การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9011
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10521 รหัสสำเนา 20025
คำถามอย่างย่อ
กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
คำถาม
กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
คำตอบโดยสังเขป
ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมี มีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)
ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้ เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(..)บ่งบอกว่าตำแหน่งดังกล่าวว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียกอะฮ์ลุลบัยต์มานั่งใต้ผ้าคลุมในสถานที่ๆมีเพียงบุคคลเหล่านี้เท่านั้น อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงอิมามอลีในฐานะผู้สืบทอดอีกด้วย และจบท้ายด้วยประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนบี(..)กับอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน
ส่วนภาวะปลอดบาปของบุคคลเหล่านี้ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยสำนวนที่ว่า وَ اَذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَ طَهِّرْهُمْ تَطْهیراً สรุปคือ ฮะดีษนี้มีความสำคัญในสองแง่มุม นั่นคือประเด็นอิมามัตและอิศมัต
คำตอบเชิงรายละเอียด

มีรายงานมากมายที่กล่าวถึงฮะดีษกิซาอ์โดยสังเขป[1] ทุกบทรายงานตรงกันว่า ท่านนบี(..) ได้เรียกอิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.) มาอยู่ใต้ผ้าคลุมร่วมกับท่าน แล้วกล่าวว่า
โอ้อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้คือคนในครอบครัวของข้าพระองค์ ขอทรงขจัดมลทินให้ห่างจากพวกเขาทันใดนั้นเอง โองการนี้ก็ประทานแก่ท่าน إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ نازل گردید

ฮากิม ฮัสกานี ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้รายงานฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือ ชะวาฮิดุตตันซี้ล[2] และซัยยิด บิน ฏอวู้ส[3]ก็ได้รายงานฮะดีษดังกล่าวจากสายรายงานที่หลากหลาย
แต่สิ่งที่เราจะกล่าวถึง  ที่นี้ก็คือฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาส กุมี
รายงานชิ้นนี้มีความสำคัญในสองแง่มุมเป็นพิเศษ

1. พิสูจน์ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์
ในเบื้องต้น ฮะดีษกิซาอ์บ่งบอกถึงประเด็นอิมามัตและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ โดยได้จำกัดตำแหน่งนี้ไว้เฉพาะบุคคลดังกล่าว
. ความเป็นอิมามของอะฮ์ลุลบัยต์:  ท่านนบี(..)กล่าวถึงภาวะผู้นำของอิมามอลี(.)ในหลายเหตุการณ์ด้วยกัน ซึ่งฮะดีษกิซาอ์ก็ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์เหล่านั้น ท่อนหนึ่งของฮะดีษนี้ระบุว่าท่านนบี(..)กล่าวถึงอิมามอลี(.)ว่าเป็นน้องชาย เคาะลีฟะฮ์ และผู้ถือธงชัยของท่าน[4] ท่านต้องการจะให้ผู้คนทราบถึงฐานันดรและความสำคัญของอะฮ์ลุลบัยต์ เพื่อจะได้รักษาเกียรติยศของพวกเขาภายหลังจากท่าน จึงได้รวบรวมบุคคลดังกล่าวไว้ใต้ผ้าคลุมพร้อมกับกล่าวว่า บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่เป็นสมาชิกครอบครัว คนพิเศษ และวงศ์วานของฉัน เนื้อพวกเขาคือเนื้อของฉัน เลือดพวกเขาคือเลือดของฉัน ผู้ใดทำให้พวกเขาเจ็บปวดเท่ากับทำให้ฉันเจ็บปวด ผู้ใดทำให้พวกเขาโศกเศร้า เท่ากับทำให้ฉันโศกเศร้า ฉันรบกับผู้ที่ก่อสงครามกับพวกเขา และสันติกับผู้ที่สานสันติกับพวกเขา จึงขอให้พระองค์ทรงประสาทพร และมอบบะเราะกัตและความรัก และความอภัยโทษแก่ข้าพระองค์และพวกเขา

