การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6861
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1383 รหัสสำเนา 17912
หมวดหมู่ รหัสยทฤษฎี
คำถามอย่างย่อ
นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
คำถาม
อะไรคือนามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์ที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้?
คำตอบโดยสังเขป

จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เอง โดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษ พระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์ พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่า อิสมุ้ลมักนูน หรืออิสมุ้ลมัคซูน อีกด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า "อิสตีษ้าร" แปลว่าการเลือกเฟ้นเพื่อตนเอง ส่วนคำว่า "มุสตะอ์ษิเราะฮ์" แปลว่าสิ่งที่ได้รับการเลือกสรร
ท่านรอฆิบ อิศฟะฮานีกล่าวไว้ในหนังสืออัลมุฟร่อด้าตว่า "อัลอิสตีษ้าร คือการเจาะจงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตนเอง[1]" ส่วนหนังสือบิฮารุลอันว้ารระบุว่า "การอิสตีษ้ารสิ่งใดสิ่งหนึ่งหมายถึงการเจาะจงสิ่งนั้นเพื่อตนเอง"[2]

ฮะดีษหลายบทอธิบายว่าอัสมาอ์(พระนาม)ที่เป็นมุสตะอ์ษิเราะฮ์คือด้านเร้นลับของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมที่ไม่มีใครหยั่งรู้ ท่านอิมามบากิร(.)กล่าวไว้ว่า "เจ็ดสิบสองอักขระของอิสมุลอะอ์ซ็อมอยู่  เรา(อะฮ์ลุลบัยต์หยั่งรู้) มีเพียงอักขระเดียวที่เหลืออยู่  อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ทรงสงวนไว้ (ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้)[3]

และเนื้อหาฮะดีษในหมวด"การจุติขึ้นของพระนาม" ในหนังสืออุศูลกาฟีบ่งชี้ว่า พระนามประเภทมุสตะอ์ษิ้ร หรือที่เรียกกันว่า"มักนูน"และ"มัคซูน"นั้น ก็คือด้านเร้นลับของปฐมนามของพระองค์ พระนามประเภทนี้มีทั้งด้านแห่งการจำกัดในฐานะที่เป็นพระนาม และมีทั้งด้านเร้นลับในฐานะที่เป็นฐานสนับสนุนให้พระนามอื่นๆเผยอย่างชัดเจน [4]
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามโคมัยนีจึงกล่าวอธิบายเกี่ยวกับระดับชั้นของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมไว้ว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รคืออิสมุ้ลอะอ์ซ็อมในระดับเร้นลับ ท่านกล่าวว่า "อิสมุ้ลอะอ์ซ็อมโดยลักษณะอันเร้นลับที่ไม่มีใครหยั่งรู้นอกจากพระองค์แล้ว หมายถึงอักขระที่เจ็ดสิบสามที่พระองค์ทรงทราบแต่เพียงองค์เดียว"[5]

ตำรับตำราด้านอิรฟานสอนว่า จากการที่ระดับความเร้นลับของอาตมันพระองค์มีสูง จึงจำเป็นต้องมีสื่อกลางในการเผยเป็นพระนามและคุณลักษณะภายนอก สื่อกลางที่เผยความไพบูลย์ของพระองค์เหล่านี้มีสองด้าน  . ด้านที่เชื่อมโยงกับความเร้นลับของอาตมันพระองค์ซึ่งเป็นด้านแห่งความเร้นลับ . ด้านที่เชื่อมโยงกับพระนามซึ่งเป็นมิติที่ชัดเจนและเผยในรูปของพระนาม[6]

