Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
8809
8809
อัปเดตเกี่ยวกับ:
2556/02/06
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
คำถาม
เป็นเพราะสาเหตุอันใดที่ ปรัชญาดั้งเดิมของอิสลาม จึงไม่เหมือนกับ ฟิซีกส์ดั้งเดิมของอาริสโตเติล หรือนักเคมี หรือนักดาราศาสตร์และและคนอื่นๆ ซึ่งได้ยกทฤษฎีของตนให้กับนักฟิสิกซ์ยุคใหม่ เฉกเช่น นิวตัน หรือไอสไตน์ (นักเคมีสมัยใหม่) หรือนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ เช่น กาลิเลโอ และคนอื่นๆ ซึ่งอิสลามมิได้ยกทฤษฎีของตนให้กับ ปรัชญาตะวันตก พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน นั่นเป็นเพราะว่านักปรัชญาของอิสลาม ไม่รู้และไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับนักปรัชญา และปรัชญาตะวันตก ใช่หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป
การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง
คำตอบเชิงรายละเอียด
การวิพากวิจารณ์ทางวิชาการนั้น เป็นที่รู้กันว่าต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย กล่าวคือการยอมรับ หรือการหักล้างต่างๆ จำเป็นต้องมีหลักฐานที่มีเหตุผล และได้รับการพิสูจน์แล้ว ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่านักวิชาการคนดังกล่าวนั้น ในการยอมรับหรือหักล้างข้อมูล จะไม่นำเสนอสมมติฐาน หรือทัศนะ หรือทฤษฎีใหม่โดยการลอกเรียนแบบ มาจากบุคคลอื่น ดังจะเห็นว่า บนพื้นฐานดังกล่าวนักวิชาการสามารถก้าวไปพร้อมกับ ความเจริญของสังคมส่วนใหญ่ได้อย่างไร้ปัญหา ฉะนั้น ตรงนี้ ถ้าสมมติว่าทฤษฎีบางอย่างในอดีต ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกต้อง เราก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าความรู้ทั้งหมดที่มีมาแต่อดีต จะต้องเป็นโมฆะและถูกโยนทิ้งทั้งหมด ทว่าสามารถกล่าวได้ว่า วิชาการปัจจุบันนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของหลักคิด และทฤษฎีในอดีต แม้ว่าสมมติฐานในอดีตมากมาย ได้ยกทฤษฎีของตนให้กับความรู้สมัยใหม่ก้ตาม เช่น หนึ่งในตัวอย่างเหล่านั้นก็คือ วิชาการคำนวณ วิชาการสาขานี้วางอยู่บนหลักการของคณิตศาสตร์ และเรขาคณิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเรขาคณิตเกียวกับชั้นบรรยากาศ กล่าวคือพื้นฐานของวิชานี้จะคำนวณเกี่ยวกับ วงกลมและการโคจรรอบ ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึงวิถีการโคจร ระหว่างวงกลมกับขนาดของมัน ส่วนวิชาคำนวณสมัยใหม่ ภารกิจหนักของเขาก็คือสิ่งนี้เช่นเดียวกัน ทว่านักวิชาการสมัยก่อนนั้น เนื่องจากความแข็งแรงทางวิชาการ และความมั่นคงในวิชาเหล่านั้น พวกจึงได้ทำการพิสูจน์ความจริงต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เองก็ได้ศึกษาค้นคว้า ต่อจากการค้นคว้าของนักวิชาการในอดีต ซึ่งปัจจุบันเราก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาว่า ความพยายามอย่างกว้างขวางของมหาวิทยาลัย และศูนย์กลางการค้นคว้าและวิจัยของตะวันตก พยายามใขว่คว้าหาตำรับตำราของนักวิชาการอิสลาม เกี่ยวกับวิชาคำนวณและคณิตศาสตร์[1] ประเด็นที่หน้าสนใจอย่างยิ่งคือ อดีตสมมติฐานตามหลักทฤษฎีว่า โลกคือศูนย์กลางของการโคจร ในระบบสุริยะ แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า โลกคือส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ เท่ากับเป็นการปฏิเสธสมมตุฐานที่เกิดขึ้น
อายะตุลลอฮฺ ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี อธิบายประเด็นดังกล่าวว่า ตามหลักวิชาดาราศาสตร์ จุดประสงค์หลักของระบบสุริยะก็คือ การโคจรรอบเป็นวงรี แต่เพื่อความง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในการศึกษา เมื่อกล่าวถึงตัวตนของระบบสุริยะ จึงหมายถึงท้องฟ้าชึ้นต่างๆ เพื่อให้มองเห็นเป็นรูปภาพ[2]