. จำกัดกรอบตำแหน่งอิมามัต:  หลังจากที่อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน  อิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (.) เข้าพบท่านนบี(..) ท่านได้คลุมบุคคลเหล่านี้ด้วยผ้าคลุมเยเมน และขอพรจากพระองค์ให้พวกเขาหลุดพ้นจากมลทินทั้งปวง เป็นเหตุให้อัลลอฮ์ทรงประทานโองการลงมา คำถามก็คือ พฤติกรรมดังกล่าวของท่านนบี(..) มีเหตุผลรองรับหรือไม่? หรือว่าปราศจากเหตุผลใดๆรองรับ?
แน่นอนว่าบุคคลที่ยิ่งใหญ่อย่างท่านนบี(..)ย่อมไม่กระทำสิ่งใดโดยปราศจากเหตุผลอย่างแน่นอน[5] เมื่อพิจารณาถึงประโยคก่อนและหลังโองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ... จะพบว่าท่านประสงค์จะจำแนกอะฮ์ลุลบัยต์ออกจากบุคคลทั่วไป และต้องการจะสื่อว่าโองการดังกล่าวจำกัดเฉพาะบุคคลเหล่านี้เท่านั้น เพื่อไม่ให้ผู้ใดเข้าใจผิดคิดว่าสมาชิกครอบครัวของท่านนบีทั้งหมดทุกคนเป็นอะฮ์ลุลบัยต์  ทั้งนี้ ถ้าหากท่านนบีไม่ได้จำแนกเช่นนั้น อาจทำให้บางคนเข้าใจว่าภรรยานบีและเครือญาติคนอื่นๆของท่านอยู่ในกรอบความหมายของโองการด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีรายงานว่า ท่านนบี(..) กล่าวย้ำถึงสามครั้งว่าโอ้ อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพระองค์ ขอทรงขจัดมลทินจากพวกเขาเทอญ[6]
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากตำราอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ว่า ท่านนบี(..) แวะมาเคาะประตูบ้านของอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) โดยพร่ำกล่าวว่า 

السلام علیکم أهل البیت و رحمة الله و برکاته ، الصلاة رحمکم الله »، إنما یرید الله لیذهب عنکم الرجس أهل البیت و یطهرکم تطهیرا[7] [8]

2. พิสูจน์ภาวะปลอดบาป (อิศมัต)
อีกแง่มุมหนึ่งที่สะท้อนจากฮะดีษกิซาอ์ก็คือภาวะปลอดมลทินของอะฮ์ลุลบัยต์และบรรดาอิมาม ทั้งนี้ จากการที่ฮะดีษดังกล่าวเป็นเหตุที่โองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ ประทานลงมา ฉะนั้น ในเมื่อโองการดังกล่าวบ่งบอกถึงภาวะปลอดบาป ฮะดีษนี้ก็บ่งบอกในทำนองเดียวกัน
นักอรรถาธิบายบางคนจำกัดความหมายของริจส์เพียงแค่การตั้งภาคี หรือบาปใหญ่ที่น่ารังเกียจเช่น ซินา...ฯลฯ ทว่าจริงๆแล้วไม่มีเหตุผลใดรองรับการจำกัดความหมายเช่นนี้ ความหมายเชิงกว้างของ ริจส์ (เมื่อคำนึงว่ามีอลีฟลามที่ให้ความหมายเชิงกว้าง) ครอบคลุมถึงมลทินและบาปกรรมทั้งปวง เนื่องจากบาปทุกชนิดล้วนถือเป็นมลทินทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้กุรอานจึงใช้คำนี้กับการตั้งภาคี การดื่มสุราเมรัย การพนัน การหน้าไหว้หลังหลอก และเนื้อสัตว์ที่ผิดบทบัญญัติ[9]

อีกมุมหนึ่ง ด้วยเหตุที่พระประสงค์ทุกประการของอัลลอฮ์จะต้องบังเกิดขึ้น ฉะนั้น ประโยค إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ จึงบ่งบอกถึงพระประสงค์ที่ต้องบังเกิดขึ้น โดยเฉพาะการที่มีคำว่า انّما ปรากฏอยู่ ซึ่งให้ความหมายเชิงเจาะจง ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะต้องบันดาลให้อะฮ์ลุลบัยต์หลุดพ้นจากมลทินทั้งปวง และนี่ก็คือภาวะปลอดบาปนั่นเอง

ที่น่าสนใจก็คือ พระประสงค์ในโองการนี้มิไช่พระประสงค์ประเภทเดียวกับบทบัญญัติฮะล้าลฮะรอม (พระประสงค์เชิงขะรีอัต) เนื่องจากบทบัญญัติศาสนาครอบคลุมถึงบุคคลทั่วไปมิได้เจาะจงอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ที่มีการใช้คำว่า انّما
ฉะนั้น พระประสงค์อันต่อเนื่องนี้จึงหมายถึงการช่วยเหลือประเภทหนึ่งจากอัลลอฮ์ ที่ทำให้อะฮ์ลุลบัยต์สามารถรักษาภาวะปลอดบาปไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มิได้ขัดต่อหลักอิสรภาพของมนุษย์ในการเลือกกระทำ