อิมามโคมัยนีขนานนามสื่อกลางที่เผยสู่พระนามของอัลลอฮ์ว่า "เคาะลีฟะฮ์ของพระองค์" และ "หลักแห่งเคาะลีฟะฮ์" ส่วนตำราด้านอิรฟานได้ขนานนามว่าเป็น "เอกานุภาพที่แท้จริง" ส่วนภาคจำแนกที่เกิดกับพระองค์เมื่อพิจารณาถึงเอกานุภาพดังกล่าวเรียกว่า "ภาคจำแนกปฐมภูมิ" หรือ "สัจธรรมแห่งมุฮัมมัด"[7] ภาคจำแนกขั้นแรกที่เป็นฐานสำหรับการเผยพระนามของพระองค์ให้พ้นจากมิติลี้ลับก็คือ เอกานุภาพอันไร้เงื่อนไข หรือเอกานุภาพที่แท้จริงนั่นเอง ซึ่งเป็นภาวะแห่ง "อะฮะดียัต"จากด้านมิติลี้ลับ และเป็น "วาฮิดียัต"หรือมิติแห่งการเผยพระนามจากด้านที่เปิดเผย และสถานะอะฮะดียัตแห่งอาตมันซึ่งเป็นด้านลี้ลับของภาวะจำแนกปฐมภูมิของพระองค์ก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รนี่เอง[8]

ส่วนที่ว่าเป็นมุสตะอ์ษิ้ร(ได้รับเลือก)หมายความว่าอย่างไร? การที่พระนามเหล่านี้ได้รับเลือก แสดงว่ามิได้เผยให้ประจักษ์ หรือมีภาพลักษณ์ที่รับรู้ได้กระนั้นหรือ? หรือหมายความว่าภาพลักษณ์ของพระนามเหล่านี้ก็ได้รับเลือกเสมือนตัวพระนาม ซึ่งไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้

โดยทั่วไปแล้ว นักอาริฟถือว่าพระนามมุสตะอ์ษิ้รเป็นพระนามที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งไม่มีร่องรอยใดๆ ตลอดจนไม่มีภาพลักษณ์ใดๆในโลก
ศ็อดรุดดีน กูนะวี ได้จำแนกพระนามทางอาตมันของพระองค์ไว้สองส่วนในหนังสือ มิฟตาฮุ ฆ็อยบิ้ลญัมอิ วั้ลวุญูด"ดังนี้
ส่วนแรกมีร่องรอยและภาพลักษณ์ในโลก ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเผยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บำเพ็ญความดี หรืออาจจะปรากฏแก่นักอาริฟผู้แก่กล้าในระหว่างเห็นนิมิตรชุฮู้ด
พระนามทางอาตมันประเภทที่สองก็คือพระนามที่ไม่ปรากฏร่องรอยใดๆในโลก ทำให้ไม่มีผู้ใดสามารถประจักษ์ได้ และพระนามประเภทนี้แหล่ะที่เรียกว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้ร[9] แม้ไม่ปรากฏในโลก แต่ลักษณ์ของพระนามเหล่านี้มีอยู่ในชั้นแห่งอะอ์ยาน ษาบิตะฮ์ (ชั้นแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ตามทัศนะของนักอาริฟ) ด้วยเหตุนี้เองที่เราเรียกลักษณ์ในชั้นดังกล่าวว่า "มุมตะนิอ้าต"

ความหมายของมุมตะนิอ์ในแวดวงอิรฟานกว้างกว่าแวดวงปรัชญาเมธี ตามทัศนะของนักอาริฟแล้ว มุมตะนิอ้าตหมายถึงลักษณ์ที่ไม่เผยให้ประจักษ์แม้จะมีอยู่จริงในชั้นแห่งอะอ์ยาน ซึ่งอาจเป็นเพราะความเข้มข้นเชิงการมีอยู่ (ดังกรณีลักษณ์ของพระนามมุสตะอ์ษิ้ร) หรืออาจเป็นเพราะไม่อาจจะเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงได้ (เช่นการผนวกสองสิ่งที่หักล้างสุดขั้ว)

ส่วนมุมตะนิอ์ในมุมของปรัชญาเมธีหมายถึงประเภทที่สองเท่านั้น[10] จากทัศนะดังกล่าวทำให้ทราบว่า เนื่องจากพระนามเหล่านี้เบนไปสู่ภาวะลี้ลับ จึงไม่เผยหรือมีภาพลักษณ์ใดๆภายนอก  ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ และยังคงเป็นที่เลือกสรรของพระองค์ดังเดิม

