การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5895
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/02
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1741 รหัสสำเนา 17103
คำถามอย่างย่อ
กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
คำถาม
ถ้าเป็นไปได้ กรุณาอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองของเชคฏูซีพอสังเขป
คำตอบโดยสังเขป

ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมา เชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยม แนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้
ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมือง
ท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครอง ตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด
ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์ กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมาม หรือตัวแทนอิมาม ซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้
ในบริบททางวิชาการ ท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชน ความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูม ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด ย่อมแสดงว่าท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาออกจากการเมือง เพราะท่านถือว่าการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของสารธรรมศาสนา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนจะเข้าประเด็น เห็นควรที่จะเล่าประวัติของท่านโดยสังเขปของเชคฏูซีให้ทราบทั่วกัน
เชคุฏฏออิฟะฮ์ อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บิน อลี ฏูซี หรือที่รู้จักในนาม"เชคฏูซี"  ถือกำเนิดในปีที่ ถือกำเนิดในปีฮ.. 385 ท่านศึกษาวิชาการศาสนาตั้งแต่วัยหนุ่ม ในยุคนั้น แคว้นฏูซ นีชาบู้ร ซับซะว้อร เรย์ และโดยเฉพาะกุมซึ่งเป็นศูนย์กลางชีอะฮ์และอุละมาอ์ ล้วนเป็นแหล่งวิชาการศาสนาทั้งสิ้น ยุคของท่านตรงกับระยะปกครองของสุลต่านมะฮ์มู้ด ฆัซนะวี ที่เมืองฆัซนะฮ์และแคว้นโครอซอน กษัตริย์ผู้นี้ให้ความสำคัญต่อการเผยแพร่แนวทางซุนหนี่ ในขณะที่ดินแดนเปอร์เซียส่วนที่เหลือ อาทิเช่น เรย์ ฟารส์ และแบกแดด เป็นศูนย์การปกครองของกษัตริย์ชีอะฮ์จากราชวงศ์อาลิบูยะฮ์[1]

เชคฏูซีได้เริ่มต้นการศึกษาที่แบกแดด โดยศึกษาจากอาจารย์อย่างเชคมุฟีด และศึกษาวิชาฟิกเกาะฮ์ อุศู้ล และเทววิทยาอิสลามจากซัยยิดมุรตะฎอเป็นเวลากว่า 23 ปี หลังจากอาจารย์เสียชีวิต เชคฏูซีได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำสูงสุดของชีอะฮ์ ชื่อเสียงทางด้านวิชาการและความสมถะของท่านได้ยินถึงหูเคาะลีฟะฮ์อับบาสิดนามว่า อัลกออิม บิอัมริ้ลลาฮ์ ซึ่งจากการสนับสนุนโดยราชวงศ์อาลิบูยะฮ์ทำให้ท่านได้รับโอกาสให้สอนเทววิทยาอิสลามในแบกแดด เมืองหลวงของอับบาสิด ต้องคำนึงว่าตำแหน่งดังกล่าวจะมอบให้เฉพาะผู้รู้ระดับสูงสุดเท่านั้น ความเชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยปัญหาศาสนาของท่านสังเกตุได้จากหนังสือ "ตะฮ์ซีบุลอะห์กาม ฟีชัรฮิลมุกนิอะฮ์" ซึ่งท่านประพันธ์ไว้ขณะอายุเพียง27 ปี ซึ่งภายหลังได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในสี่ตำราหลักทางด้านฮะดีษของชีอะฮ์ ปราชญ์ระดับสูงอย่างอัลลามะฮ์ ฮิลลี ก็ได้กล่าวยกย่องความยิ่งใหญ่ทางวิชาการของท่าน ซึ่งไม่อาจนำเสนอได้หมด  ที่นี้[2]

เพื่อทำความเข้าใจสถานภาพทางสังคมและการเมืองของท่าน เราขอเล่าสถานการณ์ทางการเมืองและศาสนาในยุคนั้นเล็กน้อย ศตวรรษที่ห้า(..) เป็นยุคแห่งการฟื้นฟูวิทยาการและการเมืองของแบกแดด ในเมืองนี้มีนักวิชาการระดับอัจฉริยะด้านฮะดีษและเทววิทยาอิสลามอาศัยอยู่มากมาย ซึ่งท่านเชคฏูซีก็ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษหลังจากเข้าพำนักในเมืองนี้ในปีฮ..408 

