Please Wait
7531
หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิส โดยหนึ่งในสอง หรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้ สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]
สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้น หลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้ว หากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะ การล้างด้วยน้ำปริมาตรกุร น้ำปริมาตรก่อลี้ล หรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรม เสื้อผ้า ฯลฯ เพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมา หากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะ จะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ล โดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่าน หากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้ว ให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาด แต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆ ทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]
ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษ นอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้ว ในกรณีนี้ นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้ว เขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]
หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิส โดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้ง หรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกัน สิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
1. คำถามที่ 1035 (เว็บ 1097) หมวดหมู่ การทำความสะอาดอสุจิด้วยการล้าง
2. คำถามที่ 648 (เว็บ 710) หมวดหมู่ การเป็นนะญิสของสิ่งของที่สะอาด
[1] ประมวลปัญหาศาสนาฉบับรวมมัรญะอ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 88, ปัญหาที่ 125
[2] ประมวลปัญหาศาสนาฉบับรวมมัรญะอ์, เล่มที่ 1, หน้าที่105, ปัญหาที่ 159 และ 160
[3] ประมวลปัญหาศาสนาฉบับรวมมัรญะอ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 306, ปัญหาที่ 531 และ 522
[4] ทว่าฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตและอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี คือหากมือของเราได้สัมผัสศพที่ยังไม่ได้อาบน้ำมัยยิต แม้ว่าศพนั้นจะแห้งก็ตาม อิฮ์ติยาตให้ล้างมือด้วย, ประมวลปัญหาศาสนาฉบับรวมมัรญะอ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 88, ปัญหาที่ 125