การใช้พระนามมุสตะอ์ษิ้รเพื่อสื่อถึงอาตมันของพระองค์

อิมามโคมัยนีได้อธิบายประโยคหนึ่งในดุอาสะฮัรที่ว่า اللهم انی اسئلک من اسمائک باکبرها โดยเกริ่นไว้ก่อนว่า"พระนามและคุณลักษณะของพระองค์เปรียบเสมือนฉากกั้นอาตมัน ซึ่งอาตมันพระองค์จะเผยปรากฏด้วยช่องทางแห่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆเท่านั้น ส่วนในมุมลี้ลับแล้ว พระองค์ปราศจากซึ่งพระนามหรือการตั้งพิกัดใดๆทั้งสิ้น" แล้วท่านอิมามโคมัยนีก็กล่าวว่า "หนึ่งในข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คือ หมายถึงสถานะอาตมันอันลี้ลับนั่นเอง ส่วนที่เรียกว่าพระนามก็เพราะอาตมันของพระองค์นั่นแหล่ะ ที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับอาตมันเอง[11]
ท่านประพันธ์ตำราอธิบายหนังสือ "มิศบาฮุ้ลอุ้นซ์" หลังจากทัศนะของกูนะวีว่าด้วยการจำแนกพระนามทางอาตมัน และการที่พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากซึ่งภาพลักษณ์ใดๆ ท่านอิมามได้ยกทัศนะของอาจารย์ของท่าน (อายะตุลลอฮ์ ชอฮ์ออบอดี)ว่า "สังเขปทัศนะของกูนะวีก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากภาพลักษณ์ใดๆในโลก ส่วนอาจารย์อาริฟผู้สมบูรณ์ของเรากล่าวว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คืออาตมันเชิงอะฮะดีดั้งเดิมของพระองค์ เนื่องจากอาตมันของพระองค์จะเป็นบ่อเกิดของพระนามด้วยกับภาวะจำแนก แต่อาตมันที่ปราศจากภาวะจำแนกย่อมไม่รองรับการเผยพระนาม ส่วนการใช้คำว่าพระนามกับอาตมันก็เป็นการกล่าวอย่างอนุโลมเท่านั้น มิไช่การกล่าวระบุอย่างจริงจัง[12]

ประเด็นที่เกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์ถือเป็นประเด็นระดับสูงของวิชาอิรฟาน ซึ่งจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อมีพื้นฐานด้านอิรฟานและปรัชญาเสียก่อน

หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่านบทความ ภาวะเผยของพระนามมุสตะอ์ษิ้รในทัศนะของอิมามโคมัยนี เขียนโดย ซัยยิดกิวามุดดีน ฮุซัยนี นิตยสารมะตีน ฉบับที่ห้า



[1] รอฆิบอิศฟะฮานี,อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรออิบิ้ลกุรอาน,หน้า 10

[2] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 85, ฮะดีษที่ 1, หน้า 255

[3] อุศู้ลกาฟีย์,เล่ม 1, บทว่าด้วยฮุจญัต, หน้า 334, หมวด ما اعطی الائمه - علیهم السلام – من اسم الله الاعظم :
و نحن عندنا من الاسم الاعظم اثنان و سبعون حرفا و حرف واحد عند الله تعالی استأثر به فی علم الغیب عنده
นักตัฟซี้รมักจะยกฮะดีษนี้มาเพื่ออธิบายโองการ قال الذی عنده علم من الکتاب ดู: บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 27, ใต้หมวดว่าด้วย ان عندهم الاسم الاعظم به یظهر منهم الغرایب โดยอ้างถึงฮะดีษเหล่านี้ไว้

[4] อุศูลกาฟีย์, เล่ม1, บทว่าด้วยฮุดูษุสสะมาอ์,หน้า 152, " عن ابی‏عبدالله(ع) قال: ان الله تبارک و تعالی خلق اسما... فجعله کلمة تامة علی اربعة اجزاء معا لیس منها واحد قبل الآخر، فاظهر منها ثلاثة اسماء لفاقة الخلق الیها و حجب منها واحدا و هو الاسم المکنون المخزون... و هذه الاسماء الثلاثة ارکان و حجب الاسم الواحد المکنون المخزون بهذه الاسماء الثلاثة

