมเหนืออิบลิซด้วย และนอกจากนั้นยังครอบคลุม บรรดาชัยฎอนทั้งหมด ทั้งมาจากมนุษย์และมาจากหมู่ญิน หรือแม้แต่สรรพสัตว์ก็ตาม

 


[1] อัลมุนญิด ฟิล ลุเฆาะฮฺ

[2] บทอัซซุครุฟ, 36.

[3] บทอะอฺรอฟ, 27.

[4] บทบะเกาะเราะฮฺ, 286.

[5] บทอันอาม, 112.

[6] บทอัรโรม, 12

[7] อัลมุฟรอดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, รอฆิบ เอซฟาฮานีย์.

[8] อัลกะฮฺฟิ, 50 กล่าวว่า  "وَ إِذْ قُلْنَا لِلْمَلَئكَةِ اسْجُدُواْ لاَدَمَ فَسَجَدُواْ إِلَّا إِبْلِيسَ كاَنَ مِنَ الْجِنّ‏ِ فَفَسَقَ عَنْ أَمْرِ رَبِّهِ...".

[9] บทซ็อซดฺ 75-76 กล่าวว่า :

"قَالَ يَإِبْلِيسُ مَا مَنَعَكَ أَن تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَىَّ  أَسْتَكْبرَتَ أَمْ كُنتَ مِنَ الْعَالِين‏ (*)قَالَ أَنَا خَيرْ مِّنْهُ خَلَقْتَنىِ مِن نَّارٍ وَ خَلَقْتَهُ مِن طِينٍ"

[10] บทซ็อซดฺ 77-78 กล่าวว่า : "قَالَ فَاخْرُجْ مِنهْا فَإِنَّكَ رَجِيمٌ (*)وَ إِنَّ عَلَيْكَ لَعْنَتىِ إِلىَ‏ يَوْمِ الدِّينِ

[11] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 19, หน้า 341.

[12] อ้างแล้ว, เล่ม 12, หน้า 462

[13] สะฟีนะตุลบิฮาร, เล่ม 1, หน้า 99.

[14] อัลฟุตูฮาต อัลมักกียะฮฺ, อิบนุอารอบียฺ, เล่ม 1, หน้า 134.

[15] บทซ็อซดฺ 79-81 กล่าวว่า : "قَالَ رَبّ‏ِ فَأَنظِرْنىِ إِلىَ‏ يَوْمِ يُبْعَثُونَ(*) قَالَ فَإِنَّكَ مِنَ الْمُنظَرِينَ(*)

[16] บทซ็อซดฺ 82-83 กล่าวว่า : "قَالَ فَبِعِزَّتِكَ لَأُغْوِيَنَّهُمْ أَجْمَعِينَ (*) إِلَّا عِبَادَكَ مِنْهُمُ الْمُخْلَصِينَ"

[17] บทฟาฏิร, 6 กล่าวว่า : "إِنَّ الشَّيْطَانَ لَكمُ‏ْ عَدُوٌّ فَاتخَِّذُوهُ عَدُوًّا..."

[18] บทมุญาดะละฮฺ, 19 กล่าวว่า :

"اسْتَحْوَذَ عَلَيْهِمُ الشَّيْطانُ فَأَنْساهُمْ ذِكْرَ اللَّهِ أُولئِكَ حِزْبُ الشَّيْطانِ أَلا إِنَّ حِزْبَ الشَّيْطانِ هُمُ الْخاسِرُون‏"

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    17345 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
    8565 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า1) คำว่าอิซมัตเป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรมพฤติกรรมชั่วร้ายและความผิดต่างๆโดยสิ้นเชิงอีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาดและการหลงลืมโดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีหรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์2. ...
  • สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
    7964 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลามหลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลามปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้วได้แบ่งออกเป็น
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6580 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11518 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    7340 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58076 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    10149 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
    12205 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8662 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60504 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58076 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42607 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39966 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39242 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34360 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28423 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28336 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28264 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26200 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...