Please Wait
6187
การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ
การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าวถือเป็นประเด็นใหม่และมิได้อ้างอิงจากฮะดีษใดๆ ทว่ามีฮะดีษหลายบทระบุว่าการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดีจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน[1]
หากการปรากฏกายขั้นศุฆรอในที่นี้หมายถึงการที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)จะปรากฏกายในเร็ววัน ก็จะถือว่าเป็นประเด็นปลีกย่อยที่สามารถศึกษาและวิจัยกันได้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าสัญลักษณ์ของการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.)หลายประการซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้น เกิดขึ้นแล้วในยุคปัจจุบัน อันบ่งชี้ว่าการปรากฏกายของท่านใกล้เข้ามาแล้ว
ยังมีสำนวนอื่นๆในประเด็นนี้ที่คล้ายกับ“การปรากฏกายขั้นศุฆรอ” อาทิเช่น “การปรากฏกายบางส่วน”, “การปรากฏกายเชิงรหัสยะ”, “การปรากฏกายในภาพรวม” ซึ่งควรได้รับการอธิบายถึงรายละเอียดในโอกาสที่เหมาะสม
นอกเหนือจากสำนวน “การปรากฏกายขั้นศุฆรอ”แล้ว ประเด็นการปรากฏกายทีละขั้นตอนยังถือว่ามีความคล้ายคลึงกับประเด็นวันกิยามะฮ์ในแง่ของบริบทและรายละเอียด เนื่องจากทั้งที่ประเด็นวันกิยามะฮ์เป็นเรื่องฉับพลัน แต่ก็เป็นภาวะเชิงธรรมชาติวิทยาที่เกิดขึ้นในวงกว้างในลักษณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังมุ่งสู่กิยามะฮ์อย่างช้าๆ
และจากการที่กิยามะฮ์มีระดับและสถานะที่แตกต่างกัน ในลักษณะที่อาริฟบางคนจะสามารถรับรู้ถึงสัญญาณบางประการได้ก่อนกิยามะฮ์ครั้งใหญ่ การปรากฏกายก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เอง การปรากฏกายของอิมามก็ถือเป็นอารัมภบทและเป็นสถานะหนึ่งของกิยามะฮ์ได้เช่นกัน
ดังที่มีรายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ว่า “อุปมาการปรากฏกายของมะฮ์ดีเสมือนวันกิยามะฮ์ (อัซซาอะฮ์) ซึ่งไม่มีผู้ใดจะเผยให้ทราบถึงวันและเวลาดังกล่าว ราวกับเป็นภาระอันหนักอึ้งสำหรับชั้นฟ้าและผืนดิน ซึ่งจะมาถึงพวกท่านในลักษณะฉับพลัน”[2]
อีกด้านหนึ่ง มีฮะดีษจากมะอ์ศูมีนหลายบทที่ตีความโองการต่างๆที่ระบุถึงความฉับพลันของวันกิยามะฮ์ไว้ว่าหมายถึงการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี[3] ตัวอย่างเช่นโองการที่กล่าวว่า
ما يُدْرِيكَ لَعَلَّ السَّاعَةَ قریب يَسْتَعْجِلُ بِهَا الَّذِينَ لا يُؤْمِنُونَ بِها وَ الَّذِينَ آمَنُوا مُشْفِقُونَ مِنْها وَ يَعْلَمُونَ أَنَّهَا الْحَقُّ أَلا إِنَّ الَّذِينَ يُمارُونَ فِي السَّاعَةِ لَفِي ضَلالٍ بَعِيد
เจ้าจะทราบอะไร อัซซาอะฮ์อาจจะใกล้เข้ามาแล้วก็ได้ เหล่าผู้บิดพริ้วศรัทธาเร่งให้เกิดขึ้นเร็วๆ ขณะที่ผู้ศรัทธาล้วนสพรึงกลัวมัน เพราะทราบดีว่ามันคือสัจธรรม จงรู้เถิด เหล่าบุคคลที่ถกเถียงกันในเรื่องซาอะฮ์ (การปรากฏกายของอิมาม/กิยามะฮ์) ล้วนเป็นผู้หลงทาง”[4]
