การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17750
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1357 รหัสสำเนา 13582
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
ความเชื่อคืออะไร
คำถาม
ความเชื่อคืออะไร
คำตอบโดยสังเขป

ความเชื่อคือ ความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คน และพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้น

ความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติ ศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้

ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลาม ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ 3-ทฤษฎีด้วยกันกล่าวคือ

1 – ทัศนะของ อะชาอิเราะฮฺ ความเชื่อคือ การยืนยันถึงการมีอยู่ของพระเจ้า ศาสดาของพระองค์ คำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ของพระองค์

2 – ทัศนะของ มุอ์ชิละฮฺ ความเชื่อคือ การปฏิบัติไปตามหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งพระเจ้าได้สาธยายแก่เรา

3 – ทัศนะของนักปรัชญา, และนักศาสนศาสตร์อิสลามความเชื่อคือ ความรู้และการรู้จักโลกของความเป็นจริง และการทำให้จิตของตนสมบูรณ์ด้วยวิธีนี้

ในทัศนะของ อิรฟาน ความเชื่อคือ การหันคืนสู่พระเจ้าและหันห่างไปจากทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า

ความเชื่อสมัยใหม่ในศาสนาคริสต์ตะวันตกและโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในสองรูปแบบ :

1 – ความศรัทธาขั้นรุนแรงชนิดสุดโต่ง และการต่อต้านสติปัญญาซึ่งไม่เปิดทางให้สติปัญญาได้มีส่วนร่วมในในคำสอนทางศาสนา ความเชื่อในพระเจ้าและอภิปรัชญา

2 – ความเชื่อในทางสายกลางหรือทางภูมิปัญญา ซึ่งยอมรับว่านอกเหนือจากสติปัญญาแล้ว การใช้ประโยชน์อื่นเพื่อสติปัญญาในการพิสูจน์เหตุผล เพื่อเสริมสร้างหลักการทางศาสนาและความเชื่อ แม้ว่าจำนำเอาความเชื่อนำหน้าด้วยเหตุผลและสติปัญญาก็ตาม

ในหมู่นักคิดอิสลาม, ทัศนะของนักอิรฟานค่อนข้างคล้ายเหมือนแนวคิดความเชื่อชนิดสุดโต่ง ส่วนเฆาะซาลีย์ และ เมาละวีย์ สามารถกล่าวได้ว่ามีความเชื่อใกล้เคียงกับอีมานในสายกลาง

ดูเหมือนว่า การพิสูจน์แบบแห้งแล้วและไม่มีชีวิตชีวา มาไปด้วยข้อโต้แย้งทางปรัชญาคือปฐมบททางความเชื่อในแนวใหม่ได้เป็นอย่างดี

คำตอบเชิงรายละเอียด

สรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายย่อมมีความผูกพันด้านจิตใจของตน มนุษย์ก็เช่นเดียวกันนอกเหนือจากการมีจิตผูกพันกับวัตถุแล้วเขายังมีจิตผูกพันด้านจิตวิญญาณ เช่น การรู้จักและความงามและ ... ความเชื่อจัดว่าเป็นสภาพหนึ่งของการมีจิตผูกพัน ซึ่งสรรพสิ่งอื่นนั้นอยู่ภายใต้รัศมีของความศรัทธา

ขอบเขตของความเชื่อสำหรับมนุษย์ทุกคนคือความเป็นส่วนตัวที่ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือความผูกพันของมนุษย์ในที่สุดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นองค์ประกอบของความกล้าหาญ และความรักก็จะงอกเงยเกิดขึ้นมา

สิ่งย้อนกลับของความศรัทธาคือสิ่งแน่นอนเสมอ ดังนั้น ผู้ศรัทธาทุกคนจึงควรจะรู้จักสิ่งนั้นเป็นอย่างดี[1]