ชนชั้นปกครองยุคอับบาสิด (โดยเฉพาะยุคอัลมุตะวักกิ้ล ..232-247)ล้วนให้ความสำคัญแก่กลุ่มสะละฟีสุดโต่ง ซึ่งพยายามกดดันฝ่ายอื่นๆเช่นมุอ์ตะซิละฮ์ ชีอะฮ์ และทุกแนวคิดที่ให้ความสำคัญต่อสติปัญญา
อาลิบูยะฮ์ได้พิชิตนครแบกแดดในปีฮ.. 334  แม้คนกลุ่มนี้จะเป็นชีอะฮ์ แต่ก็มิได้พยายามยกพวกพ้องตนเองขึ้นเหนือพี่น้องซุนหนี่แต่อย่างใด ทำให้ยังสามารถควบคุมความเรียบร้อยภายในเมืองได้ดังเดิม ในยุคของอาลิบูยะฮ์ สังคมมุสลิมพัฒนาด้านวิทยาการอย่างก้าวกระโดด และถือเป็นยุคทองของเสรีภาพทางวิชาการศาสนาเช่นกัน
ราชวงศ์อาลิบูยะฮ์ให้ความสำคัญต่ออุละมาอ์ชีอะฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชคมุฟี้ดและเชคฏูซี ซึ่งแน่นอนว่าเคาะลีฟะฮ์อับบาสิดก็จำยอมต้องให้เกียรติตามไปด้วย[3]

แนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซี
ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมา เพื่อให้ได้คำตอบที่สอดคล้องกับแต่ละยุคสมัย เชคฏูซีก็เป็นนักนิติศาสตร์และนักเทววิทยาวิถีอิสลามท่านหนึ่งในยุคของราชวงศ์บุวัยฮิด(ฮิจเราะฮ์ศตวรรษที่สี่และห้า) ที่ได้ตอบคำถามที่เกิดขึ้นในยุคนั้นด้วยมุมมองทางฟิกเกาะฮ์และเทววิทยาชีอะฮ์

กระบวนทัศน์ด้านการเมืองของท่านเน้นย้ำถึงประเด็นการปกครองและปัจจัยต่างๆที่จำเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและราษฎร์ และวิธีเผชิญหน้ากับนักปกครองที่ไม่พึงประสงค์
สามารถสรุปแนวคิดทางการเมืองการปกครองของท่านได้ดังนี้:

1. ความจำเป็นต้องมีรัฐ
เชคฏูซีได้ใช้หลักสติปัญญาพิสูจน์ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐ ระบอบการปกครอง และนักปกครอง แล้วจึงเสริมด้วยหลักฐานทางฮะดีษ ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ "อัลอิ๊กติศอดุ้ลฮาดี"ว่า
"
นอกจากกลุ่มอิมามียะฮ์ มุอ์ตะซิละฮ์แห่งแบกแดด และนักวิชาการรุ่นหลังบางท่านแล้ว กลุ่มอื่นๆไม่เชื่อว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐและผู้นำตามหลักสติปัญญา อย่างไรก็ดี หลักสติปัญญาดังกล่าวแฝงไว้ด้วยสองวิธีคิด
1. เน้นความจำเป็นที่จะต้องมีระบอบปกครองอิสลามตามหลักสติปัญญา โดยไม่พิสูจน์หรือหักล้างด้วยหลักฐานอันเป็นตัวบทศาสนา
2. เน้นความจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำด้วยตัวบททางศาสนา และใช้หลักสติปัญญาพิสูจน์ถึงคุณลักษณะเฉพาะของผู้นำ ในฐานะผู้พิทักษ์ศาสนาและบทบัญญัติอิสลาม[4]
หลังจากที่ท่านนำเสนอและแจกแจงวิธีการดังกล่าวแล้ว ท่านก็ได้แสดงเหตุผลอันบ่งชี้ว่าคล้อยไปทางวิธีการแรกดังนี้
. คนทั่วไปย่อมทำผิดทำบาปกันได้ หรืออาจละเมิดข้อบังคับทางศาสนาไปบ้าง หากมีผู้นำที่มีความชอบธรรมทางการเมืองและได้รับความนิยมจากประชาชน ก็จะได้กำราบศัตรูของประชาชน ลงทัณฑ์อาชญากร และช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจากเงื้อมมือผู้กดขี่ ผลก็คือ สังคมจะได้รับความสงบร่มเย็นปราศจากภัยคุกคามใดๆ[5]
. หลักการุณยตาของพระเจ้าบ่งชี้ว่า พระเจ้าย่อมจะทรงแต่งตั้งผู้นำที่เหมาะสมสำหรับสังคม สังเกตุว่าท่านเชคฏูซีถือว่าการปกครองประชาชนเป็นเรื่องจำเป็นต่อมนุษย์ และกล่าวอีกว่า ในเมื่อพระองค์จะไม่ทรงปฏิบัติสิ่งไม่ดี และไม่เคยบกพร่องในสิ่งที่ดี พระเจ้าที่ได้ประทานบทบัญญัติแก่มนุษย์บนพื้นฐานของฮิกมะฮ์(วิทยปัญญา)ของพระองค์ ไฉนเลยจะไม่ทรงกำหนดผู้ที่จะทำหน้าที่บังคับใช้บทบัญญัติของพระองค์ และนี่คือบทสรุปจากหลักการุณยตานั่นเอง"[6]

