Please Wait
6746
ประการแรก : รายงานที่กล่าวถึง,แม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนแอก็ตาม, แต่เมื่อพิจารณารายงานอื่นที่กล่าวถึงประเด็นนี้, ก็จะสามารถลบล้างความอ่อนแอของสายรายงานฮะดีซดังกล่าวได้เป็นอย่างดี, ในแง่ของเนื้อหาสาระของรายงานนี้บ่งบอกให้เห็นว่าการสั่งสมทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งอาจจะเกิดจากวิถีทางไม่ถูกต้อง (ผิดชัรอียฺ) หรือไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามชัรอียฺกล่าวคือ ไม่ได้จ่ายคุมซ์ หรือซะกาต เป็นต้น.
ตามคำสอนของอิสลามการเก็บสั่งสมทรัพย์สินเงินทองด้วยการรักษากฎเกณฑ์ชัรอียฺ ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้ อิสลามมิได้สนับการเป็นศัตรูทรัพย์สินแต่อย่างใด, ทว่าอิสลามสอนว่าความหลงใหลโลกโดยให้โลกนี้ดีกว่าปรโลก เป็นสิ่งไม่ถูกต้องและไม่ดีไม่งามแต่อย่างใด, แต่ทว่าจงมองทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นสื่ออุปกรณ์ที่จะช่วยให้ท่านไปถึงยังความสุขความจำเริญของโลกหน้า, ในกรณีนี้การสั่งสมทรัพย์สิน,ก็จะไม่กลายเป็นความลุ่มหลงโลก ทว่ากลายเป็นสื่อนำท่านไปสู่ปรโลกอย่างสันติ
เกี่ยวกับอุละมาอฺหรือนักปราชญ์ทางศาสนา, การที่ท่านเหล่านั้นมีทรัพย์สินถือว่าไม่เป็นไรหรือขัดแย้งกับหลักชัรอียฺแต่อย่างใดทั้งสิ้น, แต่ความรักของประชาชนกลุ่มนี้อยู่ที่โลกและความลุ่มหลงที่มีต่อโลก ซึ่งทั้งสองประการมิใช่สิ่งที่ถูกยอมรับ และคำสอนของอิสลามสอนว่าให้เราหลีกห่างจาก อุละมาอฺ ที่หลงโลก, มิใช่อุละมาอฺที่ร่ำรวยด้วยทรัพย์สิน
1.วิเคราะห์รายงานฮะดีซ
รายงานฮะดีซที่กล่าวมาข้างต้นนั้น, จะถูกกล่าวไว้ในลักษณะด้านล่างต่อไปนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ในตำราต่างๆ โดยรายงานมาจากท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า :
1. “จงอย่ามองความโปรดปรานอันมากมาย,เว้นเสียแต่ว่าสิทธิข้างเคียงมิได้ถูกทำลาย”[1]
รายงานข้างต้นมิได้มีบันทึกอยู่ในตำราฮะดีซที่เชื่อถือได้แต่อย่างใด และที่สำคัญไม่มีสายสืบรายงานด้วย, ด้วยเหตุนี้ ถ้าพิจารณาด้านสายรายงานแล้วถือว่า อ่อนแอมาก, แต่ถ้าพิจารณารายงานอื่นเช่น รายงานที่จะกล่าวต่อไป, ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกัน, จะทดแทนความอ่อนแอด้านสายรายงานของฮะดีซนี้ได้อย่างลงตัว.
2.อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้ความร่ำรวย ศักยภาพ และเครื่องยังชีพจำนวนมหาศาลเป็นวาญิบ, ดังนั้น จงอย่าอยู่อย่างผู้หิวโหย อ่อนแอ, เว้นเสียแต่ว่าพระองค์มิได้ให้ศักยภาพและความสามารถแก่เขา และในวันฟื้นคืนชีพอัลลอฮฺ พระผู้ทรงยิ่งใหญ่เกรียงไกร และการปราศจากความต้องการของพระองค์ จะลงโทษพวกเขาเพราะความเกียจคร้าน”[2]
รายงานนี้เมื่อเทียบกับรายงานก่อนหน้านั้น, จะน่าเชื่อถือมากกว่า และยังมีบันทึกอยู่ในตำราที่เชื่อถือได้ เช่น นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, วะซอิลุชชีอะฮฺ, บิฮารุลอันวาร, ฆุรรอรุลฮิกัม, และเอรชาดุลกุลูบ เป็นต้น.
รายงานดังกล่าวนี้ ถ้าหากถูกต้อง,จุดประสงค์ของท่านจากคำว่าทรัพย์สิน หมายถึงทรัพย์สินที่มิได้ปฏิบัติไปตามหน้าที่ทางชัรอียฺ กล่าวคือ ทรัพย์ที่มิได้มีการจ่ายค่มซ์และซะกาต ขณะที่เขาได้เชิญชวนประชาชนให้จ่ายสิ่งเหล่านั้น.