สำหรับคำว่า "อีมาน"ตามนิยามต่างๆ ได้มีการตีความที่แตกต่างกันออกไป อัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอีย์ ในฐานะที่เป็นนักปรัชญาชีอะฮฺ เป็นนักตัฟซีรอัลกุรอาน, ท่านได้ให้นิยามความเชื่อ (อีมาน) ไว้ดังนี้  :

"ความเชื่อไม่ได้หมายถึง"ความรู้"และ"การรู้จัก"เพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวถึงบุคคลที่ตกศาสนา (มุรตัด) ว่าทั้งที่มีความรู้แต่เขาได้เบี่ยงเบนออกไปจนได้ตกมุรตัด ทว่าผู้ศรัทธานอกจากจะมีความรู้แล้ว เขายังจำเป็นต้องยึดมั่นบนความรู้ของตน และต้องมีคำมั่นสัญญาทางจิตใจต่อความรู้นั้น ในลักษณะที่ว่าร่องรอยของความรู้ต้องปรับปรุงเขาในแต่ละวันได้ ดังนั้น ผู้ใดที่มีความรู้ว่าพระเจ้าคือพระเจ้าซึ่งนอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีเจ้าอื่นใดอีก ฉะนั้น จำเป็นสำหรับเขาคือต้องยึดมั่นในความรู้ของตน กล่าวคือการก้าวไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการต่างๆ หรือปฏิบัติอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นใครก็ตามที่ปฏิบัติเช่นนี้เราเรียกเขาว่า ผู้ศรัทธา[2]

เนื่องจากอัลกุรอาน กล่าวถึงความปรารถนาของอัลลอฮฺต้องการให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางความเชื่อ จึงได้มีการเน้นย้ำและการตีความต่างๆ เอาไว้มากเกินกว่า 100 โองการ ซึ่งต้องการให้ผู้ที่กล่าวถึงมีความเชื่อศรัทธา เพื่อให้ความศรัทธาได้ช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากภยันตราย[3] ดังนั้น ความหมายของคำว่า อีมาน ในทัศนะของนักคิดอิสลามจะเห็นว่ามีความสำคัญอันเฉพาะเจาะจงพิเศษไว้

ในหมู่นักศาสนศาสตร์อิสลาม ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับแก่นแท้ของความเชื่อไว้ 3 ทฤษฎีด้วยกันคือ  :

1-- ทัศนะของอะชาอิเราะฮฺ กล่าวว่า แก่นแท้ของความเชื่อคือ การยอมรับถึงการมีอยู่ของพระเจ้า รวมไปถึงบรรดานบี และคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ที่ได้ถูกสาธยายโดยบรรดานบีเหล่านั้น การสารภาพด้วยปากตามทุกสิ่งที่หัวใจได้ยอมรับ กล่าวคือกรปฏิญาณตนยืนยันถึงความจริงที่เปิดเผยและการยอมรับความจริงนั้น ในสภาพเช่นนี้ด้านหนึ่งคือการยอมจำนน และความอ่อนน้อมถ่อมตนด้านจิตใจ (สัญญาใจ) อีกด้านหนึ่งคือความสัมพันธ์ชนิดหนึ่งในแง่ของความพยายามกับเรื่อง การยอมรับและการปฏิญาณยืนยัน[4]

2— มุอ์ตะซิละฮฺ กล่าวว่า แก่นแท้ของอีมานคือ : การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้ถูกกำหนด

การยอมรับในการมีอยู่จริงของพระเจ้าและศาสดาต่างๆ ถือว่าเป็นการปฏิบัติไปตามหน้าที่ ซึ่งหน้าที่อื่นก็คือการปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ และการละทิ้งสิ่งต้องห้าม ซึ่งบุคคลใดปฏิบัติหน้าที่ของเขาได้ครบบริบูรณ์เราเรียกเขาว่า "ผู้ศรัทธา" ตามทัศนะของเขาจะเห็นว่า ความศรัทธาจะเป็นจริงต้องขึ้นอยู่กับการกระทำไม่ใช่ความเชื่อหรือทฤษฎีเท่านั้น[5]