อันที่จริงนัยยะของโองการดังกล่าวก็ปรากฏในบทซิยารัตญามิอะฮ์เช่นกันอัลลอฮ์ทรงปกป้องพวกท่านจากความเฉไฉ และให้พ้นจากความเสื่อมเสีย และชำระให้ปลอดจากมลทิน และผลักไสราคะให้ห่างไกลจากพวกท่าน เพื่อให้บริสุทธิหมดจด[10]
ด้วยคำอธิบายที่นำเสนอไปแล้ว คงไม่เหลือข้อกังขาใดๆเกี่ยวกับภาวะปลอดบาปของอะฮ์ลุลบัยต์อีกต่อไป[11]
ฉะนั้น จึงกระจ่างแล้วว่าฮะดีษกิซาอ์มีความสำคัญต่อการพิสูจน์หลักอิมามัตและภาวะปลอดบาปของอะฮ์ลุลบัยต์เพียงใด



[1] ฮะละบี,ฮะซัน บิน ยูซุฟ, นะฮ์ญุลฮักก์ วะกัชฟุศศิดก์, หน้า 228-229, สถาบันดารุลฮิจเราะฮ์,กุม,..1407 ในหนังสือมุสนัด อะห์มัด บิน ฮัมบัล ได้รายงานฮะดีษจากหลากสายรายงาน ส่วนหนังสือ อัลญัมอ์ บัยนัศ ศิฮาฮิส ซิตตะฮ์ รายงานจากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ว่า ฟาฏิมะฮ์ได้เข้าพบท่านนบี(..) ท่านกล่าวว่า เธอจงเรียกสามีและลูกชายทั้งสองคนมาด้วย ขณะที่ทั้งหมดอยู่ใต้ผ้าคลุม โองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَیْتِ وَ یُطَهِّرَکُمْ تَطْهِیراً ก็ประทานลงมา ท่านนบีจับปลายผ้าคลุมแล้วชี้ไปที่เบื้องบนพร้อมกับกล่าวว่า คนเหล่านี้แหล่ะคืออะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพระองค์ ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์เล่าว่า ฉันได้ก้มศีรษะเพื่อจะเข้าไปอยู่ใต้ผ้าคลุมด้วย แล้วถามท่านนบีว่า ดิฉันเป็นอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยหรือไม่คะ? ท่านตอว่า เธออยู่ในสถานะที่ดี (ทว่ามิได้อยู่ในกรอบอะฮ์ลุลบัยต์) เนื้อหาเดียวกันนี้รายงานในเศาะฮี้ห์ อบี ดาวู้ด และ มุวัฏเฏาะอ์ มาลิก, และเศาะฮี้ห์มุสลิม โดยอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน

[2] ฮัสกานี, ฮากิม, ชะวาฮิดุตตันซี้ล ลิกอวาอิดุตตัฟฎี้ล, เล่ม 2,หน้า 17, เตหราน,..1411

[3] ซัยยิด บินฏอวู้ส, อัฏเฏาะรออิฟ ฟี มะอ์ริฟะติล มะซาฮิบิฏ เฏาะวาอิฟ,เล่ม 1,หน้า 124, สำนักพิมพ์คัยยอม,..1400

[4] قالَ لَهُ وَعَلَیْکَ السَّلامُ یا اَخى یا وَصِیّى وَخَلیفَتى وَصاحِبَ لِواَّئى

[5] อันนัจม์, 3,4 และเขา(นบี) ไม่พูดบนพื้นฐานของกิเลส ทุกวาจานั้นมิไช่อื่นใดนอกจากวะฮีย์

[6] اللهم هؤلاء أهل بیتی و خاصتى فاذهب عنهم الرجس و طهرهم تطهیر เชคเศาะดู้ก, อะมาลี, สำนักพิมพ์อะอ์ละมี, เบรุต ..1400

[7] อะฮ์ซาบ,33

[8] ฏ็อบรอนี, อัลมุอ์ญัม อัลเอาสัฏ, เล่ม 17,หน้า 438, ฮะดีษที่ 8360

[9] ฮัจญ์,30 มาอิดะฮ์,90 เตาบะฮ์,125 อันอาม,145

[10] عصمکم اللَّه من الذلل و آمنکم من الفتن، و طهرکم من الدنس، و اذهب عنکم الرجس، و طهرکم تطهیرا