บรรดานักวิชาการ นั้นต้องการสร้างความง่ายดายต่อการเรียนรู้ จึงได้พาดพิงการโคจรของหมู่ดาวต่าๆ อยู่บนพื้นฐานของการระวัง จึงสร้างและวางระบบการโคจรให้มองเห็นเป็นรูปร่าง ซึ่งระบบที่จัดวางขึ้นมานั้น มิได้ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ทางปรัชญาแต่อย่างใด เช่น จะต้องไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่า วิชาดาราศาสตร์พยายามทำให้มองเห็นภาพ ในระบบของการโคจร ซึ่งการมองเห็นภาพนั้น ในวิชาด้านนี้ถือว่าเพียงพอแล้ว ต่อการไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น จึงวางให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของการโคจร โดยมีดาวนพเคราะห์ดวงอื่นโดจรรอบดวงอาทิตย์ ใกล้ไกลห่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ประหนึ่งชั้นของหัวหอมที่ซ้อนกันโดยที่ไม่มีช่องว่างเกิดขั้น ระหว่างชั้นเหล่านั้น[3]
อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวมาแล้วว่า การหักล้างหรือการไม่ยอมรับปัญหาด้านวิชาการ ปัญหาใดปัญหาหนึ่งนั้น จำเป็นต้องวางอยู่บนหลักการและเหตุผล ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าวิชาปรัชญาอิสลาม นอกจากจะไม่ยอมรับ การโจมตีของปรัชญาตะวัน ด้วยเหตุที่แข็งแรงทางความเชื่อ ที่มีต่อเหตุผลเชิงตรรกะ และสติปัญญาแล้ว ยังสามารถหักล้างเหตุผลของปรัชญาตะวันตกได้อีกต่างหาก นอกจากนั้นนักปรัชญาอิสลามยังศึกษาปรัชญาตะวันตก วิเคราะห์ และหักล้างเหตุเหล่านั้น หนึ่งในตัวอย่างนั้นคือ “หนังสืออุซูลฟัลซะฟะฮ์ วะระเวช เรอาริซม์” เขียนโดย อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี อธิบายโดย อายะตุลลอฮฺ ชะฮีด มุเฏาะฮะรี และสิ่งที่น่าสังเกตคือ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านล่วงเลยไปแล้วครึ่งศตวรรษ นักปรัชญาตะวันตก หรือผู้ใฝ่ในปรัชญาตะวันตก ยังหลงไหลในเสน่ห์ของปรัชญาในประเทศเราอย่างไม่ส่างซา ที่สำคัญยังไม่มีนักปรัชญาคนใด ตอบหรือหักล้างในเชิงเหตุผลที่มีต่อหนังสือดังกล่าว การนิ่งเงียบนานเกินกว่า 60 ปี ของนักปรัชญาตะวันตกที่กล่าวอ้างตนเองมาโดยตลอดนั้น ถือเป็นการเพลี้ยงพล้ำอย่างหนักหนาสาหัสสำหรับพวกเขา
สรุปประเด็นสำคัญไว้ 2 ประเด็น
1.วัตถุประสงค์ของ ปรัชญาตะวันตก หมายถึงปรัชญาที่เจริญและครอบคลุมอยู่ในตะวันตก ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ก. มองว่าความจริงเป็นเพียงสัมผัสหนึ่ง ข. การรับรู้ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการสัมผัสเท่านั้น กล่าวคือ เฉพาะวิทยาศาสตร์เท่านั้น ที่เชื่อถือได้และมีคุณค่าทางวทฤษฎีและวิชาการ ส่วนวิชาการด้านใดก็ตามที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยผัสสะแล้วละก็ จะถือว่าวิชาการเหล่านั้น เชื่อถือไม่ได้และไม่มีคุณค่าทางวิชาการแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ามุมมองหนึ่งที่เป็นปัญหาสำหรับปรัชญาตะวันตกคือ การอยู่ในความสงสัยตลอดเวลา อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า พวกเขาขุดรากถอนโคนวิชาการของตน ด้วยมือตนเองโดยไม่เจตนา[4]
2 .สามารถกล่าวได้ว่า ทุกทฤษฎีความรู้นั้น มีจุดบวกอันก่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการ ดังนั้น ปรัชญาตะวันตกเองก็มีประเด็นที่มีประโยชน์ไม่น้อย ด้วยตัวมันเอง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ประโยชน์เหล่านั้น
อายะตุลลอฮฺ ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี อธิบายประเด็นดังกล่าวว่า ตามหลักวิชาดาราศาสตร์ จุดประสงค์หลักของระบบสุริยะก็คือ การโคจรรอบเป็นวงรี แต่เพื่อความง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในการศึกษา เมื่อกล่าวถึงตัวตนของระบบสุริยะ จึงหมายถึงท้องฟ้าชึ้นต่างๆ เพื่อให้มองเห็นเป็นรูปภาพ[2]
บรรดานักวิชาการ นั้นต้องการสร้างความง่ายดายต่อการเรียนรู้ จึงได้พาดพิงการโคจรของหมู่ดาวต่าๆ อยู่บนพื้นฐานของการระวัง จึงสร้างและวางระบบการโคจรให้มองเห็นเป็นรูปร่าง ซึ่งระบบที่จัดวางขึ้นมานั้น มิได้ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ทางปรัชญาแต่อย่างใด เช่น จะต้องไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่า วิชาดาราศาสตร์พยายามทำให้มองเห็นภาพ ในระบบของการโคจร ซึ่งการมองเห็นภาพนั้น ในวิชาด้านนี้ถือว่าเพียงพอแล้ว ต่อการไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น จึงวางให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของการโคจร โดยมีดาวนพเคราะห์ดวงอื่นโดจรรอบดวงอาทิตย์ ใกล้ไกลห่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ประหนึ่งชั้นของหัวหอมที่ซ้อนกันโดยที่ไม่มีช่องว่างเกิดขั้น ระหว่างชั้นเหล่านั้น[3]
อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวมาแล้วว่า การหักล้างหรือการไม่ยอมรับปัญหาด้านวิชาการ ปัญหาใดปัญหาหนึ่งนั้น จำเป็นต้องวางอยู่บนหลักการและเหตุผล ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าวิชาปรัชญาอิสลาม นอกจากจะไม่ยอมรับ การโจมตีของปรัชญาตะวัน ด้วยเหตุที่แข็งแรงทางความเชื่อ ที่มีต่อเหตุผลเชิงตรรกะ และสติปัญญาแล้ว ยังสามารถหักล้างเหตุผลของปรัชญาตะวันตกได้อีกต่างหาก นอกจากนั้นนักปรัชญาอิสลามยังศึกษาปรัชญาตะวันตก วิเคราะห์ และหักล้างเหตุเหล่านั้น หนึ่งในตัวอย่างนั้นคือ “หนังสืออุซูลฟัลซะฟะฮ์ วะระเวช เรอาริซม์” เขียนโดย อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี อธิบายโดย อายะตุลลอฮฺ ชะฮีด มุเฏาะฮะรี และสิ่งที่น่าสังเกตคือ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านล่วงเลยไปแล้วครึ่งศตวรรษ นักปรัชญาตะวันตก หรือผู้ใฝ่ในปรัชญาตะวันตก ยังหลงไหลในเสน่ห์ของปรัชญาในประเทศเราอย่างไม่ส่างซา ที่สำคัญยังไม่มีนักปรัชญาคนใด ตอบหรือหักล้างในเชิงเหตุผลที่มีต่อหนังสือดังกล่าว การนิ่งเงียบนานเกินกว่า 60 ปี ของนักปรัชญาตะวันตกที่กล่าวอ้างตนเองมาโดยตลอดนั้น ถือเป็นการเพลี้ยงพล้ำอย่างหนักหนาสาหัสสำหรับพวกเขา
สรุปประเด็นสำคัญไว้ 2 ประเด็น
1.วัตถุประสงค์ของ ปรัชญาตะวันตก หมายถึงปรัชญาที่เจริญและครอบคลุมอยู่ในตะวันตก ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ก. มองว่าความจริงเป็นเพียงสัมผัสหนึ่ง ข. การรับรู้ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการสัมผัสเท่านั้น กล่าวคือ เฉพาะวิทยาศาสตร์เท่านั้น ที่เชื่อถือได้และมีคุณค่าทางวทฤษฎีและวิชาการ ส่วนวิชาการด้านใดก็ตามที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยผัสสะแล้วละก็ จะถือว่าวิชาการเหล่านั้น เชื่อถือไม่ได้และไม่มีคุณค่าทางวิชาการแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ามุมมองหนึ่งที่เป็นปัญหาสำหรับปรัชญาตะวันตกคือ การอยู่ในความสงสัยตลอดเวลา อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า พวกเขาขุดรากถอนโคนวิชาการของตน ด้วยมือตนเองโดยไม่เจตนา[4]
2 .สามารถกล่าวได้ว่า ทุกทฤษฎีความรู้นั้น มีจุดบวกอันก่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการ ดังนั้น ปรัชญาตะวันตกเองก็มีประเด็นที่มีประโยชน์ไม่น้อย ด้วยตัวมันเอง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ประโยชน์เหล่านั้น
[1] อายะตุลลอฮฺ ฮะซัน ซอเดะฮฺ ออมูลี ผู้เชี่ยวชาญวิชาคำนวณและคณิตศาสตร์โบราณ ในชั้นเรียนท่านได้กล่าวถึงความทรงจำอันมากมายที่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงหลายแห่งในฝรั่งเศส เชิญท่านไปสอนและบรรยายพิเศษเกี่ยวกับวิชาการดังกล่าว และสำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ตลอดจนความพยายามของมหาวิทยาลัก ที่จะสอนตำราเหล่านั้น ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า ประเทศตะวันตกพยายามจะโฆษณาชวนเชื่อประชาชนของตนเอง เบื้องต้นพวกเขาพยายามบอกกับชาวมุสลิมว่า วิชาการเหล่านี้ล่มสลายและโมฆะไปหมดแล้ว หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนตำรับตำราเกี่ยวกับวิชาเหล่านั้น ออกนอกประเทศ ด้วยเลห์เพทุบายต่างๆด
[2] ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี ฮะซัน บทเรียนดาราศาสตร์ เล่ม 2หน้า 107 พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์ ดัฟตัรตับลีฆอต อิสลามี กุม 1375
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 744 - 747
[4] ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก มุเฏาะฮะรียฺ มุรตะฏอ อุซูลฟัลซะฟะฮฺ เล่ม 1 บทวิเคราะห์ที่ 1-4 ดัฟตัรตับลีฆอต อิสลามี กุม
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น