3 -- มุมมองนี้เป็นวิสัยทัศน์ของนักปรัชญาส่วนใหญ่, และนักศาสนศาสตร์ซึ่งได้แสดงทัศนะไว้ว่า แก่นแท้ของเชื่อความเชื่อคือ ความรู้และการรู้จักทางปรัชญาในเกี่ยวกับความเป็นจริงต่างๆ ของจักรวาล

อีกนัยหนึ่ง; ความเร้นลับของจิตมนุษย์ในขั้นตอนความสมบูรณ์ทางทฤษฎี คือตัวก่อร่างสร้างความจริงของความศรัทธา ดังนั้น การปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อบังคับและละเว้นสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ซึ่งเป็นความเร้นลับของจิตในขั้นความสมบูรณ์ในแง่ของการปฏิบัติซึ่งร่องรอยภายนอกของความรู้นี้คือ การรู้จัก ด้งนั้น ถ้าหลักความเชื่อในทัศนะของผู้ศรัทธาถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมากเท่าใดความเชื่อของเขาก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังเช่น ซ็อดรุล มุตะอัลลิฮีน ได้กล่าวไว้ตอนเริ่มต้น อัสฟารอัรบะอะฮฺ หัวข้อ อิลาฮียาต บิลมะนัลอะคัส ว่า : ความศรัทธาที่แท้จริงต่ออัลลอฮฺ โองการต่างๆ วันแห่งการตัดสิน ดังที่โองการได้กล่าวว่า มุอฺมินคือผู้ศรัทธาในอัลลอฮฺ มลาอิกะฮฺ อัลกุรอาน และเราะซูลของพระองค์ และโองการที่กล่าวว่า บุคคลที่ปฏิเสธอัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺและเราะซูลอของพระองค์ ตลอดจนวันแห่งการตัดสิน แน่นอน เขาได้หลงทางอย่างไกลโพ้น อีมานได้ครอบคลุมอยู่เหนือความรู้ 2 ประการ หนึ่งในนั้นคือความรู้ในเรืองการสร้างสรรค์ และความรู้ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ สิ่งที่เกิดจากความรู้ในการสร้างคือ การรู้จักอัลลอฮฺและคุณลักษณะของพระองค์ การกระทำและร่องรอยของพระองค์ ส่วนความรู้ในเรื่องการฟื้นคืนชีพคือ การรู้จักตนเอง[6]

ทัศนะดังกล่าวได้ยืนยันถึงการมีอยู่ของพระเจ้า และศาสดาต่างๆ โดยการยืนยันด้วยเหตุและผลซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงภายนอก และบางส่วนเป็นความรู้เกี่ยวข้องกับจักรวาล ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ออกแนวความเข้าใจและความเชื่อ

แต่ในทัศนะของ อิรฟาน ความเชื่อไม่ใช่ความรู้ และไม่ใช่การกระทำ ไม่ใช่การเป็นพยานยืนยัน แต่สาระสำคัญของความเชื่อคือ การยอมจำนนต่อพระเจ้าและการหลีกเลี่ยงจากทุกสิ่งที่ไร้สาระ ดังนั้น อีมานคือ : การกลับไปสู่อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกร พระองค์ผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียว พระเจ้าผู้ทรงอำนาจยิ่ง ไม่มีอำนาจอื่นใดนอกจากพระองค์ ดังนั้น ไม่มีสิ่งใดที่เขาจะมกมุ่นได้อีกนอกจากสัจธรรม และเท่าจำนวนของการจำนนในสัจธรรมคือจำนวนของอีมาน ดังนั้น อีมานคือยอมจำนวนต่อความจริง ส่วนการปฏิเสธคือการต่อต้านความจริง (ดังนั้น สิ่งที่ต่อต้านกันไม่อาจรรวมกันได้)[7]