นอกจากนี้ โองการที่ว่า اقتربت الساعة و انشق القمر (ซาอะฮ์ใกล้เข้ามาแล้ว และจันทราถูกผ่า)[5] ก็ถือเป็นโองการหนึ่งที่มีการตีความ “الساعه” ว่าหมายถึงการปรากฏกายของอิมาม[6]
จากการที่โองการและฮะดีษข้างต้นได้ตีความว่าการปรากฏกายมีความคล้ายคลึงกับวันกิยามะฮ์ ฉะนั้น ทุกข้อคิดที่เกี่ยวกับวันกิยามะฮ์ก็สามารถนำมาปรับประยุกต์กับประเด็นอาคิรุซซะมาน (ยุคสุดท้าย) และการปรากฏกายได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากสองประเด็นข้างต้นมีความเกี่ยวโยงกันอย่างชัดเจน
ระเบียนที่เกี่ยวข้อง
สัญลักษณ์การปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.), 49(ลำดับในเว็บไซต์ 285)
สัญลักษณ์การปรากฏกาย, 18991 (ลำดับในเว็บไซต์ 18419)
[1] มัจลิซี,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 164,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404
[2] เพิ่งอ้าง,เล่ม 36,หน้า 341,ฮะดีษที่ 205
[3] إِسْمَاعِيلَ وَ عَلِيِّ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْحَسَنِيِّ عَنْ أَبِي شُعَيْبٍ وَ مُحَمَّدِ بْنِ نُصَيْرٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ الْفُرَاتِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْمُفَضَّلِ عَنِ الْمُفَضَّلِ بْنِ عُمَرَ قَالَ سَأَلْتُ سَيِّدِيَ الصَّادِقَ ع هَلْ لِلْمَأْمُورِ الْمُنْتَظَرِ الْمَهْدِيِّ ع مِنْ وَقْتٍ مُوَقَّتٍ يَعْلَمُهُ النَّاسُ فَقَالَ حَاشَ لِلَّهِ أَنْ يُوَقِّتَ ظُهُورَهُ بِوَقْتٍ يَعْلَمُهُ شِيعَتُنَا قُلْتُ يَا سَيِّدِي وَ لِمَ ذَاكَ قَالَ لِأَنَّهُ هُوَ السَّاعَةُ الَّتِي قَالَ اللَّهُ تَعَالَى يَسْئَلُونَكَ عَنِ السَّاعَةِ أَيَّانَ مُرْساها قُلْ إِنَّما عِلْمُها عِنْدَ رَبِّي لا يُجَلِّيها لِوَقْتِها إِلَّا هُوَ ثَقُلَتْ فِي السَّماواتِ وَ الْأَرْضِ الْآيَةَ وَ هُوَ السَّاعَةُ الَّتِي قَالَ اللَّهُ تَعَالَى يَسْئَلُونَكَ عَنِ السَّاعَةِ أَيَّانَ مُرْساها وَ قَالَ عِنْدَهُ عِلْمُ السَّاعَةِ وَ لَمْ يَقُلْ إِنَّهَا عِنْدَ أَحَدٍ وَ قَالَ فَهَلْ يَنْظُرُونَ إِلَّا السَّاعَةَ أَنْ تَأْتِيَهُمْ بَغْتَةً فَقَدْ جاءَ أَشْراطُها الْآيَةَ وَ قَالَ اقْتَرَبَتِ السَّاعَةُ وَ انْشَقَّ الْقَمَرُ وَ قَالَ ما يُدْرِيكَ لَعَلَّ السَّاعَةَ تَكُونُ قَرِيباً يَسْتَعْجِلُ بِهَا الَّذِينَ لا يُؤْمِنُونَ بِها وَ الَّذِينَ آمَنُوا مُشْفِقُونَ مِنْها وَ يَعْلَمُونَ أَنَّهَا الْحَقُّ أَلا إِنَّ الَّذِينَ يُمارُونَ فِي السَّاعَةِ لَفِي ضَلالٍ بَعِيد...
เพิ่งอ้าง,เล่ม 53,หน้า 1
[4] อัชชูรอ,17,18
[5] อัลเกาะมัร,1
[6] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 164