2. ทรัพย์สมบัติในอิสลาม
ตำราอิสลามกล่าวถึง รายงานเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติว่า ได้ถูกแบ่งไว้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ : รายงานประเภทแรกจะมองทรัพย์สมบัติไปในแง่ร้ายมากกว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ฉันคือผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ส่วนทรัพย์สมบัติคือผู้นำบรรดาผู้กระทำบาปทั้งปวง,[3] หมายถึงบรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติตามฉัน, แต่อาชญากรผู้ทำบาปได้ปฏิบัติตามทรัพย์สินเงินทอง
ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอีกว่า : ทรัพย์สมบัติคือธาตุแท้ของกิเลสตัณหาต่างๆ[4]
“บุคคลใดก็ตามที่หลงใหลในดิรฮัมและดินาร เขาคือทาสของโลก”[5]
หมายเหตุ : ดิรฮัมและดินาร คือค่าเงินอาหรับสมัยก่อน และสมัยนี้บางประเทศก็ยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่เช่นกัน
ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามตกเป็นทาสของดิรฮัมและดินาร เขาจะได้รับการสาปแช่งและถูกทำให้ห่างไกลจากความเมตตาของอัลลอฮฺ”[6]
ในทางตรงกันข้าม ตำราอิสลามบางเล่มได้กล่าวชื่นชมทรัพย์สมบัติ และโลกเอาไว้. อัลกุรอาน กล่าวว่า : “ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือเครื่องประดับแห่งชีวิตในโลกนี้”[7] ทำนองเดียวกันทรัพย์สมบัติได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานหลายที่ด้วยกันด้วยนามว่า “ค็อยรุน” เช่น โองการที่กล่าวว่า : «کتب علیکم اذا حضر احدکم الموت ان ترک خیرا...».
“เมื่อความตายได้มายังสูเจ้าคนใด หากเขาได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้”[8]
เช่นเดียวกัน บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานส่วนใหญ่ได้ตีความคำว่า “ค็อยรุน” ในโองการต่อไปนี้ว่าหมายถึง ทรัพย์สมบัติ เช่นกัน : «انه لحب الخیر لشدید» “แท้จริงเขารักและหวนแหนทรัพย์สมบัติที่ดีอย่างหลงใหล”[9]
ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “ทรัพย์สมบัติที่บริสุทธิ์ช่างดียิ่งสำหรับปวงบ่าวที่บริสุทธิ์”[10] ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : “การช่วยเหลือของโลกนี้ช่างเป็นผลดีต่อการผลของปรโลก”[11]
เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงรายงานทั้งสองกลุ่มตามที่กล่าวมา เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ธาตุแท้ของทรัพย์สมบัติในอิสลามมิใช่สิ่งที่ถูกประณามหยามเหยียดแต่อย่างใด, ทว่าถ้าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นสื่อและเครื่องมือช่วยให้เราไปสู่ปรโลกด้วยความสวัสดี แล้วละก็ย่อมได้รับการสรรเสริญยกย่องอย่างแท้จริง ด้วยสาเหตุนี้เองเมื่อท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เห็นชายคนหนึ่งกำลังต่อว่าและตัดพ้อโลก ท่านได้กล่าวกับเขาว่า : “เจ้าได้ก่ออาชญากรรมและทำความผิดบนโลกนี้หรือ หรือว่าโลกได้ทำความผิดกับเจ้ากันแน่”[12]
ตามคำสอนของอิสลามทรัพย์สมบัติและการแสวงหา,เป็นสิ่งถูกยอมรับและบางครั้งวาญิบเสียด้วยซ้ำไป, บางครั้งเท่านั้นที่การบูชาทรัพย์สินเสมอภาคกับอัลลอฮฺได้รับการประณามเอาไว้ ในศาสนาอิสลามทรัพย์สินคือสื่อสำหรับการเข้าถึงความเจริญผาสุกสำหรับโลกหน้า และแสวงความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ, ทรัพย์มิใช่เป้าหมายที่แท้จริง”[13]
อัลกุรอานกล่าวว่า : “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าปล่อยให้ทรัพย์สินและลูกหลานของสูเจ้า เป็นเหตุให้สูเจ้าลืมเลือนการรำลึกถึงอัลลอฮฺ”[14]
ชะฮีดมุเฏาะฮะรียฺกล่าวว่า : ในอิสลามทรัพย์สมบัติมิเคยถูกตำหนิหรือดูถูกแต่อย่างใด, มิใช่ทั้งการผลิต, มิใช่ทั้งการแลกเปลี่ยน และมิใช่ทั้งการใช้, ทว่าทั้งหมดเหล่านี้ได้เน้นย้ำและถูกอธิบายไว้แล้ว พร้อมกับได้กำหนดเงื่อนไขและความสมดุลในการใช้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วทรัพย์สมบัติในอิสลามมิได้ถูกมองข้ามหรือละทิ้งแต่อย่างใด ทว่าการละทิ้งทรัพย์สินถือว่าเป็นการฟุ่มเฟือย ซึ่งการสุลุ่ยสุหร่ายและการทำลายทรัพย์สินโดยเปล่าประโยชน์เป็น ฮะรอม ในอิสลาม”[15]
การปกป้องทรัพย์สินอยู่ในกฎของการญิฮาด ซึ่งการถูกสังหารในวิถีทางนี้จะได้รับผลรางวัลเท่ากับการเป็นชะฮีด”[16]
3.การสั่งสมความมั่งคั่งในอิสลาม
อิสลามได้เชิญชวนมุสลิมด้วยวิถีทางต่างๆ ทั้งในแง่ส่วนตัวและส่วนรวมให้ผลิตและสั่งสมทรัพย์สิน ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “เป็นวาญิบสำหรับบุรุษและสตรีที่ต้องแสวงหาเครื่องยังชีพฮะลาลสำหรับตน”[17]
ชีวิตและกลไกลของสังคมอยู่ท่ามกลางความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ และความมั่งคั่งที่ถูกต้องของมัน ความยากจนจะมีค่าเท่ากับการเป็นเชลยและทาส. ท่านอิมามอะลี (อ