บรรดานักวิพากษ์ชาวคริสเตียน ก็เช่นเดียวกันส่วนใหญ่ได้ยึดถือแนวทางการตีความเชื่อ (อีมาน) ตามแนวทางของอิรฟาน

Barbvr Ian เขียนว่า:

"Tylykh"กล่าวว่า ศาสนาอยู่ร่วมกับปัญหาด้านความผูกพันมากกว่า ซึ่งมี 3 คุณสมบัติดังต่อไปนี้ หนึ่ง : ความผูกพันกล่าวคือ ความมุ่งมั่นจงรักภักดีอย่างตรงไปตรงมาและความจงรักภักดี ประเด็นดังกล่าวคือชีวิตและความตาย, รากฐานของสิ่งมีชีวิตในระหว่างนั้น ซึ่งมนุษย์และชีวิตของเขาจะผ่านพ้นช่วงนี้ไป หรือสัญญาว่าจะใช้เวลาหรือชีวิตให้ผ่านพ้นไป สอง : จิตผูกพันคือสิ่งมีค่าสูงส่ง ซึ่งสิ่งมีค่าอื่น  ต่างวางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว สาม : จิตผูกพันในใจของตนคือทัศนะหนึ่งที่ครอบคลุมและสมบูรณ์, ถูกซ่อนไว้เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกพื้นที่ของชีวิต และการดำรงอยู่ของมนุษย์ทุกคน[8]

ในอีกที่หนึ่งจากคำกล่าวของ"ริชาร์ดสัน" กล่าวว่า :

"เพื่อตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของพระคัมภีร์ หรือพระผู้เป็นเจ้าของชาวคัมภีร์เกี่ยวกับคำว่า อีมานหรือความเชื่อ จำเป็นต้องตระหนักประเด็นกังกล่าวคือ เป้าหมายของการรับความเข้าใจหนึ่ง หรือความคิดหนึ่งในลักษณะที่ว่าการรู้จักนั้นมิได้มีความสำคัญน้อยไปกว่าความรู้ ประเด็นปัญหาคือการเชื่อว่าไม่ใช่การพิสูจน์[9]

ในขณะที่ทฤษฎีนี้ต้องการบอกว่า ความเชื่อเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งที่เหนือความรู้ ภูมิปัญญาและเหตุผล ต้องการแสดงให้รู้ว่าความเชื่อมิได้เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเหตุผลหรือขัดแย้งกับสติปัญญา และไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติสุ่มสี่สุ่มห้าเยี่ยงคนตาบอด

"โองการหลายโองการและวลีหลายบทใน "พันธสัญญาใหม่ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อคือประเด็นที่ตรงข้ามกับความกลัว และความวิตกกังวล ความศรัทธาคือ การได้รับหรือการชี้นำ ความประสงค์ ความเชื่อที่มีมากกว่าในคนๆ หนึ่ง อันเป็นข้อมูลความจริงที่มั่นใจ และความถูกต้องของประเด็น ความน่าเชื่อถือหรือปฏิกิริยามั่นใจ ซึ่งเกิดจากการยอมรับความมั่นใจนั้น อันเป็นแรงบันดาลใจจากพระเจ้า การอภัย และความโปรดปรานของพระองค์ และในขณะเดียวกันมนุษย์มีหน้าที่ทำให้เกิดความมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในพระเจ้าที่ว่า มนุษย์ได้รับพลังและอำนาจมาจากพระองค์ การหันกลับไปสู่พระเจ้าอันเป็นความจำเป็นที่ในการเพิ่มเติมบนทุกสิ่ง มากกว่าที่ความศรัทธาและความเชื่อมั่น ความศรัทธา ซึ่งความจำเป็นของมันคือ การมีความเชื่อ การมอบหมาย การให้สัตยาบัน และการจงรักภักดี[10]