2. ผู้ใดคือนักปกครอง
เชคฏูซีเชื่อว่า ในเมื่อพระเจ้าสร้างโลกด้วยวิทยปัญญา และในเมื่อประชาชนทั่วไปไม่สามารถที่จะเฟ้นหาผู้นำที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากยังมีบาป โดยหลักแห่งการุณยตาแล้ว พระเจ้าจะทรงแต่งตั้งผู้นำและผู้ปกครองรัฐอย่างแน่นอน ในอันดับแรกทรงแต่งตั้งในรูปของรัฐบาลนบี(..) โดยพระองค์ตรัสว่า "นบีมีสิทธิเหนือมุอ์มินยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง"[7] นักตัฟซี้รได้อธิบายว่าการมีสิทธิเหนือกว่าในที่นี้หมายถึงสิทธิในการบริหารกิจการประชาชน และยังเป็นการรณรงค์ให้เชื่อฟังท่านนบี(..) ภายหลังจากท่าน ไม่มีผู้ใดเหมาะแก่สิทธินี้ไปกว่าผู้ที่มีสถานะเป็นอิมาม ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องเชื่อฟัง[8]

3. อำนาจปกครองของอิมาม(.)
เช่นเดียวกับนักนิติศาสตร์อิสลามฝ่ายชีอะฮ์ท่านอื่นๆ เชคฏูซีก็เชื่อว่าอำนาจปกครองของอิมาม(.)คือด้านหนึ่งของตำแหน่งอิมามและผู้นำกิจการทั่วไป ซึ่งจะต้องฟื้นฟูดูแลราษฎรทั้งทางโลกและทางธรรม ส่วนประชาชนก็ต้องเคารพเชื่อฟังอิมาม(.) เพื่อให้บังเกิดรัฐขึ้นในสังคม[9]

4. อำนาจปกครองของตัวแทนอิมาม(.)
เชคฏูซีกำหนดบรรทัดฐานความเป็นผู้ไร้บาปเฉพาะสำหรับท่านนบี(..)และบรรดาอิมาม(.) ส่วนกรณีของการเป็นผู้นำของตัวแทนอิมาม(.)นั้น แม้จะไม่ได้เป็นผู้ไร้บาป แต่ท่านยังถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากจะต้องธำรงไว้ซึ่งระบอบและกฏหมายอิสลามสืบไป

"ทุกครั้งที่เชคฏูซีกล่าวถึงประเด็นอิมาม(.)ในฐานะที่เป็นผู้นำทางการเมือง ท่านมักจะเอ่ยถึงคุณลักษณะต่างๆที่ผู้นำรัฐพึงมีเสมอ นอกจากนี้ท่านยังกล่าวถึงรัศมีอำนาจหน้าที่อันกว้างขวางของบรรดาฟะกีฮ์(ผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติศาสนา)ไม่ว่าจะในด้านการวินิจฉัย การพิพากษา การบังคับใช้บทบัญญัติศาสนา และการบริหารทรัพย์สินทางศาสนา โดยท่านถือว่าบุคคลเหล่านี้มีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกับอิมามแทบทุกเรื่อง ยกเว้นบางกรณีที่เป็นอำนาจหน้าที่อันเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของบรรดาอิมาม ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้เชคฏูซีจะไม่ได้ระบุว่าบรรดาฟะกีฮ์เป็นตัวแทนของอิมามในเรื่องกิจการทั่วไปก็จริง แต่สิ่งที่ท่านนำเสนอทั้งหมดล้วนเป็นกรณีตัวอย่างของกิจการทั่วไปทั้งสิ้น อันถือว่าได้รับมอบสิทธิในการปกครองแทนอิมามโดยปริยาย[10]