[11] มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์, เล่ม 17,หน้า 298, ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์, เตหราน, พิมพ์ครั้งแรก,..1374

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    6672 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    14374 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    7091 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7818 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7400 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • ใบหน้าของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่?
    14268 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/20
    ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ถือกำเนิดในปีฮ.ศ.255 หากเทียบกับปีนี้ซึ่งเป็นปีฮ.ศ.1432 ก็จะทราบว่าอายุของท่านเมื่อถึงวันที่15 ชะอ์บานในปีนี้ก็คือ 1177  ปี ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้เผยกายเพื่อทำพิธีนมาซมัยยิตให้บิดาหลังจากที่ถูกวางยาพิษ ผู้คนต่างได้ยลโฉมท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)โดยสาธยายว่าท่านเป็นเด็กหนุ่มที่มีผิวสีน้ำผึ้ง มีผมหยักโศก และมีช่องว่างเล็กน้อยระหว่างฟันหน้า[1]มีฮะดีษสองประเภทที่เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของท่านก. กลุ่มฮะดีษที่ไม่ระบุอายุขัยของท่าน โดยกล่าวเพียงว่าท่านยังแลดูหนุ่ม1. شابٌ بعد کبر السن ท่านยังหนุ่มแม้จะสูงอายุ[2]2. رجوعه من غیبته بشرخ الشباب ท่านจะปรากฏกายในรูปของคนหนุ่มที่อ่อนกว่าวัย
  • อะไรคือเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสตามทัศนะชีอะฮ์ ต้องนำจ่ายแก่ผู้ใด และเหตุใดพี่น้องซุนหนี่จึงไม่ปฏิบัติ?
    8804 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    1. โองการที่กล่าวถึงศาสนกิจโดยเฉพาะนั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับกุรอานทั้งเล่มเนื่องจากกุรอานจะกล่าวถึงหัวข้อศาสนกิจอย่างกว้างๆเช่นนมาซศีลอด ...ฯลฯและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านนบี(
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7627 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    7040 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • กรุณาอธิบายถึงแก่นอันเป็นพื้นฐานหลักของแนวคิดชีอะฮฺ พร้อมกับคุณลักษณะต่างๆ?
    19179 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    พื้นฐานแนวคิดหลักของชีอะฮฺและวิชาการทั้งหมดของชีอะฮฺได้รับจากอัลกุรอาน อัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นความหมายภายนอกโองการหรือภายใน,หรือแม้แต่การนิ่งเฉยหรือการแสดงออกของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผลทั้งสิ้นและผลของสิ่งเหล่านี้,คำพูดการนิ่งเฉยและการกระทำของอิมาม (อ.) ก็เป็นเหตุผลด้วย นอกจากอัลกุรอานแล้วยังถือว่าการพิสูจน์ด้วยสติปัญญาก็เป็นเหตุผลด้วยเหมือนกันซึ่งการค้นคว้าได้รับการสนับสนุนและเน้นย้ำไว้อย่างยิ่ง แนวทางในการได้รับแนวคิดเช่นนี้สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์บริสุทธิ์จากความบกพร่องและคุณลักษณะไม่สมบูรณ์ต่างๆ,พระองค์พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะสมบูรณ์ทั้งหลายทั้งปวง 2. มีความเชื่อในเรื่องความดีและความชั่วของภูมิปัญญากล่าวคือภูมิปัญญารับรู้ว่าพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากกระทำสิ่งชั่วร้าย 3. มีความเชื่อในเรื่องความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าและบรมศาสดาท่านสุดท้าย 4. มีความเชื่อว่าการแต่งตั้งและการกำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องมาจากพระเจ้าเท่านั้นโดยผ่านศาสดาหรืออิมามคนก่อนหน้านั้นจำนวนตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มี 12 คนบุคคลแรกจากพวกเขาคือท่านอิมามอะลีบุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ส่วนคนสุดท้ายจากพวกเขาคือท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ซึ่งณปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่รอคอยพระบัญชาจากพระเจ้าให้ปรากฏกายออกมา 5. มีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายการได้รับรางวัลตอบแทนและการลงโทษในการกระทำ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60392 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42488 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39774 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39142 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34249 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28292 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28219 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28157 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26098 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...