ความเชื่อนิยม

ความเชื่อนิยม คำๆ นี้จะให้ความหมายตรงกันข้ามกับ เหตุผลนิยม หรือ"หลักการให้หรือใช้เหตุผล"นี่คือความหมายของคำพูดของเขา ในมุมมองของความเชื่อนิยมข้อเท็จจริงทางศาสนาอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ และเหตุผลที่ผ่านการไถพรวนและการพิสูจน์ความเป็นจริงไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้ ประวัติความเป็นมาของการคำกล่าวอ้างนี้มีความยึดยาว ไปถึงสมัยของเซนต์ปอลด้วยซ้ำไป แต่อุบัติการณ์การอย่างจริงจังและการมีอิทธิพลของแนวคิดนี้ ได้เริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้ในโลกตะวันตกและศาสนาคริสต์

ความเชื่อนิยมสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบที่สำคัญกล่าวคือ ความสุดโต่งและสายกลาง  :

1 – ความเชื่อแบบสุดโต่ง หรือเหตุผลน่าสะพรึงกลัว (ต่อต้านสติปัญญา)

"Shstvf" หนึ่งในผู้มีความเชื่อสุดโต่งได้กล่าวว่า : การปฏิเสธเกณฑ์ของสติปัญญาทั้งหมดถื่อเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อจริง เขาเชื่อว่า ด้วยการยกตัวอย่าง คนสามารถมีความเชื่อตามพื้นฐานคำสอนของศาสนาได้ โดยไม่ต้องมีเหตุผลทางสติปัญญา เช่น เชื่อว่า (2 +2 = 5), ความศรัทธาและความเชื่อดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่แท้จริงของความเชื่อ[11]

จากมุมมองของ"เค Yrkgvr" และผู้มีความเชื่อนิยมชนิดรุนแรง เชื่อว่าความจริงทางศาสนาไม่เข้ากันกับการพิสูจน์หลักฐานด้วยสติปัญญา ความจริงทางศาสนาสามารถยอมรับบนพื้นฐานของความเชื่อศรัทธาเท่านั้น หลักการทางศาสนาที่ไม่เพียงแต่สูงส่งกว่าสติปัญญาเท่านั้น ทว่ายังเป็นสิ่งหนึ่งที่ต่อต้านปัญญา[12]

2 – ความศรัทธาสายกลาง หรือสิ่งที่นอกเหนือจากสติปัญญา  :

ความเชื่อนิยมได้แอบแฝงอยู่ในแบบฉบับของ คริสต์ศาสนา "Agvsyny" ในมุมมองนี้ขณะที่เน้นถึงประเด็นที่ว่า ความเชื่อต้องมาก่อนสติปัญญา สติปัญญาและการพิสูจน์สำหรับการค้นหาความจริงทางศาสนา หรือการอธิบายและการทำความเข้าใจถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้ สามารถมีบทบาทได้ในระดับหนึ่ง[13]

ความศรัทธานิยมในแนวคิดของอิสลาม :

ถึงแม้ว่าเขตข้อมูลในกรณีที่จำเป็นของความเชื่อชนิดสุดโต่งในแนวคิดของอิสลาม จะไม่มีเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันตกและศาสนาคริสต์มีก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามตัวอย่างมากมายที่เกิดจาก ผลงานของนักคิดอิสลามก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากความเชื่อนิยมในตะวันตกเลย ซึ่งจะหยิบยกความคิดเหล่านั้นมาอธิบายในโอกาสต่อไป



[1] Paul Tylykh, พูยอยีย์อีมาน, แปล, ฮุซัยน์ นูรูซีย์, หน้า 16, 17, สำนักพิมพ์ฮิกมะฮฺ, เตหะราน, 1375 สุริยคติ

[2] เฏาะบาเฏาะบาอีย์, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮะซัยนฺ แปลตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 18, หน้า 411-412, มูลนิธีด้านภูมิปัญญาและแนวคิดของ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอีย์, 1363 สุริยคติ

[3] บทอัลอัศริ : (و العصر: بسم الله الرحمن الرحیم، والعصر. ان الانسان لفى خسر،الاّ الذین آمنوا و عملوا الصالحات و تواصوا بالحق و تواصوا بالصبر.)

ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริง มนุษย์อยู่ในการขาดทุน นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดี ตักเตือนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรมและความอดทน 

[4] มะกอลาต อัลอิสลามียีน อบุลฮะซัน อัชอะรีย์ เล่ม 1 หน้า 347 อียิปต์ 1969 .. อัลลุมะอ์ หน้า 75 พิมพ์มะดีนะฮฺ 1975 .. ตักตาซานีย์ ชัรฮฺ อัลมะกอซิด เล่ม 2 หน้า 184 พิมพ์ อุสมานีย์ 1305 . คัดลอกมาจากมุฮัมมัด มุจญฺตะฮิด ชุบบัสตะรีย์ อีมาน วะออซอดีย์ หน้า 12 สำนักพิมพ์ ตัรฮฺ นู เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1379 สุริยคติ

[5] ความเชื่อเกี่ยวกับ มุอฺตะซิละฮฺ, อะฮฺมัดอามิน, ฟัจญฺรุลอิสลาม วะ ฎุฮุลอิสลาม, หัวข้อมุอฺตะซิละฮฺ

[6]  ซ็อดรุล มุตะอัลลิฮีน มุฮัมมัด ชีรอซีย์ อัลฮิกมะฮฺ อัลมุตะอาลียะฮฺ ฟิล อัสฟาร อัลอักลียะฮฺ อัลอัรบะอะฮฺ เล่ม 6 หน้า 7 สำนักพิมพ์ ดาร อะฮฺยาอุตตุรซิลอะเราะบียฺ เบรุต เลบานอน พิมพ์ครั้งที่ 4 ปี .. 1990

[7] สรุปรายละเอียดของ ชัรฮฺ อัตตะอฺรีฟ จากเอรฟาน ศตวรรษที่ 5,หน้า 227, สำนักพิมพ์มูลนิธิวัฒนธรรมอิหร่าน

[8] Ian Ba​​rbvr ศาสตร์และศาสนา, แปลโดย, บะฮาอุดดีน โครัมชาฮี, หน้า 257, สำนักพิมพ์ ดานิชเกาะฮีย์ เตหะราน, 62

[9] อ้างแล้ว, หน้า 259

[10] อ้างแล้ว,หน้า 260 

[11] อ้างแล้ว

[12] อ้างแล้ว

[13] อ้างแล้ว

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7673 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6795 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7849 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7767 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    7487 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    8957 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • จะชี้แจงความแตกต่างระหว่างคริสเตียนและอิสลามกรณีพระเจ้ามีบุตรอย่างไร?
    12915 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/31
    เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์จะเข้าใจว่ามุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์มิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดและมิได้ให้กำเนิดผู้ใดศาสนาเอกเทวนิยมล้วนเชื่อเช่นนี้ซึ่งแนวทางของพระเยซูก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกันเหตุเพราะศาสนาเทวนิยมล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์สติปัญญาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใดแน่นอนว่าผู้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ต้องมีบิดาหรือบุตรเพราะการมีบิดาหรือบุตรบ่งบอกถึงการมีสรีระเชิงวัตถุซึ่งย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอวัยวะและแน่นอนว่าพระเจ้าปราศจากข้อบกพร่องเหล่านี้ส่วนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นว่ามีการบิดเบือนคำสอนอันทำให้ผิดเพี้ยนไปจากศาสนาคริสต์ดั้งเดิม ...
  • ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
    10733 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ...
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    6294 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60415 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57979 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42508 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39804 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39163 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34272 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28318 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28245 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28181 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26120 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...