[5] อรรถาธิบายดุอาสะฮัร,อิมามโคมัยนี,แปลโดยซัยยิดอะหมัด ฟะฮ์รี, หน้า 11, " اما الاءسم الاءعظم بحسب الحقیقة الغیبیة التی لایعلمها الا هو و لا استثناء فیه، فبالاعتبار الذی سبق ذکره، و هو الحرف الثالث و السبعون المستاثر فی علم غیبه

[6] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 16-17, ان الاسماء و الصفات الالهیة ایضا غیر مرتبطة بهذا المقام الغیبی بحسب کثراتها العلمیة غیر قادرة علی اخذ الفیض من حضرته بلاتوسط شی‏ء... فلابد لظهور الاسماء و بروزها و کشف اسرار کنوزها من خلیفة الهیة غیبیة یستخلف عنها فی‏الظهور فی‏الاسماء و ینعکس نورها فی تلک المرایا... هذه الخلیفة الالهیة و الحقیقة القدسیه التی هی اصل الظهور لابد ان یکون لهاوجه غیبی الی الهویة الغیبیة ولایظهر بذلک الوجه ابدا، و وجه الی عالم الاسماء والصفات بهذا الوجه یتجلی فیه

[7] อัลก่อวาอิ้ด, ศออินุดดีน อลี อัตตัรกะฮ์,หน้า 79 

[8] อัรริซาละฮ์ อัตเตาฮีดียะฮ์,อัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอี,หน้า 47

[9] มิศบาฮุลอุ้นส์,มุฮัมมัด บิน ฮัมซะฮ์ อัลฟะนารี,หน้า 14 บทที่สี่ จากบทฟาติฮะห์

[10] อารัมภบทก็อยซะรีเพื่ออธิบายฟุศูศุ้ลฮิกัม, ดาวู้ด บิน มุฮัมมัด ก็อยซะรี, หน้า18-19 و هی الممتنعات قسمان، قسم یختص بفرض العقل ایاه کشریک الباری و قسم لایختص بالفرض، بل هی امور ثابتة فی نفس الامر، موجودة فی العلم، لازمة لذات الحق، لانها صور للاسماء الغیبیة المختصة بالباطن من حیث هو ضد الظاهر، او للباطن وجه یجتمع مع الظاهر و وجه لا یجتمع معه... و تلک الاسماء هی التی قال(رض) فی فتوحاته و اما الاسماء الخارجه عن الخلق و النسب فلایعلمها الا هو، لانه لا تعلق لها بالاکوان و الی هذه الاسماء اشار النبی(ص) او استاثرت به فی علم غیبک

[11] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 114-115 هذا فان اشرت باطلاق الاسم فی بعض الاحیان علی هذه المرتبه التی هی فی عماء و غیب کما هو احد الاحتمالات فی الاسم المستاثر فی علم غیبه، کما ورد فی الاخبار و اشار الیه فی الاثار الذی یختص بعلمه الله، و هو الحرف الثالث و السبعون من حروف الاسم الاعظم المختص علمه به - تعالی - فهو من باب ان الذات علامة للذات، فانه علم بذاته لذاته

[12] อธิบายหนังสือมิศบาฮุลอุ้นส์,อิมามโคมัยนี, หน้า 218 قال شیخنا العارف الکامل - دام ظله - ان الاسم المستاثر هو الذات الاحدیة المطلقه، فان الذات بما هی متعینه منشا للظهور دون الذات المطلقه، ای بلا تعین، و اطلاق الاسم علیه من المسامحة و الظاهر من کلام الشیخ و تقسیمه، الاسماء الذاتیه الی ما تعین حکمه و ما لم یتعین، انه من الاسماء الذاتیة التی لامظهر لها فی العین

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17841 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5863 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11495 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6390 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14676 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9559 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6315 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10427 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11184 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60187 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57647 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42264 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28056 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27879 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25864 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...