แนวคิดทางการเมืองที่สามารถพบได้ในกระบวนทัศน์ของเชคฏูซีมีมากมาย อาทิเช่น ประเด็นขอบข่ายอำนาจของนักปกครองในทัศนะอิสลาม เป้าหมายของรัฐอิสลาม ความสัมพันธ์ระหว่างนักปกครองกับราษฎร ทรราชย์กับราษฎร ฯลฯ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของบทความนี้ จึงไม่สามารถนำเสนอได้อย่างครบถ้วน โปรดติดตามจากบทความชิ้นอื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้[11]



[1] อลี ดะวอนี, ครบรอบพันปีเชคฏูซี, เล่ม1,หน้า 3-4

[2] ซัยยิดมุฮัมมัด ริฎอ มูซะวียอน, แนวคิดทางการเมืองของเชคฏูซี,หน้า 18- 25 (ย่อความ)

[3] อ้างแล้ว,หน้า 27- 31 (ย่อความ)

[4] เชคฏูซี, อัลอิ๊กติศอดุ้ลฮาดี,หน้า 183

[5] อ้างแล้ว

[6] อ้างแล้ว, หน้า 112

[7] ซูเราะฮ์ อัลอะห์ซาบ, 6

[8] อัรร่อซาอิ้ล อัลอัชร์,หน้า 112

[9] อ้างแล้ว,หน้า 103

[10] แนวคิดทางการเมืองของเชคฏูซี,หน้า 58

[11] โปรดอ่านคำถามที่ 1740 ระเบียน: คุณสมบัติของรัฐในทัศนะทางการเมืองของเชคฏูซี.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    8442 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7336 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    11684 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?
    11910 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/12/20
    บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้ามการทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม,
  • การบริจาคทรัพย์ฮะรอม กฎเกณฑ์ว่าอย่างไร?
    6106 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การวะกัฟจะถือว่าถูกต้องก็ต่อเมื่อ, ตนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ต้องการวะกัฟอย่างถูกต้อง[1]ดังนั้นการวะกัฟทรัพย์สินที่ได้ขู่กรรโชก
  • ตามคำสอนของศาสนาอื่น นอกจากอิสลาม, สามารถไปถึงความสมบูรณ์ได้หรือไม่? การไปถึงเตาฮีดเป็นอย่างไร?
    9905 เทววิทยาใหม่ 2554/06/21
    แม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้างในบางศาสนาดั่งที่เราได้เห็นประจักษ์กับสายตาตัวเอง, แต่รูปลักษณ์ที่สมบูรณ์ของความจริงซึ่งได้แก่เตาฮีด, มีความประจักษ์ชัดเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้น, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำพูดดังกล่าว,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้การถูกบิดเบือนและความบกพร่องต่างๆทางปัญญาในศาสนาต่างๆขณะที่ด้านตรงข้าม, การไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกสังคายนาของอัลกุรอาน, มีหลักฐานและประวัติที่เชื่อถือได้, คำสอนที่ครอบคลุมของอิสลาม, การเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติของคำสอนอิสลามกับสติปัญญาสมบูรณ์ ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    15056 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • เพราะสาเหตุอันใด อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัรจึงไม่ได้ร่วมเดินทางไปกัรบะลาพร้อมท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)?
    6125 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ประเด็นที่ว่าอับดุลลอฮฺบินญะอฺฟัรไม่ได้เข้าร่วมขบวนการไปกับท่านอิมามฮุซัยนฺ
  • เรื่องอุปโลกน์“เฆาะรอนี้ก”มีที่มาที่ไปอย่างไร?
    6952 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/08/03
    เรื่องเล่า“เฆาะรอนี้ก”อุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดีซึ่งหวังจะลดทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและท่านนบี(ซ.ล.)ลง
  • ถ้าหากบนผิวหนังมีจุด่างดำ หรือสีน้ำตาล สามารถผ่าตัด หรือยิงเลเซอร์ได้ไหม ถ้าสามียินยอม?
    7829 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ทัศนะของมัรญิอฺตักลีดบางท่านเกี่ยวกับการผ่าตัดจุดด่างดำปานบนผิวหนังด้วยการยิงเลเซอร์เช่นสำนักฯพณฯ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59975 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57319 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42086 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39122 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38798 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33899 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27911 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27807 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27603 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25625 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...